เชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร


1,725 ผู้ชม


  • เดิมในหลายๆ ปีก่อน เราเชื่อกันว่า ปัญหาการเกิดแผลในกระเพาะอาหารอักเสบ( Gastritis) เกิดจากปัญหากรด Hydrocholine หรือ pepsin เป็นตัวการท
ี่สำคัญ โดยคิดว่ากรดเหล่านี้จะหลั่งออกมาเพื่อทำลายเชื้อโรคที่ปนเปมากับอาหารที่รับประทานเข้าไป แต่ถ้าเกิดท้องว่าง หรือรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา กรดเหล่านี้เอง จะย่อยเนื้อเยื่อในกระเพาะอาหารเสียเอง ทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้ จึงเกิดอาการปวดเจ็บ ที่เราเรียกว่าโรคกระเพาะได้
  • แต่ในปัจจุบัน เชื้อโรคแบคทีเรียบางชนิด ก็ทำให้เกิดได้ ในปี 2527 Warren และ Marshall แพทย์ชาวออสเตรเลีย ได้ศึกษาเชื้อแบคทีเรียนี้อย่างจริงจัง หลังจากได้เคยมีกล่าวถึงมาร่วมหนึ่งศตวรรต จนสามารถทำการเพาะเชื้อ และทดลองจนพิสูจน์แน่ชัดแล้วว่า ยังมีแบคทีเรียชนิดหนึ่ง คือ Helicobacter pyroli( HP) สามารถเติบโตในกระเพาะอาหารได้ดี และทำให้เกิดอักเสบหรือแผลในกระเพาะได้เช่นกัน
  • ในวงการแพทย์ได้มีการตีพิมพ์เรื่องนี้มาหลายปีแล้ว และได้ทราบกันโดยทั่วกันว่า เชื้อโรคนี้ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้จริง และในการสอนนศ.แพทย์รุ่นใหม่ๆ ได้ระบุเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระเพาะที่ต้องนึกถึง และทำการรักษา
  • ที่ทำมาเสนอเพราะเห็นว่า บุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่บุคคลากรทางการแพทย์ จะได้ทราบด้วยเช่นกัน
  • เชื้อ HP เป็นแบคทีเรียประเภท microaerophilic มีรูปร่างโค้งงอคล้ายเกลียว ปลายด้านหนึ่งมีหนวดหลายเส้น ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวได้เร็ว โดยการหมุนบิดรอบเแกนลำตัว คล้ายควงสว่าน ทำให้ทะลุทะลวงเยื่อเมือกกระเพาะอาหาร ก่อให้เกิดเป็นแผลได้ทั้งที่ กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น( Duodenum ที่เรียกว่า DU = duonenum ulcer) แต่ที่แปลกก็คือ เชื้อ HP นี้มักพบเฉพาะในกระเพาะอาหาร ส่วนที่เรียกว่า antrum ( ดังในภาพ ) คือบริเวณที่มีเยื่อเมือก (mucosa) หนาที่สุด และลำไส้ส่วนต้น ( แต่น้อย)
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ มักจะพบการติดเชื้อ HP ร่วมด้วยถึง ร้อยละ 60 และผู้ป่วยลำไส้เล็กอักเสบ( DU) ก็จะพบเชื้อนี้อยู่ด้วยถึงร้อยละ 90 โดยได้มีการตรวจสอบดังนี้ 
      วิธีการเพาะเชื้อ โดยการส่องกล้องเข้าไปดูแผลที่กระเพาะอาหาร แล้วนำชิ้นเนื้อบริเวณที่เป็นแผล มาทำการส่งเพาะเชื้อดู 
      การย้อมสีแกรม โดยการส่องกล้องเข้าไปดูแผลที่กระเพาะอาหาร แล้วนำชิ้นเนื้อบริเวณที่เป็นแผลไปย้อมสีแกรม และดูจากกล้องจุลทรรศน์ 
      การตรวจหาเอนไซม์ Urease ซึ่งสร้างจากเชื้อ HP โดยมีน้ำยาเฉพาะในการตรวจ โดยอาจให้คนไข้กินสารที่เป็น urea เข้าไปในกระเพาะอาหาร เอนไซม์นี้จะทำการย่อย urea ให้เป็น co2 แล้วตรวจวัดด้วยเครื่องมือพิเศษ ขณะหายใจออก 
       การตรวจเลือดด้วยวิธี Serology โดยตรวจดู แอนติบอดีย์ของเชื้อนี้ในร่างกาย
  • แต่ทุกๆ วิธีที่กล่าวมาข้างต้น ในการพิสูจน์เชื้อ HP นี้ค่อนข้างยุ่งยาก และมีราคาแพง ดังนั้นแพทย์หลายๆท่านที่ทำการรักษา โรคกระเพาะอาหาร จึงได้ใช้หลักเกณฑ์ในการรักษาโดยเมื่อรักษาผู้ป่วยด้วยยาปกติ เช่น Antacid( ยาเคลือบกระเพาะทั้งแบบน้ำและเม็ดเคี้ยวก่อนกลืน) หรือ ยากลุ่มต้านการหลั่งกรด( H2 antagonist เช่น cimetidine,ranetidine,sucralfate) ในเวลา 8 สัปดาห์ ถ้ายังไม่ดีขึ้น หรือกลับมาเป็นใหม่บ่อยๆ อาจพิจารณาให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียควบคู่ไปด้วย ที่ใช้ได้ดี ก็คือ ยา Amoxycillin+Metronidazole+bismuth ซึ่งพบว่าได้ผลเกิน 90 % จนบางคนสามารถหายขาดจากโรคกระเพาะอาหารได้ 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ ...ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด...30 July,2005 
    เอกสารอ้างอิงจาก บทความ ศจ.นพ. สุทัศน์ ฟู่เจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล 28 มีนาคม 2544

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&sdata=&col_id=103

อัพเดทล่าสุด