ความรู้พื้นฐานของเลเซอร์ (มีดผ่าตัดไร้โลหิต) รักาารอยคล้ำใต้ตาด้วยเลเซอร์


1,596 ผู้ชม

แหล่งพลังงาน คือแหล่งที่ใช้กระตุ้น ให้เกิดเลเซอร์ อาจเป็นกระแสไฟตรง หรือแสงแฟล็ช ความร้อน หรือเลเซอร์อีกชุดหนึ่ง กระตุ้นให้เกิดเลเซอร์อีกชุดหนึ่ง


  • เลเซอร์ ก็เป็นวิวัฒนาการหนึ่ง ที่ได้เข้ามามีบทบาทในคลินิกด้านความงาม ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้งผลดี และผลข้า�
��เคียงที่เกิดขึ้นมากมาย ดังนั้นในบทความนี้ จะนำเสนอความรู้ด้านเลเซอร์พื้นฐาน ทั้งหลักการทำงาน ประเภทของเลเซอร์ และประโยชน์ในการใช้งาน เพื่อทุกท่านที่สนใจจะได้เข้าใจและพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการตัดสินใจในการรักษา
  • การนำเลเซฮร์มาประยุกต์ใช้ พบได้ในวงการแพทย์หลายสาขา โดยเฉพาะการผ่าตัดที่ต้องใข้ความละเอียดสูง การจี้ หรือการตัดได้ทั้งแบบสัมผัส หรือไม่ต้องสัมผัสกับเนื้อเยื่อ การฆ่าเชื้อ การผ่าตัดด้วยกล้อง ข้อดีของการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ ก็คือสามารถทำให้เลือดหยุดไหลได้ในขณะทำการผ่าตัด เพราะความร้อนและพลังงานจากเลเซอร์ จะช่วยทำให้เลือดแข็งตัว( Stop bleeding ) ไปด้วยในตัว ดังนั้นคำกล่างที่ว่า เลเซอร์คือ มีดผ่าตัดไร้โลหิต จึงน่าจะเหมาะสมยิ่ง
  • เลเซอร์ มาจากคำว่า laser = Light Amplification by Stimulated Emission of Radiations หมายความว่า มีขบวนการที่ทำให้รังสีมีการแผ่แบบกระตุ้น คือมีทิศทางและการถ่ายทอดพลังงานที่แน่นอน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงชั้นพลังงานของอิเลคตรอน จากชั้นที่สูงกว่า ลงสู่วงโคจรของอิเลคตรอนปกติ ( จากกรณีที่ได้รับพลังงาน Photon จากภายนอกวงโคจรของนิวเคลียส- ลึกไปมั้ยเนี่ยเนอะ) โดยมีช่วงคลื่นแบบเดียวกัน เป็นรังสีขนาน ไม่ลู่เข้าหรือบานออก และมีกำลังสูงกว่ารังสีทั่วๆไป
  • เลเซอร์ เป็นพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ช่วงคลื่นที่นำมาใช้ในวงการแพทย์มากที่สุดคือ อินฟราเรด ซึ่งแบ่งได้เป็น อินฟราเรดใกล้( ช่วงคลื่น 750-3,000 nm) และอินฟราเรดไกล( 6,000-15,000 nm) รองลงมาคือ UV
  • เลเซอร์ ประกอบด้วยอุปกรณ์ ต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้ 
      :  1. สารกำเนิดเลเซอร์ - มักอยู่ในรูปแก๊สเฉี่อย ( Noble gasses) เช่น อาร์กอน คริบตอน เป็นต้น โดยสารแต่ละชนิดจะให้เลเซอร์ที่มีความถี่เฉพาะเช่น Co2 laser จะอยู่ในช่วงคลื่นอินฟราเรดไกล(10,600 nm ) โดยมีสารที่ดูดซับพลังงานคือ น้ำ ซึ่งใช้ในงานทางศัลยกรรมและสูตินารีเวช เช่นการตัดใฝ ตัดหูด กระเนื้อ ส่วน Nd:YAG จะอยู่ในช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้( 1,600 nm) มักใช้ในการผ่าตัดตา ห้ามเลือด ส่วนเลเซอร์อาร์กอน จะมีคลื่นแสงตามองเห็นได้( Ar 488 , Ar 514 ) ซึ่งให้แสงสีฟ้าและเขียว เป็นต้น 
      :  2. ท่อเลเซอร์ 
      :  3. แหล่งพลังงาน คือแหล่งที่ใช้กระตุ้น ให้เกิดเลเซอร์ อาจเป็นกระแสไฟตรง หรือแสงแฟล็ช ความร้อน หรือเลเซอร์อีกชุดหนึ่ง กระตุ้นให้เกิดเลเซอร์อีกชุดหนึ่ง 
      :  4. ระบบนำรังสี- แบ่งได้เป็น ระบบใยแก้วนำแสง ( Fiberoptic) มักใช้กับเลเซอร์รุ่น Nd:YAG ,Argon,Cripton และ ระบบกระจกเงา( mirrors) มักใช้กับเลเซอร์ประเภท Co2
  • ประเภทของเลเซอร์ที่พบในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มดังนี้( ตัวอักษรสีแดง เป็นประเภทเลเซอร์ที่ใช้บ่อยๆ ในไทย) 
      :  1. Nonselective surgicl laser คือ เลเซอร์ที่มีลำแสงไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ Co2 laser,Nd:YAG laser ,Erbium:YAG laser 
      :  2. Selective laser คือ เลเซอร์ที่มีลำแสงเฉพาะเจาะจง ได้แก่ Copper vapor( CVL) / Copper bromidw laser(CBL) ,KTP laser ,Pulse dye laser -585 nm(PDL-585) ,Pulse dye laser -510 nm(PDL-510) , Q-swithched ruby laser( QSRL),Frequency-double Q-swithched Nd:YAG laser( QSNdYL), Q-swithched alexandrite laser( QSAL) ,Long-pulse ruby laser( LPRL) ,Long-pulse alexandrite laser( LPAL)
  • ข้อดีของเลเซอร์ในทางการแพทย์ 
      :  1. ช่วยในการผ่าตัด ห้ามเลือด และฆ่าเชื้อได้ด้วย 
      :  2. ใช้ในการผ่าตัดเนื้อเยื่อโดยตรง โดยไม่ต้องสัมผัส ทำให้การบวมหลังผ่าตัดลดลง 
      :  3. ใช้เชื่อมหลอดเลือด ลำไส้ ท่อไต และผิวหนัง 
      :  4. ใช้ในการตัดชิ้นเนื้อขนาดเล็ก และไม่อยู่ลึกมาก เพราะมีข้อจำกัดในการทะลุทะลวง
  • การป้องกันผลข้างเคียงจากการทำเลเซอร์ 
      :  1. ควรสวมแว่นตาป้องกันลำแสงเลเซอร์ เพราะถ้าแสงเลเซอร์ โดยเฉพาะอินฟราเรด เข้าตา จะทำให้กระจกตาขุ่นมัว และตาบอดได้ ไม่มีทางรักษา 
      :  2. ควันที่เกิดขึ้น จากการฉายเลเซอร์ Co2 ทำให้มีกลิ่นเหม็นใหม้ จำเป็นต้องมีเครื่องดูดควัน
      :  3. ระวังการทำลายเนื้อเยื่อข้างเคียงได้ 
      :  4. อาจทำให้เกิดรอยดำ รอยแผลเป็น และจำต้องมีการพักรักษาตัว หลังการรักษาด้วยเลเซอร์ 
    เรียบเรียงใหม่ โดยนพ.จรัสพล รินทระ 
    จรัสพลคลินิก .............................23/5/2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=9&sdata=&col_id=33

อัพเดทล่าสุด