โรคปากนกกระจอก วิธีรักษา โรคปากนกกระจอกขาดสารอาหารอะไร สาเหตุของการเกิดโรคปากนกกระจอก


5,084 ผู้ชม


โรคปากนกกระจอก วิธีรักษา โรคปากนกกระจอกขาดสารอาหารอะไร สาเหตุของการเกิดโรคปากนกกระจอก

 

 

 

โรคขาดสารอาหาร

โรคขาดสารอาหาร หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นจากการขาดสารอาหารที่ควรได้รับอย่างพอเพียงในภาวะหนึ่งๆ ซึ่งมีสาเหตุต่างกัน ดังนี้
1. ได้รับปริมาณน้อยเกินไปจากการขาดความรู้ที่จะเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าหรือจากภาวะทางเศรษฐกิจ
2. ร่างกายมีความต้องการมากขึ้น เช่น ในภาวะเจ็บป่วย ฟื้นไข้
3. ความอยากอาหารน้อย การย่อยอาหารไม่ดี
4. มีการทำลายแหล่งสร้างอาหารในร่างกาย
5. ยาหรือสารบางชนิดที่มีผลต่อระบบย่อยอาหารของร่างกาย
โรคขาดสารอาหารที่พบมาก ได้แก่
1. โรคขาดโปรตีน
2. โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
3. โรคเหน็บชา
4. โรคกระดูกอ่อน
5.โรคคอพอก
6. โรคตาฟาง
7. โรคลักปิดลักเปิด
 “เมื่อขาดสารอาหารอะไรจะเกิดขึ้น” ในหัวข้อ การขาดโปรตีนและพลังงาน ทำไมถึงโลหิตจาง ตาบอดจากการขาดวิตามินเอ
หัวข้อที่จะกล่าวต่อในฉบับนี้คือ ทำไมถึงเป็นโรคเหน็บชา โรคคอพอก ปากนกกระจอก และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
โรคเหน็บชา
โรคเหน็บชาพบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ เด็ก และคนแก่ สาเหตุเพราะขาดวิตามินบีหนึ่ง วิตามินนี้มีมากในข้าวซ้อมมือ แต่ปัจจุบันคนหันมานิยมกินข้าวขาวกันมาก ส่วนดีๆที่อยู่ที่ผิวข้าวก็จะไปอยู่ในรำซึ่งเป็นอาหารหลักของหมู ก็เลยทำให้เนื้อหมูมีวิตามินบีหนึ่งมาก นอกจากนี้วิตามินบีหนึ่งก็ยังมีมากในถั่วต่างๆ
คนซึ่งกินข้าวกับเกลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในหญิงตั้งครรภ์ แม่ที่คลอดลูกใหม่ๆจะทำให้เป็นโรคเหน็บชาได้ คนสูงอายุที่เจ็บป่วย อดอาหารมากๆ กินข้าวกินปลาไม่ลง กินแต่ซีอิ๊ว จะทำให้เป็นเหน็บชา หรือพวกที่อยากลดน้ำหนัก อดอาหารดีๆ ไม่กินถั่ว ไม่กินเนื้อ ระวังจะเป็นเหน็บชา หรือคนที่กินเหล้าโดยไม่มีกับแกล้ม (ไม่กินอาหารเลย ดื่มเหล้าอย่างเดียว) ในที่สุดเหน็บชาก็จะถามหาแน่นอน โดยจะมีอาการชาตามมือและขาทั้งสองข้าง พอชามากๆ ปลายประสาทก็เสื่อม เวลานั่งยองๆจะลุกไม่ขึ้น กล้ามเนื้อไม่มีแรง
โรคเหน็บชาที่พบในเด็ก อย่างเช่น เด็กที่ทำงานในโรงงานต่างๆ อาหารที่ได้รับเป็นประจำก็คือ ข้าวต้มกับผักดอง ซึ่งแทบจะไม่มีคุณค่าทางอาหาร เด็กจะผอมเพราะขาดวิตามินบีหนึ่ง ทำให้มีอาการชาปลายมือ ปลาย เท้า กล้ามเนื้อไม่มีแรงเพราะปลายประสาทไม่ทำงาน ถ้าเป็นมากๆ อาจลุกลามไปถึงหัวใจ ทำให้มีการบวมทั้ง 2 ข้าง เพราะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานไม่ดี ถ้าเป็นมากจะหอบเหนื่อย และถึงตายได้
โรคคอพอก
โรคคอพอก พบมากใน 9 จังหวัดภาคเหนือ และยังถือว่าเป็นปัญหาอยู่ในบางหมู่บ้านแถวแพร่ ลำปาง ยังมีปัญหาในเด็กวัยเรียน บางโรงเรียนเด็กเป็นคอพอกถึงร้อยละ 70 บางหมู่บ้าน ทุกคนโดยเฉพาะผู้หญิงคนจะต้องโต คนไหนคอไม่โต ไม่สวย คือเป็นกันหมด เลยถือว่าเป็นธรรมชาติ
คอพอกนั้นเกิดจากการขาดไอโอดีน เมื่อขาดไอโอดีนมากๆก็เลยทำให้ต่อมทำงานมากขึ้นๆ มันก็โตขึ้น พอโตขึ้นก็กดคอ กดการกลืนอาหาร กลืนอาหารไม่สะดวก หายใจไม่สะดวก
ไอโอดีนช่วยในการสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่ง ทำให้ร่างกายแข็งแรง ทำให้สมองทำงานได้ปกติ ถ้าขาดไอโอดีนก็ทำให้ร่างกายแคระแกร็น คอพอก คอโต
ถ้าแม่ขาดไอโอดีนขณะตั้งท้อง ลูกเกิดมาจะหูหนวก เป็นใบ้ ปัญญาทึบ ปัญหานี้กระทรวงสาธารณสุขได้แก้ไขโดยการผลิตเกลืออนามัย เอาเกลืออนามัยที่มีไอโอดีนเผยแพร่ แทนที่จะกินเกลือสินเธาว์ที่ไม่มีไอโอดีน
ขณะนี้โรคคอพอกพบน้อยลงมาก แต่ก็ยังมีในชุมชนภาคเหนือ 9 จังหวัด ถ้าท่านไปเยี่ยมเด็กในโรงเรียน เห็นเด็ก 5, 6 ขวบ ถึง 12 ขวบมีก้อนที่คอ ก็แสดงว่าชุมชนนั้นยังมีปัญหา ปัญหานี้แก้ได้โดยกินเกลืออนามัย ไอโอดีน นอกจากจะมีในเกลืออนามัยแล้ว ยังมีมากในอาหารทะเล แต่การกินอาหารทะเลทุกวันคงเป็นไปไม่ได้สำหรับคนอยู่ไกลทะเล แต่ถ้ากินอาหารทะเลได้ก็ดี ไอโอดีนมีมากในหอยทะเล ปลาทู ปลาทะเลต่างๆ
สำหรับเกลืออนามัยนั้นหาง่าย โดยนำเกลือมาปรุงอาหาร นำเกลือมาหมักปลา แล้วเกลือที่เรากินเข้าไปก็จะได้ไอโอดีนเอง สำหรับคนแก่ๆ ที่สูงอายุมีคอพอก ก็คงต้องปล่อยไป เราคงช่วยได้ยาก หมายถึงช่วยในแง่ที่จะให้ยุบ เพราะโตจนกระทั่งเกิดพังผืดแล้วไม่ยุบแน่ นอกจากมีอาการกลืน หรือหายใจลำบาก
⇒ โรคปากนกกระจอก
โรคปากนกกระจอก ปัญหานี้พบได้ในเด็กวัยเรียน ในแม่ที่ตั้งครรภ์และให้นมลูก หรือในคนเจ็บป่วย
ปากนกกระจอกเกิดจากการขาดวิตามินบีสอง วิตามินนี้มีมากในตับ ในเนื้อสัตว์ ผักใบเขียว และในนม โดยเฉพาะในนมแม่มีมาก
เด็กที่เป็นปากนกกระจอกจะเห็นว่าขาดอาหารหมู่ 1 และหมู่ 5 คือ ขาดโปรตีนและพลังงานด้วย เด็กพวกนี้กินอาหารพวกเนื้อสัตว์ไม่พอ ผักก็ไม่พอ ปากนกกระจอกถ้าเป็นมากๆจะทำให้ริมฝีปากบวม มีอาการแสบปาก กินอาหารไม่ได้
โรคนี้น่าสนใจในแง่เป็นแล้วไม่ตาย แต่มันเป็นเครื่องชี้ว่าโรงเรียนนี้แย่ ชุมชนนี้แย่ พ่อแม่ก็แย่ น่าขายหน้า เป็นเครื่องชี้ว่าทางบ้านคงมีอาหารการกินไม่ดี ไม่สมบูรณ์ กินไม่เป็น
ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ยังมีปัญหานี้มาก ท้องถิ่นที่มีสหกรณ์โคนม นมที่ได้ควรแบ่งให้ลูกกินบ้าง หรือเวลาเลี้ยงไก่ ควรให้ลูกกินตับไก่บ้าง นอกจากป้องกันปากนกกระจอกแล้ว ยังป้องกันตาบอดได้ด้วย ผักใบเขียวที่ปลูกควรกินเป็นประจำด้วย จะป้องกันโรคนี้ได้
⇒ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
ในเด็กทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ยังพบเห็นในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี จะมีอาการปัสสาวะขัด หรือปัสสาวะมีกรวดทราย หรือเป็นเลือด พอเอกซเรย์ดูก็เห็นนิ่ว
เกิดขึ้นเพราะได้อาหารหมู่หนึ่งไม่พอ ทำให้ขาดเกลือแร่ ฟอสฟอรัส และเด็กเหล่านี้ยังดื่มน้ำน้อย กินผักที่ไม่ใช่ผักใบเขียวธรรมดา เช่น ผักติ้ว ผักอีฮิน เป็นต้น ทำให้มีสารที่เป็นส่วนประกอบของนิ่ว
นอกจากนี้การเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น เป็นไข้ ท้องเสีย ทำให้มีการขาดน้ำและปัสสาวะเข้ม ก็มีส่วนเสริมทำให้เกิดนิ่วง่ายขึ้น การป้องกันคงต้องเพิ่มให้เด็กได้กินอาหารหมู่ 1 ให้มากๆ
โรคขาดสารอาหาร(Malnutrition Disease) ถ้าจะเรียกให้ถูกต้องน่าจะใช้คำว่า โรคที่เกิดจากการขาดสารอาหารเพราะการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องจนทำให้เกิดการขาดสารอาหารเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆได้มากมายหลายโรคและสารอาหารก็มีอยู่หลายชนิด การขาดสารอาหารแต่ละชนิดก็ทำให้เกิดโรคแต่ละโรคแตกต่างกันไปเช่น ถ้าขาดวิตามินบีหนึ่งจะทำให้เกิดโรคเหน็บชา ถ้าขาดโปรตีนจะมีอาการ น้ำหนักลด ผมร่วง ผิวหนังเปลี่ยนสี การเจริญเติบโตหยุดชะงักและจะมีอาการเกี่ยวกับระบบประสาท
โรคขาดสารอาหารมักจะเกิดกับเด็กเล็กตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงเด็กวัยเรียน(ประมาณ 5 ขวบ)ซึ่งเป็นช่วงสำคัญที่ร่างกายของเด็กมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสมอง ในช่วงนี้หากเด็กขาดการดูแลทางด้านโภชนาการที่ดีทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติเช่น การเจริญเติบโตของร่างกายหยุดชะงัก ร่างกายแคระแกร็น สมองเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ฯลฯ เมื่อเลยช่วงเวลาที่สำคัญนี้ไปแล้วแม้ว่าเด็กจะได้รับการแก้ไขโดยบำรุงด้วยอาหารต่างๆที่มีคุณค่าทางโภชนาการก็ไม่อาจชดเชยความสูญเสียที่เกิดจากการขาดสารอาหารในช่วงปฐมวัยได้
สาเหตุของโรคขาดสารอาหารมักเกิดจากพฤติกรรมและนิสัยส่วนตัวในการกินอาหารและด้วยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ(ฐานะยากจน)จึงทำให้เด็กต้องกินอาหารเท่าที่พ่อแม่จะหามาได้ การดูแลเรื่องการกินอาหาร(โภชนาการ)ของเด็กในวัยเรียนเหล่านี้จะเห็นว่าเด็กไม่ได้กินตามหลักโภชนาการแต่กินเพียงเพื่อให้อิ่มท้องและอยู่รอดเท่านั้น ส่วนมากคนที่มีความสำคัญที่ต้องคอยดูแลในเรื่องโภชนาการของเด็กคือ พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู(ญาติ)ที่ไม่ค่อยมีเวลาหรือตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้จึงทำให้เด็กเกิดโรคขาดสารอาหารโดยไม่รู้ตัว
โรคขาดสารอาหารเป็นปัญหาที่สำคัญของประชากรและเป็นสาเหตุให้เด็กมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น หากไม่ถึงกับเสียชีวิตร่างกายก็จะแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต ทั้งทางด้านพฤติกรรมและสังคม การแก้ไขปัญหาโรคขาดสารอาหารที่เกิดกับเด็กทำได้โดยการทำให้ประชาชนตระหนักถึงการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่เพราะน้ำนมแม่มีสารอาหารที่สมบูรณ์และดีที่สุดสำหรับใช้เลี้ยงทารก หากเป็นไปได้ควรให้เด็กได้ดื่มนมวัวหรือนมถั่วเหลืองด้วย
ตัวอย่างการแก้ไขและป้องกันโรคขาดสารอาหาร(โปรตีน)สำหรับคนที่มีรายได้น้อยโดยการกินอาหารที่ให้โปรตีนจากพืชแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่มีราคาแพง โปรตีนจากพืชเรียกว่า “โปรตีนเกษตร” มีลักษณะคล้ายเนื้อสัตว์และให้คุณค่าทางโภชนาการ(โปรตีน)ไม่น้อยไปกว่าเนื้อสัตว์ในราคาที่ไม่แพงนัก การนำโปรตีนเกษตรมาประกอบอาหารให้เด็กเล็กกินจะช่วยให้เด็กได้รับโปรตีนซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก
โดยสรุปก็คือต้องมีความรู้ทางโภชนาการรู้จักการเลือกกินอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วนและในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน หากสารอาหารที่จำเป็นมีราคาแพงเช่นเนื้อสัตว์ ก็หาสิ่งที่มาทดแทน(โปรตีนเกษตร)เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วนและไม่เป็นโรคขาดสารอาหาร.


แหล่งที่มา : abo2717632-foodless.blogspot.com

อัพเดทล่าสุด