โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา เป็นอย่างไร โรคฮีน็อคชอนไลน์ เพอพูรา


1,093 ผู้ชม


โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา เป็นอย่างไร โรคฮีน็อคชอนไลน์ เพอพูรา

 

ไขข้อสงสัย โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา คืออะไร


โรค Henoch Schonlein Purpura

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยพีบีเอส , medicinenet.com  
          ทำเอาคนไทยวิตกไปตาม ๆ กัน เมื่อมีข่าวพบเด็กคนหนึ่งป่วยเป็นโรคผิวหนัง โดยมีผืนแดงเป็นจ้ำ ๆ ตามร่างกาย ทำให้คนเข้าใจไปว่า เด็กคนดังกล่าวกำลังป่วยด้วยโรคผิวหนังที่ระบาดและคร่าชีวิตชาวเวียดนามไปแล้ว 19 ราย ก่อนที่แพทย์จะออกมายืนยันว่า เด็กคนดังกล่าวป่วยด้วยโรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา (Henoch Schonlein Purpura) ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ในเด็ก ไม่ใช่โรคระบาดจากประเทศเวียดนามแน่นอน
          มาถึงตรงนี้ หลายคนคงสงสัยแล้วว่า โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา (Henoch Schonlein Purpura) คือโรคอะไร อาการเป็นอย่างไร และมีอันตรายมากน้อยแค่ไหน กระปุกดอทคอม พร้อมไขข้อข้องใจให้แล้วค่ะ
โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา (Henoch Schonlein Purpura

          สำหรับโรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา (Henoch Schonlein Purpura) มีชื่อภาษาไทยว่า "โรคหลอดเลือดอักเสบ" เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็ก อายุเฉลี่ย 6 ปี และมักจะพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง โดยในประเทศไทยพบโรคนี้ในอัตรา 22 คน ต่อประชากร 100,000 คน 
          สาเหตุของโรคดังกล่าวยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานกันว่า โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือภูมิแพ้ตัวเอง ซึ่งอาจถูกกระตุ้นด้วยการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ทำให้หลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ และแสดงอาการต่าง ๆ ออกมาทางส่วนต่าง ๆ เช่น ตา ผิวหนัง ทางเดินอาหาร กระดูกและข้อ รวมทั้งไต ซึ่งอาการอักเสบของเส้นเลือดขนาดเล็กนี้ มักเกิดขึ้นตามหลังการเชื้อทางเดินหายใจเช่นป่วยเป็นหวัดมาก่อนหน้า
          ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคนี้อาจจะแสดงอาการออกมาหลายอย่าง จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของร่างกาย บางคนอาจจะมีอาการปวดท้อง ปวดตามข้อ ไตอักเสบ มีผื่นเป็นลักษณะแดงขึ้นเกิดขึ้นตามผิวหนัง ขา เท้า แขน และก้น หากนอนมากอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ข้อบวมอักเสบ โดยเฉพาะที่ข้อเท้า หัวเข่า ปวดท้อง เลือดออกในทางเดินอาหาร หรือภาวะลำไส้กลืนกัน รวมถึงไตอักเสบ แต่หากเป็นหนักก็ถึงขั้นไตวายเสียชีวิต ซึ่งมีโอกาสพบได้น้อยมาก
          สำหรับการรักษาโรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา นั้น แพทย์จะรักษาตามอาการที่ปรากฏ พร้อมกับให้ยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อควบคุมอาการหลักของโรคให้ทุเลาลง เช่น หากผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องเลือดจาง ซีด แพทย์ก็จะให้เลือดเป็นต้น อย่างไรก็ตาม โรคนี้ไม่ใช่โรคระบาด หรือโรคติดต่อ ดังนั้น หากรักษาอย่างถูกต้อง และทันเวลา ผู้ป่วยก็สามารถหายจากโรคนี้ได้ภายในเวลาไม่นาน


แหล่งที่มา : health.kapook.com

อัพเดทล่าสุด