โรคกลาก ( Dermatophytosis)


3,450 ผู้ชม


  • โรคกลาก (Dermatophytosis) เป็นภาวะการติดเชื้อราในกลุ่ม Dermatophyte ได้แก่เชื้อราใน genus Trichophyton,Epidermphyton, และ Microsporum โดยทางการสัมผัสจากดิน สัตว์เ��
�ี้ยง หรือคนที่มีการติดเชื้อ
  • เชื้อรานี้จะเจริญเติบโตในผิวหนังชั้นตื้น ได้แก่ด้านนอกของผิวหนัง ผม ขน เล็บ ซึ่งมีเคอราตินเป็นแหล่งอาหารของเชื้อรา โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีอาการมากน้อย ขึ้นอยู่กับ ความชื้นในอากาศ ความสกปรก สุขอนามัยของผู้ป่วย ความรุนแรงของเชื้อรา รวมทั้งภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • อาการทางคลินิก: แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 
        1. ชนิดเฉียบพลัน: มักพบในกรณีที่ร่างกายมีการตอบสนองต่อการติดเชื้อ และสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี ทำให้มีลักษณะผื่น เป็นลักษณะอักเสบที่ผิวหนัง (ดังภาพประกอบที่ 1) จึงมีลักษณะบวม มีรอยแดงนูนทันที ซึ่งมักจะมีโอกาสหายขาดได้สูง 
        2. ชนิดเรื้อรัง: มักพบผื่นลักษณะแบนราบ(macule) มีอาการคัน ต่อมาจะค่อยๆ ลามขยายออกเป็นวงที่มีขอบเขตชัดเจน โดยที่ตรงกลางจะหาย (central clearing) บริเวณขอบที่ลามออกมาอาจมีตุ่มแดงหรือตุ่มใสร่วมกับขุย(active border) มีรูปร่างเป็นวงกลม หรือวงแหวน หรือหลายวง รวมกัน ( ดังภาพประกอบที่2)
  • เนื่องจากโรคกลากที่ตำแหน่งต่างๆ ของร่างกาย จะมีลักษณะผื่นที่ไม่เหมือนกัน และมีลักษะจำเพาะแต่ละที่ ทำให้เรียกชนิดต่างๆ กัน อาทิเช่น 
        1. กลากที่หนังศีรษะ (Tinea capitis) มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ติดต่อโดยใช้สิ่งของร่วมกัน มักระบาดในโรงเรียน วัด สถานรับเลี้ยงเด็ก 
        2. กลากบริเวณใบหน้า (Tinea faciei) 
        3. กลากที่ขาหนีบ( Tinea cruris) หรือสังคัง มักพบบริเวณขาหนีบ ต้นขา หรือสะโพก มีอาการคันมาก 
        4. กลากที่มือ (Tinea manumm) มักพบที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ง่ามนิ้วมือ 
        5. กลากที่เท้า (Tinea pedis) มักพบตามง่ามนิ้วเท้า ที่เรียกว่า ฮ่องกงฟุต 
        6. กลากที่เล็บ(Tinea unguium) ซึ่งมักพบที่เล็บเท้ามากกว่าเล็บมือ และมีข้อสังเกตว่า ถ้าพบเชื้อราที่เล็บมือ และเล็บเท้าพร้อมๆ กันหลายๆ ที่ ควรตรวจภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือไม่ หรือตรวจหาเชื้อ HIV 7. กลากหนุมาน (Tinea incognito) มักพบกรณีที่ผู้ป่วยไปรักษาเองตามร้านขายยา และได้ทาเสตียรอยด์ครีม ทำให้ผื่นมีลักษณะแตกต่างจากเดิม โดยมัจะพบเป็นลักษณะผื่นคล้ายผื่นแพ้ มีตุ่มน้ำ ตุ่มนูนหรือมีขุยแดงๆ ทั่วๆ ไป
  • การวินิจฉัย: แพทย์จะดูลักษณะและตำแหน่งของผื่น ถ้าไม่แน่ใจมักจะขูดเอาเชื้อที่ขอบของรอยโรคมาตรวจด้วยน้ำยา KOH แล้วนำมาส่องดูด้วย กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งจะพบสายใยใสที่มีผนังกั้นและปล้องของเชื้อรา-hyaline septate hyphae and andthrospore (ดังภาพประกอบที่3)
  • แนวทางการรักษาและป้องกัน: ถ้ารอยโรคไม่มาก การทายารักษากลุ่ม Tolnaftae หรือ Imidazole( clotrimazole cream,canesten cream) ก็ทำให้หายได้ แต่ถ้าเป็นมากหรือโรคกลากบางชนิด เช่น เชื้อราที่เล็บ มักจะให้ยารับประทานร่วมด้วย เช่น Itraconazole(Spiral) 100 มก.ต่อวัน นาน 30 วัน หรือ Terbinafine(Lamisil) 250 มก.ต่อวัน นาน 14 วัน หรือ Griseofulvin(Fulvin) 500-1,000 มก.ต่อวันนาน 4-6 สัปดาห์ 
    เรียบเรียงและค้นคว้า โดย นพ.จรัสพล รินทระ 
    จรัสพลคลินิก........................07 September 2001

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=8&sdata=&col_id=71

อัพเดทล่าสุด