กลอนวันเข้าพรรษา ประวัติ วันเข้าพรรษา ความสําคัญของวันเข้าพรรษา ย่อ


3,002 ผู้ชม


กลอนวันเข้าพรรษา ประวัติ วันเข้าพรรษา ความสําคัญของวันเข้าพรรษา ย่อ

 

ประวัติความเป็นมาวันเข้าพรรษา

การเข้าพรรษา เป็นวินัยอย่างหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติขึ้น คือ เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์ในทางพระพุทธศาสนา จะต้องอธิษฐานอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง หรืออาวาสใดอาวาสหนึ่ง ในช่วงฤดูฝนตลอดระยะเวลา ๓ เดือน จะเดินทางจาริกสัญจรรอนแรมไปค้างคืนที่ไหนไม่ได้ ยกเว้นมีเหตุจำเป็นตามที่พระวินัยบัญญัติไว้
วันเข้าพรรษาในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้ ๒ ประการ คือ 
๑.ปุริมพรรษา หรือ วันเข้าพรรษาแรก เริ่มนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี
๒.ปัจฉิมพรรษา หรือวันเข้าพรรษาหลัง เริ่มนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี สาเหตุที่มีการจำพรรษาหลัง คือพระภิกษุมีเหตุที่จำเป็นต้องเดินทางไกลไปทำธุระที่อื่นกลับมาไม่ทัน
ประวัติความเป็นมาการจำพรรษา

ในสมัยนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร ที่พระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งพระนครราชคฤห์ ได้ทรงมีจิตศรัทธาสร้างวัดแรกในพระพุทธศาสนาถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า สมัยนั้นพระพุทธองค์ยังไม่ทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุอยู่จำพรรษา บรรดาเหล่าพุทธสาวกได้เที่ยวจาริกสัญจรเผยแผ่พระสัทธรรมคำสอนของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าไปในฤดูทั้งสาม ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน อย่างไม่ย่อท้อไม่เหน็ดเหนื่อย เที่ยวโปรยปรายสายธรรมอันชุ่มเย็นเข้าสู่จิตใจของปวงประชา
ปกติแล้วในช่วงฤดูฝนชาวอินเดียสมัยก่อนนั้น พวกพ่อค้าวาณิชย์หรือนักบวชนอกศาสนา จะพากันหยุดสัญจรเป็นการชั่วคราว เพราะถนนหนทางที่ใช้ในการสัญจรมีโคลนตม มีหลุมมีบ่อทำให้ไม่สะดวกในการเดินทาง อีกอย่างชาวบ้านชาวเมืองก็พากันตกกล้า ทำนาปลูกข้าวกัน 
ครั้งนั้นเมื่อชาวบ้านชาวเมือง เห็นภิกษุพุทธสาวกเดินจาริกสัญจรอยู่ในช่วงฤดูฝน จึงพากันติเตียนโพนทะนาว่าการหลายอย่าง เป็นต้นว่า 

แหล่งที่มา : board.palungjit.com

อัพเดทล่าสุด