สะอึกเกิดจากอะไร ทำยังไงให้หายสะอึก รักษาอาการสะอึก


2,332 ผู้ชม


สะอึกเกิดจากอะไร ทำยังไงให้หายสะอึก รักษาอาการสะอึก


กลไกการสะอึก

  1. ขณะที่หายใจเข้า กะบังลมที่อยู่ตอนล่างของช่องอกจะเคลื่อนลงล่าง ทำให้ปอดขยายตัว และดึงดูดให้อากาศเข้าปอด
  2. กะบังลมเกิดการกระตุก ทำให้ลมหายใจตีกลับขึ้นข้างบน ขณะที่ลิ้นกล่องเสียงปิด ตัดกระแสลม ทำให้เกิดเสียงสะอึกขึ้น
  3. ในที่สุดลิ้นกล่องเสียงเปิด กะบังลมคลายตัว และลมหายใจออกจากปอด
  4. แม้ว่ากลไกการเกิดการสะอึก ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาการนี้อาจจะเป็นการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติชนิดหนึ่ง โดยศูนย์กลางของการสะอึกจะอยู่บริเวณก้านสมองบริเวณเมดัลลา แล้วเชื่อมระบบประสาทต่อกับระบบทางเดินอาหารส่วนต้นด้วยเส้นประสาทเวกัสและเส้นประสาทฟรีนิก

ลักษณะอาการ

สำหรับลักษณะอาการอาจแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

  1. อาการสะอึกช่วงสั้นๆ อาจเพียง 2-3 นาที
  2. สะอึกหลายๆ วันติดกัน
  3. สะอึกติดๆ กันหลายสัปดาห์
  4. สะอึกตลอดเวลา

การสะอึกติดต่อกันหลายๆ วัน เป็นอาการที่ไม่ธรรมดา เนื่องจากมีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆ เช่นความผิดปกติทางสมองการเป็นอัมพาตการเป็นโรคทางเดินอาหาร การอักเสบในช่องท้องบริเวณกะบังลม โรคหลอดเลือดสมองตีบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบพิษสุราเรื้อรัง รวมถึงอาการทางภาวะจิตใจ และผลกระทบจากการใช้ยาบางชนิด

ส่วนมากผู้ป่วยที่มาหาพบแพทย์ด้วยการสะอึกเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน เนื่องมาจากมีอาการผิดปกติทางสมอง หรือเป็นอัมพาต ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถให้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการสะอึกได้ แต่ก็อาจมีการสะอึกเกิดขึ้นมาอีก เพราะอาการสะอึกเป็นเพราะต่อเนื่องที่เกิดจากการเจ็บป่วย

เส้นประสาทเวกัส vagus nerve

เส้นประสาทเวกัส หรือเส้นประสาทสมองเส้นที่ 10 เลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนใหญ่ของกล่องเสียง และคอหอย ให้เส้นประสาทพาราซิมพาเทติกไปยังอวัยวะในช่องอก และช่องท้องเกือบทั้งหมดไปจนถึงส่วนโค้งของลำไส้ใหญ่ใต้ม้าม และรับความรู้สึกพิเศษเกี่ยวกับรสชาติจากฝาปิดกล่องเสียง หน้าที่หลัก คือ ควบคุมกล้ามเนื้อในการออกเสียง อาการหากเส้นประสาทนี้เสียไป คือ การกลืนลำบาก เส้นประสาทเวกัสส่วนใหญ่เป็นประสาทพาราซิมพาเธติค เลี้ยงกล้ามเนื้อเรียบของหลอดอาหาร กระเพาะ อาหาร ลำไส้ จนถึงส่วนทอดขวางของลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน หัวใจ ปอด รวมทั้ง ต่อมต่างๆ ของทางเดินลำไส้ใหญ่ด้วย และมีประสาทรับความรู้สึกรับความรู้สึกจากอวัยวะต่างๆ เหล่านี้ด้วย

เส้นประสาทฟรีนิก phrenic nerve

กล้ามเนื้อกระบังลมเป็นส่วนที่แยกช่องอกออกจากช่องท้อง เส้นประสาทที่เลี้ยงมาจากไขสันหลังระดับ C3-C5 ซึ่งรวมกันเรียกว่าเส้นประสาทฟรีนิก การหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อกระบังลม ทำให้ส่วนโดมของกระบังลมถูกดึงลงมา และกระดูกซี่โครงเคลื่อนขึ้นและขยายตัวออก ทำให้เพิ่มปริมาตรของช่องทรวงอก กล้ามเนื้อกระบังลมถือเป็นกล้ามเนื้อหลักสำหรับการหายใจ

สาเหตุของอาการสะอึก

  1. สำหรับสาเหตุเชื่อกันว่าเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกิน เร็วเกินไป บางคนอาจจะมีความตึงเครียดมากไป บางคนอาจเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มประเภทมีแอลกอฮอล์ในกระเพาะอาหาร หรือสูบบุหรี่มากเกินไป นอกจากนี้การบริโภคอาหารที่ทำให้มีก๊าซมากก็อาจเป็นสาเหตุของการสะอึกได้
  2. สาเหตุของการสะอึกอาจเกิดจากมีอะไรไปรบกวนประสาทที่ควบคุมการทำงานของกะบังลม ลมในกระเพาะอาหารขยายตัวไปกระตุ้นปลายประสาทที่มาเลี้ยวกะบังลม หรืออวัยวะใกล้กะบังลมเป็นโรคบางอย่าง เช่น เยื่อหุ้มปอดอักเสบ มูลเหตุเหล่านี้ทำให้ กะบังลมหดตัวอย่างรุนแรงทันทีทันใด การบีบรัดตัวของกะบังลมทำให้แผ่นเหนือกล่องเสียงที่คอหอยซึ่งปกติคอยกั้นไม่ให้อาหารเข้าไปในหลอดลมปิดลง เมื่อกะบังลมหดอย่างรุนแรงก็จะดึงอากาศเข้าสู่ปอดผ่านคอหอย อากาศจึงกระทบกับแผ่นปิด แล้วทำให้สายเสียงสั่นสะเทือน จึงเกิดเสียงสะอึก อย่างที่ได้ยินเวลาสะอึก
  3. อาการสะอึกเกิดได้กับคนทุกคน สาเหตุเป็นเพราะกระเพาะอาหารเกิดการระคายเคือง จึงได้ไปกระคุ้นให้เส้นประสาทในบริเวณนี้ทำงานผิดปกติ ชักนำให้กล้ามเนื้อกะบังลม กล้ามเนื้อที่กั้นกลางระหว่างช่องอกกับช่องท้อง มีการหดเกร็งตัวเป็นจังหวะๆ และกล้ามเนื้อซี่โครงก็ได้รับผลกระเทือนให้เกิดจากหดเกร็งตัวในลักษณะเดียวกัน อย่างไรก็ตาม สาเหตุก็ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการระคายเคืองที่กระเพาะอาหารเสมอไป บางครั้งก็อาจก่อตัวที่ศูนย์การสะอึกที่อยู่ในสมองที่บังคับควบคุมให้เกิดการเคลื่อนไหวผิดปกติของกะบังลม จนเกิดเป็นอาการสะอึก
  4. นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุจากความผิดปกติในบริเวณคอ และหน้าอก เช่น ก้อนเนื้องอก ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น หรือเกิดจากโรคในช่องท้อง เช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ไตวาย หรือภายหลังการผ่าตัดช่องท้อง เป็นต้น หรือบางครั้งก็อาจเกิดจากสาเหตุทางด้านอารมณ์ เช่น ความรู้สึกช็อก ความเครียดเรื้อรัง เป็นต้น
  5. สาเหตุอาจเกิดจากยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่ม beta-lactams, macrolides, fluoroquinolone หรือแอลกอฮอล์


การรักษา

  1. ในแง่ของการรักษาอาการสะอึกนั้น ถ้าสะอึกเป็นเวลาสั้นๆ ไม่นานแต่เป็นหลายครั้ง ท่านอาจต้องสังเกตกิจวัตรประจำวัน การรับประทานอาหารดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือการสูบบุหรี่ว่ามีความสัมพันธ์กับการสะอึกหรือไม่ ถ้าสัมพันธ์กัน ท่านก็ควรที่จะปรับปรุงสิ่งเหล่านั้น หากสะอึกอยู่เป็นเวลานานๆ ท่านควรไปพบแพทย์จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
  2. สำหรับเทคนิคการหยุดอาการสะอึกมีหลายแบบ ล้วนแล้วแต่มีบันทึกไว้ในตำราทางการแพทย์ ซึ่งไม่มีความแน่ชัดในการหวังผลจากการรักษาด้วยวิธีต่างๆ
  3. ถ้าไม่ดีขึ้น อาจจะต้องพบแพทย์เพื่อใช้ยาบางตัวช่วย เช่น Lagactil, Baclofen หรือกลุ่มยาช่วยย่อย เช่น Cisapride, Omperazole เป็นต้น
  4. ถ้าใช้ยาแล้วยังไม่ดีขึ้น อาจจะต้องพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุโรคอย่างอื่นร่วมด้วย แล้วแก้ไขตามสาเหตุ หรือทำการผ่าตัดทางศัลยกรรมประสาท
  5. การฝังเข็ม การสวดมนต์ทำสมาธิ การใส่สายเข้าไปในกระเพาะอาหารเพื่อดูดเอาลม และน้ำย่อยออก
  6. ในการแก้ไขจะต้องค้นให้พบสาเหตุของการสะอึกเสียก่อน ถ้ามีโรคที่ซ่อนเร้นอยู่ แพทย์ก็จะให้การรักษาเพื่อแก้ไขอาการสะอึกควบคู่กับการแก้ไขโรคที่เป็นต้นเหตุ ในกรณีที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน ก็มักจะเกิดจากความผิดปกติในกระเพาะอาหาร เช่น การกินอิ่มเกินไป การกินอาหารเผ็ดจัด การดื่มเหล้า การกินอาหารที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด ก็อาจชักนำให้เกิดอาการสะอึกได้
  7. ถ้าทราบว่าเกิดจากสาเหตุใด สาเหตุหนึ่งดังกล่าว แล้วหาทางหลีกเลี่ยงเสีย ก็จะช่วยป้องกันมิให้เกิดอาการกำเริบขึ้นได้อีก แต่ถ้าหากอาการสะอึกเป็นอยู่นาน จนทำให้รู้สึกเหนื่อยอ่อนและตึงเครียด ก็ควรจะไปปรึกษาแพทย์


แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด