แมกนีเซียม บทบาทและหน้าที่ที่สำคัญต่อร่างกาย


792 ผู้ชม


  • แมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่สำคัญชนิดหนึ่งของร่างกาย มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์หลายร้อยตัว โดยเกี่ยวข้องกับการสร้า�
��พลังงาน และการทำงาน ของหลอดเลือดและหัวใจ แต่ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ แมกนีเซียมมีความสัมพันธ์กับแคลเซียม โดยจะเป็นตัวพาแคลเซียมเข้าไปในกระดูกส่วนในเพราะถ้าไม่มีแมกนีเซียมแล้ว แคลเซียมจะพอกอยู่รอบๆ กระดูกเท่านั้น จึงทำให้ขนาดกระดูกใหญ่แต่ความหนาแน่นน้อย
  • โดยเฉลี่ยร่างกายต้องการแคลเซียมในปริมาณ วันละ 1,000 มก. จะมีสัดส่วนในการต้องการแมกนีเซียมในสัดส่วน Calcium:Magnesium=2:1 คือประมาณ 500 มก.ต่อวันโดยประมาณ โดย FDA ของอเมริกา ได้ทำสรุปความต้องการแคลเซียมของร่างกาย ดังนี้ ในผู้ชายประมาณ ไม่น้อยกว่า 350 มก.ต่อวัน และในผู้หญิงปกติ ประมาณ 300 มก.ต่อวัน แต่ในสตรีมีครรภ์ ประมาณ 450-500 มก.ต่อวัน
  • บทบาทสำคัญของแมกนีเซียม 
        1. ช่วยในนำแคลเซียมเข้าสู่ภายในกระดูกได้มากขึ้น 
        2. ช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อลาย และกล้ามเนื้อเรียบ ( โดยมีแคลเซียมมีบทบาทในการหดตัวของกล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบ ) 
        3. ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ถ้าขาดอาจทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ( Coronary arteries) เกิดจากหดเกร็งทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลันได้ และในหลอดเลือดทั่วไป ถ้าขาดแมกนีเซียมอาจทำให้การนำออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆ ไม่เพียงพอ เกิดอาการปวด บาดเจ็บหรือกล้ามเนื้อตายได้ 
        4. ทำให้การทำงานของเอนไซม์ที่ใช้ในขบวนการเมตาบอริซึมของโปรตีนและคารโบไฮเดรต และการสร้างและทำงานของ DNA ทำงานได้ปกติ 
        5. มีบทบามในขบวนการสร้าง ATP ซึ่งเป็นสารให้พลังงานแก่ร่างกาย 
        6. ช่วยลดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ โดยจากการทดลองในคน 81 คน พบว่ากลุ่มที่ได้รับแมกนีเซียมวันละ 600 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 9 สัปดาห์ จะมี ความถี่ในการปวดศีรษะไมเกรน ลดลงได้ถึง 42 % 
        7. ช่วยลดอาการปวดท้อง ในระหว่างมีประจำเดือนในสตรี
  • แมกนีเซียมในร่างกาย 65 % จะสะสมอยู่ที่กระดูกและฟัน ส่วนอีก 35 % จะพบในเลือดและเนื้อเยื่อต่างๆ แหล่งอาหารที่พบแมกนีเซียมสูงได้แก่ ผักสีเขียวต่างๆ ข้าวซ้อมมือ ถั่วชนิดต่างๆ ยีสต์ และอาหารทะเล
  • ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายได้รับแมกนีเซียมลดลง และควรหลีกเลี่ยงมีดังนี้ 
        1. การรับประทานอาหารจำพวกแป้งที่ผ่านการขัดสีแล้ว 
        2. อาหารที่มีไขมันสูง 
        3. การดื่มน้ำอัดลม แอลกอฮอล์ น้ำหวาน 
        4. การได้รับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณที่สูงๆ 
        5. การได้รับประทานยาขับปัสสาวะในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  • ดังนั้นในปัจจุบันได้มีการให้ความรู้ทางสื่อมากมาย เกี่ยวกับความสำคัญของแคลเซียม โดยอาจอยู่ในรูปของเครื่องดื่ม นม และอาหารเสริมมากมาย แต่ท่านต้องอย่าลืมแมกนีเซียมด้วย ดังนั้นก่อนเลือกบริโภค ควรดูส่วนประกอบให้ดีว่าได้รับทั้งแคลเซียมและแมกนีเซียมควบคู่ไปด้วยกัน เป็นคู่รัก คู่รส คู่ใหม่ 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ ...ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด...4 August,2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=1&sdata=&col_id=172

อัพเดทล่าสุด