ภาวะปวดประจำเดือน ( Dydmenorrhea)


1,158 ผู้ชม


  • อาการปวดประจำเดือน ( Dysmenorhea) ถือเป็นภาวะอาการที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยพบได้ถึงร้อยละ 50 ของสตรีที่มีประ�
��ำเดือน แต่จะมากน้อยรุนแรงแตกต่างกันไป โดยมีการสำรวจพบว่า ร้อยละ 10 ของผู้หญิงที่มีปัญหาปวดประจำเดือน จะมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถจะทำงาน หรือเรียนหนังสือได้ตามปกติ
  • สาเหตุของการปวดประจำเดือน ทางการแพทย์ได้จำแนกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ 
    1. อาการปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ ( Primary Dysmenorhea) หมายถึงการปวดประจำเดือนแบบไม่พบโรค หรือพยาธิโรคที่เป็นอันตราย ใดๆ ในอุ้งเชิงกราน 
    ลักษณะประวัติ อาการที่น่าจะเป็นการปวดแบบนี้คือ 
    1.1 มักจะเริ่มมีอาการปวดภายหลังเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ไม่เกิน 1 ปี 
    1.2 มีอาการปวดรุนแรงตั้งแต่วันแรกที่มีประจำเดือน และค่อยๆ ลดลง แต่หายไป ไม่เกิน 2-3 วัน 
    1.3 อาการปวดจะมีลักษณะปวดบีบเป็นพักๆ บริเวณท้องน้อย 
    1.4 การตรวจภายใน(กรณีที่ทำได้) จะไม่พบความผิดปกติอื่นๆ 
    2. อาการปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ ( Seconary Dysmenorhea) หมายถึงการปวดประจำเดือนแบบพบโรค หรือมีพยาธิโรคในอุ้งเชิงกราน เช่น ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ( Endomethiosis), การอักเสบอุ้งเชิงกราน, เนื้องอกในมดลูกชนิด Submucus Myoma หรือชนิด Adenomyosis,ห่วงคุมกำเนิด,พังผืดในโพรงมดลูก,ปากมดลูกตีบตัน,ถุงน้ำรังไข่ ฯลฯ 
    ลักษณะประวัติ อาการที่น่าจะเป็นการปวดแบบนี้คือ 
    2.1 เริ่มมีอาการปวดภายหลังเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกมาแล้วหลายๆ ปี 
    2.2 อาการปวดรุนแรงขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ 
    2.3 มีอาการปวดในรอบประจำเดือนที่ไม่ตกไข่ หรือในรอบที่ได้รับยาคุมกำเนิด 
    2.4 หลังจากให้ยารักษาแบบอาการปวดแบบปฐมภูมิแล้วไม่ดีขึ้น
  • แนวทางในการรักษาอาการปวดประจำเดือน 
    1. ยาแก้ปวด ได้แก่ กลุ่มยา Paracetamol 
    2. ยาแก้ปวดเกร็ง Antispasmodic ได้แก่ กลุ่มยา Buscopan 
    3. ยาแก้ปวดกลุ่ม Prostaglandin Synthetase inhibitor เช่น กลุ่มยา Ponstan 
    4. ยากลุ่มคุมกำเนิด
  • หลักการให้ข้อสังเกตว่าอาการปวดประจำเดือนที่เกิดขึ้น ถ้าเข้าข่ายที่ต้องหาสาเหตุพยาธิโรค หรือโรคอื่นๆ ในช่องเชิงกราน ก็คือ มีอาการปวด แบบข้อ 2.1-2.4 หรือให้การรักษาอาการปวดประจำเดือน ด้วยยาดังกล่าวข้างต้นแล้วไม่ดีขึ้น จึงแนะนำให้พบนรีแพทย์ เพื่อตรวจภายใน และอุลตราซาวด์ หาสาเหตุอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนั้นสตรีที่มีอาการปวดประจำเดือน จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ และพบแพทย์เมื่ออาการรุนแรงขึ้น และไม่ดีขึ้นหลังรับประทานยา แก้ปวดชนิดต่างๆ แล้ว 
    เรียบเรียงและค้นคว้าโดยนพ.จรัสพล รินทระ................................17 June,2004

ที่มา  : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&sdata=&col_id=266

อัพเดทล่าสุด