ยารับประทานรักษาสิว


743 ผู้ชม


  • ยารับประทานในการรักษาสิวในปัจจุบันนี้ได้มีการวิจัยและรวบรวมไว้ล่าสุด โดยการประชุมของสถาบันโรคผิวหนัง ปี2542 โดยจะ�
��ำเสนอเฉพาะตัวยาที่ใช้กันเป็นส่วนมาก โดยมีผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ และมีผลข้างเคียงน้อย
  • ประเภทของยารับประทานในการรักษาสิว จัดแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้ 
    1. ยาที่มีฤทธิ์ลดการทำงานของต่อมไขมัน Sebaceous Gland ทำให้ป้องกันการเกิดสิวได้ ทำให้ผิวหน้ามันลดลง ได้แก่ 
          1.1 ฮอร์โมน Esteogen ในรูปของยาคุมกำเนิด อาทิ Dian-35 แต่มีข้อบ่งชี้ ใช้ได้เฉพาะสตรี เนื่องจากถ้าผู้ชายกินยาประเภทนี้ อาจทำให้นมโต แบบผู้หญิงได้ ในสตรีที่ใช้ยากลุ่มนี้รักษาสิวอาจมีปัญหากับรอบเดือนคลาดเคลื่อนได้ นอกจากนี้ ยังไม่ค่อยนิยมใช้ในกลุ่มสตรีที่ยัง โสด(จริงๆ) อยู่ เพราะอาจมีการเข้าใจผิดได 
          1.2 ยายับยั้งฮอร์โมนเพศชาย อาทิ Cyroterone Acetate มักไม่ค่อยนิยมกัน เนื่องจากเห็นผลได้ช้า โดยสิวจะเริ่มยุบภายใน 2-3 เดือนแรก หน้ามันค่อยๆลดลง แต่ก็มีผลข้างเคียง คือ น้ำหนักตัวเพิ่ม อาจเป็นฝ้าได้ 
          1.3 ยากลุ่มRetionoids ชนิดรับประทาน ในกลุ่มนี้ที่รู้จักกันดี ก็คือ Isotretinoin ซึ่งที่มีวางขายในท้องตลาดปัจจุบัน ได้แก่ Roaccutane,Acnotin,Isotane เป็นยาที่มีประสิทธิภาพมาก ในการออกฤทธิ์ลดขนาดและการผลิตไขมัน ของต่อมไขมัน ลดการหนาตัวของผิวหน้า ที่บริเวณรูขุมขน ทำให้ลดการเกิดการอักเสบ ของเชื้อสิว P.acnes ได้ด้วย แต่ข้อมีผลข้างเคียงที่สำคัญหลายอย่าง จะอธิบายโดยละเอียดอีกที ในหัวข้อที่ 2 
        2. ยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อสิว P.acnes 
          2.1 ยาปฏิชีวนะ(Antibiotics) มักใช้กันแพร่หลายในสมัยก่อน ปัจจุบันยังมีที่ใช้บ้าง แต่คนไข้ส่วนใหญ่ไม่นิยมรับประทาน เนื่องจากต้องใช้กินยาหลายครั้ง และได้ผลไม่ค่อยแตกต่างจาก ยาทา นอกจากนี้ยังมีรายงานการดื้อยาได้ เนื่องจากคนไข้กินยาไม่ค่อยครบคอร์ส ซึ่งส่วนใหญ่ควรใช้ยาต่อเนื่อง ประมาณ 6 เดือน ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานที่ให้ผลการรักษาได้ดี เรียงลำดับ(ราคาก็แพงมาก จากมากไปหาน้อย) ดังนี้ Minocycline,Doxycycline,Bactrim,Tetracycline,Erythromycin 
          2.2 ยากลุ่ม Retinoids Groups อาทิ Isotretinoin,Roaccutrane,Tretinoins เป็นยากลุ่มใหม่ ที่มีประสิทธิภาพมากในการรักษาสิวอักเสบ ออกฤทธิ์ลดขนาดและการผลิตไขมัน ตามที่กล่าวข้างต้น แต่การรักษาแพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้กินยาต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 3-12 เดือน โดยถ้ารับประทานยาจนครบคอร์ส โดยให้มีปริมาณยารวมทั้งหมด 120 มก/กก พบว่าโอกาสที่สิวจะกำเริบใหม่ ภายใน 10 ปีเพียง 20-30% แต่ก็มีผลที่ไม่พึงประสงค์หลายอย่างดังนี้        
  • มีอาการปากแห้ง คอแห้ง ซึ่งพบได้บ่อย และในบางคน แสบตา ไขมันในเลือดสูง หรืออาจพบผมร่วงได้ในบางคน แต่อาการนี้จะหายไป เมื่อหยุดยา        
  • ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ หรือให้นมบุตร เพราะมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ อาจแท้งได้        
  • ทำให้ซึมเศร้าได้ เมื่อหยุดยาทันที แต่อัตราการเกิดน้อยมาก ถ้าอยู่ในความดูแลของแพทย์        
  • ราคาแพง อาทิ Roaccutrend ราคา ประมาณ 70 -80 บาท ต่อ แคบซูล 20 มก. โดยต้องรับประทาน วันละ 10-20 มก/วัน ติดต่อกันนาน 
    เรียบเรียงใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ ................09/05/2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=3&sdata=&col_id=22

อัพเดทล่าสุด