โรคเอสแอลอีมีกี่ชนิด


3,446 ผู้ชม


โรคเอสแอลอีมีกี่ชนิด เอสแอลอีคือ โรคเอสแอลอี hiyumaru

โรคเอสแอลอี (SLE)


เอสแอลอี เป็นชื่อเรียกทับศัพท์ของตัวอักษรย่อใน ภาษาอังกฤษ ซึ่งมีคำเดิมว่า Systermic Lupus Erythrematosus (ซิลเทมิกลูปัสอิรอโตมาซัส) โรคนี้มักจะมีความผิดปกติของอวัยวะได้หลายระบบพร้อมๆ กัน และอาจมีความรุนแรง ทำให้พิการหรือตายได้
   
      โรคนี้พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่พบมากในช่วงอายุ 20-45 ปี และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 10 เท่า
สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการตอบสนองอย่างผิดปกติต่อเชื้อโรคหรือสารเคมีบางอย่าง ทำให้มีภูมิต้านทานต่อเนื้อต่างๆ ของตัวเอง จึงจัดเป็นโรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune) ชนิดหนึ่งชนิดเดียวกับโรคปวดข้อรูมาตอยด์ แต่โรคนี้มักมีอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ เช่น ผิวหนัง ข้อกระดูก ไต หัวใจ ปอด หลอดเลือด สมอง เป็นต้น
      บางครั้งอาจพบมีสาเหตุกระตุ้นให้อาการกำเริบ เช่น ยาบางชนิด (ซัลฟา ไฮดราลาซีน โปรแคนเอไมด์ เตตราซัยคลินที่เสื่อม) การถูกแดด การกระทบกระเทือนทางจิตใจ การตั้งครรภ์ ฯลฯ
อาการ ที่พบได้บ่อยคือ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดเมื่อยตามตัว ปวดและบวมตามข้อต่างๆ ซึ่งโดยมากจะเป็นตามข้อเล็กๆ (เช่น ข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า) ทั้งสองข้าง คล้ายๆ กับโรคปวดข้อรูมาตอยด์ (แต่ต่างกันที่ไม่มีลักษณะหงิกงอ ข้อพิการ) ทำให้กำมือลำบาก
      อาการเหล่านี้จะค่อยเป็นค่อยไป เป็นแรมเดือน นอกจากนี้ผู้ป่วยยังจะมีผื่นหรือฝ้าแดงขึ้นที่จมูกทั้งสองข้าง ทำให้มีลักษณะเหมือนปีกผีเสื้อเรียกว่า ผื่นปีกผีเสื้อ (butterfly rash)
      บางรายมีอาการแพ้แดด คือ เวลาไปถูกแดด ผิวหนังจะมีผื่นแดงขึ้นและผื่นแดงที่ข้างจมูก (ผื่นปีกผีเสื้อ) จะเกิดขึ้นชัดเจน อาการไข้และปวดข้อจะเป็นรุนแรงขึ้น
      บางรายอาจมีจุดแดง (petichiae) หรือมีประจำเดือนมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นอาการระยะแรกของโรคนี้ ก่อนมีอาการอื่นๆ ให้เห็นชัดเจน บางครั้งแพทย์อาจวินิจฉัยว่าเป็น ไอทีพี
      บางรายอาจมีผมร่วงมาก มีจ้ำแดงๆ ขึ้นที่ฝ่ามือ นิ้วมือนิ้วเท้าซีดขาวและเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำเวลาถูกความเย็น (Raynaud's phenomenon) ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วไป ตับม้ามโต หรือ มีภาวะซีดโลหิตจาง (จากเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย)
      ในรายที่เป็นรุนแรง อาจมีอาการบวมทั้งตัว หายใจหอบ (จากปอดอักเสบ ภาวะมีน้ำในช่องปอด หรือหัวใจวาย) ชีพจรเต้นเร็วหรือไม่เป็นจังหวะ (จากหัวใจอักเสบ) ในรายที่มีการอักเสบของหลอดเลือดในสมองอาจทำให้มีอาการทางประสาท เช่น เสียสติ ซึม เพ้อ ประสาทหลอน แขนขาอ่อนแรง ตาเหล่ ชัก หมดสติ และอาจตายภายใน 3-4 สัปดาห์ ส่วนมากจะมีอาการกำเริบเป็นๆ หายๆ เรื้อรังเป็นปีๆ
อาการแทรกซ้อน อาจทำให้ไตอักเสบ ปอดอักเสบ หัวใจอักเสบ หัวใจวาย ไตวาย และอาจเกิดภาวะติดเชื้อร้ายแรงแทรกซ้อนได้
การรักษา หากสงสัยควรแนะนำไปโรงพยาบาล การตรวจเลือดพบว่า อีเอสอาร์ (ESR) สูง พบแอนตินิวเคลียร์แฟกเตอร์ (Antineuclear factor) และ แอลอีเซลล์ (LE cell) ตรวจปัสสาวะอาจพบสารไข่ขาวและเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้อาจทำการเอ็กซ์เรย์ คลื่นหัวใจ และทำการตรวจพิเศษอื่นๆ
      การรักษาในรายที่รุนแรง ควรให้สเตอรอยด์ เช่น เพร็ดนิโซโลน ขนาด 8-12 เม็ดต่อวัน ติดต่อกันเป็นสัปดาห์หรือหลายเดือนเพื่อลดการอักเสบของอวัยวะต่างๆ ถ้าไม่ได้ผล อาจต้องให้ยากดภูมิคุ้มกัน หรือ ยากดอิมมูน (Immunosuppresive) เช่น ไซโคลนฟอสฟาไมด์ (Cyclophosphamide) อะชาไทโอพรีม (Azathioprine) เป็นต้น ยานี้เป็นยาอันตราย อาจทำให้ผมร่วงหรือหัวล้านได้ เมื่อหยุดยาผมจะงอกขึ้นใหม่ได้
      ในรายที่เป็นไม่รุนแรง (เช่น มีไข้ ปวดข้อ มีผื่นแดงขึ้นที่หน้า) อาจให้คลอโรควีน วันละ 1-2 เม็ด เพื่อช่วยลดอาการเหล่านี้ จนเลิกหรือเลิกใช้เพร็ดนิโซโลนลงได้
      นอกจากนี้ อาจให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ ยาบำรุงโลหิต (ถ้าซีด) ยาปฏิชีวนะ (ถ้ามีอาการติดเชื้อ) เป็นต้น
      ผลการรักษา ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และตัวผู้ป่วย บางคนอาจมีโรคแทรกซ้อนและถึงแก่กรรมในเวลาไม่นาน บางคนอาจมีอาการกำเริบเป็นครั้งคราว ถ้าผู้ป่วยสามารถมีชีวิตรอดจากโรคแทรกซ้อนต่างๆได้เกิน 5 ปี โรคก็จะไม่กำเริบรุนแรง และค่อยๆ สงบไปได้ นานครั้งอาจมีอาการกำเริบแต่อาการมักจะไม่รุนแรง และผู้ป่วยสามารถมีชีวิตเยี่ยงคนปกติได้
ข้อแนะนำ

  1. โรคนี้มักแสดงอาการได้หลายแบบ เช่น มีไข้เรื้อรังคล้ายมาลาเรีย มีจุดแดงขึ้นคล้าย ไอทีพี บวมคล้ายโรคไต ชักหรือหมดสติคล้ายสมองอักเสบเสียสติ เพ้อคลั่งคล้ายคนวิกลจริต เป็นต้น ดังนั้นถ้าพบผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นอาการของระบบใด โดยไม่ทราบสาเหตุให้นึกถึงโรคนี้ไว้เสมอ
  2. โรคนี้ถึงแม้จะมีความรุนแรง แต่ถ้าติดต่อรักษากับแพทย์เป็นประจำและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะช่วยลดอาการแทรกซ้อน และมีชีวิตยืนยาวได้
  3. ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจป้องกันมิให้อาการกำเริบได้ โดยการทำจิตใจให้สบายอย่าท้อแท้สิ้นหวังหรือวิตกกังวลจนเกินไป ส่วนผู้ที่แพ้แดดง่ายควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแดด ถ้าจำเป็นต้องออกกลางแดด ควรกางร่ม ใส่หมวกใส่เสื้อแขนยาว
      ควรพยายามหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ เช่น อย่ากินอาหารหรือน้ำดื่มที่ไม่สะอาด อย่าเข้าใกล้คนที่ไม่สบาย อย่าเข้าไปในที่ๆ มีคนแออัด เป็นต้น และทุกครั้งที่รู้สึกไม่สบาย ควรรีบไปหาหมอที่เคยรักษา  

โรคเอสแอลอี หรือโรคพุ่มพวง

 เพราะเคยสร้างความตื่นตะลึงด้วยการคร่าชีวิตราชินีลูกทุ่ง “พุ่มพวง ดวงจันทร์” มาแล้ว จึงทำให้คนไทยรู้จัก “โรคเอสแอลอี” กันในนาม “โรคพุ่มพวง” ซึ่งแม้ว่าช่วงนี้เราจะไม่ได้ยินชื่อของโรคนี้บ่อยนัก แต่รายงานทางการแพทย์ก็ยังพบผู้ป่วยด้วยโรคเอสแอลอีอยู่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด รายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ได้นำเสนอข่าวของคุณแม่สู้ชีวิตที่ต้องเผชิญกับโรคเอสแอลอี อีกทั้งลูกชายวัย 3 ขวบเศษก็ต้องเจอโรคทางกระดูกรุมเร้า ทำให้ชีวิตของเธอและลูกชายไม่ได้สุขสบายเช่นคนทั่วไป…

          ขณะเดียวกัน หลายคนที่ได้รับรู้ข่าวนี้ อาจยังไม่รู้จักโรคเอสแอลดี และอยากรู้ว่าโรคนี้ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตหรือไม่ วันนี้เราจะพาไปค้นคำตอบของโรคเอสแอลอี หรือโรคพุ่มพวงกันค่ะ

          โรคเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus - SLE) หรือ โรคลูปัส จัดเป็นโรคที่เรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในกลุ่มภูมิคุ้มกันเพี้ยน ซึ่งไม่ได้เป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรงอย่างที่ผู้คนส่วนมากเข้าใจ โรคเอสแอลอีเกิดจากการที่ผู้ป่วยมีการผลิตโปรตีนของภูมิคุ้มกันในเลือดที่ เรียกว่า “แอนติบอดี้” ขึ้นมามากเกินปกติ ทำให้เกิดปัญหาในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ว่าทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ จาก ปกติที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายจะต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม เช่น แบคทีเรีย หรือไวรัสจากภายนอกร่างกาย  แต่กลับต่อต้านร่างกายของตัวเอง จนทำให้เกิดการอักเสบที่อวัยวะต่างๆ  ถ้าเป็นรุนแรงจะมีการทำลายอวัยวะภายในด้วย เช่น ไต หัวใจ ปอด และระบบประสาท 

          สำหรับความรุนแรงของโรคจะแตกต่างกันไปในแต่ละคนบางคนเป็นรุนแรง บางคนเป็นไม่รุนแรง และในรายที่เป็นไม่รุนแรงวันดีคืนร้ายก็จะเป็นรุนแรงขึ้นมาได้อีก ในปัจจุบันโรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการของโรคให้สงบ และดำเนินชีวิตได้ตามปกติหากรักษาได้ทันท่วงที

          ทั้งนี้ ผู้ป่วยด้วยโรคแอสเอลอี ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงวัยสาวถึงวัยกลางคน อายุระหว่าง 20-45 ปี อายุเฉลี่ยประมาณ 30 ปี โดยผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายประมาณ 9:1 และพบได้ในทุกเชื้อชาติ แต่จะพบในคนผิวดำและผิวเหลืองมากกว่าผิวขาว โดยเฉพาะบริเวณเอเชียตะวันออก  เช่น ไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฮ่องกง และจีน 

 สาเหตุของโรคเอสแอลอี 

          ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคเอสแอลอีแน่ชัด  แต่จากหลักฐานทางการวิจัยพบว่า โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์, ฮอร์โมน และการติดเชื้อโรค (โดยเฉพาะเชื้อไวรัส) นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นหรือมีโอกาสเป็นโรคเอสแอลอี มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น แสงแดด โดยเฉพาะแสงอุลตร้าไวโอเลต การตั้งครรภ์ และยาบางชนิด

          1. พันธุกรรม พบว่าในแฝดจากไข่ใบเดียวกันมีโอกาสเกิดโรคนี้ถึงร้อยละ 30-50 และร้อยละ 7-12 ของผู้ป่วยเอสแอลอี เป็นญาติพี่น้องกัน เช่น แม่และลูกสาว หรือในหมู่พี่น้องผู้หญิงด้วยกัน

          2. ติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่สามารถค้นพบเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ได้

          3. ฮอร์โมนเพศโดยเฉพาะเอสโตรเจน โรคที่พบมากในสตรีวัยเจริญพันธุ์ บ่งชี้ว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศ นอกจากนี้ความรุนแรงของโรคยังแปรเปลี่ยนตามการมีครรภ์ ประจำเดือน และการใช้ยาคุมกำเนิด

          4. แสงแดดและสารเคมี ยาบางอย่างเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม โรคแสดงอาการของโรคนี้ได้ 

 อาการของโรค

 

 

โรคเอสแอลอี

          โรคเอสแอลอี เป็นโรคที่มีลักษณะการแสดงออกได้หลากหลาย อาจมีอาการเฉียบพลันและรุนแรง หรือมีอาการค่อยเป็นค่อยไปเป็นช่วยระยะเวลานานหลายปี หรืออาจมีอาการแสดงออกของหลายอวัยวะในร่างกายพร้อมๆ กัน หรือมีการแสดงออกเพียงอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งทีละอย่างก็ได้ โดยอาการที่พบบ่อยนั้น ได้แก่ มีไข้ ผื่นขึ้นที่ใบหน้า เกิดแผลในปาก ผมร่วง มีอาการปวดข้อ บางครั้งก็เป็น พอรักษาก็หายไป แต่แล้วก็เป็นขึ้นมาอีก ส่วนอาการอื่นๆ มีดังนี้

           อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด เป็นอาการที่พบได้บ่อยในขณะโรคกำเริบ

           อาการทางผิวหนังและเยื่อบุช่องปาก ในระยะเฉียบพลันที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ผื่นรูปปีกผีเสื้อ ลักษณะเป็นผื่นบวมแดงนูนบริเวณโหนกแก้มและสันจมูก ผื่นจะเป็นมากขึ้นเมื่อถูกแสงแดด ปลายเท้าซีดเขียวเมื่อถูกน้ำหรืออากาศเย็น ผมร่วง มีแผลในปาก

           อาการทางข้อและกล้ามเนื้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็นอาการปวดข้อมากกว่าลักษณะข้ออักเสบ มักเป็นบริเวณข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเท้า หรือข้อเข่า เป็นเหมือนๆ กันทั้ง 2 ข้าง ร้อยละ 17-45 พบอาการปวดกล้ามเนื้อ

           อาการทางไต ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์ด้วยอาการทางไตเป็นอาการนำ อาการแสดงที่สำคัญของไตอักเสบจากลูปัส ได้แก่ บวม ปัสสาวะเป็นฟอง ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูง

           อาการทางระบบเลือด อาการที่พบได้แก่ อ่อนเพลียหน้ามืดจากภาวะซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และเกร็ดเลือดต่ำ อาจพบจุดจ้ำเลือดออกตามตัวได้

           อาการทางระบบประสาท อาการที่พบได้ คือ อาการชักและอาการทางจิต นอกจากนี้อาจมีอาการปวดศรีษะรุนแรง หรือมีอ่อนแรงของแขนขา อาจพบได้ในระยะที่โรคกำเริบ

           อาการทางปอดและเยื่อหุ้มปอด อาการที่พบบ่อย คือ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ อาการแสดงคือเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเวลาหายใจเข้าสุด ตรวจพบมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด บางรายมีอาการปอดอักเสบซึ่งต้องแยกจากปอดอักเสบติดเชื้อ
           อาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่พบบ่อยคือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งมักพบร่วมกับเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการ เจ็บหน้าอก มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ เหนื่อยง่าย โรคหลอดเลือดหัวใจส่วนใหญ่เป็นผลมาจากภาวะหลอดเลือดแข็งจากการได้รับยา สเตียรอยด์นานๆ นอกจากนี้ภาวะความดันโลหิตสูง ก็เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยจากไตอักเสบเรื้อรัง และจากการได้รับยาสเตียรอยด์

           อาการทางระบบทางเดินอาหาร ไม่มีอาการที่จำเพาะสำหรับโรคลูปัส อาการที่พบบ่อย ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ซึ่งเป็นผลจากการใช้ยารักษาโรคลูปัส เช่น NSAIDS ยาสเตียรอยด์ อาการยังคงอยู่ได้แม้จะหยุดยาไปเป็นสัปดาห์

 การรักษา

          ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาใดที่ทำให้หายขาดได้ แต่การปฏิบัติตัวที่ดี การเลือกใช้ยาที่ถูกต้องทั้งชนิด ขนาด และช่วงเวลาที่เหมาะสม จะสามารถควบคุมอาการของโรคนี้ได้ การรักษาด้วยยายากลุ่ม NSAIDS และยาต้านมาลาเรีย (คลอโรควีนและไฮดรอกซีคลอโรควีน) ในผู้ป่วยที่มีอาการเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่มีปัญหาต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากนัก เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการอย่างโรคตามทางผิวหนัง มีผื่นที่หน้า ปวดข้อและปวดกล้ามเนื้อ โดยที่ผลการตรวจทางปัสสาวะปกติ อย่างไรก็ตามในกรณียาเหล่านี้ควบคุมอาการไม่ได้ อาจให้ยาสเตียรอยด์ในขนาดต่ำๆ (prednisolone < 10 มิลลิกรัม /วัน) ร่วมด้วย เมื่อควบคุมโรคได้จึงค่อยลดยาลง

          ยาสเตียรอยด์ เช่น prednisolone เป็นยาหลักที่ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบของอวัยวะสำคัญต่างๆ จากโรคลูปัส แพทย์จะปรับขนาดของยาตามอาการและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ถ้าไม่ได้ผลอาจต้องให้ยากดระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ ร่วมด้วย

 ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อป่วยเป็นโรคเอสแอลอี 

          1. ในระยะแรกต้องได้รับการรักษาด้วยยา ต้องรับประทานยาตามขนาดและระยะเวลาที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด

          2. ควรพยายามอย่าให้ผิวหนังถูกแสงแดดโดยตรง ควรใส่หมวกปีกกว้าง กางร่ม และสวมใส่เสื้อแขนยาวเวลาที่จำเป็นต้องออกแดด

          3. ทำจิตใจให้สบาย ไม่ควรเครียด ถ้อถอย เศร้าใจ หรือกังวลใจ เพราะทำให้อาการกำเริบได้ ควรมีกำลังใจและมีความอดทนต่อการรักษา

          4. เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารประเภท เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักและผลไม้ต่างๆ มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง

          5. เนื่องจากผู้ป่วยเอสแอลอี มีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่ายจึงต้องคอยระวังตัว ไม่เข้าใกล้ผู้อื่นที่กำลังเป็นโรคติดต่อ เช่น โรคหวัด พยายามไม่อยู่ในที่ผู้คนแออัด นอกจากนี้อาหารที่รับประทานทุกชนิดควรเป็นอาหารที่สะอาดและต้มสุกแล้ว

          6. ทำตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล และไปรับการตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ในการรักษาและประเมินความรุนแรงของโรค และผลการรักษาแพทย์จะได้พิจารณา ให้การรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

          7. ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์ผู้รักษาบ่อยๆ เพราะแพทย์คนใหม่อาจจะไม่ทราบรายละเอียดของอาการเจ็บป่วย ทำให้เกิดความล่าช้าในการวินิจฉัยและการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออาจเป็นอันตรายได้

          8. ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เพราะจะมีโอกาสแพ้ยาได้บ่อยและรุนแรงกว่าคนธรรมดา

          9. ไม่ควรเพิ่มหรือลดขนาดยาเอง

          10. ถ้ามีอาการผิดปกติ มีไข้ หรือไม่สบาย ควรรีบกลับไปปรึกษาแพทย์ผู้รักษาทันที หรือหากจะไปหาแพทย์อื่น ควรนำยาที่กำลังรับประทานอยู่ไปให้แพทย์ดูด้วยทุกครั้ง เพื่อว่าแพทย์จะได้จัดยาได้ถูกต้องและสอดคล้องกับยาประจำที่รับประทานอยู่

          11. ผู้ป่วยหญิงที่แต่งงานแล้ว ไม่ควรมีบุตรในระยะที่โรคกำเริบ เพราะจะเป็นอันตรายต่อแม่และเด็กในครรภ์ ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิด เพราะอาจจะทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้น ควรเลี่ยงใช้วิธีอื่น­ๆ แทนโดยการปรึกษาแพทย์ ผู้ป่วยจะสามารถตั้งครรภ์ได้ เมื่อพ้นระยะที่โรคมีความรุนแรงแล้ว แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ควรได้รับการดูแลอย่าง ใกล้ชิดจากแพทย์

   คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- thai-sle.com
- siamhealth.net
- vcharkarn.com
- psu.ac.th

วันนี้ TEXT เยอะมากนะครับ
เป็นข้อมูลของโรค SLE เอาไว้ป้องกัน
หรือรักษาผู้ที่เป็นโรคได้พอสมควรเลย
ข้ามไปอ่านข้างล่างสุดได้เลยนะครับ
(สีเขียว)

 

โรค เอส แอล อี (Systemic Lupus Erythematosus - SLE)

โรค เอส แอล อี (Systemic Lupus Erythematosus - SLE) หรือโรคลูปุส (มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า "โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง")เป็น โรคที่เกิด จากภูมิต้านทานในร่างกายของเราชนิดหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงไปภูมิต้านทาน ชนิดนี้เป็นโปรตีนในเลือดชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอนติบอดี้ (ANTIBODIES) ซึ่งปกติจะมีหน้าที่จับและทำลายสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคจากภายนอกร่างกาย แต่โปรตีนชนิดนี้ ในผู้ป่วยโรคลูปุสจะจับ และทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ ของผู้ป่วยโรคลูปุสเองขึ้นกับว่าจะจับอวัยวะใดเช่น ถ้าจับที่ผิวหนังก็จะทำให้เกิดผื่น ถ้าจับกับไตก็จะทำให้เกิดการอักเสบของไต จับกับเยื่อหุ้มข้อ ก็จะเกิด ข้ออักเสบขึ้น จัดเป็นโรคที่เรื้อรังชนิดหนึ่ง

สาเหตุ

ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรค เอส แอล อี แน่ชัด แต่มี หลักฐานที่บ่งบอกว่าจะเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ร่วมกัน คือ

1. กรรมพันธุ์

2. ฮอร์โมนเพศหญิง

3. ภาวะติดเชื้อบางชนิด, โดยเฉพาะเชื้อไวรัส

 

นอกจากนี้เรายังทราบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นหรือมีโอกาสเป็นโรค เอส แอล อี มีอาการรุนแรงขึ้นเช่น

1. แสงแดดโดยเฉพาะ แสงอุลตร้าไวโอแลต

2. การตั้งครรภ์

3. ยาบางชนิด

อาการ

โรค เอส แอล อี เป็นโรคที่มีลักษณะการแสดงออกได้หลากหลายลักษณะ อาจมีอาการเฉียบพลันและรุนแรงหรือมีอาการค่อยเป็นค่อยไปเป็นช่วยระยะเวลานาน หลายปี อาจมีอาการแสดงออกของหลายอวัยวะในร่างกายพร้อม ๆ กันหรือมีการแสดงออกเพียงอวัยวะหนึ่งทีละอย่างก็ได้ มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ได้แต่ลักษณะเฉพาะของโรค เอส แอล อี คือผู้ป่วยจะมีอาการในหลาย ๆ ระบบของร่างกายโดยจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่พร้อมกันก็ได

เมื่อไรควรสงสัยว่าเป็นโรค เอส แอล อ

1. เมื่อมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ นานเป็นเดือน

2. เมื่อมีอาการปวดบวมตามข้อ

3. เมื่อมีผื่นคันที่หน้าโดยเฉพาะเวลาถูกแสงแดด

4. เมื่อมีผมร่วงมากขึ้น

5. เมื่อมีอาการบวมตามหน้าตามเท้

การรักษา

ในการรักษาโรค เอส แอล อี ทั้งผู้ป่วยและแพทย์จะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องดังต่อไปนี้

1. ควรเข้าใจลักษณะของโรคต้องเข้าใจก่อนว่าโรคเอส แอล อี เป็นโรคเรื้อรัง การดำเนินของโรคจะเป็นไปเรื่อย ๆ โดยอาจมีการทุเลาหรือกำเริบขึ้นได้เป็นระยะตลอดเวลา หรือกำเริบรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้

2. พยาธิสภาพการเกิดโรคหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด

3. ผลของการรักษา และความอยู่รอดของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับว่ามีอวัยวะใดบ้างที่เกี่ยวข้องหรือมี การอักเสบ ความรุนแรงของโรค ความรวดเร็วในการประเมิน ความรุนแรงและการได้รับการรักษาที่ถูกต้องนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับการติดตาม ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดของแพทย์ และความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการได้รับการรักษาของผู้ป่วยโดยเฉพาะในช่วง 2 ปีแรก ปัจจุบันมีวิธีการตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรก ๆ มีวิธีการรักษาที่ได้ผลดีมากหลายวิธีให้เลือกใช้ มียาปฏิชีวนะดี ๆที่สามารถควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อของผู้ป่วยได้ดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ความอยู่รอดของผู้ป่วย เอส แอล อีในปัจจุบันดีกว่าสมัยก่อนมาก

4. สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วย เอส แอล อี เกิดได้จาก 3 สาเหตุคือ

4.1 จากตัวโรคเองเช่น การอักเสบของไต สมอง หลอดเลือด ตลอดจนการแตกของเม็ดเลือดแดง

4.2 จากภาวะติดเชื้อกลไกพื้นฐานของโรค เอสแอล อี คือมีการเปลี่ยนแปลงในระบบภูมิคุ้มกัน ประกอบกับผู้ป่วยได้รับยาต่าง ๆเพื่อลดการอักเสบและกดภูมิคุ้มกันของร่างกายลง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อง่ายกว่าบุคคลทั่วไป

4.3 จากยาหรือวิธีการรักษาการรักษาโรค เอส แอล อี ขึ้นอยู่กับอาการว่าเป็นมาก เป็นน้อยในผู้ป่วยบางรายใช้แค่ยาแก้ปวดแอสไพริน หรือ ยาลดอาการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ก็ควบคุมอาการได้ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงขึ้น แพทย์ต้องใช้ยาสเตียรอยด์เช่นยาเพร็ดนิโซโลน(prednisolone)ตั้งแต่ขนาดต่ำจน ถึงขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานานเป็นสัปดาห์หรือเป็นหลายเดือน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระบบอวัยวะที่มีการอักเสบในบางรายที่มีการอักเสบ ของอวัยวะสำคัญ เช่น ไต อาจจำเป็นต้องใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีผลข้างเคียงมากขึ้นเช่น ยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็งบางชนิดแต่ให้เป็นครั้ง ๆ ในขนาดที่เหมาะสมหรือในบางรายอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการเปลี่ยนถ่ายเลือดมา ร่วมในการรักษาด้วย ทั้งนี้แล้วแต่ความรุนแรงของโรค และระบบอวัยวะที่มีการอักเสบ

 

สิ่ง สำคัญในการรักษาโรค เอส แอล อี ขึ้นอยู่กับ การเลือกใช้ยาที่ถูกต้อง ทั้งชนิด ขนาด และจังหวะการให้ยาตามจังหวะของโรคแต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ป่วย การมารับการตรวจรักษาสม่ำเสมอตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล อย่างเคร่งครัด

สาเหตุชักนำที่ทำให้โรค เอส แอล อี มีอาการรุนแรงขึ้นหรือกลับเป็นขึ้นใหม่

1. การถูกแสงแดดอาจทำให้เกิดอาการกำเริบทางผิวหนัง และอาจะทำให้มีอาการ ของระบบอื่น ๆ ตามมาได้

2. การมีภาวะติดเชื้อไม่ว่าจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา

3. การตั้งครรภ์ถ้ายังมีอาการของโรค เอส แอล อี อยู่ หรือยังควบคุมอาการไม่ได้ดี ยังไม่ควรตั้งครรภ์ปกติแพทย์จะยอมให้ตั้งครรภ์ได้เมื่ออาการของโรคสงบลง อย่างน้อย 6 เดือน

4. การออกกำลังกายหรือทำงานหนักอย่างหักโหม

5. การถูกกระทบกระเทือนทางอารมณ์อย่างรุนแรง

จะปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเป็นโรคเอส แอล อี

1. ในระยะแรกต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้องรับประทานยาตามขนาดและระยะเวลาที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด

2. ควรพยายามอย่าให้ผิวหนังถูกแสงแดดโดยตรงควรใส่หมวกปีกกว้างกางร่ม และสวมใส่เสื้อแขนยาวเวลาที่จำเป็นต้องออกแดด

3. ทำจิตใจให้สบาย ไม่ควรเครียด ถ้อถอย เศร้าใจ หรือกังวลใจเพราะทำให้อาการกำเริบได้ ควรมีกำลังใจและมีความอดทนต่อการรักษา

4. เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอาหารประเภท เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักและผลไม้ต่าง ๆ มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง

5. เนื่องจากผู้ป่วย เอส แอล อีมีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่ายจึงต้องคอยระหวังตัว ไม่เข้าใกล้ผู้อื่นที่กำลังเป็นโรคติดต่อเช่น โรคหวัด พยายามไม่อยู่ในที่ผู้คนแออัด นอกจากนี้อาหารที่รับประทานทุกชนิดควรเป็นอาหารที่สะอาดและต้มสุกแล้ว

6. ทำตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล และไปรับการตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ในการรักษาและประเมินความรุนแรงของโรคและผลการรักษาแพทย์จะได้ พิจารณา ให้การรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

7. ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์ผู้รักษาบ่อย ๆ เพราะแพทย์คนใหม่อาจจะไม่ทราบรายละเอียดของ อาการเจ็บป่วยทำให้เกิดความล่าช้าในการวินิจฉัยและการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออาจเป็นอันตรายได้

8. ไม่ควรซื้อยารับประทานเองเพราะจะมีโอกาสแพ้ยาได้บ่อยและรุนแรงกว่าคนธรรมดา

9. ไม่ควรเพิ่มหรือลดขนาดยาเอง

10. ถ้ามีอาการผิดปกติ มีไข้ หรือไม่สบายควรรีบกลับไปปรึกษาแพทย์ผู้รักษาทันที หรือหากจะไปหาแพทย์อื่นควรนำยาที่กำลังรับประทานอยู่ไปให้แพทย์ดูด้วยทุก ครั้ง เพื่อว่าแพทย์จะได้จัดยาได้ถูกต้องและสอดคล้องกับยาประจำที่รับประทานอยู่

11. ผู้ป่วยหญิงที่แต่งงานแล้วไม่ควรมีบุตรในระยะที่โรคกำเริบเพราะจะเป็น อันตรายต่อแม่และเด็กในครรภ์ ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดเพราะอาจจะทำให้อาการ ของโรคกำเริบขึ้น ควรเลี่ยงใช้วิธีอื่น ๆ แทนโดยการปรึกษาแพทย์ผู้ป่วยจะสามารถตั้งครรภ์ได้เมื่อ พ้นระยะที่โรคมีความรุนแรงแล้ว แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์และขณะ ตั้งครรภ์ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์

การป้องกัน

เนื่อง จากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เอส แอล อีในขณะนี้ยังไม่มีหากท่านสงสัยว่าเป็นโรคนี้ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยเสียแต่ในระยะแรก และได้รับการรักษาที่ถูกต้องการล่าช้าในการรักษาอาจทำให้อาการเป็นรุนแรง ขึ้น เช่น ไตวาย หรือถึงแก่เสียชีวิตได้

ใน ปัจจุบัน ผู้ป่วยโรค เอส แอล อี มีอัตราของความพิการหรือเสียชีวิตลดลงน้อยลง มากเมื่อเทียบกับ เมื่อ 10-20 ปีก่อนทั้งนี้เนื่องจากการที่เราสามารถพบและให้การวินิจฉัยโรค เอส แอล อี ได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ ประกอบกับยาและวิธีการรักษาที่ดีขึ้นในอนาคต โดยอาศัยความรู้ ที่เพิ่มมากขึ้นประกอบกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะทำให้สามารถค้นพบสาเหตุที่แท้จริงของโรค เอส แอส อีสามารถแยกแยะผู้ป่วยเป็นกลุ่มปรับปรุงการรักษาให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ป่วย ตลอดจนควบคุมและให้การป้องกันไม่ได้เกิดโรค เอส แอล อี ขึ้นได้

ลักษณะทางอาการตามระบบที่สำคัญคือ

อาการทั่วไปผู้ป่วยมักจะมีไข้อ่อนเพลียเบื่ออาหารปวดศรีษะปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อจิตใจหดหู่

อาการทางผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีผื่นเกิดที่บริเวณใบหน้าตั้งแต่บริเวณสันจมูกไปที่บริเวณโหนก แก้มทั้ง 2 ข้างเป็นรูปคล้ายผีเสื้อ (butterfly rash) หรือที่เรียกว่า Malar rashนอกจากนี้ผู้ป่วยมักจะมีผื่นขึ้นหรือมีอาการคันเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด (photosensitivity) หรือมีผื่นเป็นวง ๆ เป็นแผลเป็นตามหน้าและหลังศรีษะหรือใบหู (discoid lupus) หรือมีอาการปลายมือปลายเท้าขาวซีดเขียวเวลาโดนความเย็นผู้ป่วยบางรายจะมีแผล ในปาก โดยเฉพาะบริเวณเพดานปากเป็น ๆ หาย ๆ

ผมอาการผมร่วงเป็นอาการที่พบบ่อยในขณะที่โรคเป็นรุนแรง

อาการทางข้อและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยเอส แอล อีส่วนใหญ่จะมีอาการปวดข้ออาจจะเป็นข้อนิ้วมือข้อไหล่ ข้อเข่า หรือข้อเท้าอาจมีอาการบวมแดงร้อนร่วมด้วยอาจทำให้ข้อบิดเบี้ยวผิดรูปร่างได้ แต่จะไม่ถึงกับทำลายข้อ ดังเช่นในโรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์นอกจากนี้อาจมีอาการปวดหรืออักเสบของกล้าม เนื้อและเส้นเอ็นร่วมด้วย

อาการทางไตไต เป็นอวัยวะหนึ่งที่มีการอักเสบได้บ่อยในผู้ป่วย เอส แอล อี ผู้ป่วยที่มีไตอักเสบจะมีอาการบวมบริเวณเท้า 2 ข้างหน้าหนังตาหรือบวมทั้งตัว เราพบว่าผู้ป่วยเหล่านี้จะมีไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะจำนวนมากรายที่มีอาการ รุนแรงขึ้นจะมีความดันโลหิตสูงขึ้น มีปัสสาวะออกน้อยลงหรือมีปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อในรายที่เป็นรุนแรงมาก อาจถึงขั้นมีไตวายได้ อาการทางไตเป็นอาการสำคัญที่บอกว่าโรคค่อนข้างเป็นรุนแรง

อาการทางระบบประสาท เมื่อผู้ป่วย เอส แอล อีมีการอักเสบของสมองบางรายมีอาการชักบางรายมีอาการพูดเพ้อเจ้อ เอะอะโวยวายคลุ้มคลั่งคล้ายคนโรคจิตจำญาติพี่น้องไม่ได้บางรายมีการอักเสบ ของเส้นประสาทเฉพาะที่ร่วมด้วยได้

อาการทางระบบโลหิต บางครั้งมีการทำลายเม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาวหรือเกร็ดเลือดทำให้มีอาการ โลหิตจาง ซีด อ่อนเพลียเหนื่อยง่ายหน้ามืดจะเป็นลมหรือมีเม็ดเลือดขาวต่ำลงหรือเลือดออก ง่ายได้

อาการทางหัวใจและหลอดเลือด เมื่อมีการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่นเหนื่อยง่ายนอนราบไม่ได้บางครั้งมีจังหวะการเต้น ของหัวใจผิดปรกติถ้ามีการอักเสบของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆจะมีอาการของการขาดเลือดของอวัยวะนั้น ๆ เกิดขึ้นได้นอกจากนี้ผู้ป่วย เอส แอล อี บางรายอาจมีภาวะเลือด แข็งตัวง่ายทำให้มีการอุดตันของหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดง ตามอวัยวะต่าง ๆ

อาการทางระบบเดินอาหาร ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้องคลื่นไส้อาเจียนกลืนลำบากการดูดซึมสารอาหารจากลำไส้ผิดปกติ บางครั้งมีตับอ่อนอักเสบร่วมด้วยได้

ผู้ ป่วยด้วยโรค เอส แอล อีแต่ละคนไม่จำเป็นต้องมีอาการครบทุกระบบ หรือมีอาการรุนแรงเสมอไป ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับระบบอวัยวะที่ผู้ป่วยมีอาการร่วมด้วยบางคน เป็นน้อย มีแต่ ไข้ ปวดข้อมีผื่นขึ้นบางคนมีอาการรุนแรงมีชัก คลุ้มคลั่ง ไตวายหรือปอดอักเสบรุนแรงจนมีเลือดออกในปอดได้ อาการของโรคจะแสดงความรุนแรงแต่บางครั้งอาการก็สงบลงได้เอง

 

Credit : https://www.thai-sle.com


เพื่อนเราที่เรียนตอน ม.ปลาย ป่วยเป็นโรคนี้
อยู่ห้อง ICU ของ โรงพยาบาลภูมิพล
หมอบอกว่าเพื่อนเราจะอยู่ได้ไม่เกินวันจันทร์
โอกาสรอด 1/3 (ทำใจได้แล้วล่ะนะ เฮ้อ)
จากอารการของโรคที่เราศึกษามาแล้วนะ
มักจะเป็นในผู้หญิงมากกว่า แต่เพื่อนเราเป็นในผู้ชายนี่สิ (เรียกว่าซวยโคตรได้ล่ะมั้ง)
ถึงแม้เรากับเพื่อนจะไม่ค่อยได้คุยอะไรกันมากมาย แต่ก็ไม่อยากให้เขาตายจริงๆ
วันนี้ไปเยี่ยมเพื่อนมาที่โรงพยาบาล
แทบจำไม่ได้ ว่านี่เพื่อนเราหรอ
สภาพนี่แบบแย่สุดๆ แต่เขาก็ยังพยายามที่จะมีชีวิตอยู่
มีกำลังใจดีมาก ถ้าเป็นเรานะยอมตายดีกว่า
ตอนที่เพื่อนยกมือมาให้เราจับน้ำตาแทบเล็ด
น่าสงสารแม่ของเขา แม่เข้มแข็งมาก
ถ้าเราเป็นแม่นี่คงช๊อคถ้ารู้ว่าลูกเป็นอ่ะ
เราไม่เคยเชื่อปฏิหาริย์ แต่จะลองเชื่อดูสักครั้ง
อยากให้เพื่อนรอดจัง แต่ถ้าไม่รอดก็ขอให้เขาทรมาณน้อยที่สุด
ความคิดเราอาจจะสวนทางสักหน่อยนะ
คือเราอยากให้เป็นแบบหลังมากกว่า
เพราะถึงรอด ยังไงก็ต้องมาเจ็บหนักอีก
แล้วจะตายอีกเมื่อไหร่ก็ไม่รู้
ขอให้พระเจ้าคุ้มครอง

หวังว่า Entry คงจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ได้อ่านได้บ้างไม่มากก็น้อย
(จบอย่างกับคำนำรายงานแน่ะ)

อัพเดทล่าสุด