อาการโรคลําไส้อักเสบในเด็กขวบครึ่ง


14,407 ผู้ชม


อาการโรคลําไส้อักเสบในเด็กขวบครึ่ง โรคลําไส้อักแสบรุนแรงในเด็ก โรคลําไส้โป่งพองในเด็ก

อาการโรคลําไส้อักเสบในเด็กขวบครึ่ง

6 โรคในลำไส้ของเด็กเล็กที่ควรรู้ (และต้องเจอบ้างแน่นอน)

โรคในระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ หรือ กระเพาะ เป็นโรคที่กว่าจะรู้ตัวว่าลูกเป็นโรคเหล่านี้ ลูกก็จะเป็นไปแล้ว และสร้างความปวดหัว ปนสงสารลูกไปพร้อมๆกัน ดังนั้นเรามาดูวิธีป้องกันกันไว้ก่อนนะคะ

สู้ๆครับ

มองดูเผินๆ แล้ว อวัยวะอย่างลำไส้ ไม่น่าจะสร้างปัญหาอะไรกับเจ้าตัวเล็ก แต่ใครจะรู้ว่า ถึงแม้ลูกจะยังเล็กอยู่ ก็เป็นโรคลำไส้ได้เหมือนกัน ว่าแต่โรคลำไส้แบบไหนบ้าง ที่เด็กขวบปีแรกมีโอกาสเป็นแล้ว เรามาดูไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ 

1. ติดเชื้อในลำไส้ ลำไส้อักเสบ หรืออุจจาระร่วงเฉียบพลัน
อาจเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เป็นสาเหตุของโรคลำไส้ที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ส่วนเด็กที่อยู่ในเขตเมืองมักเกิดการติดเชื้อไวรัส โดยไวรัสที่พบบ่อยที่สุดคือ ไวรัสโรต้า

จากรายงานของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี 2551 มีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน 1,256,711 ราย อัตราป่วย 1,988.03 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งอัตราป่วยนี้เพิ่มขึ้นจาก 1,564.27 ต่อประชากรแสนคนในปี 2542) โดยกลุ่มอายุที่พบอุจจาระร่วงเฉียบพลันสูงสุด คือกลุ่มอายุ 0-4 ปี อัตราป่วย 9,691.3 ต่อประชากรแสนคน

สังเกตอาการ ลูกจะมีอาการอาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลวมีน้ำมาก หรือมีมูกเลือดปน อาจมีไข้ร่วมด้วย ในกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาจมีอาการไอ น้ำมูกไหลร่วมด้วย ถ้าสูญเสียน้ำมาก จะมีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง น้ำลายน้อย เบ้าตาลึก กระหม่อมบุ๋ม ปัสสาวะน้อยผิดปกติ ซึม ตัวเย็น ฯลฯ

ดูแลอย่างถูกวิธี สิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลรักษาคือ การแก้ไขและทดแทนภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ เด็กที่เสียชีวิตจากโรคลำไส้อักเสบมีสาเหตุจากการขาดน้ำอย่างรุนแรงจนช็อก ในกรณีที่ลูกขาดน้ำไม่มาก คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลเองที่บ้าน โดยให้ลูกดื่มสารละลายเกลือแร่ และกินอาหารตามวัย แต่ถ้ามีอาการขาดน้ำรุนแรงหรืออาเจียนมาก ก็ต้องนำไปพบแพทย์และอาจต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือด ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะทุกคน เนื่องจากการติดเชื้อในลำไส้ที่พบในเด็กมักเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ที่ไม่รุนแรง

ป้องกันอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมนม น้ำ และอาหารให้สะอาด ควรต้มขวดนมและจุกนม ใช้ภาชนะปกปิดอาหารและน้ำเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจากแมลงวัน และคนที่ดูแลต้องมีสุขอนามัยที่ดี ล้างมือก่อนป้อนอาหารให้ลูก หมั่นเช็ดถูพื้น โต๊ะและล้างของเล่นบ่อยๆ เนื่องจากเด็กวัยต่ำกว่า 1 ปี มักชอบเอาของเล่นหรือมือเข้าปาก และทุกวันนี้มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรต้าซึ่งเริ่มให้ได้ตั้งแต่ ทารกอายุ 6 สัปดาห์ แต่ไม่ใช่ว่าลูกจะไม่ท้องร่วงเลยนะคะ เพราะโรคนี้ยังมีสาเหตุจากเชื้ออื่นๆ ได้อีก

2. ลำไส้กลืนกัน
ในทารกสันนิษฐานว่า อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบริเวณส่วนปลายของลำไส้เล็กโตขึ้น เป็นจุดนำทำให้ลำไส้เล็กมุดเข้าไปในลำไส้ใหญ่

สังเกตอาการ ลูกจะมีอาการร้องไห้เป็นพักๆ เนื่องจากปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นเมือกสีแดง และอาจอาเจียนร่วมด้วย

ดูแลอย่างถูกวิธี ทำให้ลำไส้ที่กลืนกันคลายออก อาจใช้วิธีสวนแป้งหรือลมเข้าทางทวารหนัก แต่ถ้าลำไส้กลืนกันนานจนเกิดลำไส้ขาดเลือดมากหรือลำไส้ทะลุ จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

3. ลำไส้อักเสบจากการแพ้โปรตีน
ที่พบบ่อยที่สุดคือแพ้โปรตีนนมวัว รองลงมาได้แก่ โปรตีนจากถั่วเหลือง ไข่ อาหารทะเล และถั่วเปลือกแข็ง

สังเกตอาการ ลูกอาจมีอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายมีมูกเลือดปน

ดูแลอย่างถูกวิธี ต้องให้ลูกงดอาหารที่แพ้ กรณีที่แพ้นมวัวแต่ไม่แพ้ถั่วเหลือง อาจให้ลูกกินนมถั่วเหลืองได้ แต่ถ้าแพ้ถั่วเหลืองด้วย ต้องเปลี่ยนเป็นนมพิเศษที่โปรตีนมีขนาดเล็กลง

ป้องกันอย่างไร พยายามให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวให้ได้นานอย่างน้อย 6 เดือน ถ้ามีสมาชิกในครอบครัวมีปัญหาภูมิแพ้ ควรเริ่มอาหารเสริมหลังอายุ 6 เดือน และไม่ควรให้อาหารทะเลก่อนอายุ 1 ปีค่ะ

4. ลำไส้สั้น
พบได้น้อย สาเหตุมักเกิดจากเด็กมีความผิดปกติของทางเดินอาหารแต่กำเนิด หรือเป็นทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงลำไส้ เมื่อรักษาด้วยการผ่าตัด แพทย์จำเป็นต้องตัดลำไส้ออกบางส่วน

สังเกตอาการ เด็กจะมีอาการถ่ายอุจจาระเหลว มีน้ำปริมาณมาก และเลี้ยงไม่โต เนื่องจากลำไส้เล็กมีหน้าที่สำคัญในการดูดซึมน้ำ แร่ธาตุ และสารอาหาร เมื่อเด็กถูกตัดลำไส้เล็กออกไปทำให้การดูดซึมดังกล่าวบกพร่อง

ดูแลอย่างถูกวิธี กรณีที่ยังเหลือความยาวลำไส้เล็กพอประมาณ เด็กสามารถรับอาหารทางปาก หรือทางสายให้อาหารทางกระเพาะอาหารได้ แต่ถ้าลำไส้เล็กมีขนาดสั้นมากๆ จำเป็นต้องให้อาหารทางหลอดเลือดแทน ในต่างประเทศมีการผ่าตัดปลูกถ่ายลำไส้ในกรณีที่เด็กมีลำไส้สั้นมากและไม่ สามารถหยุดการให้อาหารทางหลอดเลือด

5.ท้องผูก
ในเด็กเล็กมีสาเหตุหลัก 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีลำไส้ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น ผนังลำไส้ใหญ่ไม่มีปมประสาท ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งพบบ่อยกว่าคือ กลุ่มที่มีท้องผูกโดยลำไส้ปกติดี กลุ่มนี้มักมีสาเหตุจากกินผักผลไม้น้อย หรือเกิดจากเด็กเคยถ่ายอุจจาระแข็ง เบ่งยากหรือมีการฉีกขาดที่รูทวาร ทำให้กลัวการถ่ายจึงพยายามกลั้นอุจจาระไว้

สังเกตอาการ เด็กกลุ่มที่มีลำไส้ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด อาจไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้เองตั้งแต่เกิด ต้องเหน็บหรือสวนทวารบ่อยๆ และอาจมีท้องอืดมาจากภาวะลำไส้ใหญ่อุดตัน
ส่วนเด็กที่กินผักผลไม้น้อยหรือเคยถ่ายอุจจาระแข็ง เวลาที่ปวดท้องถ่ายเด็กจะมีพฤติกรรมกลั้นอุจจาระคือ เขย่งขา เกร็งขา ทำขาไขว้กันเป็นกรรไกร บีบก้น และมักหลบมุมไม่ให้ใครเข้าใกล้ ถ้ามีปัญหาไปนานๆ เด็กจะสามารถกลั้นได้เป็นเวลาหลายวันหรือเป็นสัปดาห์ แต่มีข้อยกเว้นในทารกช่วงอายุ 1-4 เดือน ที่กินนมแม่ อาจถ่ายอุจจาระห่างเป็นทุกๆ 7-10 วัน แต่อุจจาระก็นิ่มหรือเหลวเป็นปกติ ทารกเหล่านี้ไม่จัดว่ามีปัญหาท้องผูก และจะค่อยๆ กลับมาถ่ายอุจจาระถี่ขึ้นได้เอง

ดูแลอย่างถูกวิธี ในกลุ่มที่ผนังลำไส้ใหญ่ไม่มีปมประสาท จำเป็นต้องรับการผ่าตัดเพื่อตัดลำไส้ส่วนที่ผิดปกติทิ้งไป ส่วนเด็กที่กินผักผลไม้น้อยก็ต้องพยายามหาวิธีชักจูงให้ลูกกินผักผลไม้ให้ เพิ่มขึ้น อาจให้ดื่มน้ำลูกพรุน
ส่วนเด็กที่ถ่ายอุจจาระแข็งทั้งที่กินผักผลไม้เพียงพอแล้ว ต้องให้กินยากลุ่มที่ทำให้อุจจาระนิ่ม เพื่อเด็กจะได้หายกลัวการถ่ายอุจจาระ ส่วนทารกที่กินนมแม่และถ่ายอุจจาระห่างแต่นิ่ม ไม่ต้องใช้สบู่หรือกลีเซอรีนเหน็บรูทวารเพื่อกระตุ้นให้เด็กถ่าย ปล่อยให้ทารกเบ่งถ่ายอุจจาระด้วยตนเอง

ป้องกันอย่างไร ต้องฝึกให้ลูกกินผักผลไม้ และกินอาหารเสริมที่เหมาะสมตามวัย

6. ติ่งเนื้อในลำไส้
เกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อลำไส้

สังเกตอาการ ลูกจะมีอาการถ่ายอุจจาระมีเลือดปน โดยอาจไม่มีอาการปวดท้องก็ได้

ดูแลอย่างถูกวิธี ถ้าเป็นติ่งเนื้อที่ลำไส้ใหญ่ แพทย์จะส่องกล้องเข้าไปในรูทวารและตัดติ่งเนื้อได้เลย แต่ถ้าเป็นติ่งเนื้อที่ลำไส้เล็กจำเป็นต้องรับการผ่าตัด

ทำความเข้าใจเรื่องลำไส้กับเด็กขวบปีแรกกันละเอียดขนาดนี้แล้ว เชื่อว่าแม่ๆ คงคลายกังวลไปได้ไม่น้อย การดูแลลูกเล็กไม่ใช่เรื่องยาก สิ่งสำคัญคือความใกล้ชิดและการดูแลอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการรู้จักสังเกตด้วย เท่านี้ลูกก็ห่างไกลจากโรคและอาการต่างๆ เติบโตพร้อมสุขภาพที่แข็งแรงและพัฒนาการที่สมวัยแล้วค่ะ

เครดิต : นิตยสาร Modern Mom กับวิชาการดอทคอม

*** รักเด็ก.com ภูมิใจเสนอ "Kids Shop Delivery" ร้านออนไลน์ จำหน่ายเสื้อผ้าเด็กนำเข้าสไตล์เกาหลีในราคาไม่แพง ของเล่นเด็กเสริมพัฒนาการ ร่างกาย-สติปัญญา-ภาษาอังกฤษ ของเล่นขึ้นห้างฯราคาส่วนลดมากกว่า 50% และเสื้อผ้าของใช้สำหรับคุณแม่ยังสาว ***  

โรคลําไส้อักแสบรุนแรงในเด็ก

ระวัง! โรคลำไส้อักเสบรุนแรงในลูกเล็ก

แม่และเด็ก -  โรคลำไส้อักเสบ


ระวัง! โรคลำไส้อักเสบรุนแรงในลูกเล็ก
(modernmom)
โดย: นพ.ศุภวัชร บุญกษิดิ์เดช
          ภาวะการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารยังคง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดูแลในเด็กเล็ก โดยเฉพาะกลุ่มทารกแรกเกิด ภาวะลำไส้อักเสบรุนแรงในทารกแรกเกิด จนถึงมีเนื้อเยื่อลำไส้เน่าตาย (Necrotizing Enterocolitis : NEC) เป็นปัญหาการติดเชื้อที่สำคัญ ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนและมีอัตราการเสียชีวิตสูง
เด็กแบบไหนอยู่ในภาวะเสี่ยง
          สาเหตุ และปัจจัยที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมีภาวะลำไส้อักเสบ จนถึงเนื้อเยื่อเน่าตาย มีหลายประการ ปัจจัยหลักคือ การที่ทารกคลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักตัวน้อย หากมีการขาดเลือดไปเลี้ยงบริเวณลำไส้ เช่น การมีคะแนนการคลอดตั้งแต่แรกคลอดต่ำ หรือมีภาวะขาดออกซิเจนตั้งแต่แรกคลอด และมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคไปกับนมหรือภาชนะที่ไม่สะอาด หรือมีการให้น้ำนมผสมที่มีความเข้มข้นที่สูง และเพิ่มปริมาณน้ำนมเร็วเกินไปโดยเฉพาะนมผสมที่ไม่ใช่นมแม่ ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้
สังเกตอาการลำไส้เน่า
          อาการ ของทารกที่มีภาวะนี้ ส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปภายใน 2 สัปดาห์แรก หรืออาจมีอาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากสังเกตพบอาการล่าช้า โดยเริ่มแรกอาจมีเพียงท้องอืด กินนมได้น้อยลง หรือมีน้ำนมเหลือค้างในกระเพาะอาหาร อาเจียนหรือแหวะนมบ่อยๆ ลักษณะอุจจาระเป็นสิ่งสำคัญ หากมีการถ่ายเหลวเป็นมูกหรือมีมูกเลือดปน เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าน่าจะมีสิ่งผิดปกติในลำไส้ของลูกน้อย
          นอก จากนี้ยังมีอาการแสดงที่ไม่จำเพาะเจาะจง เช่น ซึม ไม่ยอมดูดนม ร้องกวน หรือมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกายไม่ใช่เฉพาะการมีไข้ แต่อาจจะมีภาวะตัวเย็นร่วมด้วย การสังเกตอาการของคุณแม่มือใหม่ที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักตัวน้อย
          ส่วน ใหญ่ขณะลูกน้อยอยู่ในโรงพยาบาล ทีมกุมารแพทย์และพยาบาลทารกแรกเกิด จะคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว และก่อนกลับบ้านกุมารแพทย์และพยาบาลจะแนะนำวิธีการดูแลโดยทั่วไป และสังเกตอาการแบบเฉพาะเจาะจงในแต่ละระบบ ซึ่งอาจต้องนำลูกน้อยมาพบแพทย์ก่อนเวลานัด
          คุณ แม่อาจสังเกตดูว่า ลูกน้อยกินนมได้ดีเท่าเดิม ไม่มีอาการแหวะนมบ่อย ๆ ท้องไม่อืดอย่างต่อเนื่อง หรือไม่มีลมในกระเพาะปริมาณมาก และเมื่อลูกน้อยกินนมอิ่มก็จะพักหลับได้ประมาณ 3–4 ชั่วโมง แล้วจึงตื่นมาเพื่อกินนมมื้อต่อไป มีการตอบสนองกับคุณพ่อคุณแม่ ด้วยการยิ้ม จ้อง และสบตา ลักษณะของอุจจาระ หากกินนมแม่ในปริมาณมากพอหรือเป็นส่วนใหญ่ อุจจาระจะมีสีเหลืองทอง นิ่ม ไม่มีลักษณะเป็นน้ำ ไม่มีมูกหรือเลือดปน อาจถ่ายได้วันละ 4–6 ครั้ง ถือเป็นภาวะปกติ
          ส่วน การวัดอุณหภูมิร่างกายของลูกน้อย หากคุณแม่มีเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ ในภาวะปกติจะพบว่าไม่มีไข้เกิน 37.8 องศาเซลเซียส หรือไม่มีภาวะตัวเย็นที่วัดอุณหภูมิได้ต่ำกว่า 36.5 องศาเซลเซียส แต่หากคุณพ่อคุณแม่ไม่แน่ใจว่าลูกน้อยมีอาการผิดปกติหรือไม่ ควรจะนำทารกมาพบกุมารแพทย์ก่อนเวลานัด
          แต่ อย่างไรก็ตาม ในทารกแรกเกิดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักตัวน้อยอาจมีภาวการณ์กินนมที่ไม่ดีเท่าปกติ เนื่องจากการเจริญของระบบการทำงานของลำไส้ในการดูดซึมน้ำนมยังไม่ สมบูรณ์เท่าเด็กครบกำหนด เรียกว่าภาวะ Feeding Intolerance อาจทำให้เข้าใจผิด ว่าเป็นภาวะลำไส้อักเสบได้ ซึ่งแพทย์และพยาบาล จะเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ทารกอยู่ในหอผู้ป่วย แล ให้การวินิจฉัยแยกโรคหรือภาวะนี้ออกไป ซึ่งมักจะดีขึ้นได้เองเมื่อลูกน้อยมีการเจริญเติบโตมากขึ้น ระบบลำไส้ก็จะทำงานได้ดีขึ้นตามลำดับ แต่การเฝ้าสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น ก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ หากมีลักษณะคล้ายการติดเชื้อลำไส้อักเสบดังข้างต้น ทีมผู้ดูแล ก็จะเริ่มให้การดูแลรักษายาปฏิชีวนะและสารน้ำเข้าหลอดเลือดทันที
วิธีการป้องกันและดูแลรักษา
          การ ป้องกันที่ดีที่สุด คือให้ลูกกินน้ำนมแม่ เพราะจะมีภูมิคุ้มกันที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อในลำไส้ได้อย่างดี จากการศึกษาหลายแห่งได้ผลตรงกันว่า อุบัติการณ์ของภาวะ NEC นี้ จะลดลงในกลุ่มทารกที่ได้รับน้ำนมแม่ เมื่อเทียบกับทารกที่ได้รับนมผสมอย่างเดียว
          นอก จากนี้ในแม่ก่อนคลอดทารกก่อนกำหนด สูติแพทย์จะมีการให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อให้ปอดของทารกเจริญมากขึ้น จากการศึกษาพบว่า จะทำให้ลำไส้มีการเจริญที่ดีขึ้นไปด้วย ทำให้ลดอุบัติการณ์ภาวะนี้ได้ ในด้านการใช้ยาเพื่อป้องกัน มีการวิจัยใช้ยาปฏิชีวนะให้กินเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่ยังไม่ได้ใช้เป็นมาตรฐานทุกราย
          ใน การเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้เวลาชงนมให้ลูก สิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องความสะอาด โดยเฉพาะช่วงที่น้ำนมแม่เริ่มไม่พอและต้องใช้นมผสม เชื้อโรคสามารถเข้าไปในน้ำนมได้หลายทาง โดยเฉพาะการล้างมือของคนชงนมเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด ขวดนมและจุกนมภายหลังจากต้มในน้ำเดือดอย่างน้อย 15 นาที หรือนึ่งฆ่าเชื้อโรคตามเวลาที่กำหนด ควรเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาครอบ เพื่อป้องกันแมลงและสัตว์นำเชื้อโรคอื่นๆ ที่เราไม่ทันระวังมาสัมผัสได้
          และ หากคุณแม่สงสัยว่าลูกมีภาวะนี้ควรพามาพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะตรวจเอกซเรย์ช่องท้อง เจาะเลือดตรวจดูการติดเชื้อ และตรวจอุจจาระ เป็นการตรวจพื้นฐานเบื้องต้น หากแพทย์คิดว่าเข้าได้กับการติดเชื้อลำไส้อักเสบรุนแรง ก็จะให้นอนโรงพยาบาล และงดนม ในช่วงระยะเวลา 3–5 วัน หากอาการไม่รุนแรง โดยให้สารน้ำทางหลอดเลือดทดแทนพลังงานที่จะได้รับตามอายุของทารก และเริ่มให้ยาปฏิชีวนะทางสายน้ำเกลือนั้น โดยทั่วไปหากได้รับการสังเกตที่รวดเร็ว และมาพบแพทย์จะทำให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ทารกจะมีการตอบสนองต่อการรักษาได้อย่างดี
          โดย ภาพรวมเมื่อติดตามดูทารกที่มีภาวะ NEC เมื่อได้รับการรักษาอย่างครบถ้วน ส่วนใหญ่จะพบว่าการเจริญเติบโตและการ พัฒนาการอยู่ในเกณฑ์ดีเป็นที่น่าพอใจ
          อย่าง ไรก็ตาม การป้องกัน NEC ที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกันการคลอดก่อนกำหนดหรือทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย ควรให้นมแม่นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เน้นเรื่องความสะอาด และดูแลอุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมนมอย่างถูกสุขลักษณะทุกครั้ง พร้อมทั้งเฝ้าระวังอาการต่าง ๆ ของลูกน้อย หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย อาจโทรปรึกษาไปที่ศูนย์รับให้คำปรึกษาของโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน เพื่อให้การวินิจฉัยได้แต่เนิ่น ๆ จะลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ และให้ผลการดูแลรักษาที่ดีทำให้ทารกมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดได้

โรคลําไส้โป่งพองในเด็ก

โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschsprung 's disease) 

ขอนำเสนอส่วนหนึ่งของอวชที่ทำค่ะ

การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดรักษาโรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด

(Hirschsprung 's disease)

สาเหตุ

เกิดจากความผิดปกติของลำไส้ไม่มีเซลล์ปมประสาท ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดยังไม่ทราบแน่นอน

อาการ

ในเด็กแรกเกิดอาการท้องอืด ไม่ถ่ายขี้เทา 24 ชั่วโมงหลังคลอด อาเจียน

ในเด็กโตมีอาการท้องผูกต้องสวนอุจจาระเป็นประจำ มีอาการท้องผูกสลับท้องเดินจากภาวะ Enterocolitis มีอาการท้องอืดท้องโตมากกว่าเด็กปกติ

การวินิจฉัย

  •  การตรวจร่างกาย
  • การ X-ray
  • ทำBarium enema
  • Rectal biopsy

การรักษา

     การผ่าตัดเปิดcolostomy และปิด colostomy โดยทำผ่าตัด Pull through operation เมื่อน้ำหนักถึง 10 kgs หรือเมื่ออายุ 1 ปี

     ในระยะแรกอาจมีการรักษาแบบ supportive treatment โดยการ Rectal irrigation

การเตรียมด้านร่างกาย ( physical Management)

           1.  ดูแลด้านสุขภาพอนามัยทั่วไปของผู้ป่วย

            1.1  ดูแลผู้ป่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงพร้อมที่จะผ่าตัดไม่มีภาวะซีด โลหิตจาง อ่อนเพลีย         ถ้าเป็นหวัด  มีน้ำมูก มีไข้สูง  รายงานให้แพทย์ทราบ  ช่วยลดไข้ในรายที่ไข้สูง โดยการ tepid sponge และให้ยาตามแผนการรักษา

             1.2  งดน้ำและอาหารให้ตรงตามเวลา      ในผู้ป่วยเด็กจะดูดนมทุก 4 ชั่วโมงเพราะmetabolism ของเด็กเร็วมากการอดน้ำและอาหารทำให้เด็กหิว กระสับกระส่าย ในทารกควรงดน้ำและอาหาร 4 ชั่วโมงก่อนทำการผ่าตัด   ในเด็กโตงดน้ำและอาหาร 6 ชั่วโมงขึ้นไป ควรแนะนำผู้ป่วยและญาติให้เห็นความสำคัญของการงดน้ำและอาหาร

                 1.3  เมื่อต้องงดน้ำและอาหารดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำ และอาหารทางหลอดเลือดดำให้เพียงพอตามแผนการรักษา

                 1.4    Preoperative antibiotic การผ่าตัดลำไส้ใหญ่จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดเชื้อโรคที่คั่งค้างอยู่ใน intestinal content

                   1.5     เตรียมความสะอาดร่างกายทั่วไป ปาก  ฟัน  ผม  เล็บ และผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัด ในเด็กเล็กเพียงแต่ฟอกและล้างบริเวณที่จะผ่าตัดให้สะอาดก็เพียงพอเตรียม เวชระเบียนผลการตรวจทางห้องทดลอง Film X-ray ให้เรียบร้อย

                     1.6    เตรียมเลือดไว้สำหรับผ่าตัด

                     1.7    การให้ Pre-medication เพื่อช่วยให้เด็กสงบและได้พักผ่อนก่อนทำการผ่าตัด   

                     1.8    การสวนอุจจาระและการเตรียมลำไส้ การผ่าตัดบริเวณลำไส้ใหญ่จำเป็นต้องสวนล้างก่อนผ่าตัด ในกรณีที่ผ่าตัดลำไส้ส่วนบนอาจให้รับประทานยาหรือซึ่งการสวนล้างควรใช้น้ำ เกลือสำหรับสวนล้างด้วยปริมาณที่มากพอจะทำให้ลำไส้สะอาดมีอุจจาระตกค้างหรือ มีเหลือเพียงเล็กน้อย ใช้สายยางสำหรับสวนอุจจาระซึ่งเป็นสายยางสำหรับสวน rectum โดยใช้ rectal tube และ สายยางสำหรับสวน   colostomy โดยใช้สาย  nasogastric tube  ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับขนาดของ  colostomy การเตรียมก่อนผ่าตัดลำไส้ใหญ่ ควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเหลวงดอาหารที่มีกากประมาณ1-2วันก่อนผ่าตัด รวมทั้งให้ยาระบาย  ควรให้ยาปฏิชีวนะรับประทานทางปาก 24-48 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด เพื่อลดปริมาณแบคทีเรียในลำไส้ตัว

                            1.9    ซักประวัติการแพ้ยา

                          1.10หนังสือแสดงความยินยอม ผู้ป่วยอายุไม่ถึง 15 ปีให้บิดามารดาหรือผู้อุปการะเลี้ยงดูเซ็นแสดงความยินยอมไว้เป็นหลักฐาน

                          1.11 แถบป้ายชื่อผู้ป่วยต้องมีสวมติดข้อมือโดยระบุชื่อ นามสกุล อายุ เพศ เลขประจำตัวผู้ป่วย

 การเตรียมด้านจิตใจ (Mental management)

                ผู้ป่วยเด็กที่ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลและต้องผ่าตัด จะก่อให้เกิดความผิดปกติในทางจิตใจ และอารมณ์ของเด็กและพ่อแม่  ตัวเด็กเองจะเกิดความหวาดกลัวที่เข้ามาอยู่ในสถานที่ซึ่งตนไม่เคยอยู่และมีสิ่งแปลก ๆ น่ากลัว  ต้องห่างบ้าน บางคนบิดามารดาไม่สามารถเฝ้าได้เนื่องจากมีภาระจำเป็น เด็กจะเกิดความรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง และขาดความปลอดภัย พ่อ แม่ จะเกิดความรู้สึกว่าตนมีความผิดที่ทำให้ลูกเจ็บป่วย เกิดความวิตกกังวล ห่วงใย ขาดความรู้ความเข้าใจในโรคที่เป็นอยู่   พยาบาลมีหน้าที่

                            1  อธิบายให้บิดา-มารดา เข้าใจถึงการดำเนินของโรค ประโยชน์ของการผ่าตัด ผลของการผ่าตัด การปฏิบัติตนก่อนและหลังผ่าตัด และเมื่อเด็กกลับบ้าน

                            2    สร้างความคุ้นเคยเป็นกันเอง   พูดปลอบโยน   ให้เด็กเกิดความไว้วางใจ คลายความหวาดกลัว หาของเล่นมาให้

การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดรักษาโรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด   (Post Operative Nursing Care)

                1.  การสังเกตและบันทึกภาวะช็อค

                2.  ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับความสุขสบาย

                                2.1  ระงับหรือบรรเทาอาการปวด

                                2.2  ดูแลรักษาความสะอาดร่างกายทั่วไปในระยะแรก ต่อมาแนะนำและดูแลให้ญาติทำให้   นอกจากนี้ควรดูแลความสะอาดเสื้อผ้า ที่นอน และสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยให้สะอาด

                                 2.3    ดูแลให้ภายในห้องมีการถ่ายเทอากาศดี ไม่มีกลิ่น และเสียงหรือยุงรบกวน   เป็นต้น

                3.  การรักษาความสมดุลของสารน้ำ สารอาหาร และเกลือแร่ในร่างกาย

                                3.1 สังเกตและบันทึกลักษณะและจำนวนน้ำที่ได้รับและขับออกจากร่างกาย 

                                3.2  สังเกตและบันทึกอาการและอาการแสดงของภาวะที่ร่างกายเสียสมดุล  เกิดภาวะขาดหรือภาวะเกินของสารน้ำ เกลือแร่ และสารอาหาร

                                3.3  ติดตามผลการตรวจเลือดและปัสสาวะทางห้องทดลอง

                                 3.4    ในระยะแรก ๆ หลังผ่าตัดผู้ป่วยยังงดอาหาร และน้ำทางปากอยู่ ต้องดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำ และเกลือแร่ให้ถูกต้อง  ต่อมาเมื่อลำไส้ทำงานได้ตามปกติ ให้เริ่มรับประทานอาหารเหลว หรือนม โดยครั้งแรกให้จำนวนน้อยก่อน  ต่อมาจึงเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น เมื่อรับประทานอาหารเหลวแล้วไม่เกิดอาการแน่นท้อง  คลื่นไส้ อาจเจียน  จึงเปลี่ยนเป็นอาหารอ่อน และอาหารธรรมดา  ตามลำดับ  อาหารอ่อนและอาหารธรรมดาที่ให้ควรเป็นอาหารที่มีสารอาหารและวิตามินครบถ้วน มีโปรตีน และแคลอรีสูง และรับประทานให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

                4. การให้ยาปฏิชีวนะหลังผ่าตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

                5.  การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการคั่งของสารน้ำ และก๊าชในกระเพาะอาหาร                   

                                5.1  ดูแลให้ผู้ป่วยงดอาหารและน้ำทางปากในระยะที่ลำไส้ยังทำงานได้ไม่ปกติ

                                5.2  ดูแลไม่ให้  Nasogastric tube  หักพับงอ  เพื่อให้น้ำย่อยที่คั่งในกระเพาะอาหารไหลออกสะดวก

                                 5.3   ดูแลให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้ลำไส้ทำงานได้ตามปกติเร็วขึ้น โดยเริ่มต้นจากการนอนหงายเป็นนอนตะแคง  นั่งบนเตียงและนั่งข้างเตียง      โดยระยะแรกพยาบาลสอนและช่วยเหลือ  ต่อมาแนะนำให้ญาติทำให้  พยาบาลทำหน้าที่กระตุ้นให้กำลังใจและให้ความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น

                6.  การป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ

                                6.1  ดูแลความสะอาดทางช่องปากของผู้ป่วย

                                6.2  ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำเพียงพอเพื่อช่วยให้เสมหะใสขึ้น

                7.  การดูแลการคาสายสวนปัสสาวะ

                      ดูแลให้ปัสสาวะไหลทางสายยางได้สะดวกไม่ให้สายยางหักพับงอ

ดูแลให้สายสวนปัสสาวะต่อลงถุงหรือขวดปัสสาวะเป็นระบบปิด และใช้เทคนิคปราศจากเชื้อในการต่อสายสวนปัสสาวะหรือบันทึกสังเกตและบันทึกลักษณะและจำนวนของปัสสาวะ ลักษณะการขับถ่ายปัสสาวะ และผลการตรวจปัสสาวะทางห้องทดลอง

                 8.การดูแลcolostomy

                 ดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนังรอบรูเปิดของลำไส้ใหญ่ทุกครั้งที่มีอุจจาระออกมาปนเปื้อน อาจทาผิวหนังรอบๆด้วยขี้ผึงวาสลีนหรือซิงค์ออกไซด์ เพื่อป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง จากการปนเปื้อนของอุจจาระ

                คำแนะนำการดูแลเมื่อเด็กกลับบ้าน

              1. ดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนังรอบรูเปิดของลำไส้ใหญ่ทุกครั้งที่มีอุจจาระออก มาโดยใช้น้ำเปล่าหรือน้ำสบู่อ่อนๆชำระล้าง แล้วซับด้วยกระดาษชำระหรือผ้านุ่มๆไม่ควรใช้สำลีแห้งเช็ดเพราะทำให้เกิดการ ระคายเคืองและตกค้างได้  จากนั้นปิดด้วยผ้าที่เนื้อนุ่มและวางผ้าปิด colostomy โดยวางด้านที่มีตะเข็บไว้ด้านบนสายผูกทั้งสองเส้นไว้รอบเอวและผูกเป็นเงื่อน กระตุกตรึงไว้ที่มุมผ้าปิดแผลผ้าปิดสามารถนำไปซักให้สะอาดและนำกลับมาใช้ เช่นเดียวกับผ้าอ้อม(สุวรรรณี  สินะสนธิและ พัชรวาลย์  ตันติเศรษฐ,2544)คำแนะนำการทำผ้าปิด colostomyโดย ใช้ผ้าเนื้อนุ่มๆหรือผ้าสำลี ตัดเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร จำนวน 2 ชิ้น นำมาเย็บประกบติดกัน เก็บขอบผ้าและเย็บริมผ้าให้เรียบร้อย แล้วตัดผ้าเป็นเส้นยาวตามความยาวของผ้าหรือความยาวสามารถพันรอบหน้าท้องได้ กว้าง 0.3 เซนติเมตร ยาว 7 เซนติเมตร จำนวน 2 ชิ้น เก็บขอบและเย็บริมให้เรียบน้อย แล้วนำไปเย็บติดกับสีเหลี่ยมผืนผ้าโดยเย็บสายผูกให้ห่างจากด้านบนของผ้า 2 เซนติเมตร อีกชั้นเย็บห่างจากขอบล่างของผ้า 2 เซนติเมตร (สุวรรรณี  สินะสนธิและ พัชรวาลย์  ตันติเศรษฐ,2544)

                2. ทาผิวหนังรอบๆด้วยขี้ผึงวาสลีนหรือซิงค์ออกไซด์ เพื่อป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง จากการปนเปื้อนของอุจจาระตามแผนการรักษา และเมื่อต้องทำความสะอาดครีมเหล่านี้ออกอย่างนุ่มนวลมุถูแรงๆ หากผิวหนังรอบๆมีการอักเสบเป็นผื่นผ้าอ้อมให้พามาพบแพทย์ได้

                3. อาจเกิดลำไส้อุดตันหลังทำแล้ว 1 สัปดาห์ หรืออีกหลายเดือนได้มักจะเกิดจากมีเยื่อผังผืดรอบcolostomy

                4. อาจมีการปลิ้นตัวcolostomyมักจะปลิ้นทางด้านปลายถ้าหากปลิ้นออกมามากควรพามาพบแพทย์

                5. มีการตีบแคบของ colostomy มักเกิดจากมีเนื้อตายบริเวณรูเปิดหรือถ้ามีการหดรั้งอาจเกิดจากลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อยเกินไป

                6. มีการเสียเลือดและผิวหนังบริเวณรอบๆเปื่อยหรือถลอกออก การเสียเลือดน้อยๆแต่นานๆและต่อเนื่องก็อาจเกิดภาวะโลหิตจางตามมาได้ จึงควรทำความสะอาดด้วยความระมัดระวังและเหมาะสม

                7. แนะนำให้รู้จักวิธีสังเกตสี กลิ่น จำนวน ความถี่ห่างของอุจจาระและบอกถึงลักษณะที่ผิดปกติ เพื่อนำเด็กมาพบแพทย์

                8. ให้มาตรวจตามแพทย์นัด

บรรณานุกรมจากที่ทำอวชค่ะ

ขวัญตา เกิดชูชื่น. คู่มือปฏิบัติการพยาบาล. กรุงเทพฯ :  โครงการตำราภาควิชาพยาบาลศาสตร์    

Link   
https://rugdek.com
https://women.kapook.com
https://www.gotoknow.org

อัพเดทล่าสุด