ฮอร์โมนลดความอยากอาหาร


854 ผู้ชม


  • ภาวะโรคอ้วน ได้แพร่กระจายและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากในชาวอเมริกัน และกำลังแพร่ระบาดขยายไปทั่วโลก ทำให้หลายๆ หน่วย
งานได้พยายามค้นคว้าวิจัย หาวิธีการมากมายในการพยายามควบคุมและลดน้ำหนักให้ได้.......
  • นักวิจัยแห่ง Imperial College ประเทศอังกฤษ และนักวิทยาศาสตร์แห่งรัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการสกัดฮอร์โมนรหัส PPY 3-36 จากเยื่อบุลำไส้ โดยพบว่าฮอร์โมนชนิดนี้ที่ผลต่อเซลล์สมองในหนู โดยทำให้สามารถควบคุมน้ำหนัก และลดความอยากอาหารลงได้
  • ต่อมาได้มีการพัฒนาฮอร์โมนนี้ให้นำมาใช้ทดลองในคน โดยมีชื่อว่า Third helping Hormone ซึ่งจัดเป็นฮอร์โมนประเภทฉีด แต่นำมาหยอดเข้ากระแสเลือดดำของอาสาสมัครจำนวน 12 ราย โดยหยอดในช่วงก่อนอาหาร ผลการทดลองพบว่า ทุกคนสามารถลดจำนวนปริมาณอาหารที่รับประทานลงได้ถึง 1 ใน 3 และทำให้ไม่รู้สึกหิวเลยติดต่อกันหลังหยอดฮอร์โมนนี้ไปอีกนานกว่า 12 ชม. โดยได้มีการอธิบายว่าฮอร์โมนนี้จะเปรียบเสมือนอาหารหลอกๆ ( fake meals) ที่ทำให้สมองรู้สึกว่าอิ่มแล้ว
  • จากผลงานวิจัยนี้ ทำให้วงการแพทย์อาจจะนำไปพัฒนายาที่จะไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนดังกล่าวมากขึ้น เพื่อลดการรับประทานจุกจิกระหว่างมื้อ และลดปริมาณอาหารหลักที่รับประทานลง แต่อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมวิจัย ยังไม่พิสูจน์ยืนยันชัดเจนว่ากลไกการออกฤทธิ์ที่แน่นอนของร่างกายที่ทำให้รู้สึกอิ่มเร็วจากผลการตอบสนองต่อ ฮอร์โมน PPY 3-36 นี้ได้ผลอย่างปลอดภัยหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป 
    เรียบเรียงและค้นคว้าโดย นพ.จรัสพล รินทระ.........11 November,2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=5&sdata=&col_id=290

อัพเดทล่าสุด