ฝ้า สาเหตุและการป้องกันรักษา


1,384 ผู้ชม


  • ฝ้า มีลักษณะเป็นผื่นสีน้ำตาล มักเกิดบริเวณแก้ม จมูก หน้าผาก คาง บริเวณที่ถูกแสงแดด มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ใน
อัดราส่วน 12:1 พบมากในวัยกลางคน อายุ ประมาณ 30-40 ปี
  • สาเหตุของการเกิดฝ้า 
    1. แสงแดดเชื่อว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด แสงอุตราไวโอเลตทั้งเอ บี และแสง Visible Light เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดฝ้า หรือทำให้ฝ้าเป็นมากขึ้น การละเลยผิวหน้า ไม่ได้ทาครีมกันแดด หรือ เครื่องป้องกัน อาทิ หมวก ร่ม ทำให้เซลล์เม็ดสี(Melanin) ต้องสร้างเม็ดสีเพื่อป้องกันอันตรายจากรังสียูวี จึงเกิดฝ้า กระ รอยหมองคล้ำตามมา 
    2. ผิวแห้งขาดการบำรุง จะทำให้เกิดฝ้าได้ง่ายกว่าคนผิวมัน เพราะผิวแห้งจะทำให้ผิวหน้าขาดความสมดุลย์ของน้ำหล่อเลี่ยงผิว ทำให้หน้าแห้งกร้าน ขาดภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของผิว จึงทำให้ผิวหน้าไวต่อรังสียูวีมากขึ้น 
    3. ฮอรโมน ถือว่าเป็นสาเหตุของการเกิดฝ้าที่สำคัญอีกสาเหตุหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนผิดปกติ เช่น จากการตั้งครรภ์ หรือ รับประทานยาคุมกำเนิด อาจทำให้เกิดฝ้าได้ แต่ปัจจุบันก็ยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนในเรื่องนี้ 
    4. เครื่องสำอางค์ การแพ้ส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ อาจทำให้เกิดรอยดำแบบฝ้าได้ ส่วนผสมเหล่านี้อาจเป็นพวกสารให้กลิ่นหอม หรือสีที่ผสมในเครื่องสำอาง 
    5. พันธุ์กรรม และเชื้อชาติ เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกันถึง 30% เนื่องจากมีรายงานว่า ถ้ามีบุคคลใดเคยเป็นฝ้าในครอบครัว จะทำให้บุตรหลาน มีโอกาสเป็นฝ้าได้ถึง ร้อยละ 30-50 และพบบ่อยในคนเอเซียมากกว่าในยุโรป
  • การป้องกันการเกิดฝ้า 
    ฝ้าเป็นโรคทางผิวหนัง เมื่อเป็นแล้วมักจะใช้เวลาในการรักษาค่อนข้างนาน ไม่ค่อยหายขาด โดยเฉพาะฝ้าลึก ( dermal melasma) และมีโอกาสกลับมาเป็นฝ้าได้อีก เนื่องจากปัจจัยหลายอย่างและสาเหตุข้างต้น ซึ่งหลีกเลี่ยงได้ยาก ดังนั้นการป้องกันการเกิดฝ้า จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ดังนี้ 
    1. โฟมล้างหน้า หรือเจลล้างหน้า ควรเลือกล้างหน้าด้วยโฟม หรือเจล ที่เหมาะกับผิวแห้ง เพื่อป้องกันผิวแห้งมากขึ้น 
    2. ครีมกันแดด ถือว่าเป็นเครื่องสำอางพื้นฐานที่ต้องใช้ตลอดเวลา เนื่องจากมีการวิจัยแล้วว่า แสงแดดนอกจากทำให้เกิดฝ้าแล้ว ยังทำให้เกิดริ้วรอยแก่ก่อนวัย การเลือกใช้ครีมกันแดด นอกจากจะต้องเหมาะกับผิวแล้ว ควรคำนึงถึงประสิทธิภาพของสารกันแดดด้วย ค่า SPF เท่าใด (ค่าสารกันแดดที่ป้องกันรังสียูวีบี) และค่า PA เท่าไหร่ (ค่าสารกันแดดที่ป้องกันรังสียูวีเอ) สำหรับผู้ที่เป็นฝ้า ควรเลือกครีมกันแดด ที่มีค่า SPF> 25 และค่า PA++ เป็นอย่างน้อย และควรมีส่วนผสมของครีมบำรุงร่วมด้วย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของสารกันแดดได้ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=6&&col_id=39 และเทคนิคการเลือกใช้ครีมกันแดด ได้เขียนบทความไว้แล้ว ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=1&&col_id=239 
    3. ครีมปรับสภาพผิว อาจอยู่ในรูปของ BHA Creams,AHA gel,BHA gel หรือครีมบำรุงอย่างอื่น เพื่อช่วยปรับสภาพผิวหน้า ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวให้กลับมาปกติ 
    4. ครีมบำรุงผิว การบำรุงผิวหน้าตั้งแต่วัยเยาว์ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี การเลือกครีมที่มีส่วนผสมของ วิตามินเอ ซี อี หรือ EPO พบว่ามีส่วนช่วยในการป้องกันฝ้า และริ้วรอยได้ 
    5. โภชนาการและยาบำรุง ควรรับประทานผัก ผลไม้ ที่มีคุณค่าทางวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินซี เพราะพบว่านอกจากป้องกันการเกิดโรคหวัดแล้ว ยังใช้รักษาฝ้าได้ด้วย แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานวิตามินซี(เม็ด) วันละ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ควบคู่กับวิตามินอี 1,200 ยูนิตต่อวัน
  • แนวทางในการรักษาฝ้าในปัจจุบัน 
    1. ครีมทารักษาฝ้า ในสมัยแรกๆ (หลายสิบปีก่อน) ครีมรักษาฝ้าที่ได้ผลดี และมีวางจำหน่ายทั่วไป ได้แก่ครีมทาฝ้าที่มีส่วนผสมของสาร Hydroquinone,Steroids, สารปรอท ซึ่งผลต่อมาพบว่ามีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก แม้จะทำให้ฝ้าจางเร็ว แต่มีผลข้างเคียงได้ในระยะยาว และทำให้ฝ้ากลับมาเป็นใหม่และรุนแรงกว่าเดิมด้วย (Rebound effects) และอาจจะทำให้เกิดฝ้าแบบถาวรจากผลของสารไฮโดรควิโนน ( อ่านบทความเรื่องนี้ได้ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=4&&col_id=4) ซึ่งในปัจจุบัน อย.ได้ถือว่าเป็นยาอันตราย ไม่อนุญาตให้ผสมในครีมรักษาฝ้า เพื่อวางจำหน่ายทั่วไป การเลือกใช้จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะในคลินิก หรือในรพ.เท่านั้น 
    ดังนั้นในปัจจุบัน ครีมรักษาฝ้าที่วางจำหน่ายทั่วไป จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา โดยใช้สารที่ทำให้ขาว (Whitening agents) แทน ซึ่งมีหลายๆ ตัว อาทิเช่น Kogic acid,Albutin,Licorice Extracts,Vitamin C Derivatives ฯลฯ ) ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์แต่สารแต่ละตัว ก็จะแตกต่างกันไป เพื่อยับยั้งการสร้างเม็ดสี เมลานินที่ผิดปกติ ในแต่ละขั้นตอน (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=4&&col_id=213) แพทย์ในปัจจุบัน มักจะเลือกใช้ครีมรักษาฝ้า แบบผสมผสาน ที่เรียกว่าการรักษาแบบ Cocktails therapy จะได้ผลมากที่สุด และผลข้างเคียงน้อยที่สุด 
    2. Chemical Peeling คือ การผลัด ผิวหน้าให้หลุดลอกเร็วขึ้นกว่าปกติ ด้วยสารเคมี ส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีกลุ่ม กรดผลไม้(AHAs) หรือ TCA จะทำให้ฝ้า และรอยดำ หลุดลอกออกช้าๆ พร้อมแก้ไขเซลล์ผิวหน้าชั้นนอกที่มีปัญหาให้กลับคืนสู่สภาพปกติ มักจะได้ผลดีสำหรับฝ้าบริเวณหนังกำพร้า (Epidermal melasma) ส่วนฝ้าลึก(Dermal melasma) มักจะได้ผลไม่ดีนัก ผลการรักษาด้วยวิธีนี้ ได้ผลแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ ความเข้มข้นของสารเคมีที่ใช้ ระยะเวลา ในการทาทิ้งไว้ก่อนเช็ดออก ผลข้างเคียงที่พบได้ของการลอกหน้าด้วยกรดเข้มข้น อาจจะทำให้ผิวหน้าลอกได้หลังทำวันที่ 3-5 และถ้าทำบ่อยๆ และไม่อยู่ในความดูแลของแพทย์ อาจจะทำให้ผิวหน้าบางลง หน้าแดงเวลาออกแดด หรือฝ้ากลับมาเป็นใหม่ได้ และอาจจะรุนแรงกว่าเดิม หลังทำวันที่ 3-5 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=9&&col_id=122 
    3. Iontophoresis เป็นวิธีการรักษาฝ้าอีกแบบหนึ่ง โดยใช้เครื่องไอออนโต ทำการสลายยารักษาฝ้า (ได้แก่ กลุ่มยาวิตามินเอ ซี ฯลฯ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น Whitenening Agents) นำมาผ่านขบวนการสลายไอออน เพื่อให้ตัวยาซึมสู่ผิวชั้นล่าง พบว่าทำให้ผิวหน้าโดยรวมขาวใสขึ้น ส่วนผลการรักษามักจะได้ผลดีระดับหนึ่ง สำหรับฝ้าบริเวณหนังกำพร้า (Epidermal melasma) ส่วนฝ้าลึก(Dermal melasma) มักจะได้ผลไม่ดีนัก แต่ข้อดีของการรักษาฝ้าด้วยการทำไอออนโต คือ ไม่ทำให้ผิวหน้าบางลง สามารถทำได้บ่อยๆ เท่าที่ต้องการ ไม่เสียค่าใช้จ่ายมากนัก อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=9&&col_id=113 
    4. การกรอหน้าด้วยเกร็ดอัญมณี (Microdermabrasion ): หลักการก็เพื่อให้ฝ้าหลุดลอกออก และจางลง ด้วยเกร็ดอัญมณีขนาดเล็กมาก ประมาณ 80-100 Micron ซึ่งผลึกครีสตัลที่นิยมใช้ ก็คือ Aluminium Oxide โดยให้วิ่งตามการพ่นของเครื่องปั๊มในกระบอกสูญญากาศที่ ปลอดเชื้อ ( Air flow in Sterile Closed system) โดยมีการปรับความแรง ความเร็วในการพ่นผลึกดังกล่าวได้ตามต้องการของผู้ใช้ ผลการรักษามักจะได้ผลดีระดับหนึ่ง สำหรับฝ้าบริเวณหนังกำพร้า (Epidermal melasma) ส่วนฝ้าลึก(Dermal melasma) มักจะได้ผลไม่ดีนัก แต่ข้อดีของการกรอผิวแบบ Microdermabrasion คือ ฝ้าจางได้เร็ว ราคาไม่แพง เห็นความแตกต่างในทันทีที่ทำเสร็จ ผิวหน้าขาวขึ้น หลังทำ ผิวหน้าไม่ลอกเป็นขุย 
    5. การลอกฝ้าด้วยเลเซอร์ชนิด Ablative Laser เดิมได้มีการนำมารักษาฝ้า โดยใช้เครื่องเลเซอร์กลุ่ม Ultrapulse carbondioxide ควบคู่กับ เลเซอร์กลุ่ม Q-switched alexandrite laser ซึ่งก็ได้ผลดี 50-70 % ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะคนผิวสี และแถบเอเซีย เพราะมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก หลังทำต้องพักฟื้นในรพ. เกิดผลแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น การติดเชื้อ ทำให้เกิดแผลเป็น และ มักจะทำให้เกิดรอยแดง หรือรอยดำจากเลเซอร์นานหลายเดือนกว่าอาการจะดีขึ้น 
    6. การรักษาฝ้าด้วยเทคนิค Photorejuvenation: เดิมพบว่าการรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์ยุคก่อน (ข้อ 5) ทำให้เซลล์ผิวหนังกำพร้า(Epidermis) หลุดลอก จึงได้พัฒนาเลเซอร์แบบใหม่ เพื่อมิให้มีผลต่อผิวหนังส่วนบน ซึ่งได้แก่ เครื่อง IPL ( Intense Pulse Light) หรือ Pigmented Laser ( Nd:YaG) โดยการปล่อยคลื่นความถี่ ในช่วงคลื่นต่างกัน ไปยังตำแหน่งของเม็ดสีเมลานินที่ผิดปกติ เช่น จุดด่างดำ รอยฝ้า แล้วปล่อยพลังงานความร้อนแล้วทำให้เม็ดสีเมลานิน แตกกระจาย เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แบบ shattering โดยไม่มีผลกระทบต่อเซลล์ผิวหนังข้างเคียง หลังจากนั้นเม็ดเลือดขาวในร่างกาย ก็จะทำการย่อยสลายเม็ดสีดังกล่าว ด้วยวิธี Phagocytosis (กลืนกินให้ย่อยสลายไป) ฝ้าก็จะค่อยๆ จางหายไป มักได้ผลดีในกลุ่มฝ้าจางๆ หรือไม่ลึกมากเพียงชั้นหนังกำพร้า( Epidermal melassma) และทำให้รอยแดงฝ้าที่เกิดจากการทายากลุ่มไฮโดรควิโนนนานๆ (Telangiectasia) ดีขึ้นหรือจางหายได้เช่นกัน แต่ในฝ้าที่เป็นลึกในชั้นหนังแท้ (Dermal melasma) ก็ยังได้ผลไม่ดีนัก น้อยกว่า 20% 
    7. การรักษาฝ้าด้วยเทคนิค Fractional Photothermolysis (เช่น Fraxel) :ถือว่าเป็น Non-ablative Laser เริ่มมีการผลิตและนำเข้ามารักษาปัญหาฝ้า ในปี ค.ศ. 2004 และได้การรับรองจาก FDA จากอเมริกา ในปี ค.ศ. 2006 ว่า สามารถแก้ไขปัญหาริ้วรอย ฝ้า กระ ตลอดจนรอยแผลเป็นหลุม ผิวหน้าไม่เรียบ ให้มีสภาพกลับมาดีขึ้น อย่างได้ผลชัดเจน ในระยะเวลาไม่นาน หลักการทำงานของ FP ก็คือ การปล่อยคลื่นแสงในช่วง Mid-Infrared ที่มีความยาวช่วงคลื่นที่ 1,550 นาโนเมตร ลงไปใต้ผิวหนัง ในบริเวณที่เป็นฝ้า โดยจะทำงานแตกต่างจากเลเซอร์รุ่นก่อนๆ ซึ่งเดิมจะใช้เลเซอร์คลื่นแสงเดียว วิ่งเป็นเส้นตรงไปยังเป้าหมายที่ต้องการรักษา แต่เทคนิค FP จะปล่อยพลังงาน ออกมาเป็นอนุภาคเล็กมากๆ แต่ละจุดที่ปล่อยจะเรียกว่า Microthermal Treatment Zone (MTZ) โดยจะปล่อยประมาณ 1,250-2,500 จุดต่อบริเวณผิว 1 ตร.ซม. ทำให้มีการทำลายเซลล์ผิวที่ผิดปกติออกไปเป็นจุดเล็กๆ มากๆ จนตาเปล่ามองไม่เห็น เซลล์ผิวดีที่อยู่รอบข้าง จะเป็นตัวซ่อมแซมให้เกิดเซลล์ผิวใหม่ ขึ้นมาแทนที่ภายใน 24 ชั่วโมง เปรียบเหมือนการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์ ที่มีการแก้ไขจุดบกพร่อง ทีละพิกเซล แต่ก็ยังพบข้อเสีย คือ อาจจะมีผลทำให้เกิดรอยดำ หรือรอยด่าง หลังทำได้เช่นกัน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=9&&col_id=301
  • 8. การรักษาฝ้าด้วยการเทคนิคMesotherapy : เป็นการรักษาฝ้า ด้วยการฉีดยาหลายๆ ตัว ที่มีสรรพคุณเป็นไวเทนนิ่ง เช่น VitmainC,Kogic acid,Placenta extracts ฯลฯ เพื่อไปละลายเม็ดสีเมลานินหรือฝ้า กระ ทำให้ฝ้า กระค่อยๆ จางลง ไม่มีผลข้างเคียงใด เหมาะกับทุกสภาพผิว ได้ผลประมาณ 50-60% อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?grp=9&sdata=mesotherapy&col_id=262
  • 9. การรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์เม็ดสี : ปัจจุบัน มีการรักษาฝ้า เทคนิคใหม่ ด้วยเลเซอร์เม็ดสี ที่เรียกว่า Pigmented laser คือ การใช้เลเซอร์กลุ่มเม็ดสี เช่น กลุ่ม Q-Switched Laser ตัว Revlite ซึ่งจัดว่าเป็นเลเซอร์ที่รักษารอยฝ้า ได้ผลดีมากกว่า 60-70% ไม่พบผลข้างเคียงใด เหมาะกับทุกสภาพสีผิว นอกจากนี้ยังนำมารักษารอยด่างดำ ตามใบหน้า ลำตัว หรือหัวนมดำคล้ำ รักแร้ดำ ริมฝีปากดำคล้ำได้ด้วย อ่านบทความเรื่องเลเซอร์นี้ได้ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?grp=1&col_id=359 
    เรียบเรียงใหม่ โดยนพ.จรัสพล รินทระ ................ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด เมื่อ 19 March,2010

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=4&sdata=&col_id=25

อัพเดทล่าสุด