การฉายแสง


1,681 ผู้ชม


การฉายแสง รังสีพลังงานสูงมีคุณสมบัติทำลายเซลล์มะเร็งได้ดี และมีผลต่อเซลล์ธรรมดาบ้าง นอกจากนี้รังสีรักษายังสามารถใช้รักษาโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่มะเร็งได้ด้วย การฉายรังสี หรือเรียกโดยคนทั่วไปว่า ฉายแสง คือ         การฉายแสง รังสีพลังงานสูงมีคุณสมบัติทำลายเซลล์มะเร็งได้ดี และมีผลต่อเซลล์ธรรมดาบ้าง นอกจากนี้รังสีรักษายังสามารถใช้รักษาโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่มะเร็งได้ด้วย การฉายรังสี หรือเรียกโดยคนทั่วไปว่า ฉายแสง คือ 

คือ การรักษาโรคโดยการฉายรังสีในบริเวณที่เป็นโรค หรือเรียกว่า รอยโรค อาจฉายครอบคลุมไปถึงต่อมน้ำเหลืองที่อาจมีโรคลุกลามด้วย ทั้งนี้ขึ้นกับ ระยะของโรคมะเร็ง ชนิดของโรคมะเร็ง และสุขภาพผู้ป่วย

การฉายรังสี โดยเครื่องฉายรังสีซึ่งมีหลายประเภท เป็นเครื่องคล้ายเครื่องตรวจทางเอ็กซเรย์ แต่มีขนาดใหญ่กว่า การรักษา โดยผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียง มีหัวเครื่องฉายอยู่ด้านบน ห่างจากตัวผู้ป่วย ประมาณ 60-70 ซม. หัวเครื่องฉาย ถ้าปิดเครื่องจะไม่มีรังสีออกมา หัวเครื่องฉายจะหมุนได้รอบตัวผู้ป่วย สามารถฉายรังสีให้กับผู้ป่วยได้ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง โดยผู้ป่วยไม่ต้องขยับตัวเปลี่ยนท่านอนระหว่างได้รับการฉายรังสี การควบคุมเครื่องฉายรังสี การจัดท่าผู้ป่วย และการให้การรักษาด้วยการฉายรังสี อยู่ในการควบคุมดูแลโดยนักรังสีเทคนิค/นักรังสีการแพทย์ ซึ่งได้รับการเรียน การสอน การอบรม ฝึกงานด้านการฉายรังสี ซึ่งจะจัดท่าผู้ป่วย เทคนิค ปริมาณรังสี ตรงกับในการวางแผนจากเครื่องจำลองภาพ และจากนักฟิสิกส์การแพทย์

แหล่งกำเนิดรังสีที่นำมาใช้ในการรักษา

  1. รังสีรักษาระยะไกล เช่น เครื่องเร่งอนุภาค เครื่องโคบอลล์-60
  2. รังสีรักษาระยะใกล้ เช่น เรเดียม, ซีเซียม, ไอโอดีน, อีร์เดียม, โคบอลล์, คาลิฟอร์เนียม เป็นต้น
  3. การใช้รังสี 2 ส่วนนี้ สามารถใช้เดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกันก็ได้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านรังสีรักษา
  4. โดยทั่วไป จะฉายรังสี วันละ 1 ครั้ง 5 ครั้งต่อสัปดาห์ หยุดพัก 2 วัน แล้วเริ่มต้นใหม่ เวียนไปจนครบได้ปริมาณรังสีตามแพทย์กำหนด แต่ตารางการฉายรังสีอาจเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ขึ้นกับแพทย์กำหนด
  5. การฉายรังสีมักให้การรักษาผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยนอก เมื่อฉายรังสีเสร็จ ผู้ป่วยกลับบ้านได้ ทำงานต่อได้ และกลับมารับการรักษาใหม่ในวันรุ่งขึ้น หรือตามตารางการรักษาที่แพทย์กำหนด การใช้รังสีรักษาในผู้ป่วยแต่ละราย ตลอดจนระยะเวลารักษา และขนาดของรังสีที่ได้จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง การตอบสนอง และระยะของโรคของผู้ป่วยแต่ละคนที่มาพบแพทย์

การรักษาด้วยรังสี

  1. ใช้รังสีเพียงอย่างเดียว โดยมากเป็นการรักษาเพื่อให้หายขาดสำหรับมะเร็งระยะแรกๆ เช่น มะเร็งบริเวณศีรษะและคอ มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
  2. ใช้รังสีร่วมกับการผ่าตัดโดยอาจใช้ก่อนหรือภายหลังผ่าตัด และปัจจุบันมีการใช้รังสีในระหว่างการทำผ่าตัดได้ด้วย ทำให้ผลการรักษามะเร็งของอวัยวะภายในได้ผลดีขึ้น
  3. ใช้รังสีร่วมกับเคมีบำบัด อาจให้รังสีก่อนหรือหลังหรือให้พร้อมๆ กับการใช้ยาเคมีบำบัดก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะแพทย์ที่รักษา
  4. ใช้รังสีร่วมกับการผ่าตัด เคมีบำบัดรวมถึงชีวบำบัดผสมผสานกัน

จุดมุ่งหมายของการใช้รังสี

  1. เพื่อผลการรักษาให้หายขาด โดยมากเป็นผู้ป่วยในระยะหนึ่งถึงสอง
  2. เพื่อบรรเทาอาการ ในกลุ่มนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยรังสี แต่เป็นการบรรเทา อาการปวด อาการแน่นหน้าอก, หายใจลำบาก, อาการเลือดออกมาก เป็นต้น

การเตรียมตัว

  1. ในการฉายรังสี ไม่ต้องมีการเตรียมตัวเป็นพิเศษมากนัก แพทย์ พยาบาล นักรังสีเทคนิค/รังสีการแพทย์ จะแนะนำล่วงหน้าเสมอ
  2. แต่งตัวด้วยเสื้อผ้า สะอาด หลวม รวมทั้งรองเท้า สวมใส่/ถอดง่าย สะดวก ใช้เวลาในการแต่งตัวสวมใส่น้อย เพราะในการรักษา บริเวณที่ฉายรังสี ต้องไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม จึงต้องมีการถอดเปลี่ยนเสื้อผ้า และ พื่อไม่เสียเวลามากเกินควร เนื่องจากเป็นการใช้ห้องฉายร่วมกันในผู้ป่วยจำนวนมาก
  3. รับประทานอาหาร ดื่มน้ำได้ตามปรกติ หรือ ตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ แต่อย่าให้อิ่มเกินไป
  4. เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนเข้าห้องฉาย เพราะผู้ป่วยต้องอยู่ในห้องฉายแสงประมาณ 10-15 นาที หรือ นานกว่านี้ในกรณีที่ใช้เทคนิคการรักษาที่ซับซ้อน
  5. ถ้ามีการขีดเส้น หรือทำเครื่องหมายไว้บนตัวผู้ป่วย ด้วยสีพิเศษซึ่งลบออกได้ยาก ผู้ป่วยต้องพยายามรักษาไม่ให้เส้น หรือ เครื่องหมายเหล่านั้นลบเลือน เพราะเป็นตำแหน่งถูกต้องของการรักษา โดยปรกติ แพทย์ และ นักรังสีฯ จะคอยเติมเส้น/เครื่องหมายเหล่านั้นให้ชัดเจนอยู่เสมอ ผู้ป่วยบางรายอาจแพ้สีนี้ โดยมีอาการคัน หรือ เป็นแผลตามแนวที่ขีดเส้นไว้ ไม่ต้องตกใจ อาการและแผลจะหายไปเอง แต่ถ้าผู้ป่วยกังวล ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ หรือ พยาบาล เพื่อให้แพทย์ตรวจ และ
  6. ควรมารับการฉายรังสีตรงตามเวลานัด


ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=681&sub_id=13&ref_main_id=3

อัพเดทล่าสุด