Microdermabrasion (การกรอผิวด้วยเกร็ดอัญมณี)


1,280 ผู้ชม


  • การกรอผิวด้วยเกร็ดอัญมณี (Microdermabrasion) คือ แนวทางการรักษาปัญหาผิวพรรณที่มีการทำมาใช้ทั้งในยุโรป อเมริกา ในระยะ 10 กว่า
ปีที่ผ่านมา และในเมืองไทย ได้มีการนำเครื่องมือนี้มาใช้กันบ้างแล้วในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา แต่เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในระยะนี้ หลังจากได้มีการพัฒนาให้เครื่องมือให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ได้ผลมากสุดและผลข้างเคียงน้อยสุด
  • Microdermabrasion เป็นการกรอผิวหนังที่มีปัญหาในชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) ให้หลุดลอกออกด้วยเกร็ดอัญมณีขนาดเล็กมาก ประมาณ 100 Micron ซึ่งผลึกครีสตัลที่นิยมใช้ ก็คือ Aluminium Oxide โดยให้วิ่งตามการพ่นของเครื่องปั๊มในกระบอกสูญญากาศที่ปลอดเชื้อ ( Air flow in Sterile Closed system) โดยมีการปรับความแรง ความเร็วในการพ่นผลึกดังกล่าวได้ตามต้องการของผู้ใช้ และก็มีขนาดของผลึกครีสตัลแตกต่างกันให้เลือก แล้วแต่จุดประสงค์ในการใช้งาน และปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องมือให้ทันสมัยและสะดวกขึ้น โดยการใช้ผลึกครีสตัลของเพชร ( Diamond crystal) มากรอผิวแทนซึ่งจะมีการระคายเคืองน้อยกว่า และสะดวกกว่า
  • ข้อบ่งชี้ในการทำ Microdermabrasion ในปัจจุบันได้นำมาแก้ไขปัญหาผิวพรรณ ดังต่อไปนี้ 
        1. ผิวหน้าที่หมองคล้ำจากแสงแดด ( Sun-damaged skin) 
        2. สิวอุดตัน ทั้งประเภทหัวดำ และหัวขาวให้หลุดลอกออก ( Black and white head comedone) 
        3. สิวเสี้ยน ( Trichostasis spinulosa) 
        4. ริ้วรอยเหี่ยวย่นเล็กน้อยบริเวณหางตา ( Fine wrinkles in Crow's feet) 
        5. ผิวหนังที่หยาบกร้าน แตกลาย เช่น บริเวณท้อง ขา 
        6. รอยดำตามผิวหนัง เช่น รอยดำจากสิว รอยดำตามลำตัว ขาหนีบ 
        7. ปัญหารูขุมขนกว้าง ผิวหน้ามัน 
        8. รอยแผลเป็นจากอุบัติเหตุ รอยเย็บแผล 
        9. ฝ้าจางๆ ที่ไม่ลึกมาก ( Epidermal typed) 
        10. ภาวะการเปลี่ยนแปลงของผิวพรรณอื่นๆ ที่เข้าสู่วัยชรา (Age Spots) เช่น กระเนื้อ กระแดด ขี้แมงวัน 
        11. ช่วยลดปัญหาผิวหน้ามัน เพราะการกรอผิว ทำให้ไขมันที่เคลือบผิวหน้าชั้นนอก หลุดลอกออก และทำให้ต่อมไขมันที่ผลิตไขมันในท่อไขมัน ลดลง
  • ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการทำ Microdermabrasion จะกรอผิวหน้าได้ลึกตื้น หรือได้ผลมากน้อยแค่ไหน นอกจากขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์ที่ทำแล้ว ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ดังนี้ 
        1. ผลึกที่ใช้ในการทำ Microdermabrasion ทั้งในแง่ชนิด และขนาดที่ใช้ 
        2. ความแรงและความเร็วของการพ่นผลึกดังกล่าว 
        3. จำนวนผลึกที่พ่นต่อวินาที 
        4. จำนวนครั้งในการทำซ้ำในบริเวณเดิม 
        5. ความหนาบางของผิวหนังในแต่ละคน 
        6. ประวัติการรักษาด้วยวิธีอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น การทำ Peeling,Laser,IPL
  • ผลข้างเคียงที่พบได้ในการทำ Microdermabrasion 
        1. ความรู้สึกระคายเคือง แสบ ที่ผิวหน้าในระหว่างที่ทำ และหลังทำ ซึ่งอาจจะต้องทาครีมบำรุง หรือสารให้ความนุ่มเนียนหลังทำ 
        2. หลีกเลี่ยงแสงแดด ในระยะ 1-7 วันหลังทำขึ้นอยู่กับความลึกตื้นในการกรอผิว 
        3. อาจจะมีรอยแดง หรือรอยซีดจาง หลังทำและจะดีขึ้นภายใน 3-4 วัน 
        4. รอยดำจากภาวะอักเสบเกิดได้ ถ้าผู้ทำไม่ชำนาญ หรือเลือกเทคนิคไม่ดีพอ แต่มักจะหายภายใน 1-2 อาทิตย์ 
        5. กรณีที่กรอลึก เช่นในคนที่มีปัญหาท้องลาย ขาลาย หรือรอยแยกแตกของผิวหนัง อาจจะมีอาการบวม เลือดซึม หรืออักเสบหลังทำได้ และจะดีขึ้นภายใน 1-3 อาทิตย์
  • ได้มีการเปรียบเทียบการกรอผิวด้วยวิธี Microdermabrasion จะทำได้ลึกกว่าการทำ Chemical Peeling แต่ตื้นกว่าการกรอผิวด้วยเลเซอร์ และในด้านผลข้างเคียง จะมากกว่าการทำ Chemical Peeling แต่น้อยกว่าการกรอผิวด้วยเลเซอร์ นอกจากนี้ในกรณีรอยดำ หรือฝ้า แพทย์บางท่าน นิยมทำการกรอผิวด้วยวิธี Microdermabrasion แล้วมักจะทำ Phonophoresis ตามด้วยเพราะตามทฤษฎีอัตราซาวน์จะเข้าไปขยายช่องว่างระหว่างเซลล์หนังกำพร้า ทำให้ยาซึมเข้าผิวหนังได้ดีขึ้น และลดการระคายเคืองจากการทำ วิธี Microdermabrasion 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ ...ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด...6 August,2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=9&sdata=&col_id=197

อัพเดทล่าสุด