วิธีรักษาโรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย โรคผิวหนังอักเสบชนิดแห้งฝ่อ


2,435 ผู้ชม


วิธีรักษาโรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย โรคผิวหนังอักเสบชนิดแห้งฝ่อ

โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
          อันที่จริงแล้วผิวหนังของคนเราก็มีเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่นะครับ เรียกว่าเป็นเชื้อประจำถิ่น (Normal Flora) ซึ่งโดยปกติจะไม่ทำให้เกิดโรคครับ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพของผิวหนังไปจากเดิม เช่น มีบาดแผล มีโรคผิวหนังอื่น ๆ อยู่ก่อน สุขอนามัยไม่ดี หรือผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ เชื้อเหล่านี้ก็มีโอกาสทำให้เกิดโรคได้ ตัวที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุด ได้แก่ Staphylococcus aureus และ Staphylococcus pyogenes โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่พบมาก ได้แก่
  • แผลพุพอง (impetiongo)
          เป็นการติดเชื้อของชั้นหนังกำพร้า ส่วนใหญ่เกิดจากสุขอนามัยไม่ดี หรือละเลยบาดแผลเล็ก ๆ จะลุกลามจึงพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ส่วนมากบาดแผลเกิดขึ้นที่ใบหน้าบริเวณรอบจมูก เนื่องจากการแกะ เกา และตามแขน-ขาทั่วไป เริ่มแรกเป็นเพียงผื่นแดงเล็ก ๆ มีอาการคัน แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำพองใส เมื่อแตกออกพื้นแผลจะเป็นสีแดง มีน้ำเหลืองไหล พอแห้งจะตกเป็นสะเก็ดเหลืองเกาะที่แผล ถ้าเกิดที่หนังศีรษะมีชื่อเรียกว่าชันนะตุ หากปล่อยไว้นานแผลอาจลุกลามขยายใหญ่ขึ้น หรือกินลึกลงไปมากขึ้น และเข้าสู่กระแสเลือดได้
          การรักษา เริ่มต้นด้วยการล้างทำความสะอาดบาดแผล และใช้ยาทาฆ่าเชื้อ Mupiroxin ประมาณ 7-10 วัน ก็เพียงพอ แต่หากบาดแผลกว้างและลึกมาก อาจต้องใช้ยา Dicloxacillin รับประทานร่วมด้วย
  • รูขุมขนอักเสบ (Folliculitis, Furuncles Carbuncler)
          เป็นการติดเชื้อของรูขุมขนจนเกิดเป็นผื่นแดง ไม่มีอาการหรืออาจคัน หรือเจ็บเล็กน้อย พบได้ในบริเวณที่มีต่อมขนเยอะ เช่น หนวด เครา รักแร้ เป็นต้น ส่วนมากมักจะหายเอง แต่บางครั้งอาจเกิดการอักเสบมาก จนเป็นตุ่มหนอง แดงและเจ็บ เมื่อแตกออกจะมีหนองไหลออกมาได้ เรียกว่าฝี (Furuncles) ถ้าแผลลึกและกว้างมากจนมีรูหนองที่เชื่อต่อกันหลาย ๆ รู เรียกว่า Carbuncles หรือฝีฝักบัวนั่นเอง ซึ่งมักจะมีใช้ร่วมด้วย เนื่องจากการอักเสบที่มากขึ้น
          การรักษา ในขั้นต้นหากมีอาการ ให้ใช้ยาทาฆ่าเชื้อ 1% Clindamycin ทาบริเวณแผลวันละ 2-3 ครั้ง สำหรับ Furuncies และ Carbuncles จำเป็นต้องผ่าระบายหนองออก และใช้ยา Dicloxacillin รับประทานร่วมด้วย
  • ไฟลามทุ่ง (Erysipelas)
          เป็นการอักเสบของผิวหนังร่วมกับหลอดน้ำเหลือง เริ่มจากตุ่มแดงแล้วกระจายลามออกไปอย่างรวดเร็วแผลมีสีแดงจัด กดเจ็บ ผิวบริเวณนั้นยกขึ้นมาจากบริเวณที่ปกติอย่างชัดเจน ผู้ป่วยจะมีใช้ร่วมด้วย
          การรักษา รับประทานยา Dicloxacillin ประมาณ 5-7 วัน ร่วมกับการประคบร้อน
  • ผิวหนังอักเสบ (Cellulitis)
          เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อชั้นหนังแท้และลึกลงไปยังชั้นได้ผิวหนัง ลักษณะเป็นผื่นแดงจัด ลามอย่างรวดเร็ว กดเจ็บและออกร้อน แยกจากไฟลามทุ่งได้จากขอบเขตที่ไม่ชัดเจน มักพบว่ามีอาการใช้และต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย พบได้บ่อยในรายที่ประสบอุบัติเหตุ ผู้ป่วยเบาหวาน อ้วน หรือติดสุรา
          การรักษา รับประทานยา Dicloxacillin ประมาณ 5-7 วัน ร่วมกับการประคบร้อน
          ข้อควรระวัง ไฟลามทุ่งและโรคผิวหนังอักเสบ เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากขึ้น เชื้อจะแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่าย ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์

แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด