สาเหตุของไข้เลือดออก


5,784 ผู้ชม


สาเหตุของไข้เลือดออก กรณีศึกษาโรคไข้เลือดออก การ์ตูนไข้เลือดออก

          โรคไข้เลือดออก ที่พบในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงในเอเซียอาคเนย์เกิดจากไวรัส dengue จึง เรียกชื่อว่า Dengue hemorrhagic fever (DHF) ซึ่งนับว่าเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและการแพทย์ เพราะมีผู้ป่วยปีละเป็นจำนวนมาก และผู้ป่วยไข้เลือดออกอาจเกิดจากภาวะช็อก ซึ่งทำให้ถึงเสียชีวิตได้รวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง โดยเริ่มระบาดครั้งแรกที่ประเทศ ฟิลิปปินส์ เมื่อ พ.ศ. 2497 และระบาดในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2501

          ใน พ.ศ. 2524 เริ่มมีการระบาดของไข้เลือดออกเดงกีเป็นครั้งแรกที่ คิวบา ภายหลังจากการระบาดของไข้เดงกีในปี 2520 หลังจากนั้นก็มีรายงานของไข้เลือดออกเดงกีเป็นโรคที่เกิดขึ้นใหม่ (emerging disease) ในประเทศต่างๆ ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้มากขึ้น

          เมื่อมีการเริ่มระบาดในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2501 มีรายงานผู้ป่วย 2,158 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 8.8 ต่อประชากรแสนคน มีอัตราป่วยตายร้อยละ 13.90 โดยมีรายงานจำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มสูงมากขึ้นตลอด แต่อัตราป่วยตายลดน้อยลงอย่างชัดเจน ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกีส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 5 – 9 ปี รองลงมาได้แก่กลุ่มอายุ 10-14 ปี ในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคอย่างกว้างขวาง โดยจะพบผู้ป่วยได้ทุกจังหวัดและทุกภาคของประเทศ

 


หัวข้อ

สาเหตุ และเชื้อที่เป็นสาเหตุของไข้เลือดออก

          โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายบ้าน ( Aedes aegypti ) ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกีจะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวัน

          ลูกน้ำของยุงลายบ้าน จะอยู่ในภาชนะขังน้ำชนิดต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น (man-made container) ทั้งที่อยู่ภายในบ้าน และบริเวณรอบๆ บ้าน เช่น โอ่งน้ำดื่มน้ำใช้ บ่อซีเมนต์เก็บน้ำในห้องน้ำ ถ้วยหล่อขาตู้กับข้าวกันมด แจกัน ภาชนะเลี้ยงพลูด่าง จานรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่าและเศษวัสดุต่างๆที่มีน้ำขัง เป็นต้น

          ลูกน้ำยุงลายสวน มักเพาะพันธุ์อยู่ในแหล่งเพาะพันธุ์ธรรมชาติ (natural container) เช่น โพรงไม้ โพรงหิน กระบอกไม้ไผ่ กาบใบพืชจำพวกกล้วย พลับพลึง หมาก ฯลฯ ตลอดจนแหล่งเพาะพันธุ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นและอยู่บริเวณรอบๆบ้านหรือในสวน เช่น ยางรถยนต์เก่า รางน้ำฝนที่อุดตัน ถ้วยรองน้ำยางพาราที่ไม่ใช้แล้ว หรือแม้แต่แอ่งน้ำบนดิน 

           เชื้อไวรัส Dengue ซึ่งมี 4 ชนิดคือ Dengue 1,2,3,4 โดยมากผู้ ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออก จะติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 (Secondary infection) มีเพียงส่วนน้อยที่ ติดเชื้อครั้งแรก (Primary infection)  โดยปกติ ไข้เลือดออกที่พบกันทั่วๆไปทุกปี มักจะเกิดจาก เชื้อไวรัส Dengue ชนิดที่ 3 หรือ 4 แต่ ที่มีข่าวมาในระยะนี้ จะเป็นการติดเชื้อในสายพันธ์ ที่ 2 เป็นสายพันธ์ ที่พบได้ประปรายเช่นกัน แต่อาการมักจะรุนแรงกว่า สายพันธ์ที่ 3, 4 และต้องเป็นการติดเชื้อซ้ำ ครั้งที่สอง Secondary Infection 
 

 กรณีศึกษาโรคไข้เลือดออก

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก: กรณีศึกษาตําบลเขาตูม อําเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างเป็น หัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทน หัวหน้าครัวเรือนซึ่งมีอายุ 15 ปีขึ้นไปที่อาศัยในเขตตําบลเขาตูม อําเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ตั้งแต่เดือนมกราคมถึง เดือนมีนาคม 2552 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามผู้วิจัยสร้างข้ึนเอง หาความเที่ยงตรงเชิง เนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ และหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือตามวิธีของคูเดอร์– ริชาร์ดสัน โดยใช้สูตร KR- 20 (kuder Richardson 20) โดยการวัดแล้ววัดซ้ํา (Test-retest) ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.65 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป หาค่าความถ่ี ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่ประชาชนมี ความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับปานกลาง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับปานกลาง เพศ รายได้ต่อเดือน และการเป็นสมาชิกกลุ่มอื่นทางสังคม มี ความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05  ประชาชนมีปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับ ปานกลาง   คําสําคัญ: การมีส่วนร่วม การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 

ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti)


ยุงลายสวน (Aedes albopictus)


มาตรการ 4 ป ป้องกันโรคไข้เลือดออกได้เสมอ PDF พิมพ์ อีเมล
ข่าวประชาสัมพันธ์ - กองวิชาการและแผนงาน
เขียนโดย pisarn   
วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฏาคม 2012 เวลา 11:19 น.

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกปัจจุบันทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ   ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะของโลกทำให้วงจรชีวิตยุงลายสั้นลง จึงแพร่พันธุ์เร็วมากโอกาสการแพร่เชื้อไข้เลือดออกก็มีมากขึ้นเป็นเงาตาม ตัว    พอถึงหน้าฝนจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกจึงเพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัว    โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่มีอายุระหว่าง 5 - 14 ปีป่วยและตายปีละมาก ๆ     บางปีมีผู้ป่วยกว่าแสนคนและตายกว่าพันคน    และพบว่าเด็กโตและผู้ใหญ่ป่วยด้วยไข้เลือดออกมากขึ้น   การสกัดกั้นภัยร้ายจากโรคไข้เลือดออกจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุก ๆ คนในชุมชน    ซึ่ง มาตรการ 4 ป. เพื่อป้องกันการแพร่พันธุ์ยุงลายยังใช้ได้เสมอหากทำอย่างต่อเนื่องและจริงจัง    ซึ่งได้แก่

1.  ปิด    ภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิดต้องมีฝาปิดอย่างมิดชิด 

2.  เปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้  จานรองขาตู้กับข้าว   ต้องเปลี่ยนทุกสัปดาห์หรืออาจใส่เกลือแกง   น้ำส้มสายชู    เพื่อป้องกันยุงลายวางไข่

3.  ปล่อย    ในโอ่งน้ำ   บ่อน้ำ   อ่างบัว    ควรปล่อยปลาที่กินลูกน้ำเป็นอาหาร    เช่น    ปลาหางนกยูง    ปลาสอด    เพื่อป้องกันการเพาะพันธุ์ของยุงลาย

4.  ปรับปรุง    ทุกบ้านในชุมชนควรดูแลปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทั้งภายในบ้าน   นอกบ้าน   ที่สาธารณะ    ไม่ว่าจะเป็นที่ทิ้งขยะ    ถนนหนทางที่มีแหล่งน้ำขัง    ภาชนะต่าง ๆ ที่กักเก็บน้ำได้     ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง

อย่างไรก็ตามการป้องกันยุงกัดเป็นสิ่งสำคัญซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีทั้ง การใช้สารเคมี  ใช้สมุนไพร    เช่น    ตะไคร้หอมป้องกันยุง   และหากสงสัยว่าคนในบ้านป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกคือ   มีไข้สูงโดยไม่มีอาการหวัด(ไม่มีอาการคัดจมูกหรือไม่มีน้ำมูก)    ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวและให้ยาลดไข้จำพวกพาราเซตามอล   ห้ามให้ยาลดไข้ชนิดอื่นเด็ดขาดเพราะ จะทำให้เลือดออกมากขึ้น   หากดูแลเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น     เด็กยังมีไข้เกิน 3 วัน    ซึม    อ่อนเพลีย    กระสับกระส่าย    ผิวหนังเย็นชื้น    เหงื่อออกมาก    มีเลือดกำเดาไหล     อาเจียนเป็นเลือด     หรือไม่กินอาหารเลย     แสดงว่าเริ่มเข้าสู่ภาวะอันตรายควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน 

ขอบคุณข้อมูลจาก www.lph.go.th

 

 

Link  
https://guru.sanook.com
www.tci-thaijo.org
https://www.cityub.go.th

อัพเดทล่าสุด