โรคด่างขาว(Vitiligo)


838 ผู้ชม


  • โรคด่างขาว เป็นภาวะของโรคที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ที่ทำให้ร่างกายสูญเสียเซลล์สร้างเม็ดสีผิว( Melanocyte) ทำให้เกิดลักษณะบ
ริเวณดังกล่าว เกิดเป็นรอยด่างสีขาว มีขอบเขตชัด ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับรอยด่างในเกลื้อนแดด(P.alba) ในบทความที่ผ่านมา จะมีขอบเขตไม่ชัด และสีไม่ซีดขาวมากเหมือนภาวะโรคด่างขาว
  • มักพบในวัยหนุ่มสาว ซึ่งเชื่อว่ามีปัจจัยทางพันธุกรรม หรือ ภาวะภูมิคุ้มกัน เกี่ยวข้องกับสาเหตุของโรคด้วย
  • ลักษณะ สีผิวตรงรอยด่างขาว จะพบเป็นผื่นราบ( macule) หรือ เป็นปื้นๆ( patch) สีขาวเหมือนน้ำนม มีขอบเขตชัดเจน มีรูปร่างและจำนวนรอยด่างแตกต่างกัน และขนาดไม่แน่นอน ภายในรอยด่าง อาจมีสีน้ำตาลของสีผิวหลงเหลืออยู่ (ดูภาพประกอบ)
  • โรคด่างขาว พบได้บ่อยที่ ใบหน้า มือ เท้า และผิวหนังเหนือข้อ แต่อาจพบที่รอบทวารหนัก หรือ อวัยวะเพศได้ มักมีการกระจายเท่ากัน ทั้งซ้าย ขวาของร่างกาย และเมื่อเกิดมักจะไม่หายขาด แต่โดยทั่วไป สุขภาพร่างกายจะยังแข็งแรง ประกอบอาชีพได้ตามปกติ
  • โรคด่างขาว แยกได้ง่ายจาก โรคเกลื้อนจากเชื้อรา( Tinea vesicolor) และเกลื้อนแดด( P.alba) เพราะลักษณะที่เห็นขอบเขตชัด ถ้าต้องการยืนยัน การตัดชิ้นเนื้อไปส่องกล้องจุลทรรศน์ จะไม่พบเซลล์สร้างเม็ดสี(melanocyte) และเม็ดสีเมลานิน
  • แนวทางการรักษา 
        - ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ได้ผลและหายขาด แน่นอน แต่ในคนที่เป็นโรคนี้ ก็ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพด้านอื่น หรือระบบอื่น และไม่ติดต่อไปยังคนรอบข้าง หรือคู่สมรส 
        - ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มักมีปัญหาในแง่การเข้าสังคม และภาวะทางจิตใจอยู่แล้ว ถ้าบังเอิญท่านมีคนใกล้ชิดมีปัญหาโรคด่างขาว ไม่ควรตั้งข้อรังเกียจ แต่ควรให้กำลังใจแก่บุคคลประเภทนี้ให้มาก เพราะศักยภาพด้านอื่น ไม่ว่า ความสามารถ สติปัญญา มิได้ด้อยลงไปจาก ภาวะรอยโ รค 
        - แนวทางการรักษาที่แพทย์ผิวหนังใช้พิจารณา มีหลักการดังนี้ 
         1. ป้องกันแสงแดด โดยให้พยายามหลบเลี่ยงแสงแดด หรือ ทาครีมกันแดดบริเวณรอยด่างขาว เพื่อป้องกันผิวหนังไหม้ และรอยโรคเป็นมากขึ้น ในอตีดได้มีการให้ยาทา Meladinnine แล้วให้ผู้ป่วยไปตากแดด ไม่เป็นที่นิยมแล้ว เพราะอาจเกิดการอักเสบไหม้ แสบคันได้ 
         2. กระตุ้นสีผิวให้กลับคืน ทำได้กรณีที่บริเวณรอยด่างขาว ยังพอมีเซลล์สร้างเม็ดสีหลงเหลือบ้าง โดยการฉายแสงแบบ PUVA (psovalen+UVA) ซึ่งที่สถาบันโรคผิวหนัง และรพ.แพทย์ สามารถทำให้ได้ และได้ผลประมาณ 50 % 
         3. การปลูกถ่ายผิวหนัง เพื่อให้มีเซลล์สร้างเม็ดสีเมลานินใหม่มาทำหน้าที่ทดแทน แต่ยังเป็นเทคนิดที่ยุ่งยากซับซ้อนอยู่ 
         4. การใช้เครื่องสำอาง ทาบดบังรอยโรค กรณีรายที่รักษาไม่ได้ผล 
    เรียบเรียงใหม่ โดยนพ.จรัสพล รินทระ ............................10/07/2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=8&sdata=&col_id=56

อัพเดทล่าสุด