สิวอักเสบ ไม่มีหัว เกิดจาก สิวอักเสบทําไงดี


1,214 ผู้ชม


  • สิวอักเสบ (Inflammatory ance หรือ Papulopustular acne ) คือการที่สิวอุดตัน ที่ได้รับการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Propionibacteriu
m acne( P.acne) แล้วแบคทีเรียนี้ ปล่อยเอนไซม์ที่จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ โดยมีความรุนแรงแตกต่างกัน แล้วแต่จำนวนเชื้อ และขนาดของสิวที่อุดตัน แล้วมีการเรียกชื่อแตกต่างกัน บางคนอาจแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะของสิวอักเสบดังนี้
  • ประเภทของสิวอักเสบ แบ่งได้เป็น 
        - สิวนูนแดง (Papule) 
        - สิวหัวหนอง ( Pustule) 
        - สิวหัวช้าง (acne conglobata)-มักเกิดแผลเป็นเมื่อหาย 
        - สิวซีสต์ (acne cyst) -มักเกิดแผลเป็น เมื่อหาย
        - สิวตุ่มนูนหนอง(Papulopustular acne )-มักเกิดแผลเป็นเมื่อหาย
  • ผลข้างเคียงจากการเกิดสิวอักเสบ มักเกิดได้บ่อย ถ้าไม่รีบรักษา คือ 
        1. รอยดำจากสิว 
        2. รอยแดงช้ำ ซึ่งอยู่ได้นาน เป็นเดือนๆ 
        3. รอยหลุมจากสิว หรือ Icepick-scar
  • การรักษาสิวอักเสบ แบ่งได้ดังนี้ 
        1. Benzoyl peroxide- เป็นตัวยาที่ลดจำนวนเชื้อแบคทีเรีย P.acne และลดการอักเสบได้ดี 50-70 % ของสิวอักเสบ มักอยู่ในรูปของครีม หรือเจล ความเข้มข้นตั้งแต่ 2.5-5 % BP. โดยมักใช้ทาทิ้งไว้ 5-10 นาทีแล้วล้างออก เนื่องจากมีการระคายเคือง ถ้าทาทิ้งไว้ อาจทำให้ผิวหน้าแสบ แดง และแห้งเป็นขุยได้ มักใช้รักษาสิวอักเสบนูนแดงได้ดี 
        2. Antibiotics (ยาปฏิชีวนะ หรือยาแก้อักเสบ) มีใช้หลายตัว อาจอยู่ในรูปโลชั่น ครีม หรือยารับประทานที่ใช้ในการกำจัดเชื้อสิว P.acne ที่ใช้กันบ่อยได้แก่ 
          2.1 Tetracycline มักให้รับประทาน วันละ 2-4 แคบซูล แต่มีผลข้างเคียงทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ ดังนั้นแพทย์มักให้รับประทานหลังอาหาร 
          2.2 Doxycycline มักให้ในรูปรับประทาน วันละ 1-2 แคบซูล แต่มีผลข้างเคียงทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ ดังนั้นแพทย์มักให้รับประทานหลังอาหาร 
          2.3 Minocycline มักให้ในรูปรับประทาน วันละ 1 แคบซูล รักษาสิวได้ดี แต่ราคายาค่อนข้างแพง 
          2.4 Erythromycin-มีทั้งในรูปของครีมทาสิว และยารับประทานวันละ 2-4 เม็ด 
          2.5 Clindamycin-มีทั้งในรูปของครีมทาสิว โลชั่นทาสิว มักนิยมใช้ เนื่องจากไม่มีผลข้างเคียง และรักษาสิวอักเสบได้ดี 
          2.6 Co-trimoxazole-มักให้ในรูปรับประทานวันละ 2-4 เม็ด มักใช้รักษาสิวที่เกิดจากพวกแกรมลบ หรือ แบคทีเรียพวกไม่ใช้ออกซิเจน
        3. ยาคุมกำเนิด เช่น Dian-21 มักใช้เฉพาะในผู้หญิง เพื่อควบคุมการเกิดสิวที่เกิดจากฮอร์โมนเพศ 
        4. ยารับประทานต้านฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน ที่ใช้บ่อยคือ spironolactone มักให้เฉพาะในผู้หญิงเช่นกัน 
        5. Azeleic aicd - มักใช้ในรูปยาทา 20 % Azeleic acid( Skinoren) มักใช้ในระยะแรก แต่อาจระคายเคืองได้ 
        6. ยากลุ่ม Retinoids เช่น Roaccutane,Isotretinoin ใช้รักษาได้ทั้งสิวอุดตัน และสิวอักเสบรุนแรง ที่ไม่ตอบสนองหรือดื้อต่อยาแก้อักเสบ หรือยาปฏิชีวนะในข้อ 2 แต่ยาค่อนข้างมีราคาแพง และห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ และให้หยุดยาก่อนการตั้งครรภ์ 1 เดือน 
        7. การฉีดสิว กรณีที่สิวอักเสบรุนแรง นูนแดงเจ็บ สิวหัวช้าง เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็น และทำให้สิวหายได้เร็ว ควรกระทำโดยแพทย์ที่เชี่ยวชาญเท่านั้น เนื่องจากอาจเกิดรอยหลุมแผลเป็นจากยาได้ 
    8. การรักษาสิวอักเสบด้วยคลื่นแสง ( Acne PhotoClearing) โดย เครื่องมือ Clearlight ซึ่งเป็นวิวัฒนาการด้านผิวพรรณที่ทันสมัยและกำลังเป็นที่นิยมในต่างประเทศ และในประเทศไทย ได้เริ่มมีการนำมาใช้รักษาบ้างแล้วบางคลินิก และได้มีการเปรียบเทียบการรักษาสิวด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ การทาครีมรักษาสิวอักเสบ ได้ผลเปรียบเทียบ จะพบว่าคนไข้จะหายในระยะเวลาที่สั้นกว่าปกติ เหมาะสำหรับคนไข้กระเป๋าหนัก และมีเวลาว่างมากพอในการที่จะมาที่คลินิกประจำ และไม่ชอบการรับประทานยาหรือการทาครีมรักษาสิว อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=1&&col_id=181 
    เรียบเรียงใหม่โดยนพ.จรัสพล รินทระ .................02/05/2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=3&sdata=&col_id=20

อัพเดทล่าสุด