โรคไฟลามทุ่ง( Erysipelas) ภาวะติดเชื้อฉุกเฉินทางผิวหนัง ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ประสบภัยน้ำท่วมที่หล่มสัก


1,440 ผู้ชม


  • โรคไฟลามทุ่ง เป็นภาวะการอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย บริเวณชั้นหนังแท้และส่วนบนของชั้นไขมันใต้ผิวหนัง มีอาการบวม แดง
ร้อน มีขอบเขตชัด ดังภาพที่แสดง ผิวหนังจะขรุขระคล้ายผลส้ม อาจพบตุ่มน้ำพองใส คล้ายโรคอีสุกอีใส ได้ ซึ่งถ้ารุนแรง อาจพบผิวหนังจะลอกเป็น แผลถลอกเป็นแผ่นๆ จนถึงเซาะลึกลงไปใต้ผิวหนัง
  • ไฟลามทุ่ง เป็นภาวะฉุกเฉินทางผิวหนัง ที่ต้องรีบพบแพทย์ เนื่องจากในรายที่เป็นรุนแรง อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นถ้ามีอาการสงสัย ดังในภาพ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะแพทย์จะทำการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุ เพื่อจะให้ยาปฏิชีวนะได้ถูกต้องตามชนิดการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • โรคไฟลามทุ่ง พบได้บ่อยในเด็กทารก เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน โรคไต โรคระบบหมุนเวียนของเลือดและน้ำเหลืองไม่ดี ภาวะขาดอาหาร โดยเชื้อโรคจะเข้าทางรอยแตกแยกของผิวหนัง เชื้อโรคที่พบได้บ่อย คือ จาก Streptococcus group A แต่ในเด็กเล็กอาจพบอาจเชื้อโรค Haemophilus influenzae type B
  • แนวทางการรักษา 
        1. ส่วนใหญ่แพทย์จะให้นอนพักที่ รพ. เพื่อสังเกตอาการ 
        2. มักให้พักบนเตียง นอนยกขาสูง ไม่ให้เคลื่อนไหวมาก 
        3. ทำความสะอาดผิวหนัง ด้วยยาฆ่าเชื้อโรค ทุกวัน 
        4. แนะนำไม่ให้แกะเกาแผล 
        5. ให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อโรค อาจในรูปยารับประทาน หรือยาฉีด ตามผลการตรวจเพาะเชื้อ หรือตามที่พบในกล้องจุลทรรศน์จากการย้อมสีแกรม 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ ...ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด...4 August,2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=8&sdata=&col_id=165

อัพเดทล่าสุด