Anti-Aging Medicine คืออะไร


878 ผู้ชม


  • ในปัจจุบันนี้ อายุขัยเฉลี่ยของประชากรโลก นับวันจะพบว่าอายุขัย เฉลี่ยจะมากขึ้น คือคนเรามีอายุยืนยาวกว่าในอดีต (ดู�
��าพประกอบที่ 4 :กราฟแสดงอายุขัยของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ) อาจจะเป็นเพราะวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ทันสมัยและก้าวหน้าไปมาก ความรู้ความเข้าใจของประชากรโลกในการป้องกัน ดูแลและรักษาสุขภาพ ตลอดจนโลกมีความสงบสุขขึ้น ปลอดจากภาวะสงคราม ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันหลายๆ อย่างนี้ ทำให้มนุษย์ เริ่มตะหนักว่า “ เมื่อตัวฉันต้องอยู่ในโลกใบนี้อีกนานมากขึ้น ฉันจะต้องทำอย่างไร ที่จะทำให้ชีวิตบั้นปลายของตนเอง อยู่อย่างมีความสุข ไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ทั้งร่างกายและจิตใจ แบบองค์รวม (Holistics) โดยไม่ให้เป็นไปตามกลไกการเสื่อมของร่างกาย (Aging Process) หรือถ้าจะเกิด ก็ให้เกิดผลน้อยที่สุด สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่ต้องตกเป็นภาระแก่ลูกหลาน”
  • ประมาณปี ค.ศ. 1993 วงการแพทย์ของยุโรปและอเมริกา ได้เกิดการตื่นตัวในองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการที่จะทำอย่างไรให้ความต้องการของคนเราดังกล่าว เกิดมรรคผลขึ้นมาเป็นแนวทางการปฏิบัติและแนวการป้องกันและรักษาที่ชัดเจนขึ้น จึงเกิดมีบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้มากมายเช่น Longevity medicine,Sucessful aging,Healthy aging,Optimal aging,Age Management ฯลฯ แล้วก็ได้สรุปคำรวมๆ ของความหมายเหล่านี้ โดยเห็นพ้องต้องกันในวงการแพทย์ทั่วไป ว่าน่าจะใช้คำว่า Anti-aging medicine ซึ่งก็ได้มีกลุ่มแพทย์หลายท่านในเมืองไทย ได้ให้ความสำคัญ ความสนใจ และเริ่มทำศึกษาอย่างจริงจัง โดยได้มีการต่อยอดความรู้ด้านการแพทย์เกี่ยวกับศาสตร์ทางด้านนี้ โดยการไปศึกษาต่อในต่างประเทศ เข้าร่วมประชุมทางวิชาการ เข้าศึกษาต่อ และเรียนต่อด้านนี้ จนมีหลายท่านได้รับปริญญาด้านนี้กันทั้งจากยุโรปและอเมริกา เพราะในประเทศไทยยังไม่มีสาขาวิชาชีพนี้บรรจุในหลักสูตรของคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลับต่างๆ แล้วต่อมาก็มีการบัญญัติศัพท์ของศาสตร์ด้าน Anti-aging medicine ว่าเป็นการแพทย์แนวใหม่ ที่เรียกว่า อายุรวัฒน์บ้าง หรือเวชศาสตร์ต้านความชรา หรือเวชศาสตร์ชะลอวัย ฯลฯ หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินกันบ้างนะครับ
  • คำจัดความของ Anti-aging medicine คือ องค์ความรู้ทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการป้องกัน การดูแลสุขภาพ ทุกๆ ด้านทั้งด้านสรีระร่างกาย ผิวพรรณ โภชนาการ ระดับฮอร์โมน การออกกำลังกาย ภาวะทางจิตใจและอารมณ์ หรือปัจจัยอีกหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับการทำให้คนเรามีอายุยืนยาวขึ้น อย่างสุขสมบูรณ์ (Vital life) หรือถ้าจะกล่าวเป็นภาษาสากลก็คือ Anti-aging medicine is a method of preventive healthcare,attempting to ensure the patient’s wellness and longevity by a method of promoting innovative science and research to prolong the healthy life span in humans.
  • จากประโยคดังกล่าว จึงดูเหมือนว่า Anti-aging medicine ต้องยึดหลักการดูแลและป้องกันสุขภาพเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเป็นการแพทย์เชิงรุก ก่อนที่จะมีปัญหาเกิดขึ้น หรือถ้าเกิดขึ้น จะเยียวยารักษาอย่างไร ให้เกิดขึ้นช้าที่สุด และมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันให้น้อยที่สุด ซึ่งก็ต้องอาศัยทีมแพทย์จากหลายๆ ฝ่าย หรืออาศัยความรู้เฉพาะจากหลายๆ ด้าน ในการประเมินผลการดูแลสุขภาพของคนไข้แต่ละคน อาทิเช่น 
    -Anti-aging physician or specialist (แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรวัฒน์ หรือชะลอวัย) 
    -Obstetrician and Gynecologist(แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติ-นารีเวช) 
    -Geriatrician/Internist(แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวัยชรา ) 
    -Endocrinologist(แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมน หรือระบบต่อมไร้ท่อ) 
    -Cardiologist((แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ) 
    -Neurologist(แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาท) 
    -Psychologist(แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช) 
    -Dermatologist or Aesthetic Physician(แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านตจวิทยา หรือเวชศาสตร์ผิวพรรณ) 
    -Plastic surgery(แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่ง) 
    -Sportmedicine specialist(แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬา) 
    -Dentist(แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม) 
    -Nutritional Physician (แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ) 
    -Alternative Physician (แพทย์ทางเลือก เช่น การฝังเข็ม การบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติ) 
    -ฯลฯ
  • จากการที่ต้องอาศัยทีมแพทย์หรือองค์ความรู้จากหลายๆ ด้านทางการแพทย์ เพราะการที่จะทำอย่างไร ให้เกิดชีวิตที่สมบูรณ์พูนสุข( Vital life) ต้องมีการดูแลในหลายๆ ด้านดังนี้ 
    -Life style improvement ( การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น สอดคล้องกับหลักการมีสุขภาพที่ดี) 
    -Vitamins,Minerals and Trace elements Supplements ( การเลือกรับประทานอาหารเสริม หรือวิตามิน เกลือแร่ ที่เหมาะสมกับภาวะของร่างกายที่พร่องไป) 
    -Lean Body (การมีร่างกายที่สมส่วน ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป) 
    -Hormonal replacements/supplements( การเสริมฮอร์โมนบางตัวที่ร่างกายพร่องไป) 
    -Healthy Blood and Body ( การมีภาวะที่ปกติในระบบเลือด และร่างกายโดยรวม) 
    -Mental Status( การมีภาวะจิตใจที่สมบูรณ์) 
    -Sleep as well ( การนอนหลับพักผ่อนที่เปี่ยมสุข) 
    -Sex life( การมีความสุขทางเพศอย่างเหมาะสม) /Family Happiness( ความสุขในครอบครัว)
    -Diets ( การดูแล การควบคุม และการรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับวัย) 
    -Exercise (การออกกำลังกายที่พอเหมาะพอดี ต่อสุขภาพ) 
    -ฯลฯ
  • จากที่กล่าวมา เห็นมั้ยหละครับว่า เป็นศาสตร์ที่น่าศึกษามากเพียงใด ผู้เขียนเองก็สนใจในเรื่องนี้อย่างมาก เพราะชีวิตก็กำลังก้าวสู่วัย Millenium แล้ว อยากจะดูแลตนเองอย่างไร ให้แก่ยาก ตายยาก อยากแข็งแรง อายุยืนยาว และมีความสุขในบั้นปลายของชีวิต และก็ได้สำเร็จ American Board of Anti-aging and Regenrative Medicine แล้ว หลังจากบากบั่นตั้งใจเรียน(ตอนใกล้แก่) เกือบ 2 ปี แล้วท่านทั้งหลายที่ต้องการอยากจะเป็นอย่างนี้เหมือนกันหรือไม่ ถ้าสนใจ คอยติดตามบทความด้านนี้นะครับ ผมจะพยายามค้นหา ศึกษา แปล เรียบเรียงมาให้ท่านได้อ่านเพิ่มพูนความรู้กัน
  • ขณะนี้ ก็ได้มีการก่อตั้งสมาคมเวชศาสตรชะลอวัยและฟื้นฟูสภาพแห่งประเทศไทย (Thai- society of Anti-Aging and Regenrative Medicine ย่อง่ายๆ ว่าสมาคม TAARM )ขึ้นมาแล้ว โดยกลุ่มคณะแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้ และก็มีเวบไซต์ของสมาคมออกมาสู่วงการอินเตอร์เนตบ้านเราแล้ว เพื่อเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร ให้ความรุ้และความเข้าใจ ตลอดจนการดูแลร่างกายฯลฯ คลิกเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่นี่ https://www.thai-antiaging.com ส่วนแพทย์ที่เริ่มก่อตั้งสมาคมนี้ ก็คลิกดูได้ที่นี่ https://www.thai-antiaging.com/2008/aboutus.php 
    เรียบเรียงและค้นคว้าโดยนพ.จรัสพล รินทระ 
    Update ข้อมูลล่าสุด….23 Febuary,2009

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=10&sdata=&col_id=323

อัพเดทล่าสุด