อาการคนท้อง4เดือน อาการคนท้อง1 สัปดาห์ อาการคนท้องช่วง 1 เดือนแรก


3,058 ผู้ชม


อาการคนท้อง4เดือน อาการคนท้อง1 สัปดาห์ อาการคนท้องช่วง 1 เดือนแรก

 

เดือนที่ 4

การเจริญและการพัฒนาของทารก

ผิวหนังเด็กจะมีสีชมพูและใส ขนคิ้วและขนตาเริ่มงอก เริ่มมีการสร้างหูชั้นนอก หน้าตามีการพัฒนาเพิ่มขึ้น คอยาวขึ้นทำให้หน้าและลำตัวแยกจากกัน ศีรษะจะมีขนาดเล็กลงประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัว

เด็กทารกวัยนี้จะสามารถลืมตา กลืนน้ำ มีการนอน ตื่น การเคลื่อนไหว แตะ คุณแม่จะรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวนี้ได้เรียก quickening ให้จดวันที่เด็กเริ่มเคลื่อนไหวไว้ให้แพทย์ประกอบการพิจารณาวันกำหนดคลอด

ระยะนี้เด็กจะมีขนาดยาว 8-10 นิ้ว

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้ตั้งครรภ์

เมื่อไปผากครรภ์แพทย์จะวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก ตรวจปัสสาวะ วัดอัตราการเต้นของหัวใจ วัดขนาดของมดลูก วัดความยาวของมดลูก ซึ่งจะต้องตรวจทุกครั้งที่ผู้ป่วยมาฝากครรภ์

เดือนที่4

อาการโดยทั่วไปของคนท้องจะดีขึ้นเช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการปัสสาวะบ่อย คัดเต้านม อาการต่างๆเหล่านี้จะลดลง แต่มีอาการที่คงอยู่เช่น แน่นท้อง ท้องผูก ปวดศีรษะ นอกจากนั้นยังมีอาการที่เกิดขึ้นใหม่ เช่นคัดจมูก เลือดกำเดาไหล หูอื้อ เลือดออกตามไรฟัน หลังเท้าบวมเล็กน้อย เส้นเลือดขอดที่ขา อาจจะมีริดสีดวงทวาร ตกขาว ในระยะนี้สมควรที่จะชุดคลุมท้องและเตรียกยกทรงหากเต้านมมีขนาดเพิ่มขึ้น แพทย์จะเริ่มได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจเด็ก 

ระยะนี้คุณแม่จะหิวบ่อยขึ้น แนะนำให้รับประทานอาหารบ่อยขึ้น แต่ไม่แนะนำให้รับประทานปริมาณอาหารเพิ่ม อาจจะบ่อยเพิ่มเป็นสองเท่า และควรจะรับประทานอาหารที่มีคุณค่าต่อแม่และลูก หากเป็นไปได้ให้จดชนิดและปริมาณอาหารที่รับประทานเพื่อเปรียบเทียบกับอาหารมาตรฐานหรือนำไปปรึกาแพทย์ อารมณ์ช่วงนี้ยังผันผวน เสื้อผ้าเดิมเริ่มคับ หลงลืมบ่อย

น้ำหนักคุณแม่เริ่มเพิ่มขึ้น

ในระยะแรกของการตั้งครรภ์น้ำหนักอาจจะไม่เพิ่มเนื่องจากมีอาการแพ้ท้อง แต่เมื่อย่างเข้าระยะนี้น้ำหนักควรจะเพิ่มสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม แต่ระยะใกล้คลอดน้ำหนักอาจจะไม่เพิ่มหรือลดลงซึ่งเป็นเรื่องปกติ คนปกติเมื่อตั้งครรภ์ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 10-17 กิโลกรัม สำหรับครรภ์แผดอาจจะเพิ่มประมาณ 17 -20 กิโลกรัม โดยเป็นน้ำหนักทารก 3-4 กิโลกรัม น้ำหนักรกและน้ำคล่ำ 1.5-3 กิโลกรัม ไขมัน น้ำ และเลือดประมาณ 7-8 กิโลกรัม

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับพ่อบ้าน

เริ่มกังวลกับภาระรายจ่าย และกังวลเกี่ยวกับการเลี้ยงดู เริ่มเก็บเงินได้แล้วครับ เตรียมตัวศึกษาวิธีการเลี้ยงเด็กได้แล้ว คุณแม่เล่าเรื่องที่ไปตรวจครรภ์ให้พ่อบ้านฟัง รวมทั้งนำเอกสารต่างให้พ่อบ้านดู และชวนพ่อบ้านให้เข้าร่วมฟังการแนะนำที่โรงพยาบาลจัดขึ้น เพื่อพ่อบ้านจะได้เรียนรู้การช่วยเหลือ การดูแลเด็ก บทบาทของพ่อบ้านช่วงนี้ได้แก่

  • หากสูบบุหรี่ต้องงดบุหรี่โดยเด็ดขาดทั้งคุณแม่และพ่อบ้าน
  • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพทั้งคู่ ไม่รับประทานอาหารจานด่วน
  • ช่วยงานบ้าน งานครัว
  • วางแผนซื้อของใช้
  • วางแผนการใช้จ่าเงิน

การตรวจร่างกาย

หากคุณแม่ไปฝากครรภ์แพทย์จะตรวจอะไรบ้าง

  • ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือดเพื่อว่าเป็นเบาหวานหรือไม่
  • ตรวจวัดระดับความดันโลหิต
  • ตรวจหน้าท้องว่ามดลูกมีการเติบโตตามระยะหรือไม่
  • ชั่งน้ำหนัก
  • การตรวจน้ำคล่ำจะทำเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี


แหล่งที่มา : siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด