อาการไข้เลือดออกในผู้ใหญ่ ดูอาการไข้เลือดออก อาการไข้เลือดออก มึนหัว


1,304 ผู้ชม


อาการไข้เลือดออกในผู้ใหญ่ ดูอาการไข้เลือดออก อาการไข้เลือดออก มึนหัว

 

 
ผู้ใหญ่ป่วยไข้เลือดออกเพิ่ม คร.แนะสังเกตอาการ กำจัดลูกน้ำ

       คร.เผย คนไทยป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกมากขึ้นจากปีที่แล้ว โดยเฉพาะผู้ใหญ่ เพราะมองข้ามความสำคัญของโรค แนะสังเกตอาการและทำลายลูกน้ำยุงลาย
       
       นพ.วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงสถานการณ์ไข้เลือดออก ว่า อัตราการระบาดในปี 2555 พบว่าเดือน มิ.ย.มีอัตราป่วยสะสม 17,086 ราย อัตราเสียชีวิตสะสม 18 ราย ถือว่าเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วในช่วงเดียวกัน โดยการระบาดในปีนี้ยังพบว่า อัตราการติดเชื้อในผู้ใหญ่อายุ 15 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มพบมากขึ้น แม้ยังไม่มากกว่าผู้ป่วยเด็ก แต่ถือเป็นสถานการณ์ที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกในผู้ใหญ่มักมองข้ามโรคไข้เลือดออก ทำให้การรักษาล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น ประกอบกับในปีนี้อัตราการระบาดของเชื้อไวรัสเด็งกี่ชนิดที่ 3 มีจำนวนมากขึ้น ทำให้อาจเกิดอาการรุนแรงและเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
       นพ.วิชัย กล่าวอีกว่า ไข้เลือดออก หรือ ไวรัสเด็งกี่ มีด้วยกัน 4 ชนิด (Types) โดยแต่ละปีชนิดของเชื้อไวรัสที่พบจะมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยเฉพาะการควบคุมการระบาด โดยในปี 2555 การพยากรณ์โรคพบว่า ไวรัสชนิด 3 มีแนวโน้มพบมากในปีนี้ พบอุบัติการณ์มากมาจากพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ไวรัสชนิดที่ 3 หากติดเชื้อเป็นครั้งแรก โอกาสเกิดอาการรุนแรงจะมีมาก ต่างจากไวรัสชนิดที่ 1 ที่เมื่อติดเชื้อครั้งแรกจะมีอาการไม่หนัก แต่เมื่อติดเชื้อครั้งที่ 2 ถึงจะมีอาการรุนแรงมาก ซึ่งกรมควบคุมโรค ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการแพทย์ และราชวิทยาลัยอายุแพทย์แห่งประเทศไทย ทำคู่มือเพื่อให้สถานพยาบาลมีแนวทางในการวินิจฉัยโรค
       
       นพ.วิชัย กล่าวต่อไปว่า วิธีสังเกตอาการที่สำคัญ คือ มีไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อย ที่สำคัญคือ ไม่มีน้ำมูก โดย 2-3 วัน จะเริ่มมีอาการดีขึ้น หรือแย่ลง ระหว่างนี้อาจจะมีเลือดออกบริเวณใต้ผิวหนัง หรือปวดที่บริเวณใต้ชายโครงขวา หากอ่อนเพลียควรทานผลไม้ หรือ น้ำเกลือแร่ หมั่นเช็ดตัว และไม่ทานยาเอสไพริน ทั้งนี้ การควบคุมการระบาดต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะชุมชน เพื่อลดปริมาณลูกน้ำยุงลาย ที่จะเป็นสาเหตุของการเกิดโรค ซึ่งพบว่าในสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้านก็เริ่มมีแนวโน้มพบการระบาดเพิ่มขึ้นเช่นกัน ในชุมชนจึงต้องช่วยกันควบคุมโรคอย่างเข้มข้นขึ้น


แหล่งที่มา : manager.co.th

อัพเดทล่าสุด