จะกิน..ยา ตอนไหนดีนะ


1,389 ผู้ชม


เวลาอ่านซองยา หลายท่านอาจสงสัยว่า ยาที่ระบุว่า          เวลาอ่านซองยา หลายท่านอาจสงสัยว่า ยาที่ระบุว่า "กินก่อนอาหาร" ควรกินก่อนอาหารกี่นาที หรือสามารถกินหลังอาหารแทนได้หรือไม่ หากลืมกิน และหากบนซองยาระบุว่า 

"กินหลังอาหาร" จะต้องกินหลังอาหารทันทีหรือไม่ หากกินเมื่อท้องว่าง ยาจะกัดกระเพาะอาหารหรือไม่ เหตุผลที่ต้องระบุบนซองยาว่า "กินก่อนอาหาร" เนื่องจาก

  • อาหารจะลดการดูดซึมของยา ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ จึงแนะนำให้กินตอนท้องว่าง ก่อนอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง ได้แก่ ยาฆ่าเชื้อบางชนิด เช่น คล๊อกซาซิลลิน (Cloxacillin) อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin) ร็อกซิโทรมัยซิน (Roxithromy-cin) เป็นต้น
  • เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังจากกินอาหารจึงแนะนำให้กินยาก่อนอาหารประมาณ 30 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เริ่มออกฤทธิ์ เช่น ยาเมโตโคลปราไมด์ (Metoclopramide) ดอมเพอริโดน (Domperidone)

ส่วนเหตุผลที่ต้องระบุว่า "กินหลังอาหารทันที" หรือ "พร้อมอาหาร"

  • เพื่อลดผลข้างเคียงของยาที่ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ้ากินตอนท้องว่าง หากกินยาวันละ 1 มื้อ เภสัชกรจะแนะนำให้กินยาพร้อมอาหารมื้อที่หนักสุดของวันและดื่มน้ำตามมากๆ ได้แก่ ยาลดการปวดอักเสบของกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น แอสไพริน (Aspirin) ไอบูโบรเพน (Ibuprofen) อินโดเมธาซิน(Indomethacin) แม้ว่ายากลุ่มนี้จะถูกพัฒนาให้มีผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหารน้อยลง เช่น โรฟีคอกซิบ (Rofecoxib) มีลอกซิแคม (Meloxicam) แต่ก็ยังต้องกินหลังอาหารทันที และดื่มน้ำตามมากๆ เช่นกัน เพราะการกินยากลุ่มนี้หลังอาหารทันทีจะช่วยลดอาการคลื่นไส้ลง และป้องกันการเกิดแผลในทางเดินอาหารด้วย
  • เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ในช่วงเวลานั้นๆ เช่น ยาลดกรดประเภทอลูมินัม แมกนีเซียม มักแนะนำให้กินหลังอาหาร 1 ชั่วโมง และก่อนนอน เนื่องจากพบว่าระดับของกรดในกระเพาะอาหารมีประมาณสูงสุดภายใน 1 ชั่วโมง และก่อนนอน เนื่องจากพบว่าระดับของกรดในกระเพาะอาหาร มีประมาณสูงสุดภายใน 1 ชั่วโมงหลังอาหารและเวลากลางคืน หรือยาที่ให้ร่วมกับยาเบาหวานบางขนาน ได้แก่ อคาร์โบส (Acarbose) โวกลิโบส (Voglibose) แนะนำให้กินพร้อมกับอาหารคำแรก เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมน้ำตาล ในระยะเวลาเดียวกับที่เริ่มมีการดูดซึมน้ำตาลในทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือด เช่นเดียวกับยาที่ดักจับไขมัน ออริสแตท (Orlistat) แนะนำให้กินพร้อมอาหารคำแรกในมื้อที่มีอาหารไขมันสูง
  • ป้องกันการรบกวนการดูดซึมของยาอื่นที่กินร่วมด้วย ในผู้ป่วยท้องเสียบางรายที่ได้รับยาคอเทสไทรามีน(Cholestyramine) หรือแอ็คติเวทเต็ด ชาร์โคล (Activated Charcoal) โดยแนะนำให้กินห่างจากยาอื่นอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เนื่องจากยาทั้ง 2 ตัวอาจไปดูดซับยาอื่นที่ให้ร่วมด้วย ทำให้การออกฤทธิ์ของยานั้นลดลง

เหตุผลที่กล่าวข้างต้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแนะนำเพื่อให้การรักษาของแพทย์มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ความร่วมมือของผู้ป่วย ดังนั้นหากท่านเป็นคนหนึ่งที่ต้องใช้ยาและมีปัญหาเรื่องยา อย่ารีรอที่จะขอคำปรึกษาจากแพทย์และเภสัชกร


ที่มา เวลาอ่านซองยา หลายท่านอาจสงสัยว่า ยาที่ระบุว่า          เวลาอ่านซองยา หลายท่านอาจสงสัยว่า ยาที่ระบุว่า "กินก่อนอาหาร" ควรกินก่อนอาหารกี่นาที หรือสามารถกินหลังอาหารแทนได้หรือไม่ หากลืมกิน และหากบนซองยาระบุว่า 

"กินหลังอาหาร" จะต้องกินหลังอาหารทันทีหรือไม่ หากกินเมื่อท้องว่าง ยาจะกัดกระเพาะอาหารหรือไม่ เหตุผลที่ต้องระบุบนซองยาว่า "กินก่อนอาหาร" เนื่องจาก

  • อาหารจะลดการดูดซึมของยา ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ จึงแนะนำให้กินตอนท้องว่าง ก่อนอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง ได้แก่ ยาฆ่าเชื้อบางชนิด เช่น คล๊อกซาซิลลิน (Cloxacillin) อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin) ร็อกซิโทรมัยซิน (Roxithromy-cin) เป็นต้น
  • เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังจากกินอาหารจึงแนะนำให้กินยาก่อนอาหารประมาณ 30 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เริ่มออกฤทธิ์ เช่น ยาเมโตโคลปราไมด์ (Metoclopramide) ดอมเพอริโดน (Domperidone)

ส่วนเหตุผลที่ต้องระบุว่า "กินหลังอาหารทันที" หรือ "พร้อมอาหาร"

  • เพื่อลดผลข้างเคียงของยาที่ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ้ากินตอนท้องว่าง หากกินยาวันละ 1 มื้อ เภสัชกรจะแนะนำให้กินยาพร้อมอาหารมื้อที่หนักสุดของวันและดื่มน้ำตามมากๆ ได้แก่ ยาลดการปวดอักเสบของกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น แอสไพริน (Aspirin) ไอบูโบรเพน (Ibuprofen) อินโดเมธาซิน(Indomethacin) แม้ว่ายากลุ่มนี้จะถูกพัฒนาให้มีผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหารน้อยลง เช่น โรฟีคอกซิบ (Rofecoxib) มีลอกซิแคม (Meloxicam) แต่ก็ยังต้องกินหลังอาหารทันที และดื่มน้ำตามมากๆ เช่นกัน เพราะการกินยากลุ่มนี้หลังอาหารทันทีจะช่วยลดอาการคลื่นไส้ลง และป้องกันการเกิดแผลในทางเดินอาหารด้วย
  • เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ในช่วงเวลานั้นๆ เช่น ยาลดกรดประเภทอลูมินัม แมกนีเซียม มักแนะนำให้กินหลังอาหาร 1 ชั่วโมง และก่อนนอน เนื่องจากพบว่าระดับของกรดในกระเพาะอาหารมีประมาณสูงสุดภายใน 1 ชั่วโมง และก่อนนอน เนื่องจากพบว่าระดับของกรดในกระเพาะอาหาร มีประมาณสูงสุดภายใน 1 ชั่วโมงหลังอาหารและเวลากลางคืน หรือยาที่ให้ร่วมกับยาเบาหวานบางขนาน ได้แก่ อคาร์โบส (Acarbose) โวกลิโบส (Voglibose) แนะนำให้กินพร้อมกับอาหารคำแรก เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมน้ำตาล ในระยะเวลาเดียวกับที่เริ่มมีการดูดซึมน้ำตาลในทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือด เช่นเดียวกับยาที่ดักจับไขมัน ออริสแตท (Orlistat) แนะนำให้กินพร้อมอาหารคำแรกในมื้อที่มีอาหารไขมันสูง
  • ป้องกันการรบกวนการดูดซึมของยาอื่นที่กินร่วมด้วย ในผู้ป่วยท้องเสียบางรายที่ได้รับยาคอเทสไทรามีน(Cholestyramine) หรือแอ็คติเวทเต็ด ชาร์โคล (Activated Charcoal) โดยแนะนำให้กินห่างจากยาอื่นอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เนื่องจากยาทั้ง 2 ตัวอาจไปดูดซับยาอื่นที่ให้ร่วมด้วย ทำให้การออกฤทธิ์ของยานั้นลดลง

เหตุผลที่กล่าวข้างต้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแนะนำเพื่อให้การรักษาของแพทย์มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ความร่วมมือของผู้ป่วย ดังนั้นหากท่านเป็นคนหนึ่งที่ต้องใช้ยาและมีปัญหาเรื่องยา อย่ารีรอที่จะขอคำปรึกษาจากแพทย์และเภสัชกร
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=206&sub_id=52&ref_main_id=3


อัพเดทล่าสุด