กลไกการออกฤทธิ์ของสารไวเทนนิ่งต่อขบวนการสร้างเม็ดสี


799 ผู้ชม


  • จากบทความที่แล้วเรื่อง ขบวนการสร้างเม็ดสีเมลานิน ซึ่งทำให้สีผิวเข้มขึ้นนั้นมีกลไกและเกี่ยวข้องกับเอนไซม์อะไรบ��
�าง (https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=4&&col_id=212) ทำให้วงการเครื่องสำอาง ได้ทำการวิจัยหาสารเคมี หรือสารไวเทนนิ่ง ที่จะสามารถยับยั้งกลไกดังกล่าว ทั้งในรูปของครีมทาผิวและยารับประทานออกมามากมาย หลากหลายชนิด และนำมาผสมใน หลากหลายยี่ห้อในปัจจุบัน ดังนั้นการที่เราจะได้ทราบว่าแต่ละตัวออกฤทธิ์ที่ไหน จะทำให้มีประโยชน์ในการเลือกซื้อและพิจารณาว่าที่เค้าโฆษณานั้น ได้ผล ดีจริงหรือเปล่า คุ้มค่ากับเงินที่ต้องใช้จ่ายไปหรือไม่นะครับ!
  • กลไกการออกฤทธิ์ของสารไวเทนนิ่ง ต่อขบวนการทำให้สีผิวขาวขึ้น มีสารที่ควรทราบพอสังเขปดังนี้ 
       1. กลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเอนไซม์ Tyrosinases ได้แก่สารพวก Lactic acid,รกแกะ(Placenta Extracts),Azelaic acid,Lactate 
       2. กลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการพัฒนา(Maturation) ของเอนไซม์ Tyrosinases ได้แก่สารพวก Glutathione or cysteine (ซึ่งพบในน้ำผึ้ง ทำให้ การเอาน้ำผึ้งทาผิวหน้า หรือรับประทานน้ำผึ้งเป็นประจำจึงทำให้สีผิวนวลผุดผ่องได้ ),Calcium D pantethine S sulphate 
       3. กลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือรบกวนการทำงาน (Activities) ของเอนไซม์ Tyrosinases กลุ่มนี้มีมากมายหลายตัว และมักจะนำมาผสมในเครื่องสำอางที่วางขายในปัจจุบัน ได้แก่ สาร Hydroquinone (ซึ่งเคยเป็นส่วนผสมครีมทาฝ้าในสมัยก่อนที่ฮิตมาก แต่ปัจจุบันห้ามผสมลงไป เพราะทำให้เกิดผลข้างเคียงมาก),Kogic acid,สารสกัดจากชะเอม(Licorice) ,Albutin,VitaminC,สารสกัดจากชาเขียว(Green tea extracts), สารสกัดจากปอสา(paper mulberry),สารสกัดจากแอปเปิ้ล(Applephenon extracts),Ellagic acid(กำลังอยู่ในห้องทดลองจะออกมาเผยโฉมเร็วๆนี้) ,polyglutanmate,tanaka extracts,สารสกัดจากเปลือกมะหาด(Mahad),สารสกัดจากบอระเพ็ด,สารสกัดจากสาเก,สารสกัดจาก สมุนไพรอื่นๆ,สารสกัดจากเปลือกสนมาริไทม์(Pynocare),ยารับประทานรักษาฝ้า Tranxemic acid 
       4. กลุ่มที่ออกฤทธิ์เพิ่มการสลายตัวของเอนไซม์ Tyrosinases ได้แก่สารพวก Alpha linoleic acid 
       5. กลุ่มที่ออกฤทธิ์การทำงานของเอนไซม์ D.tautomerase ,Dpolymerase ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสารต้นแบบของเม็ดสี Pheomelanin ได้แก่สารกลุ่ม Albutin,Alpha-tocophernyl ferulate(วิตามินE),Kogic acid,Licorice extracts 
       นอกจากนี้ในสมัยก่อนที่มีการนำสารปรอท หรือสาร Phenol มาผสมในเครื่องสำอางรักษาฝ้า หรือสารไฮโดรควิโนนเข้มข้น แล้ว ทำให้หน้าขาวได้ไวนั้น มีกลไกการออกฤทธิ์โดยการทำลายเซลล์ melanocyte ซึ่งสร้างเม็ดสี แต่ก็เกิดอันตรายได้มาก จึงต้องดูให้ดีว่า เครื่องสำอาง ที่อ้างว่าได้ผลไวนั้น ผสมกลุ่มนี้ด้วยหรือเปล่า เพราะต้องหลีกเลี่ยงเด็ดขาด
  • จะเห็นได้ว่าสารไวเทนนิ่งในปัจจุบัน มีมากมายหลากหลาย และก็มีตัวใหม่ๆ จะออกมาอีกมาก แต่ส่วนใหญ่ก็มีการออกฤทธิ์ในขบวนการดังกล่าว บางผลิตภัณฑ์ก็จะผสมสารไวเทนนิ่งหลายๆตัว และเลือกที่ออกฤทธิ์ในตำแหน่งที่แตกต่างกันเพื่อเสริมฤทธิ์กัน แต่พบว่าได้มีการเปรียบเทียบผลที่ได้ในสารกลุ่มนี้บางตัวจะพบว่า 
       - Alpha Alpha-tocophernyl ferulate(1) >Ellaic acid(2) > Albutin(3)>Licorice(4)>Kogic(5)>VitC(6)>Paper mulbery(7) 
    ซึ่งเรียงลำดับ การได้ผลตามหมายเลขข้างต้น แต่ในหมายเลข 1,2 จะเห็นว่าดีกว่าตัวอื่นๆ แต่ยังอยู่ในการทดลองให้สารคงตัวในรูปของครีม หรือยาทาอยู่ ดังนั้นในท้องตลาดปัจจุบันจึงมักจะพบสารหมายเลข 4-7 มากกว่า
  • จากการทราบสารต่างๆ ขั้นต้น นอกจากจะได้มีการนำผสมเป็นครีมทาแล้ว การจะทำให้สารเหล่านี้ออกฤทธิ์ได้มากขึ้น หรือซึมเข้าผิวได้มากขึ้น ก็มี การนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์มาช่วย เช่น เครื่องไอออนโต เครื่องโฟโน หรือการทำ Microderbrasion กรอผิวให้เซลล์เมลาโนไซต์ลดลง ให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม การทำ Chemical peeling ก็ช่วยลดจำนวนเซลล์สร้างเม็ดสีเมลานิน,IPL การกระจายเม็ดสีเมลานินให้จางลง
  • นอกจากนี้ยังมีการศึกษาสารกลุ่มอื่นที่มีผลทำให้แสงแดดมีผลต่อผิวลดลง เพื่อนำมาผสมในครีมกันแดด เช่น กลุ่ม Antixidants เช่น Betacarotene ซึ่งมีผลต่อ UVA ,กลุ่ม EPO ที่มีผลต่อ UVB,กลุ่มสารสกัดจากชาเขียว และ beta glucan มีผลต่อทั้ง UVA+UVB ซึ่งเรื่องผิวพรรณที่ทำให้เนียนขาวใส ไร้ฝ้า กระ รอยดำ นี้คงจะพัฒนาต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง ถ้ามีข้อมูลใหม่ๆ จะนำเสนอในภาคต่อๆ ไปนะครับ อย่าลืมติดตาม! 
    เรียบเรียงและค้นคว้า โดย นพ.จรัสพล รินทระ........................29 August,2002

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=4&sdata=&col_id=213

อัพเดทล่าสุด