การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การปฐมพยาบาลเด็กปฐมวัย การปฐมพยาบาลเด็กเบื้องต้น แมลงกัดต่อย


3,683 ผู้ชม


การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การปฐมพยาบาลเด็กปฐมวัย การปฐมพยาบาลเด็กเบื้องต้น แมลงกัดต่อย

ปฐมพยาบาลเด็กหมดสติ

การช่วยเหลือเด็กหมดสติ ไม่หายใจและชีพจรคลำไม่ได้
อาการของเด็กที่ต้องการการช่วยหายใจและกระตุ้นหัวใจ คือ มีอาการหมดสติ ไม่ตอบสนองและ
1.ไม่หายใจ 2. คลำชีพจรไม่ได้ 3. ซีดหรือเขียว
ตรวจสอบเด็กที่สงสัยว่าอยู่ในภาวะต้องการช่วยหายใจและกระตุ้นหัวใจ ด้วยการมอง คลำ สัมผัส ห้ามเขย่าแรง ๆ
เรียกผู้อยู่ข้างเคียงให้มาช่วยเหลือ และให้ผู้ช่วยโทรขอความช่วยเหลือฉุกเฉินที่ 1669
เปิดทางเดินหายใจ ให้เด็กนอนราบ กดหน้าผากลงและเชยคางขึ้นเบา ๆ
4.ตรวจการหายใจในเวลา 3 - 5 วินาที โดย
- มองหน้าอกหรือท้องว่ามีการเคลื่อนไหวหรือไม่
- ฟังดูว่ามีเสียงหายใจหรือไม่
- สัมผัส โดยแนบใบหน้าไปใกล้จมูกและปากของเด็กเพื่อสัมผัสลมหายใจ

เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
5. ช่วยการหายใจ เมื่อเด็กไม่หายใจ
ให้ประกบปากของผู้ช่วยเหลือครอบจมูกและปากเด็กและเป่าลมหายใจออก 2 ครั้ง โดยให้แต่ละครั้งยาว 1-2 วินาที และสังเกตว่า
หน้าอกของเด็กขยายตามการเป่าลมหรือไม่ ถ้าหน้าอกไม่ขยายและสงสัยว่าการอุดตันทางเดินหายใจที่อาจเป็นสาเหตุของการ หมดสติได้ ให้ทำการช่วยเหลือเพื่อเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจโดยวิธีสำหรับเด็ก ทารก

6. คลำชีพจร บริเวณต้นแขนด้านในครึ่งทางระหว่างข้อศอกและหัวไหล่
- ถ้าเด็กไม่หายใจแต่มีชีพจร ให้ทำการเป่าปากต่อเพียงอย่างเดียว โดยทำ 20 ครั้งต่อนาที หรือ เป่าปาก 1 ครั้งต่อ 3 วินาที
- ถ้าเด็กไม่หายใจและไม่มีชีพจรให้ทำการกระตุ้นการเต้นของหัวใจ

7. กระตุ้นการเต้นของหัวใจ
- หาตำแหน่งของการกดหน้าอกเพื่อกระตุ้นหัวใจได้โดยลากเส้นสมมติ ระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง
- ตำแหน่งที่จะกดคือ บนกระดูกหน้าอก ใต้ต่อเส้นสมมติที่ลากระหว่างหัวนมทั้งสองข้างลงมา 1ความกว้างของนิ้วมือจริง
- กดโดยใช้นิ้วสองนิ้ว กดลึกให้กระดูกหน้าอกยุบลงประมาณ 1-1.5 นิ้ว ความถี่ของการกดคือกดหน้าอก 5 ครั้งสลับกับการให้ผู้ช่วยระบบหายใจเป่าปาก 1 ครั้ง

8. ตรวจการหายใจและชีพจรซ้ำ
ทุกนาที
เด็กอายุมากกว่า 1 ปี
5. ช่วยการหายใจ เมื่อเด็กไม่หายใจ
ให้ประกบปากของผู้ช่วยเหลือบนปากเด็กและเป่าลมหายใจออก 2 ครั้ง โดยให้แต่ละครั้งยาว 1-2 วินาที และสังเกตว่าหน้าอกของเด็กขยายตามการเป่าลมหรือไม่ ถ้าหน้าอกไม่ขยายและสงสัยว่าการอุดตันทางเดินหายใจอาจเป็นสาเหตุของการหมด สติได้ให้ทำการช่วยเหลือเพื่อเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจโดยวิธี สำหรับเด็กอายุมากกว่า 1 ปี

6. คลำชีพจร บริเวณต้นคอ
- ถ้าเด็กไม่หายใจแต่มีชีพจร ให้ทำการเป่าปากต่อเพียงอย่างเดียว โดยทำ 20 ครั้งต่อนาที หรือ เป่าปาก 1 ครั้งต่อ 3 วินาที
- ถ้าเด็กไม่หายใจและไม่มีชีพจร ให้ทำการกระตุ้นการเต้นของหัวใจ

7. กระตุ้นการเต้นของหัวใจ
- หาตำแหน่งของการกดหน้าอกเพื่อกระตุ้นหัวใจได้โดยลากนิ้วตามขอบชายโครงข้างใด ข้างหนึ่งจนถึงกึ่งกลางซึ่งชายโครงทั้งสองข้างมาชนกันเรียกว่าจุดปลาย ล่างกระดูกหน้าอก
- ตำแหน่งที่จะกดคือ บนกระดูกหน้าอกเหนือต่อจุดปลายล่างกระดูกหน้าอก 1 ความกว้างของนิ้วมือจริง
- กดโดยใช้ส้นมือ กดลึกให้กระดูกหน้าอกยุบลงประมาณ 1-1.5 นิ้ว
ความถี่ของการกดคือกดหน้าอก 5 ครั้งสลับกับการให้ผู้ช่วยระบบหายใจเป่าปาก 1 ครั้ง

8. ตรวจการหายใจและชีพจรซ้ำ
ทุกนาที
การช่วยเหลือเด็กมีสิ่งแปลกปลอมอุดตันทางเดินหายใจ
อาการของเด็กที่มีสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ
1. ไอติดต่อกันเป็นชุด ๆ
2. หายใจลำบาก
3. เสียงแหบ
4. เขียว
5. หมดสติ
เรียกผู้อยู่ข้างเคียงให้มาช่วยเหลือ และให้ผู้ช่วยโทรขอความช่วยเหลือฉุกเฉินที่ 1669
เด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี
1. จับเด็กทารกให้คว่ำหน้า
ลำตัวคร่อมไปตามท่อนแขนของผู้ช่วยเหลือ ให้ตำแหน่งศีรษะคงที่โดยจับให้แน่นที่ส่วนคางของทารก วางแขนที่มีทารกคร่อม
อยู่ลงไปที่ต้นขาของผู้ช่วยเหลือโดยให้ศีรษะของทารกอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าลำตัว
2. ใช้ส่วนที่เป็นสันมือตบค่อน
ข้างแรง 5 ครั้ง ตรงด้านหลังของทรวงอกบริเวณระหว่างกระดูกสะบักทั้ง 2 ข้าง
3. หลังจากตบหลังเด็กแล้ว
พลิกเด็กจากท่านอนคว่ำเป็นท่านอนหงายบนท่อนแขนอีกข้าง
หนึ่งซึ่งใช้ตบหลังเด็กทารกโดยวางแขนข้างนี้ไว้บนต้นขาของผู้ช่วยเหลือและคง ให้ระดับศีรษะของเด็กอยู่ต่ำกว่าระดับลำตัว

4. ใช้นิ้วมือ 2 ข้าง (นิ้วชี้และนิ้วกลาง) กดแบบกระแทกลงบน
ตำแหน่งเดียวกับการกดหัวใจจากภายนอก คือกดกระแทกลงบนกระดูกยอดอกที่ตำแหน่ง 1 นิ้วมือต่ำกว่าเส้นที่ลากเชื่อมระหว่างหัวนมซ้ายและขวา กดกระแทกแบบเดียวกัน 5 ครั้งติดต่อกัน
5. ทำซ้ำจนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา
6. หากเด็กหมดสติให้ทำการประเมินการหายใจ การเต้นของ
ชีพจร และให้การช่วยเหลือการหายใจสลับกับการเคาะหลังและกดหน้าอก
เด็กอายุมากกว่า 1 ปี
1. กระตุ้นให้เด็กไอเอง
2. ถ้าเด็กไม่สามารถพูด
หรือมีอาการหนักอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หายใจลำบาก ซีดเขียว ให้ทำการกดท้อง โดยผู้ช่วยยืนด้านหลังเด็กแล้วอ้อมแขนมาด้านหน้า กำมือเป็นกำปั้นและวางกำปั้นด้านข้าง (ด้านหัวแม่มือ) บนกึ่งกลางหน้าท้องเหนือต่อสะดือเด็ก กดโดยให้แรงมีทิศทางเข้าด้านในและ
เฉียงขึ้นบน

3. กดซ้ำจนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา
4. หากเด็กหมดสติ ให้ทำการประเมินการหายใจ การเต้นของชีพจร และให้การช่วยเหลือการหายใจสลับกับการกดท้อง
5. การกดท้องใน เด็กหมดสติทำโดยให้เด็กอยู่ในท่านอนราบผู้ช่วยนั่งคร่อมตัวเด็ก วางส้นมือบนท้องเด็กตำแหน่งสูงกว่าสะดือเด็ก กดในทิศทางเข้าด้านในและเฉียงขึ้น กด 5 ครั้งแล้วเปิดปากสำรวจดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาหรือไม่ กึ่งกลางท้องเด็ก


อ้างอิง ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

แหล่งที่มา : csip.org


อัพเดทล่าสุด