เท้าเหม็นเกิดจาก


3,334 ผู้ชม


เท้าเหม็นเกิดจาก  เท้าเหม็นทําอย่างไรดี  วิธีทําไม่ให้เท้าเหม็น

เท้าเหม็นเกิดจาก

เท้าเหม็นเกิดจาก article

     

ปัญหาเท้าเหม็นเกิดจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง เช่น ถุงเท้า รองเท้า โรคฮ่องกงฟุต เป็นต้น ปัญหากลิ่นเท้าเหม็นเป็นปัญหาที่หนักอกหนักใจของหลายคน บางรายสวมใส่ไม่ถึงครึ่งวัน เท้าก็ส่งกลิ่นแล้ว แก้ ปัญหาสารพัดวิธีแต่ไม่ได้ผลสักที แต่ที่นี่เรามีคำตอบและแก้ปัญหาให้คุณได้ ปัญหากลิ่นเท้าเหม็นเหมือนเป็นปัญหาง่ายๆ แต่ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะปัญหากลิ่นเท้ามาจากปัญหาหลายจุดดังนี้

ปัญหาเท้าเหม็นเกิดจากหรือเท้ามีกลิ่นแรง จะเกี่ยวข้องกับหลายจุด   กลิ่นเท้าเหม็นหรือกลิ่นเท้าแรงเกี่ยวข้องกับ 3 อย่างต่อไปนี้

1. เท้า อาจไม่สะอาดพอหรืออาจมีปัญหาฮ่องกงฟุทหรืออื่นๆ ก็อาจทำให้เกิดกลิ่นขึ้นได้

2. รองเท้า สวมใส่เป็นเวลานานๆอาจเกิดการอับชื้นขึ้นได้หรือกรณีน้ำเข้า ก็จะเกิดปัญกลิ่นไม่พึงประสงค์ขึ้นได้

3. ถุงเท้า เมื่อสวมใส่เป็นเวลานานๆจะเกิดการอับชื้นขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเปียกน้ำ จะทำให้เกิดกลิ่นขึ้นได้ ซึ่งจะมีผลกลิ่นถึงเท้าได้

ปัญหากลิ่นที่เกี่ยวข้อง กับปัจจัยทั้งหมดนี้ ล้วนเกี่ยวข้องกับแบคทีเรียโดยตรง ถ้าปราศจากแบคทีเรียเพียงอย่างเดียว กลิ่นเน่าเสียหรือกลิ่นเน่าเหม็นก็ไม่อาจเกิดขึ้นเลย ปัญหาความอับชื้นและสิ่งสกปรกจึงเป็นปัจจัยที่เร่งให้แบคทีเรียทำงานได้เร็ว ขึ้น ที่ใดที่มีความอับชื้นมากก็ยิ่งเพิ่มแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรียได้ดี

วิธีจัดการกับปัญหากลิ่นเท้าเหม็นหรือเท้ามีกลิ่นเหม็น ด้วยเคเอสโลชั่น

1. ทำความสะอาดเท้าและเช็ดให้แห้ง

2. ชโลมเคเอสโลชั่นลงบนเท้าทั้งสองข้างให้ทั่วๆโดยไม่ต้องล้างออก การชโลมให้ถึงนิ้วเท้าและระหว่างนิ้วเท้าด้วย

ข้อแนะนำพิเศษสำหรับการแก้ปัญหากลิ่นเท้า

กรณีปัญหากลิ่นเท้า ซึ่งปัญหานี้จะเกี่ยวข้องทั้งถุงเท้าและรองเท้าที่สวมใส่ ดังนั้นในการแก้ไขปัญหากลิ่นเท้า ควรแก้ปัญหาแบบบูรณาการ กล่าวคือ แก้ไขตั้งแต่ถุงเท้า รองเท้า ไปจนถึงเท้า โดยการใช้เคเอสโลชั่นในทุกจุดที่กล่าวมา

หมดปัญหากลิ่นเท้าเหม็น เท้ามีกลิ่นแรง ไม่ต้องเครียด ไม่ต้องกลุ้มใจเรื่องปัญหากลิ่นเท้าเหม็นอีกต่อไป ที่นี่เราทำได้

  

ดับกลิ่นเท้าเหม็น มีปัญหากลิ่นเท้า ใช้เคเอสโลชั่น รวดเร็วและทันใจ ง่ายๆไม่ยุ่งยาก

เท้าเหม็นทําอย่างไรดี  

วิธีแก้กลิ่นเท้า เท้าเหม็นทำไงดี

วิธีแก้กลิ่นเท้า
เท้าเหม็นทำไงดี

 
วิธีแก้กลิ่นเท้า
ไม่อยากหมดเสน่ห์เพราะกลิ่นเหม็นอับจากเท้า อย่าละเลยดูแลให้ถูกสุขลักษณะ!


หน้าฝนแบบนี้ “เท้า” เป็นอวัยวะติดอันดับที่หลายคนใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะผิวที่อับชื้นจากน้ำเฉอะแฉะมักกลายเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรีย ทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ง่าย ดังนั้น การดูแลอย่างถูกวิธีจึงจำเป็น เพื่อถนอมสุขภาพเท้า ทั้งยังไม่ทำให้เสียบุคลิกยามเข้าสังคมด้วย
 
วิธีป้องกันกลิ่นอับของเท้า
วิธีแก้กลิ่นเท้า ควร ใช้สบู่อ่อน ๆ เจล หรือ สครับสำหรับเท้า หากมีส่วนผสมของเป็ปเปอร์มิ้นท์ ออยล์ ด้วย จะให้ความรู้สึกเย็นสดชื่นสบายเท้า และกำจัดกลิ่นอับชื้นจากเชื้อแบคทีเรียได้ดี โดยถูเบา ๆ ทั้งบริเวณหลังเท้า ฝ่าเท้า และซอกนิ้ว ส่วนเล็บอาจใช้แปรงขนนุ่มช่วยขัดให้สะอาดขึ้น

 วิธีแก้กลิ่นเท้า

วิธีแก้กลิ่นเท้า  ระหว่าง นี้ การใช้นิ้วมือประสานนิ้วเท้านวดวนจากซ้ายไปขวา และสลับขวาไปซ้าย รวมทั้งการใช้นิ้วมือนวดวนทั่วฝ่าเท้า ด้วยแรงปานกลาง นานประมาณ 2 นาที ยังเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดไปสู่เท้าดีขึ้น ช่วยบรรเทาความเมื่อยล้า และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อฝ่าเท้า จากนั้น ล้างเท้าด้วยน้ำสะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง หากมีเวลาลองแช่เท้าในน้ำอุ่นประมาณ 10 นาที เพื่อเท้าที่นุ่มขึ้น
 
 วิธีแก้กลิ่นเท้า ช่วง ก่อนเข้านอน ควรทาครีมบำรุงเท้า เพิ่มความชุ่มชื่น โดยเลือกเนื้อครีมที่ซึมสู่ผิวได้ดี ไม่เหนียวเหนอะหนะ ส่วนผู้มีปัญหาสนเท้าแตก หลังทาครีมปล่อยเท้าไว้สักพัก แล้วสวมถุงเท้าคอตตอนทับจนถึงเช้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการซึมสู่ใต้ผิวของ เนื้อครีม จะช่วยลดความหยาบกร้านได้ดี ที่สำคัญไม่ควรตัดเล็บเท้าสั้นเกินไป หรือ ลึกโดนเนื้อจนเกิดแผล เพราะเสี่ยงติดเชื้อโรค และก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้
 
 วิธีแก้กลิ่นเท้า นอก จากนี้ การเลือกรองเท้าก็สำคัญ สวมใส่สวย และเท่ห์อย่างเดียวไม่ดี ต้องใส่สบายด้วย โดยขนาดรองเท้าไม่ควรคับแน่น หรือ บีบรัดเกินไป เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยนิ้วเท้าเรื้อรัง และแผลถลอกที่อาจเกิดขึ้นง่าย
 
หมั่นดูแลเท้าให้ถูกสุขลักษณะ หมดกังวลกลิ่นไม่พึงประสงค์ทำหมดเสน่ห์
 
ข้อมูล วิธีแก้กลิ่นเท้า วิธีแก้เท้าเหม็น เท้าเหม็นทำไงดี วิธีดับกลิ่นเท้า วิธีขจัดกลิ่นเท้า จาก เดลินิวส์ออนไลน์
photo credit : denznet.com, howtogetridofproblem.com

อ่านเรื่องทั้งหมด ใน Lifestyle by Snowy Girl

วิธีทําไม่ให้เท้าเหม็น

เท้าเหม็นแก้ได้ง่ายนิดเดียว

กำจัดกลิ่นเท้า

เท้าเหม็นแก้ได้ง่ายนิดเดียว (Health Plus)
          หลาย คนอาจเคยมีปัญหาเท้าเหม็น แต่ถ้าเท้าของคุณเป็นต้นเหตุของกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ทุกวันติดต่อกัน ไม่ต้องตกใจ เรามีสารพัดวิธีที่จะช่วยดับกลิ่นเท้าของคุณ
ความจริงเกี่ยวกับเท้า
          เท้ามีต่อมเหงื่ออยู่มากกว่า 250,000 ต่อม หรือเท่ากับ 3,000 ต่อมต่อตารางนิ้ว ซึ่งเมื่อเทียบต่อพื้นที่ผิวหนังหนึ่งนิ้วพบว่า มีต่อมเหงื่ออยู่มากกว่าต่อมอื่น ๆ เหงื่อที่ถูกผลิตออกมามากมายทำให้ผิวที่เท้าอ่อนนุ่ม ถ้าไม่มีเหงื่อ ผิวก็จะแห้งแตก ทำให้เจ็บเวลาเดิน
          ต่อม เหงื่อที่เท้าต่างจากต่อมเหงื่อบริเวณอื่นของร่างกาย ต่อมเหงื่อที่เท้าผลิตเหงื่อตลอดเวลา ไม่ว่าจะในช่วงอากาศร้อน หรือระหว่างออกกำลังกาย และเมื่อเท้าสามารถผลิตเหงื่ออกมาได้ถึงสัปดาห์ละ 4.5 ลิตร ทำให้เกิดความขึ้นมากมายกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่อยู่ในจุดซ่อนเร้น และนี่คือจุดเริ่มต้นของปัญหา
          เหงื่อไม่ได้มีกลิ่นเหม็น แต่แบคทีเรียที่อยู่บนผิวต่างหากที่เป็นต้นตอของกลิ่นอับชื้น เท้าซุกซ่อนอยู่ในรองเท้าตลอดวัน นั่นอาจทำให้อุณหภูมิที่เท้าพุ่งสูงขึ้น ซึ่งเหมาะกับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย โดยกินของเสียที่อยู่ในเหงื่อและอินทรีย์วัตถุอื่น ๆ ที่อยู่ในถุงเท้าและรองเท้า ยิ่งแบคทีเรียขยายพันธ์มากเท่าไร กลิ่นก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น
ป้องกันได้อย่างไร
          ล้างเท้าให้สะอาด ล้างเท้าด้วยน้ำอุ่นอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ห้ามใช้น้ำร้อน เด็ดขาด ใช้หินพัมมิซขัดผิวหนังเท้าที่หยาบกร้านออก เพราะผิวที่ตายแล้วเหล่านี้จะเป็นจุดอับชื้น ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี ดังนั้นการเช็ดเท้าให้แห้งสนิทจึงเป็นสิ่งสำคัญ ควรโรยแป้งทาตัวให้ทั่วเท้าและซอกเท้า
          พักเท้า ไม่ควรใส่รองเท้าที่คับเกินไป เพราะจะทำให้เหงื่อออกมากขึ้น ดังนั้นควรสวมรองเท้าที่มีขนาดพอดีกับเท้า และหาโอกาสให้เท้าได้พักบ้าง
          ปลดปล่อยเท้า เพื่อให้เท้าได้หายใจ ระบายเหงื่อและกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้อย่างปลอดโปร่ง ควรถอดรองเท้าและถุงเท้าออก หัดเดินเท้าเปล่าบ้าง
          สวมถุงเท้าผ้าฝ้าย ถุงเท้าควรดูดซับน้ำได้ดี ถุงเท้าผ้าฝ้ายเหมาะที่สุด ถุงเท้าที่ทำจากขนสัตว์อุ่นเกินไป ไม่เหมาะกับเท้าที่มีเหงื่อออกมาก หลีกเลี่ยงถุงเท้าในลอน เปลี่ยนถุงเท้าทุกวัน อย่าสวมถุงเท้าที่สกปรกซ้ำ ๆ
          ซักถุงเท้าอย่างถูกวิธี นำถุงเท้าไปแช่ในน้ำร้อน แล้วค่อยซักกับผงซักฟอก จะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซักเสร็จตากให้แห้ง
          สวมรองเท้าหนัง อย่าสวมรองเท้าผ้าใบนาน ๆ เพราะทำจากใยสังเคราะห์ จึงมีอุณหภูมิที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เช่นเดียวกับรองเท้าที่ทำจากพลาสติก
          สวมรองเท้าคู่อื่นบ้าง อย่า สวมรองเท้าคู่เดิม 2 วันต่อเนื่องกัน ใช้รองเท้าสับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน เพื่อให้รองเท้ามีโอกาสแห้ง นำรองเท้าออกมาผึ่งลมอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เก็บรองเท้าที่ไม่ใช้ไว้ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี
          ทำความสะอาดรองเท้า ถ้ารองเท้าอับชื้น นำไปผึ่งแดด จนแห้งสนิทจริง ๆ รวมถึงแกะเชือกรองเท้าออกทั้งหมด ยกลิ้นรองเท้าขึ้นเพื่อให้อากาศได้ถ่ายเททั่วถึงทั้งรองเท้าด้านใน ใช้แอลกอฮอล์เช็ดภายในรองเท้า สำหรับรองเท้าที่ซักล้างได้สามารถทำความสะอาดด้วยผงซักฟอก และน้ำร้อนได้ หากทำความสะอาดแล้วยังไม่หายเหม็น โยนรองเท้าคู่นั้นทิ้งซะ
ทะนุถนอมเท้าของคุณ
          ล้างเท้าด้วยทีทรีออยล์ หรือน้ำมันสะระแหน่ ช่วยระงับกลิ่นเท้าได้ เพราะมีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่พึงระวังหากคุณมีผิวแพ้ง่าย อย่าใช้น้ำมันสะระแหน่ หากคุณกำลังตั้งครรภ์
          แช่เท้าในชาดำ (ชา 2 ถุงแช่ในน้ำ 8 ถ้วย) กรดแทนนิกในชาช่วยระงับกลิ่นได้ ขณะเดียวกันชายังมีสรรพคุณเป็นยาสมานแผลด้วย
          ใช้สเปรย์ระงับกลิ่นเท้าฉีดพ่นบริเวณฝ่าเท้าก่อนสวมรองเท้าทุกครั้ง เพื่อกดดันแบคทีเรียที่ออกมากับเหงื่อให้ทำงานไม่สะดวก
          ใช้ยาดับกลิ่น ถ้าเท้ามีกลิ่นแรง อาจใช้ยาดับกลิ่นที่มีสารอลูมิเนียม เช่น aluminium chlorohydrate ทาเท้า แล้วสวมถุงเท้าก่อนนอน
คุณหมอช่วยด้วย
          แพทย์จะจ่ายยาที่ทำให้เท้าแห้งหรือยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การรักษาวิธีอื่น ๆ เช่น การทำไอออนโตโฟเรวิส โดยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านน้ำขณะที่เท้าแช่น้ำ เพื่อลดเหงื่อที่ออกมากให้เป็นปกติ โบท็อกซ์ที่ใช้รักษาเหงื่อออกมากขึ้นรักแร้ ก็สามารถนำมาใช้รักษาโรคเท้าเหม็นได้ด้วย โดยการฉีดโบท็อกซ์เข้าไปที่ฝ่าเท้าเพื่อลดเหงื่อที่ออกมาก ๆ ประมาณ 6-12 เดือนก็จะเห็นผล แต่พึงระวังฝ่าเท้า และผิวหนังที่เท้าเป็นจุดที่อ่อนไหว จึงอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้
เกร็ดความรู้
          เหงื่อที่ออกถึงสัปดาห์ละมากกว่า 4 ลิตร ทำให้เท้าของคุณกลายเป็นสวรรค์ของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น

  เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย 



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Link  https://www.kslotion.com
https://blog.eduzones.com
https://health.kapook.com/

อัพเดทล่าสุด