การป้องกันมะเร็งผิวหนัง


954 ผู้ชม


  • มะเร็งผิวหนัง จัดเป็นโรคที่พบได้บ่อยขึ้นและมีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเป็นจากสภาวะแวดล้อมของโลกเปล��
�่ยนแปลงไปในหลายๆ ด้าน การทำลายชั้นบรรยากาศมากขึ้น ส่งผลให้แสงอัลตราไวโอเลตผ่านลงมาถึงผิวโลกได้มากขึ้น ย่อมมีผลกระทบต่อร่างกายของมนุษย์เราตามมามากขึ้น
  • แสงอุตราไวโอเลต โดยเฉพาะ UVA,UVB จากการศึกษาในแง่พันธุกรรมพบว่า ทำให้สารพันธุกรรม DNA มีการเปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิดมะเร็งได้ ดังนั้นการป้องกัน ทำได้โดยการหลีกเลี่ยงแสงแดด การทาครีมกันแดด การใส่หมวกหรือแว่นกันแดดป้องกัน นอกจากนี้ยังพบว่าในปัจจุบันได้มีสารหรือตัวยาหลายตัวที่ ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนังได้ดังนี้ 
    1. วิตามินเอ และสารอนุพันธ์เรตินอยด์ : - พบว่ามีบทบาทสำคัญในการปกป้องผิวหนังจากการถูกทำลายด้วยแสงแดด โดยวิตามินเอจะไปยับยั้งหรือสามารถไป ย้อนกลับกระบวนการเกิดของมะเร็งผิวหนังและหนังแก่ก่อนวัย 
    2. กรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่มตัว: - พบว่าการรับประทานอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่ต่ำ สามารถลดอัตรากรเกิดใหม่ของรอยโรคก่อนมะเร็ง(Actinic keratose) หรือมะเร็งผิวหนังได้อย่างมีนัยสำคัญ 
    3. ชาเขียว(Green Tea) : - จัดเป็นเครื่องดื่มที่นิยมเป็นอันดับ 2ของโลก มีสารประกอบเป็นกลุ่มต้านอนุมูลอิสระ โดยได้มีการศึกษาพบว่าสารสกัดที่สำคัญจากชาเขียว ชื่อว่า ECGC (Epigallocatechin-3-gallate) สามารถป้องกันการเกิดมะเร็วผิวหนังได้ ทั้งในรูปของยากินและยาทา ได้มีการทดลองทาโลชั่นสารสกัดจากชาเขียว พบว่า ณ ความเข้มข้น 10% ของสารสกัด ใช้ทาก่อนออกแดด 30 นาที สามารถป้องกันแสงอุตราไวโอเลตได้นานถึง 48-72 ชั่วโมง 
    4. ถั่วเหลือง : - ในถั่วเหลือง เราพบว่ามีสาร Genistein ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของสารIsoflavones ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง โดยมีผลต่อการเจริญเติบโตของแซลล์ และควบคุมการทำงานของแซลล์มะเร็ง นอกจากนี้สาร Genistein ยังมีฤทธิ์ในการต้านการเกิดอนุมูลอิสระอีกด้วย 
    5. แอสไพรินและยาลดการอักเสบ(NSAID): - โดยพบว่ายามีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cyclo-oxygenase (COX) ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งผิวหนังได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจและอยู่ในการวิจัยขณะนี้
  • จากบทความข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีสารต่างๆที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนังและผิวหนังแก่ก่อนวัยได้ แต่สารทุกชนิดย่อมมีทั้งคุณและโทษหากเราใช้อย่างไม่ถูกต้อง ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือผู้ที่มีความรู้ร่วมด้วยทุกครั้ง 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ ...ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด...8 August,2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=1&sdata=&col_id=186

อัพเดทล่าสุด