เครียดเรื่องงานจนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคเครียด วิธีแก้เครียด เครียดเรื่องงาน


993 ผู้ชม


เครียดเรื่องงานจนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคเครียด วิธีแก้เครียด เครียดเรื่องงาน

 
 โรคเครียด 


การตรวจวินิจฉัยโรค ตรวจร่างกายทุกระบบรวมทั้งระบบประสาทไม่พบความผิดปกติ สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการมึนศีรษะ (Dizziness) ได้มากที่สุดจึงน่าจะเป็นความเครียดจากงาน และการนอนไม่หลับเรื้อรัง.
การรักษาทั่วไป โดยส่วนใหญ่มักจบลง ด้วยการสั่งยาคลายเครียด ยาแก้อาการมึนงง ยา นอนหลับ ซึ่งอาจได้ผลชั่วคราว เมื่อยาหมดซอง ผู้ป่วยก็มักจะกลับมาใหม่.

 

แนวทางการรักษาโรคเครียดจากงาน (Work stress)
แบ่งออกเป็น 2 วิธีได้แก่
1. หาวิธีคลายเครียด (Supportive) การ แก้ความเครียดชั่วคราว แก้อาการประเดี๋ยวประด๋าว ได้แก่ การเบี่ยงเบนความสนใจตนเองด้วยการกระตุ้นประสาทสัมผัสต่างๆ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ กินอาหารอร่อยๆ ไปนวด ออกกำลังกาย หรือใช้สารเสพติด เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ วิธีเหล่านี้ทำได้ง่าย ได้ผลค่อนข้างเร็ว แต่กลับมาเครียดใหม่ได้บ่อยๆ เพราะเป็นการหลีกหนีปัญหาไปชั่วคราว.
2. หาจุดกำเนิดความเครียด (Specific) การแก้ความเครียดที่สาเหตุ ด้วยการทำความเข้าใจต้นตอแห่งความเครียด คือ ความคิดต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งในผู้ป่วยรายนี้เครียดเพราะความคิดของตนเอง ว่าตนไม่อยากทำงานที่กำลังถูกบังคับ จึงทำงานแบบไม่เต็มใจ ต่อต้านในใจ และระแวดระวังความผิดพลาดจนไม่มีความสุขในงาน. บางคนต้องย้ายงานหรือเปลี่ยนงานบ่อยๆ เพื่อหลีกหนีความเครียดเหล่านี้ แต่นั่นก็ไม่ใช่ทางออกของปัญหา.
การเริ่มต้นช่วยเหลือผู้ป่วย
หลังจากซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดจนมั่นใจว่าไม่มีสาเหตุโรคร้ายแรงทางกายอื่นแอบแฝงอยู่ด้วย ควรใช้เวลาพูดคุยเพื่อทำให้ผู้ป่วยค่อยๆนึกทบทวนถึงเหตุการณ์รายละเอียดต่างๆก่อนเกิดอาการ ไม่สบาย (ให้ใช้คำตรงๆว่า"ไม่สบาย" มากกว่าคำว่า "เครียด" เพราะผู้ป่วยจะไม่ต่อต้านมากนักว่าหมอสรุปสาเหตุความเจ็บป่วยไปแล้ว).
ผู้ ป่วยเริ่มเล่าและวิเคราะห์สถานการณ์ของตนเอง โดยคิดเหมือนกันว่าอาการต่างๆอาจเป็นเพราะเครียดจากงาน เนื่องจากสังเกตว่าอาการมึนศีรษะมักเป็นระหว่างหรือหลังการทำงาน แต่ถ้าได้พักผ่อนมักจะดีขึ้น ตื่นนอนตอนเช้าจะไม่มีอาการ แต่พอเริ่มทำงาน หรือหลังทำงานเสร็จมักจะมีอาการ ช่วงวันเสาร์อาทิตย์ หรือวันพักผ่อนมักจะไม่มีอาการ บวกกับเมื่อเกิดความเจ็บป่วยขึ้นจากที่แข็งแรงดีมาตลอด จึงเกิดความ กลัวว่าจะเป็นอันตรายร้ายแรง กลัวมากจนกระทั่งนอนไม่หลับ ทำให้ร่างกายแย่ลงไปอีก (ผู้ป่วยค่อยๆลำดับเหตุการณ์ ความคิด และพยานหลักฐานในความคิดนั้นๆออกมาเอง เป็นการบอกเล่าให้หมอและตนเองฟังด้วย ซึ่งจะดีกว่าการที่หมอพยายามบีบบังคับให้เขาเชื่อว่าเขาเป็นโรคเครียด).

แหล่งที่มา : blog.eduzones.com

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

อัพเดทล่าสุด