โรคลําไส้โป่งพองแต่กําเนิด


7,636 ผู้ชม


โรคลําไส้โป่งพองแต่กําเนิด โรคลําไส้เล็กอักเสบ โรคลําไส้อักเสบ

โรคลําไส้โป่งพองแต่กําเนิด

โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschsprung 's disease) 

ขอนำเสนอส่วนหนึ่งของอวชที่ทำค่ะ

การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดรักษาโรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด

(Hirschsprung 's disease)

สาเหตุ

เกิดจากความผิดปกติของลำไส้ไม่มีเซลล์ปมประสาท ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดยังไม่ทราบแน่นอน

อาการ

ในเด็กแรกเกิดอาการท้องอืด ไม่ถ่ายขี้เทา 24 ชั่วโมงหลังคลอด อาเจียน

ในเด็กโตมีอาการท้องผูกต้องสวนอุจจาระเป็นประจำ มีอาการท้องผูกสลับท้องเดินจากภาวะ Enterocolitis มีอาการท้องอืดท้องโตมากกว่าเด็กปกติ

การวินิจฉัย

  •  การตรวจร่างกาย
  • การ X-ray
  • ทำBarium enema
  • Rectal biopsy

การรักษา

     การผ่าตัดเปิดcolostomy และปิด colostomy โดยทำผ่าตัด Pull through operation เมื่อน้ำหนักถึง 10 kgs หรือเมื่ออายุ 1 ปี

     ในระยะแรกอาจมีการรักษาแบบ supportive treatment โดยการ Rectal irrigation

การเตรียมด้านร่างกาย ( physical Management)

           1.  ดูแลด้านสุขภาพอนามัยทั่วไปของผู้ป่วย

            1.1  ดูแลผู้ป่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงพร้อมที่จะผ่าตัดไม่มีภาวะซีด โลหิตจาง อ่อนเพลีย         ถ้าเป็นหวัด  มีน้ำมูก มีไข้สูง  รายงานให้แพทย์ทราบ  ช่วยลดไข้ในรายที่ไข้สูง โดยการ tepid sponge และให้ยาตามแผนการรักษา

             1.2  งดน้ำและอาหารให้ตรงตามเวลา      ในผู้ป่วยเด็กจะดูดนมทุก 4 ชั่วโมงเพราะmetabolism ของเด็กเร็วมากการอดน้ำและอาหารทำให้เด็กหิว กระสับกระส่าย ในทารกควรงดน้ำและอาหาร 4 ชั่วโมงก่อนทำการผ่าตัด   ในเด็กโตงดน้ำและอาหาร 6 ชั่วโมงขึ้นไป ควรแนะนำผู้ป่วยและญาติให้เห็นความสำคัญของการงดน้ำและอาหาร

                 1.3  เมื่อต้องงดน้ำและอาหารดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำ และอาหารทางหลอดเลือดดำให้เพียงพอตามแผนการรักษา

                 1.4    Preoperative antibiotic การผ่าตัดลำไส้ใหญ่จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดเชื้อโรคที่คั่งค้างอยู่ใน intestinal content

                   1.5     เตรียมความสะอาดร่างกายทั่วไป ปาก  ฟัน  ผม  เล็บ และผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัด ในเด็กเล็กเพียงแต่ฟอกและล้างบริเวณที่จะผ่าตัดให้สะอาดก็เพียงพอเตรียม เวชระเบียนผลการตรวจทางห้องทดลอง Film X-ray ให้เรียบร้อย

                     1.6    เตรียมเลือดไว้สำหรับผ่าตัด

                     1.7    การให้ Pre-medication เพื่อช่วยให้เด็กสงบและได้พักผ่อนก่อนทำการผ่าตัด   

                     1.8    การสวนอุจจาระและการเตรียมลำไส้ การผ่าตัดบริเวณลำไส้ใหญ่จำเป็นต้องสวนล้างก่อนผ่าตัด ในกรณีที่ผ่าตัดลำไส้ส่วนบนอาจให้รับประทานยาหรือซึ่งการสวนล้างควรใช้น้ำ เกลือสำหรับสวนล้างด้วยปริมาณที่มากพอจะทำให้ลำไส้สะอาดมีอุจจาระตกค้างหรือ มีเหลือเพียงเล็กน้อย ใช้สายยางสำหรับสวนอุจจาระซึ่งเป็นสายยางสำหรับสวน rectum โดยใช้ rectal tube และ สายยางสำหรับสวน   colostomy โดยใช้สาย  nasogastric tube  ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับขนาดของ  colostomy การเตรียมก่อนผ่าตัดลำไส้ใหญ่ ควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเหลวงดอาหารที่มีกากประมาณ1-2วันก่อนผ่าตัด รวมทั้งให้ยาระบาย  ควรให้ยาปฏิชีวนะรับประทานทางปาก 24-48 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด เพื่อลดปริมาณแบคทีเรียในลำไส้ตัว

                            1.9    ซักประวัติการแพ้ยา

                          1.10หนังสือแสดงความยินยอม ผู้ป่วยอายุไม่ถึง 15 ปีให้บิดามารดาหรือผู้อุปการะเลี้ยงดูเซ็นแสดงความยินยอมไว้เป็นหลักฐาน

                          1.11 แถบป้ายชื่อผู้ป่วยต้องมีสวมติดข้อมือโดยระบุชื่อ นามสกุล อายุ เพศ เลขประจำตัวผู้ป่วย

 การเตรียมด้านจิตใจ (Mental management)

                ผู้ป่วยเด็กที่ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลและต้องผ่าตัด จะก่อให้เกิดความผิดปกติในทางจิตใจ และอารมณ์ของเด็กและพ่อแม่  ตัวเด็กเองจะเกิดความหวาดกลัวที่เข้ามาอยู่ในสถานที่ซึ่งตนไม่เคยอยู่และมีสิ่งแปลก ๆ น่ากลัว  ต้องห่างบ้าน บางคนบิดามารดาไม่สามารถเฝ้าได้เนื่องจากมีภาระจำเป็น เด็กจะเกิดความรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง และขาดความปลอดภัย พ่อ แม่ จะเกิดความรู้สึกว่าตนมีความผิดที่ทำให้ลูกเจ็บป่วย เกิดความวิตกกังวล ห่วงใย ขาดความรู้ความเข้าใจในโรคที่เป็นอยู่   พยาบาลมีหน้าที่

                            1  อธิบายให้บิดา-มารดา เข้าใจถึงการดำเนินของโรค ประโยชน์ของการผ่าตัด ผลของการผ่าตัด การปฏิบัติตนก่อนและหลังผ่าตัด และเมื่อเด็กกลับบ้าน

                            2    สร้างความคุ้นเคยเป็นกันเอง   พูดปลอบโยน   ให้เด็กเกิดความไว้วางใจ คลายความหวาดกลัว หาของเล่นมาให้

การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดรักษาโรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด   (Post Operative Nursing Care)

                1.  การสังเกตและบันทึกภาวะช็อค

                2.  ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับความสุขสบาย

                                2.1  ระงับหรือบรรเทาอาการปวด

                                2.2  ดูแลรักษาความสะอาดร่างกายทั่วไปในระยะแรก ต่อมาแนะนำและดูแลให้ญาติทำให้   นอกจากนี้ควรดูแลความสะอาดเสื้อผ้า ที่นอน และสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยให้สะอาด

                                 2.3    ดูแลให้ภายในห้องมีการถ่ายเทอากาศดี ไม่มีกลิ่น และเสียงหรือยุงรบกวน   เป็นต้น

                3.  การรักษาความสมดุลของสารน้ำ สารอาหาร และเกลือแร่ในร่างกาย

                                3.1 สังเกตและบันทึกลักษณะและจำนวนน้ำที่ได้รับและขับออกจากร่างกาย 

                                3.2  สังเกตและบันทึกอาการและอาการแสดงของภาวะที่ร่างกายเสียสมดุล  เกิดภาวะขาดหรือภาวะเกินของสารน้ำ เกลือแร่ และสารอาหาร

                                3.3  ติดตามผลการตรวจเลือดและปัสสาวะทางห้องทดลอง

                                 3.4    ในระยะแรก ๆ หลังผ่าตัดผู้ป่วยยังงดอาหาร และน้ำทางปากอยู่ ต้องดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำ และเกลือแร่ให้ถูกต้อง  ต่อมาเมื่อลำไส้ทำงานได้ตามปกติ ให้เริ่มรับประทานอาหารเหลว หรือนม โดยครั้งแรกให้จำนวนน้อยก่อน  ต่อมาจึงเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น เมื่อรับประทานอาหารเหลวแล้วไม่เกิดอาการแน่นท้อง  คลื่นไส้ อาจเจียน  จึงเปลี่ยนเป็นอาหารอ่อน และอาหารธรรมดา  ตามลำดับ  อาหารอ่อนและอาหารธรรมดาที่ให้ควรเป็นอาหารที่มีสารอาหารและวิตามินครบถ้วน มีโปรตีน และแคลอรีสูง และรับประทานให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

                4. การให้ยาปฏิชีวนะหลังผ่าตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

                5.  การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการคั่งของสารน้ำ และก๊าชในกระเพาะอาหาร                   

                                5.1  ดูแลให้ผู้ป่วยงดอาหารและน้ำทางปากในระยะที่ลำไส้ยังทำงานได้ไม่ปกติ

                                5.2  ดูแลไม่ให้  Nasogastric tube  หักพับงอ  เพื่อให้น้ำย่อยที่คั่งในกระเพาะอาหารไหลออกสะดวก

                                 5.3   ดูแลให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้ลำไส้ทำงานได้ตามปกติเร็วขึ้น โดยเริ่มต้นจากการนอนหงายเป็นนอนตะแคง  นั่งบนเตียงและนั่งข้างเตียง      โดยระยะแรกพยาบาลสอนและช่วยเหลือ  ต่อมาแนะนำให้ญาติทำให้  พยาบาลทำหน้าที่กระตุ้นให้กำลังใจและให้ความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น

                6.  การป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ

                                6.1  ดูแลความสะอาดทางช่องปากของผู้ป่วย

                                6.2  ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำเพียงพอเพื่อช่วยให้เสมหะใสขึ้น

                7.  การดูแลการคาสายสวนปัสสาวะ

                      ดูแลให้ปัสสาวะไหลทางสายยางได้สะดวกไม่ให้สายยางหักพับงอ

ดูแลให้สายสวนปัสสาวะต่อลงถุงหรือขวดปัสสาวะเป็นระบบปิด และใช้เทคนิคปราศจากเชื้อในการต่อสายสวนปัสสาวะหรือบันทึกสังเกตและบันทึกลักษณะและจำนวนของปัสสาวะ ลักษณะการขับถ่ายปัสสาวะ และผลการตรวจปัสสาวะทางห้องทดลอง

                 8.การดูแลcolostomy

                 ดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนังรอบรูเปิดของลำไส้ใหญ่ทุกครั้งที่มีอุจจาระออกมาปนเปื้อน อาจทาผิวหนังรอบๆด้วยขี้ผึงวาสลีนหรือซิงค์ออกไซด์ เพื่อป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง จากการปนเปื้อนของอุจจาระ

                คำแนะนำการดูแลเมื่อเด็กกลับบ้าน

              1. ดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนังรอบรูเปิดของลำไส้ใหญ่ทุกครั้งที่มีอุจจาระออก มาโดยใช้น้ำเปล่าหรือน้ำสบู่อ่อนๆชำระล้าง แล้วซับด้วยกระดาษชำระหรือผ้านุ่มๆไม่ควรใช้สำลีแห้งเช็ดเพราะทำให้เกิดการ ระคายเคืองและตกค้างได้  จากนั้นปิดด้วยผ้าที่เนื้อนุ่มและวางผ้าปิด colostomy โดยวางด้านที่มีตะเข็บไว้ด้านบนสายผูกทั้งสองเส้นไว้รอบเอวและผูกเป็นเงื่อน กระตุกตรึงไว้ที่มุมผ้าปิดแผลผ้าปิดสามารถนำไปซักให้สะอาดและนำกลับมาใช้ เช่นเดียวกับผ้าอ้อม(สุวรรรณี  สินะสนธิและ พัชรวาลย์  ตันติเศรษฐ,2544)คำแนะนำการทำผ้าปิด colostomyโดย ใช้ผ้าเนื้อนุ่มๆหรือผ้าสำลี ตัดเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร จำนวน 2 ชิ้น นำมาเย็บประกบติดกัน เก็บขอบผ้าและเย็บริมผ้าให้เรียบร้อย แล้วตัดผ้าเป็นเส้นยาวตามความยาวของผ้าหรือความยาวสามารถพันรอบหน้าท้องได้ กว้าง 0.3 เซนติเมตร ยาว 7 เซนติเมตร จำนวน 2 ชิ้น เก็บขอบและเย็บริมให้เรียบน้อย แล้วนำไปเย็บติดกับสีเหลี่ยมผืนผ้าโดยเย็บสายผูกให้ห่างจากด้านบนของผ้า 2 เซนติเมตร อีกชั้นเย็บห่างจากขอบล่างของผ้า 2 เซนติเมตร (สุวรรรณี  สินะสนธิและ พัชรวาลย์  ตันติเศรษฐ,2544)

                2. ทาผิวหนังรอบๆด้วยขี้ผึงวาสลีนหรือซิงค์ออกไซด์ เพื่อป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง จากการปนเปื้อนของอุจจาระตามแผนการรักษา และเมื่อต้องทำความสะอาดครีมเหล่านี้ออกอย่างนุ่มนวลมุถูแรงๆ หากผิวหนังรอบๆมีการอักเสบเป็นผื่นผ้าอ้อมให้พามาพบแพทย์ได้

                3. อาจเกิดลำไส้อุดตันหลังทำแล้ว 1 สัปดาห์ หรืออีกหลายเดือนได้มักจะเกิดจากมีเยื่อผังผืดรอบcolostomy

                4. อาจมีการปลิ้นตัวcolostomyมักจะปลิ้นทางด้านปลายถ้าหากปลิ้นออกมามากควรพามาพบแพทย์

                5. มีการตีบแคบของ colostomy มักเกิดจากมีเนื้อตายบริเวณรูเปิดหรือถ้ามีการหดรั้งอาจเกิดจากลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อยเกินไป

                6. มีการเสียเลือดและผิวหนังบริเวณรอบๆเปื่อยหรือถลอกออก การเสียเลือดน้อยๆแต่นานๆและต่อเนื่องก็อาจเกิดภาวะโลหิตจางตามมาได้ จึงควรทำความสะอาดด้วยความระมัดระวังและเหมาะสม

                7. แนะนำให้รู้จักวิธีสังเกตสี กลิ่น จำนวน ความถี่ห่างของอุจจาระและบอกถึงลักษณะที่ผิดปกติ เพื่อนำเด็กมาพบแพทย์

                8. ให้มาตรวจตามแพทย์นัด

โรคลําไส้เล็กอักเสบ

ลำไส้เล็กอักเสบเรื้อรังมีแผลกระจายทั่วในลำไส้เล็ก

ผมอายุ 44 ปีมีปัญหากับระบบขับถ่าย(ถ่ายบ่อย ท้องเสีย) ในวันหนึ่ง 5-7 ครั้ง เริ่มเป็นตอนอายุ 35 รักษาทั้งแผนปัจจุบัน แผนโบราณก็ไม่หาย ตรวจโดยการส่องกล้องทางกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ไม่เจออะไร จนกระทั่งไปรพ กรุงเทพ หมอตรวจโดยวิธีกลืนแคปชูล(กล้องถ่ายภาพสภาพภายในระบบทางเดินอาหาร) หมอบอกว่าเป็นโรคลำไส้เล็กอักเสบและมีแผลกระจายทั้งมีเลือดและไม่มีเลือด ตอนนี้ทานยามาได้ประมาณ 8 เดือนอาการดีขึ้นตามลำดับ นน.ก่อนตรวจ 59 กก. ตอนนี้ 69กก. หมอบอกว่าอาจจะต้องทานยาตลอดชีวิต. ขอทราบวิธีการหรือตำรับยาในการรักษาด้วยครับ

ตอบโรคลำไส้เล็กอักเสบ

การแพทย์แผนปัจจุบันโรค Crohn's disease                                เป็นภาวะของระบบทางเดินอาหารอักเสบ โดยอวัยวะที่มีผลเกิดได้ตั้งแต่ช่องปากจนถึงทวารหนัก อาการของโรคนั้นเกิดขึ้นเฉพาะกับบุคคล โดยอาการแสดงที่พบได้ เช่น ปวดท้อง, ท้องเสีย(อาจมีการถ่ายเป็นมูกเลือด), อาเจียน หรือน้ำหนักลด นอกจากนี้บางรายอาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้ เช่น ผื่นแดง, ข้ออักเสบ หรืออาการอักเสบของตา ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายตนเอง (autoimmune disease) และเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น
การรักษา จะให้ยาในกลุ่มยาปฎิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน, ยาสเตรียรอยด์ เพื่อช่วยลดการอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรงหรือ กลับมาเป็นซ้ำบ่อยๆ อาจให้ยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันร่วมกับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือการผ่าตัด


การแพทย์แผนไทยเรียกว่าโรคริดสีดวงคูถ เกิดจากอาหารเก่าพิการแตก เนื่องจากเป็นซางชโมยกินลำไส้ในเด็กและไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ให้หายขาด จนอายุ 30-40 ปี ก็จะกลายเป็นโรคริดสีดวงต่างๆ แล้วแต่ว่าพิษนั้นไปขึ้นอยู่ที่อวัยวะใด ถ้าขึ้นที่ตาทำให้คันหางตาทั้งสองข้าง ตาฟางตาแห้ง ขึ้นที่คอทำให้ไอ เจ็บคอ คออักเสบ ขึ้นในกระเพาะทำให้อาเจียน ไม่อยากข้าว ขึ้นในลำไส้ทำให้ลงท้อง เจ็บ ปวดท้อง ถ่ายเป็นมูกเป็นเลือด ให้แสบร้อน ขึ้นในตับให้ตกมูกเลือด ผอมแท้ง ผอมเทลือง ขึ้นในไส้อ่อนให้ลงท้อง ตกมูกเขียวเป็นสีใบไม้ ให้ผิวหนังแห้งเป็นเกล็ด ขึ้นในสันหลังให้ปวดข้อ ปวดกระดูก
การรักษาให้กินยาแก้พิษตานซาง เพื่อล้างท้อง แก้ตกมูกเลือด แล้วค่อยกินยาประจำท้องต่อไป

ในรายของคุณเป็นที่ลำไส้เล็ก และได้รักษาทางแผนปัจจุบัน ทำให้การอักเสบดีขึ้นแล้ว โดยเห็นได้จากน้ำหนักตัวขึ้นมาโดยลำดับ หากไม่อยากทานยาแผนปัจจุบันไปตลอดชีวิต จะใช้ยาแผนโบราณควรใช้ยาประจำท้อง ซึ่งเป็นยาเจริญธาตุทานควบคู่กันไปก่อน แล้วค่อย ถอนยาแผนปัจจุบันออกไป แล้วควรสังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง
ที่สำคัญคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การขับถ่ายให้เป็นเวลา การออกกำลังกายและการพักผ่อนให้เพียงพอ
(หากพิษของโรคยังคงอยู่ อาการก็อาจกลับมาเป็นอีกได้ ในขณะที่ร่างกายอ่อนแอ ทางแพทย์แผนปัจจุบีนจึงเข้าใจว่าเกิดจากระบบภุิมิุ้มกันบกพร่อง)
ตำรับยามีตัวยาประกอบหลายชนิดและเพื่อป้องกันการนำยาไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง หากตั้งใจที่จะรักษาจริงกรุณาสอบถามได้ที่คลีนิค

โรคลําไส้อักเสบ

ต้นเหตุของลำไส้อักเสบ

ส่วนใหญ่การอักเสบของลำไส้จากการติดเชื้ออะมีบาหรือที่เรียกว่าบิดมีตัว ในเรื่องของอาหารการกิน
ก็มีส่วน คือพบว่าการกินอาหารไขมันสูง , กากน้อย จะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งสูงขึ้น( High fat,low fiber)
ส่วนการอักเสบชนิดเป็นแผลเรื้อรังของลำไส้ เรียกรวมกันว่า Inflammatory Bowel Disease (IBD)
ซึ่งกลุ่มอาการลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า พบได้ในคนทุกวัย ส่วนมากจะเป็นๆหายๆ หรือเป็นอยู่ประจำนานอยู่เป็นแรมปี
หรือตลอดชีวิต โดยที่สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดีและทำงานได้เป็นปกติ เป็นโรคที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนร้ายแรงแต่อย่างใด
เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของลำไส้ใหญ่ โดยหาความผิดปกติทางด้านร่างกายไม่พบ
แต่พบว่าสัมพันธ์กับอารมณ์และจิตใจ เช่น เครียด คิดมาก วิตกกังวล
          อาการ มักถ่ายเป็นก้อนเหมือนปกติครั้งหนึ่งก่อน หลังจากนั้นจะมีปวดบิดในในท้องต้องถ่ายอีก
มักถ่ายเหลวหรือเป็นน้ำ อาจจะถ่ายเหลวหรือเป็นน้ำอีกหลายครั้ง โดยเฉพาะหลังอาหาร บางครั้งอาจมีมูกปน
แต่ไม่มีเลือดหรือหนอง บางรายมีอาการท้องเดินเมื่อเครียด หรือตื่นเต้น หรือหลังทานอาหารรสจัก มันจัด หรือ
ทานอาหารบางอย่างเฉพาะ บางรายท้องเดินระยะหนึ่งแล้วจะมีอาการท้องผูก อุจจาระแข็ง
          การปฎิบัติตัว ควรทานอาหารหรือสารที่มีกากหรือเส้นใย( Fiber)มากจะช่วยลดอาการปวดท้องและท้องผูกได้ดี
โดยอาจเป็นเส้นใยธรรมชาติเช่น เปลือกข้าวสาลี(weat bran) ผักและผลไม้ ควรได้รับเส้นใยอย่างน้อย 20-30 กรัม
ต่อวัน เส้นใยจะลดการบีบตัวหรือเกร็งของลำไส้รวมทั้งลดความดันภายในช่องลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องน้อยลง
          นอกจากนี้ เส้นใยยังช่วยดูดน้ำไว้ในตัวอุจจาระ ทำให้ปริมาณอุจจาระเพิ่มขึ้นและไม่แข็ง ปริมาณอุจจาระ
เพิ่มขึ้นจะเร่งให้มีการขนส่งอุจจาระผ่านลำไส้เร็วขึ้น ส่งผลให้มีการขับถ่ายอุจจาระเพิ่มขึ้นและง่ายขึ้น การดื่มน้ำมากๆ
และการออกกำลังกายจะช่วยให้อาการดีขึ้น นอกจากนี้การใช้เวลาที่เพียงพอ และไม่เร่งรีบในการถ่ายอุจจาระ
รวมทั้งการฝึกลักษณะนิสัยในการขับถ่ายอุจจาระให้เหมาะสม ควรทานอาหารที่ละน้อย ไม่กินอิ่มจนเกินไป
หลีกเลี่ยงอาหารไขมันเนื่องจากไขมันจะเป็นตัวกระตุ้นที่รุนแรงของการการบีบตัวของลำไส้
นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอกอออล์ทุกชนิด ,กาแฟ ของดอง , น้ำอัดลม และยาที่ทำให้มีอาการท้องผูกมากขึ้น
ความเครียดหรือความวิตกกังวลเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้อาการมากขึ้น จึงควรผ่อนคลายความเครียดทำจิตใจให้สบาย
และให้มีการพักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ การปรับตัวการดำเนินชีวิตดังกล่าวควรทำไปตลอดซึ่งนอกจากทำให้
อาการลดลงแล้วยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการใหม่อีกด้วยค่ะ

Link   
https://www.gotoknow.org
https://thaiherbclinic.com
https://www.thai4health.com

อัพเดทล่าสุด