โรคลําไส้อักเสบในทารก


โรคลําไส้อักเสบในทารก โรคลําไส้อักเสบในเด็ก โรคลําไส้อักเสบในเด็ก 1 ขวบ

โรคลําไส้อักเสบในทารก


ระวัง! โรคลำไส้อักเสบรุนแรงในลูกเล็ก

ระวัง! โรคลำไส้อักเสบรุนแรงในลูกเล็ก

แม่และเด็ก -  โรคลำไส้อักเสบ

ระวัง! โรคลำไส้อักเสบรุนแรงในลูกเล็ก
(modernmom)
โดย: นพ.ศุภวัชร บุญกษิดิ์เดช
          ภาวะการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารยังคง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดูแลในเด็กเล็ก โดยเฉพาะกลุ่มทารกแรกเกิด ภาวะลำไส้อักเสบรุนแรงในทารกแรกเกิด จนถึงมีเนื้อเยื่อลำไส้เน่าตาย (Necrotizing Enterocolitis : NEC) เป็นปัญหาการติดเชื้อที่สำคัญ ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนและมีอัตราการเสียชีวิตสูง
เด็กแบบไหนอยู่ในภาวะเสี่ยง
          สาเหตุ และปัจจัยที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมีภาวะลำไส้อักเสบ จนถึงเนื้อเยื่อเน่าตาย มีหลายประการ ปัจจัยหลักคือ การที่ทารกคลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักตัวน้อย หากมีการขาดเลือดไปเลี้ยงบริเวณลำไส้ เช่น การมีคะแนนการคลอดตั้งแต่แรกคลอดต่ำ หรือมีภาวะขาดออกซิเจนตั้งแต่แรกคลอด และมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคไปกับนมหรือภาชนะที่ไม่สะอาด หรือมีการให้น้ำนมผสมที่มีความเข้มข้นที่สูง และเพิ่มปริมาณน้ำนมเร็วเกินไปโดยเฉพาะนมผสมที่ไม่ใช่นมแม่ ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้
สังเกตอาการลำไส้เน่า
          อาการ ของทารกที่มีภาวะนี้ ส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปภายใน 2 สัปดาห์แรก หรืออาจมีอาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากสังเกตพบอาการล่าช้า โดยเริ่มแรกอาจมีเพียงท้องอืด กินนมได้น้อยลง หรือมีน้ำนมเหลือค้างในกระเพาะอาหาร อาเจียนหรือแหวะนมบ่อยๆ ลักษณะอุจจาระเป็นสิ่งสำคัญ หากมีการถ่ายเหลวเป็นมูกหรือมีมูกเลือดปน เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าน่าจะมีสิ่งผิดปกติในลำไส้ของลูกน้อย
          นอก จากนี้ยังมีอาการแสดงที่ไม่จำเพาะเจาะจง เช่น ซึม ไม่ยอมดูดนม ร้องกวน หรือมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกายไม่ใช่เฉพาะการมีไข้ แต่อาจจะมีภาวะตัวเย็นร่วมด้วย การสังเกตอาการของคุณแม่มือใหม่ที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักตัวน้อย
          ส่วน ใหญ่ขณะลูกน้อยอยู่ในโรงพยาบาล ทีมกุมารแพทย์และพยาบาลทารกแรกเกิด จะคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว และก่อนกลับบ้านกุมารแพทย์และพยาบาลจะแนะนำวิธีการดูแลโดยทั่วไป และสังเกตอาการแบบเฉพาะเจาะจงในแต่ละระบบ ซึ่งอาจต้องนำลูกน้อยมาพบแพทย์ก่อนเวลานัด
          คุณ แม่อาจสังเกตดูว่า ลูกน้อยกินนมได้ดีเท่าเดิม ไม่มีอาการแหวะนมบ่อย ๆ ท้องไม่อืดอย่างต่อเนื่อง หรือไม่มีลมในกระเพาะปริมาณมาก และเมื่อลูกน้อยกินนมอิ่มก็จะพักหลับได้ประมาณ 3–4 ชั่วโมง แล้วจึงตื่นมาเพื่อกินนมมื้อต่อไป มีการตอบสนองกับคุณพ่อคุณแม่ ด้วยการยิ้ม จ้อง และสบตา ลักษณะของอุจจาระ หากกินนมแม่ในปริมาณมากพอหรือเป็นส่วนใหญ่ อุจจาระจะมีสีเหลืองทอง นิ่ม ไม่มีลักษณะเป็นน้ำ ไม่มีมูกหรือเลือดปน อาจถ่ายได้วันละ 4–6 ครั้ง ถือเป็นภาวะปกติ
          ส่วน การวัดอุณหภูมิร่างกายของลูกน้อย หากคุณแม่มีเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ ในภาวะปกติจะพบว่าไม่มีไข้เกิน 37.8 องศาเซลเซียส หรือไม่มีภาวะตัวเย็นที่วัดอุณหภูมิได้ต่ำกว่า 36.5 องศาเซลเซียส แต่หากคุณพ่อคุณแม่ไม่แน่ใจว่าลูกน้อยมีอาการผิดปกติหรือไม่ ควรจะนำทารกมาพบกุมารแพทย์ก่อนเวลานัด
          แต่ อย่างไรก็ตาม ในทารกแรกเกิดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักตัวน้อยอาจมีภาวการณ์กินนมที่ไม่ดีเท่าปกติ เนื่องจากการเจริญของระบบการทำงานของลำไส้ในการดูดซึมน้ำนมยังไม่ สมบูรณ์เท่าเด็กครบกำหนด เรียกว่าภาวะ Feeding Intolerance อาจทำให้เข้าใจผิด ว่าเป็นภาวะลำไส้อักเสบได้ ซึ่งแพทย์และพยาบาล จะเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ทารกอยู่ในหอผู้ป่วย แล ให้การวินิจฉัยแยกโรคหรือภาวะนี้ออกไป ซึ่งมักจะดีขึ้นได้เองเมื่อลูกน้อยมีการเจริญเติบโตมากขึ้น ระบบลำไส้ก็จะทำงานได้ดีขึ้นตามลำดับ แต่การเฝ้าสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น ก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ หากมีลักษณะคล้ายการติดเชื้อลำไส้อักเสบดังข้างต้น ทีมผู้ดูแล ก็จะเริ่มให้การดูแลรักษายาปฏิชีวนะและสารน้ำเข้าหลอดเลือดทันที
วิธีการป้องกันและดูแลรักษา
          การ ป้องกันที่ดีที่สุด คือให้ลูกกินน้ำนมแม่ เพราะจะมีภูมิคุ้มกันที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อในลำไส้ได้อย่างดี จากการศึกษาหลายแห่งได้ผลตรงกันว่า อุบัติการณ์ของภาวะ NEC นี้ จะลดลงในกลุ่มทารกที่ได้รับน้ำนมแม่ เมื่อเทียบกับทารกที่ได้รับนมผสมอย่างเดียว
          นอก จากนี้ในแม่ก่อนคลอดทารกก่อนกำหนด สูติแพทย์จะมีการให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อให้ปอดของทารกเจริญมากขึ้น จากการศึกษาพบว่า จะทำให้ลำไส้มีการเจริญที่ดีขึ้นไปด้วย ทำให้ลดอุบัติการณ์ภาวะนี้ได้ ในด้านการใช้ยาเพื่อป้องกัน มีการวิจัยใช้ยาปฏิชีวนะให้กินเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่ยังไม่ได้ใช้เป็นมาตรฐานทุกราย
          ใน การเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้เวลาชงนมให้ลูก สิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องความสะอาด โดยเฉพาะช่วงที่น้ำนมแม่เริ่มไม่พอและต้องใช้นมผสม เชื้อโรคสามารถเข้าไปในน้ำนมได้หลายทาง โดยเฉพาะการล้างมือของคนชงนมเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด ขวดนมและจุกนมภายหลังจากต้มในน้ำเดือดอย่างน้อย 15 นาที หรือนึ่งฆ่าเชื้อโรคตามเวลาที่กำหนด ควรเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาครอบ เพื่อป้องกันแมลงและสัตว์นำเชื้อโรคอื่นๆ ที่เราไม่ทันระวังมาสัมผัสได้
          และ หากคุณแม่สงสัยว่าลูกมีภาวะนี้ควรพามาพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะตรวจเอกซเรย์ช่องท้อง เจาะเลือดตรวจดูการติดเชื้อ และตรวจอุจจาระ เป็นการตรวจพื้นฐานเบื้องต้น หากแพทย์คิดว่าเข้าได้กับการติดเชื้อลำไส้อักเสบรุนแรง ก็จะให้นอนโรงพยาบาล และงดนม ในช่วงระยะเวลา 3–5 วัน หากอาการไม่รุนแรง โดยให้สารน้ำทางหลอดเลือดทดแทนพลังงานที่จะได้รับตามอายุของทารก และเริ่มให้ยาปฏิชีวนะทางสายน้ำเกลือนั้น โดยทั่วไปหากได้รับการสังเกตที่รวดเร็ว และมาพบแพทย์จะทำให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ทารกจะมีการตอบสนองต่อการรักษาได้อย่างดี
          โดย ภาพรวมเมื่อติดตามดูทารกที่มีภาวะ NEC เมื่อได้รับการรักษาอย่างครบถ้วน ส่วนใหญ่จะพบว่าการเจริญเติบโตและการ พัฒนาการอยู่ในเกณฑ์ดีเป็นที่น่าพอใจ
          อย่าง ไรก็ตาม การป้องกัน NEC ที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกันการคลอดก่อนกำหนดหรือทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย ควรให้นมแม่นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เน้นเรื่องความสะอาด และดูแลอุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมนมอย่างถูกสุขลักษณะทุกครั้ง พร้อมทั้งเฝ้าระวังอาการต่าง ๆ ของลูกน้อย หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย อาจโทรปรึกษาไปที่ศูนย์รับให้คำปรึกษาของโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน เพื่อให้การวินิจฉัยได้แต่เนิ่น ๆ จะลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ และให้ผลการดูแลรักษาที่ดีทำให้ทารกมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดได้

โรคลําไส้อักเสบในเด็ก

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ สัญญาณประท้วงของร่างกาย


        วิถี ชีวิตที่เร่งรีบจนขาดความพิถีพิถันในการบริโภค ของคนในปัจจุบันโดยเฉพาะคนที่ทำงานในออฟฟิศ อันเป็นบ่อเกิดของโรคภัยต่างๆ มากมายตั้งแต่ศรีษะจรดปลายเท้า เคยมีสถิติว่า 90% ของคนเมืองมักมีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหารและการขับถ่ายเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นโรคยอดฮิตอย่าง โรคกระเพาะอาหาร โรคลำไส้อักเสบ ท้องผูก ที่ดึงเอาความสุขของชีวิตไปไม่น้อย เพราะลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่เป็นอวัยวะสำคัญของกระบวนการย่อย การอักเสบของลำไส้เล็กเป็นอาการที่เกิดร่วมกับโรคกระเพาะอาหาร ส่วนสำหรับคราวนี้ขอนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ เสียก่อน

        โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ เกิดจากการระคายเคืองที่ลำไส้ได้รับเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากปัญหาของระบบย่อยอาหาร มักพบบ่อยในช่วงอายุประมาณ 15-30 ปี และมักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการ คือ ผนังลำไส้บวม อักเสบ ทำให้มีเลือดออกทางทวารหนัก เกิดอาการปวดท้องและมีอาการท้องเดินกะทันหันเนื่องจากลำไส้บีบตัว คนที่เป็นโรคนี้มักมีปัญหากับการถ่ายอุจจาระ คือถ่ายบ่อยไม่เป็นเวลา เจ็บทุกครั้งที่ถ่าย เมื่อเรื้อรังนานเข้าทำให้เป็นโลหิตจางเนื่องจากเสียเลือดมาก อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 30 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยโรคนี้มีอาการอักเสบรุนแรง ต้องผ่าตัดเอาลำไส้บางส่วนออก แล้วจึงรักษาลำไส้ในส่วนที่เหลือต่อไป ความน่ากลัวของลำไส้ใหญ่อักเสบยังไม่หมดเพียงเท่านี้ การเกิดแผลและการเสียดสีบริเวณที่อักเสบนานๆ เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคร้ายอันดับต้นที่คร่าชีวิตคนกินดีอยู่ดีมานักต่อนัก
        การสังเกตเบื้องต้นช่วยค้นพบโรคได้ด้วยตัวเอง ลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่ค่อยๆ เป็นทีละน้อย อาการบ่งชี้เริ่มแรกคือ ปวดอุจจาระบ่อย ถ่ายไม่เป็นเวลา วันหนึ่งๆอาจเข้าห้องน้ำนับสิบครั้ง แต่อาจถ่ายออกมาไม่ออกบ้าง อาการแบบนี้อาจเรื้อรังอยู่หลายปี ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือปรับพฤติกรรม ก็จะทำให้มีเลือดออกมากับอุจจาระ ท้องเสียกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ ถ้าปล่อยไว้เรื้อรังไปเรื่อยๆแผลที่เกิดในลำไส้จะยิ่งขยายใหญ่ขึ้นและมี โอกาสหายน้อยลง ดังนั้นคนที่มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายดังที่กล่าวมาควรรีบปรึกษาแพทย์
        แม้สาเหตุที่แท้จริงของการอักเสบนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ เชื่อว่าพฤติกรรมที่สร้างปัญหาให้ลำไส้ใหญ่คือ การกินอาหารที่มีไฟเบอร์น้อย อาหารรสจัด กินไม่เป็นเวลา และความเครียด ซึ่งทำให้การย่อยอาหารที่กระเพาะและลำไส้เล็กแปรปรวน ลำไส้ใหญ่เกร็งตัว ถูกกระตุ้นมากกว่าปกติเพื่อดูดซึมน้ำและถ่ายอุจจาระออกมา อีกทั้งอาหารที่แข็งและย่อยยากยังสร้างความระคายเคืองให้กับผนังลำไส้อีก ด้วย ดังนั้นการอักเสบของลำไส้ใหญ่เป็นคล้ายกับการประท้วงว่าคุณใส่ใจร่างกายตัว เองน้อยเกินไป

    คนที่เป็นลำไส้ใหญ่อักเสบต้องใส่ใจอาหาร ควรกินหรือไม่ควรกินอะไรบ้าง  

     สิ่งที่ควรกิน ผลไม้สุกนื้อนิ่ม เช่น มะละกอ กล้วยสุก และผักใบเขียว เช่นคะน้า กวางตุ้งต้มสุก เพื่อให้ได้โฟเลตและใยอาหารที่ละลายน้ำได้
     สิ่งที่ควรกิน ฟักทอง แครอทต้มสุก เพื่อให้ได้วิตามินเอและเบต้าแคโรทีน
     สิ่งที่ควรกิน ปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน เพื่อให้ได้วิตามินดีและบี 12
     สิ่งที่ควรกิน อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ปลา กุ้ง หอย ผักกูด ผักโขม เพื่อชดเชยการสูญเสียเลือด
     สิ่งที่ควรงด ผักผลไม้ดิบที่ย่อยยาก ถั่วและธัญพืชเปลือกแข็ง
     สิ่งที่ควรงด ผลไม้รสจัด มีความเป็นกรดสูง เช่น สับปะรด
     สิ่งที่ควรงด อาหารไขมันสูง และนม เนย
     สิ่งที่ควรงด อาหารรสจัดทุกชนิด
         ปรับเปลี่ยนชีวิตเพื่อพิชิตโรค โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาหายในคราวเดียว แต่จะดีขึ้นได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการกิน มีการศึกษาว่า การ กินอาหารที่มีไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ เช่น ผัก ผลไม้ที่ปรุงสุก จะช่วยบรรเทาการอักเสบได้เป็นอย่างดี และอาหารที่ให้สารอาหารประเภทโปรตีน วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 12 โฟเลต แคลเซียม เหล็ก และสังกะสี อย่างหลากหลายและเพียงพอช่วยสร้างความแข็งแรงแก่ผนังลำไส้และปรับระบบการ ย่อยอาหารให้คงที่ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก สร้างความระคายเคืองให้กับลำไส้อันได้แก่ รำข้าว ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืช ข้าวโพดหวาน แม้ว่าจะมีประโยชน์มาก แต่ควรกินเมื่อลำไส้ของเราปรับตัวดีขึ้นแล้ว

          ในคนที่เป็นลำไส้ใหญ่อักเสบมักพบว่ามีโลหิตจางด้วย เนื่องจากมีเลือดออกบริเวณที่อักเสบตลอดเวลา จึงควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและวิตามินซี เพื่อให้ร่างกายดูดซึมเหล็กมาใช้ได้อย่างเต็มที่ สิ่งสุดท้ายอย่าลืมหาวิธีคลายเครียดพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าให้ความเร่งรีบของชีวิตช่วงชิงสุขภาพที่ดีไปจากคุณอีกเลย

โรคลําไส้อักเสบในเด็ก 1 ขวบ

โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschsprung 's disease) 

ขอนำเสนอส่วนหนึ่งของอวชที่ทำค่ะ

การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดรักษาโรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด

(Hirschsprung 's disease)

สาเหตุ

เกิดจากความผิดปกติของลำไส้ไม่มีเซลล์ปมประสาท ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดยังไม่ทราบแน่นอน

อาการ

ในเด็กแรกเกิดอาการท้องอืด ไม่ถ่ายขี้เทา 24 ชั่วโมงหลังคลอด อาเจียน

ในเด็กโตมีอาการท้องผูกต้องสวนอุจจาระเป็นประจำ มีอาการท้องผูกสลับท้องเดินจากภาวะ Enterocolitis มีอาการท้องอืดท้องโตมากกว่าเด็กปกติ

การวินิจฉัย

  •  การตรวจร่างกาย
  • การ X-ray
  • ทำBarium enema
  • Rectal biopsy

การรักษา

     การผ่าตัดเปิดcolostomy และปิด colostomy โดยทำผ่าตัด Pull through operation เมื่อน้ำหนักถึง 10 kgs หรือเมื่ออายุ 1 ปี

     ในระยะแรกอาจมีการรักษาแบบ supportive treatment โดยการ Rectal irrigation

การเตรียมด้านร่างกาย ( physical Management)

           1.  ดูแลด้านสุขภาพอนามัยทั่วไปของผู้ป่วย

            1.1  ดูแลผู้ป่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงพร้อมที่จะผ่าตัดไม่มีภาวะซีด โลหิตจาง อ่อนเพลีย         ถ้าเป็นหวัด  มีน้ำมูก มีไข้สูง  รายงานให้แพทย์ทราบ  ช่วยลดไข้ในรายที่ไข้สูง โดยการ tepid sponge และให้ยาตามแผนการรักษา

             1.2  งดน้ำและอาหารให้ตรงตามเวลา      ในผู้ป่วยเด็กจะดูดนมทุก 4 ชั่วโมงเพราะmetabolism ของเด็กเร็วมากการอดน้ำและอาหารทำให้เด็กหิว กระสับกระส่าย ในทารกควรงดน้ำและอาหาร 4 ชั่วโมงก่อนทำการผ่าตัด   ในเด็กโตงดน้ำและอาหาร 6 ชั่วโมงขึ้นไป ควรแนะนำผู้ป่วยและญาติให้เห็นความสำคัญของการงดน้ำและอาหาร

                 1.3  เมื่อต้องงดน้ำและอาหารดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำ และอาหารทางหลอดเลือดดำให้เพียงพอตามแผนการรักษา

                 1.4    Preoperative antibiotic การผ่าตัดลำไส้ใหญ่จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดเชื้อโรคที่คั่งค้างอยู่ใน intestinal content

                   1.5     เตรียมความสะอาดร่างกายทั่วไป ปาก  ฟัน  ผม  เล็บ และผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัด ในเด็กเล็กเพียงแต่ฟอกและล้างบริเวณที่จะผ่าตัดให้สะอาดก็เพียงพอเตรียม เวชระเบียนผลการตรวจทางห้องทดลอง Film X-ray ให้เรียบร้อย

                     1.6    เตรียมเลือดไว้สำหรับผ่าตัด

                     1.7    การให้ Pre-medication เพื่อช่วยให้เด็กสงบและได้พักผ่อนก่อนทำการผ่าตัด   

                     1.8    การสวนอุจจาระและการเตรียมลำไส้ การผ่าตัดบริเวณลำไส้ใหญ่จำเป็นต้องสวนล้างก่อนผ่าตัด ในกรณีที่ผ่าตัดลำไส้ส่วนบนอาจให้รับประทานยาหรือซึ่งการสวนล้างควรใช้น้ำ เกลือสำหรับสวนล้างด้วยปริมาณที่มากพอจะทำให้ลำไส้สะอาดมีอุจจาระตกค้างหรือ มีเหลือเพียงเล็กน้อย ใช้สายยางสำหรับสวนอุจจาระซึ่งเป็นสายยางสำหรับสวน rectum โดยใช้ rectal tube และ สายยางสำหรับสวน   colostomy โดยใช้สาย  nasogastric tube  ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับขนาดของ  colostomy การเตรียมก่อนผ่าตัดลำไส้ใหญ่ ควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเหลวงดอาหารที่มีกากประมาณ1-2วันก่อนผ่าตัด รวมทั้งให้ยาระบาย  ควรให้ยาปฏิชีวนะรับประทานทางปาก 24-48 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด เพื่อลดปริมาณแบคทีเรียในลำไส้ตัว

                            1.9    ซักประวัติการแพ้ยา

                          1.10หนังสือแสดงความยินยอม ผู้ป่วยอายุไม่ถึง 15 ปีให้บิดามารดาหรือผู้อุปการะเลี้ยงดูเซ็นแสดงความยินยอมไว้เป็นหลักฐาน

                          1.11 แถบป้ายชื่อผู้ป่วยต้องมีสวมติดข้อมือโดยระบุชื่อ นามสกุล อายุ เพศ เลขประจำตัวผู้ป่วย

 การเตรียมด้านจิตใจ (Mental management)

                ผู้ป่วยเด็กที่ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลและต้องผ่าตัด จะก่อให้เกิดความผิดปกติในทางจิตใจ และอารมณ์ของเด็กและพ่อแม่  ตัวเด็กเองจะเกิดความหวาดกลัวที่เข้ามาอยู่ในสถานที่ซึ่งตนไม่เคยอยู่และมีสิ่งแปลก ๆ น่ากลัว  ต้องห่างบ้าน บางคนบิดามารดาไม่สามารถเฝ้าได้เนื่องจากมีภาระจำเป็น เด็กจะเกิดความรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง และขาดความปลอดภัย พ่อ แม่ จะเกิดความรู้สึกว่าตนมีความผิดที่ทำให้ลูกเจ็บป่วย เกิดความวิตกกังวล ห่วงใย ขาดความรู้ความเข้าใจในโรคที่เป็นอยู่   พยาบาลมีหน้าที่

                            1  อธิบายให้บิดา-มารดา เข้าใจถึงการดำเนินของโรค ประโยชน์ของการผ่าตัด ผลของการผ่าตัด การปฏิบัติตนก่อนและหลังผ่าตัด และเมื่อเด็กกลับบ้าน

                            2    สร้างความคุ้นเคยเป็นกันเอง   พูดปลอบโยน   ให้เด็กเกิดความไว้วางใจ คลายความหวาดกลัว หาของเล่นมาให้

การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดรักษาโรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด   (Post Operative Nursing Care)

                1.  การสังเกตและบันทึกภาวะช็อค

                2.  ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับความสุขสบาย

                                2.1  ระงับหรือบรรเทาอาการปวด

                                2.2  ดูแลรักษาความสะอาดร่างกายทั่วไปในระยะแรก ต่อมาแนะนำและดูแลให้ญาติทำให้   นอกจากนี้ควรดูแลความสะอาดเสื้อผ้า ที่นอน และสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยให้สะอาด

                                 2.3    ดูแลให้ภายในห้องมีการถ่ายเทอากาศดี ไม่มีกลิ่น และเสียงหรือยุงรบกวน   เป็นต้น

                3.  การรักษาความสมดุลของสารน้ำ สารอาหาร และเกลือแร่ในร่างกาย

                                3.1 สังเกตและบันทึกลักษณะและจำนวนน้ำที่ได้รับและขับออกจากร่างกาย 

                                3.2  สังเกตและบันทึกอาการและอาการแสดงของภาวะที่ร่างกายเสียสมดุล  เกิดภาวะขาดหรือภาวะเกินของสารน้ำ เกลือแร่ และสารอาหาร

                                3.3  ติดตามผลการตรวจเลือดและปัสสาวะทางห้องทดลอง

                                 3.4    ในระยะแรก ๆ หลังผ่าตัดผู้ป่วยยังงดอาหาร และน้ำทางปากอยู่ ต้องดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำ และเกลือแร่ให้ถูกต้อง  ต่อมาเมื่อลำไส้ทำงานได้ตามปกติ ให้เริ่มรับประทานอาหารเหลว หรือนม โดยครั้งแรกให้จำนวนน้อยก่อน  ต่อมาจึงเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น เมื่อรับประทานอาหารเหลวแล้วไม่เกิดอาการแน่นท้อง  คลื่นไส้ อาจเจียน  จึงเปลี่ยนเป็นอาหารอ่อน และอาหารธรรมดา  ตามลำดับ  อาหารอ่อนและอาหารธรรมดาที่ให้ควรเป็นอาหารที่มีสารอาหารและวิตามินครบถ้วน มีโปรตีน และแคลอรีสูง และรับประทานให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

                4. การให้ยาปฏิชีวนะหลังผ่าตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

                5.  การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการคั่งของสารน้ำ และก๊าชในกระเพาะอาหาร                   

                                5.1  ดูแลให้ผู้ป่วยงดอาหารและน้ำทางปากในระยะที่ลำไส้ยังทำงานได้ไม่ปกติ

                                5.2  ดูแลไม่ให้  Nasogastric tube  หักพับงอ  เพื่อให้น้ำย่อยที่คั่งในกระเพาะอาหารไหลออกสะดวก

                                 5.3   ดูแลให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้ลำไส้ทำงานได้ตามปกติเร็วขึ้น โดยเริ่มต้นจากการนอนหงายเป็นนอนตะแคง  นั่งบนเตียงและนั่งข้างเตียง      โดยระยะแรกพยาบาลสอนและช่วยเหลือ  ต่อมาแนะนำให้ญาติทำให้  พยาบาลทำหน้าที่กระตุ้นให้กำลังใจและให้ความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น

                6.  การป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ

                                6.1  ดูแลความสะอาดทางช่องปากของผู้ป่วย

                                6.2  ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำเพียงพอเพื่อช่วยให้เสมหะใสขึ้น

                7.  การดูแลการคาสายสวนปัสสาวะ

                      ดูแลให้ปัสสาวะไหลทางสายยางได้สะดวกไม่ให้สายยางหักพับงอ

ดูแลให้สายสวนปัสสาวะต่อลงถุงหรือขวดปัสสาวะเป็นระบบปิด และใช้เทคนิคปราศจากเชื้อในการต่อสายสวนปัสสาวะหรือบันทึกสังเกตและบันทึกลักษณะและจำนวนของปัสสาวะ ลักษณะการขับถ่ายปัสสาวะ และผลการตรวจปัสสาวะทางห้องทดลอง

                 8.การดูแลcolostomy

                 ดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนังรอบรูเปิดของลำไส้ใหญ่ทุกครั้งที่มีอุจจาระออกมาปนเปื้อน อาจทาผิวหนังรอบๆด้วยขี้ผึงวาสลีนหรือซิงค์ออกไซด์ เพื่อป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง จากการปนเปื้อนของอุจจาระ

                คำแนะนำการดูแลเมื่อเด็กกลับบ้าน

              1. ดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนังรอบรูเปิดของลำไส้ใหญ่ทุกครั้งที่มีอุจจาระออก มาโดยใช้น้ำเปล่าหรือน้ำสบู่อ่อนๆชำระล้าง แล้วซับด้วยกระดาษชำระหรือผ้านุ่มๆไม่ควรใช้สำลีแห้งเช็ดเพราะทำให้เกิดการ ระคายเคืองและตกค้างได้  จากนั้นปิดด้วยผ้าที่เนื้อนุ่มและวางผ้าปิด colostomy โดยวางด้านที่มีตะเข็บไว้ด้านบนสายผูกทั้งสองเส้นไว้รอบเอวและผูกเป็นเงื่อน กระตุกตรึงไว้ที่มุมผ้าปิดแผลผ้าปิดสามารถนำไปซักให้สะอาดและนำกลับมาใช้ เช่นเดียวกับผ้าอ้อม(สุวรรรณี  สินะสนธิและ พัชรวาลย์  ตันติเศรษฐ,2544)คำแนะนำการทำผ้าปิด colostomyโดย ใช้ผ้าเนื้อนุ่มๆหรือผ้าสำลี ตัดเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร จำนวน 2 ชิ้น นำมาเย็บประกบติดกัน เก็บขอบผ้าและเย็บริมผ้าให้เรียบร้อย แล้วตัดผ้าเป็นเส้นยาวตามความยาวของผ้าหรือความยาวสามารถพันรอบหน้าท้องได้ กว้าง 0.3 เซนติเมตร ยาว 7 เซนติเมตร จำนวน 2 ชิ้น เก็บขอบและเย็บริมให้เรียบน้อย แล้วนำไปเย็บติดกับสีเหลี่ยมผืนผ้าโดยเย็บสายผูกให้ห่างจากด้านบนของผ้า 2 เซนติเมตร อีกชั้นเย็บห่างจากขอบล่างของผ้า 2 เซนติเมตร (สุวรรรณี  สินะสนธิและ พัชรวาลย์  ตันติเศรษฐ,2544)

                2. ทาผิวหนังรอบๆด้วยขี้ผึงวาสลีนหรือซิงค์ออกไซด์ เพื่อป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง จากการปนเปื้อนของอุจจาระตามแผนการรักษา และเมื่อต้องทำความสะอาดครีมเหล่านี้ออกอย่างนุ่มนวลมุถูแรงๆ หากผิวหนังรอบๆมีการอักเสบเป็นผื่นผ้าอ้อมให้พามาพบแพทย์ได้

                3. อาจเกิดลำไส้อุดตันหลังทำแล้ว 1 สัปดาห์ หรืออีกหลายเดือนได้มักจะเกิดจากมีเยื่อผังผืดรอบcolostomy

                4. อาจมีการปลิ้นตัวcolostomyมักจะปลิ้นทางด้านปลายถ้าหากปลิ้นออกมามากควรพามาพบแพทย์

                5. มีการตีบแคบของ colostomy มักเกิดจากมีเนื้อตายบริเวณรูเปิดหรือถ้ามีการหดรั้งอาจเกิดจากลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อยเกินไป

                6. มีการเสียเลือดและผิวหนังบริเวณรอบๆเปื่อยหรือถลอกออก การเสียเลือดน้อยๆแต่นานๆและต่อเนื่องก็อาจเกิดภาวะโลหิตจางตามมาได้ จึงควรทำความสะอาดด้วยความระมัดระวังและเหมาะสม

                7. แนะนำให้รู้จักวิธีสังเกตสี กลิ่น จำนวน ความถี่ห่างของอุจจาระและบอกถึงลักษณะที่ผิดปกติ เพื่อนำเด็กมาพบแพทย์

                8. ให้มาตรวจตามแพทย์นัด

บรรณานุกรมจากที่ทำอวชค่ะ

ขวัญตา เกิดชูชื่น. คู่มือปฏิบัติการพยาบาล. กรุงเทพฯ :  โครงการตำราภาควิชาพยาบาลศาสตร์              

 คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, 2543.

คณาจารย์  ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.วิธีการพยาบาลทางศัลยกรรม.

                 เชียงใหม่  :  นครฟิล์ม อินเตอร์กรุ๊ป, 2539.

คณาจารย์  ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คู่มือการใช้ยาสำหรับพยาบาล.    

                เชียงใหม่  :  ธนบรรณการพิมพ์, 2538.

คณาจารย์  ภาควิชาสรีรวิทยา มหาวิยาลัยมหิดล. สรีรวิทยา. กรุงเทพฯ  :  ฤทธิศรีการพิมพ์, 2535.

คณาจารย์  ภาควิชาสรีรวิทยา มหาวิยาลัยมหิดล. สรีรวิทยา. กรุงเทพฯ  :  เท็กซ์ แอน เจอร์นนัลการพิมพ์,

 2542 .

พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. การพยาบาลเด็ก 3. นนทบุรี  :  ยุทธรินทร์การพิมพ์, 2545.

ไพบูลย์ สุทธิวรรณ. ตำราศัลยศาสตร์สำหรับนักศึกษาแพทย์. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, 2542 .

มาลี สนธิเกษตริน . คู่มือปฏิบัติการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 14 . กรุงเทพฯ : บริษัทธรรมสาร,2540 .

รุจา ภู่ไพบูลย์ . แนวทางการวางแผนการพยาบาลเด็ก . กรุงเทพฯ : นิติบรรณาการ, 2543 .

ศักดา ภัทรภิญโญกุล. กุมารศัลยศาสตร์. กรุงเทพ : หน่วยจัดทำสิ่งพิมพ์ ภาควิชาศัลยศาสตร์, 2545.

สุขวัฒน์   วัฒนาธิษฐานและคณะ.กุมารศัลยศาสตร์ .นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, 2547 .

สมคิด จันทร์ส่องแสงและคณะ.การพยาบาลเด็กแรกเกิด.เอกสารประกอบการอบรม  “การพยาบาลเด็ก 

                 แรกเกิด” กลุ่มงานการพยาบาล สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี.กรุงเทพ ,2547.

Bromilow,David B . TIMS annual . Thailand : MIMS ,1995.

O, neill,James A . Pediatric surgery .United States of Amarica :  Mosby-Year Book ,1998.

Young, Thomus E. Neofex 2000. United States of Amarica : Acorn Publishing , 2000.

Link   
https://women.kapook.com
https://women.thaiza.com/
https://www.gotoknow.org

อัพเดทล่าสุด