โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา


3,549 ผู้ชม


โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา

             โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

Heart attack หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน| โรคหลอดเลือดแข็ง| หัวใจวาย

โรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบ

หัวใจของเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ และมีเส้นเลือดชื่อ Coronary artery นำเอาเลือดและออกซิเจนมาสู่หัวใจ หากมีลิ่มเลือดมาอุดเส้นเลือด จะทำให้หัวใจขาดเลือด และออกซิเจนซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย

โรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือที่เรียกว่า Coronary artery disease เป็นโรคหัวใจที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นของประเทศที่เจริญแล้ว และประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย

อุบัติการณ์

เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ

เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีเส้นใหญ่ 2 เส้นคือ

  1. Rigrt coronary artery
  2. Left main coronary artery ซึ่งจะแตกออกเป็นสองแขนงได้แก่
  • Left anterior ascending
  • circumflex artery

Acute Coronary Syndrome

โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตของการเสียชีวิตของประเทศที่ เจริญแล้ว และประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการและอาการแสดงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีได้หลายลักษณะได้แก่

  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใขาดเลือดโดยที่ไม่มีอาการเรียก Silent ischemia
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อออกกำลังกาย เรียก Stable angina
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกแบบ Unstable angina
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด Myocardial infarction
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มาด้วยเรื่องหัวใจวาย Congestive heart failure
  • กลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตเฉียบพลัน Sudden cardiac death

Acute Coronary Syndrome เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เฉียบพลัน แต่เดิมนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 3กลุ่มใหญ่คือ

กลไกการเกิดโรค

ชนิดของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

fbgoogle

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ภาพแสดงผนังหลอดเลือดที่มีคราบไขมันเกาะทำให้รู้หลอดเลือดแคบลง

การที่คนเกิดปัจจัยเสี่ยงหลายๆอย่างจะทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดตีบเร็วขึ้น

การควบคุมปัจจัยเสี่ยงควรจะเริ่มทำเมื่อไร

คนทั่วไปจะเคยชินกับวิถีชีวิตไม่คำนึงถึงผลเสียที่อาจจะเกิด ขึ้นในอนาคต ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย ผู้ที่สูบบุหรี่ก็พยายามหาคำตอบเพื่อให้เขาเหล่านั้นไม่ต้องปรับพฤติกรรม แต่หากเวลาผ่านไปคราบไขมันมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกระทั่งเกิดอาการก็จะทำให้การ รักษาลำบากยิ่งขึ้น

มีการศึกษาเด็กที่เสียชีวิตจากอุบัติเหต พบว่าเริ่มมีคราบไขมันเกาะตามผนังหลดเลือดตั้งแต่เด็ก แสดงว่ากระบวนการของการเกิดโรคหลอดเลือดตีบเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็ก และจากสถิติพบว่าแต่ละประเทศมีเด็กอ้วนในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมๆกับการที่เด็กมีเวลาออกกำลังกายลดลง และรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ

ดังนั้นเราควรจะรณรงค์เรื่องอาหาร การออกกำลังในเด็ก และโรคอ้วนในเด็กเพื่อที่อนาคตโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะได้ลดลง

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบ

ปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด

  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะพบมากในผู้ที่ออกกำลัง กายอย่างหนักมากกว่าที่เคยออก พบว่าจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น6 เท่าสำหรับผู้ที่ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และเพิ่มขึ้น 30 เท่าในผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
  • ความเครียดทางอารมณ์
  • โรคติดเชื้อ เช่นปอดบวม
  • ช่วงเช้าประมาณ 9 เชื่อว่าช่วงนี้เกร็ดเลือดจะเกาะกันง่าย

การป้องกัน

หากท่านเป็นโรคหัวใจจะทำให้คุณภาพชีวิตลดลงดังนั้นท่านควรจะป้องกันมิให้เป็นโรคหัวใจ วิธีการง่ายดังนี้

การรักษา

  • การรักษาเพื่อป้องกันหลอดเลือดตีบ อ่านที่นี่
  • การรักษาโดยยา
    • ยาลดไขมันยาที่ใช้ได้แก่ Statin,fibrate,niacine เป็นยาที่ลดระดับไขมันเลือด
    • Aspirin เป็นยาที่ป้องกันเกร็ดเลือดมาเกาะที่ผนังหลอดเลือดเพื่อป้องกันหลอดเลือดแข็ง
    • ยากลุ่ม Beta block ยาในกลุ่มนี้จะลดการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจจะลดอัตราการเสียชีวิต
    • Nitroglycerine ยานี้จะขยายหลอดเลือดหัวใจช่วยลดอาการเจ็บหน้าอก
    • ยาต้านแคลเซียม Calcium channel blocking agent ยานี้จะขยายหลอดเลือดหัวใจ
    • กลุ่มยา ต่างๆที่ช่วยรักษา เช่น ยาต้านอนุมูลอิสระ โฟลิกเป็นต้น
  • การผ่าตัดเพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงได้แก่
    • การทำบอลลลูนหลอดเลือด เมื่อเกิดอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ หากเป็นมากหรือรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล แพทย์จะฉีดสีเพื่อตรวจว่าหลอดเลือดตีบมากน้อยแค่ไหน หากตีบมากหรือตีบเส้นใหญ่แพทย์จะทำบอลลูน โดยการใช้มีดกรีดเป็นแผลเล็กๆ แล้วสอดสายเข้าหลอดเลือดแดง และแยงสายเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ เมื่อถึงตำแหน่งที่ตีบก็บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ
    • การผ่าตัด bypass โดยการใช้เส้นเลือดดำที่เท้าแทนเส้นเลือดหัวใจที่ตีบ
    • Anthrectomy คือการผ่าตัดเอาคราบไขมันที่ผนังหลอดเลือดออก

Heart attack | กลุ่มโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ | อาการเจ็บหน้าอก | ความเสี่ยงของการเกิดโรค | การตรวจพิเศษโรคหัวใจ | การตรวจเลือด | การเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าหัวใจ | การรักษา | ยาต้านเกร็ดเลือด | ยาละลายลิ่มเลือด | ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ | ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต

ข่าวเกี่ยวกับโรคหัวใจ

  • การรับประทานแคลเซียมอาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น อ่านที่นี่
  • การรับประทานยาแก้ปวดจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกดโรคหัวใจ อ่านที่นี่

               Link      https://www.siamhealth.net

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


             โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ถ้าอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์จะพบว่าผู้มีชื่อเสียง ดารา เสียชีวิตจากโรคหัวใจไม่เว้นแต่ละวัน โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด เนื่องจากชีวิตความเป็นอยู่เช่นการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ทำให้โรคนี้พบมากขึ้น โรคหัวใจเป็นโรคใกล้ตัว คุณอาจเป็นคนหนึ่งที่เสี่ยง และเป็นโรคหัวใจหากคุณตั้งอยู่บนความประมาท ขอเชิญชวนท่านผู้อ่านร่วมกันทำบุญโดยคุณอ่านบทความนี้จนจบ โปรดแนะนำญาติ คนใกล้ชิด หรือคนรู้จักให้รู้ถึงปัจจัยเสี่ยง วิธีป้องกันความเสี่ยง รวมทั้งอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

หากท่านผู้อ่านสามารถให้ความรู้และป้องกันการเสียชีวิตได้หนึ่งรายจะทำญาติให้ผู้ป่วยมีความสุขมากน้อยแค่ไหน เนื้อหาที่จะกล่าวจะแบ่งเป็นส่วนๆดังนี้

โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นโรคที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเนื่องจากมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดไป เลี้ยงหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายอาจจะเกิดหัวใจวายหรือหัวใจเต้นผิดปกติ

กลไกการเกิดโรค

กลไกการเกิดโรค กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดของ Unstable Angina หรือ Non STMI จะเป็นแบบหลอดเลือดค่อยๆตีบ ส่วนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเกิดจากลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด อ่านที่นี่

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

อาการเจ็บหน้าอกจะเป็นอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หากกล้ามเนื้อหัวใจตายจะมีอาการเจ็บหน้าอกขณะพัก เจ็บนาน เจ็บมากจนเหงื่อตก อ่านที่นี่

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้หลอดเลือดแดงตีบ จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อ่านที่นี่

วินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดต้องอาศัยประวัติการเจ็บปวย การตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจเลือด อ่านที่นี่

ความรุนแรงกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

หากหลอดตีบไม่ มากจะมีเพียงอาการเจ็บหน้าอก หากขาดเลือดมากจะมีอาการกล้ามเนื้อขาดเลือดแบบ Non ST Elevate MI หากมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดจะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบ ST Elevate MI อ่านที่นี่

การรักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การรักษาโรค กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะต้องทำให้เลือดกลับไปเลี้ยงหัวใจให้เร็วที่สุด ซึ่งอาจจะให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือการใช้สายสวนหัวใจ อ่านที่นี่

โรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

โรคแทรกซ้อน ของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากการเต้นของหัวใจผิดปรกติ หรือเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจวาย หรือเกิดจากลิ้นหัวใจรั่วเฉียบพลัน อ่านที่นี่

ป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การป้องกันโรคหัวใจแบ่งเป็นสองแบบคือปฐมภูมิ และทุติยภูมิคือการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ หลังจากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปแล้ว อ่านที่นี่


              Link    https://www.siamhealth.net

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                   โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา

หัวใจโต (enlarged heart)หมายถึง ขนาดของหัวใจที่ตรวจพบว่าโตขึ้น โดยเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาเนื่องจากโรคอื่นๆ หลายชนิด ขนาดหัวใจที่โตกว่าปกตินั้น อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ หัวใจโตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือ ขนาดของหัวใจโตขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งค้างในห้องหัวใจมาก ทำให้ขนาดของหัวใจโตขึ้น


สาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้หัวใจโตมีหลายประการ ได้แก่

  1. ความดันโลหิตสูง ขณะ ที่หัวใจสูบฉีดโลหิตผ่านหลอดเลือดแดงแล้วไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย แรงที่เกิดขึ้นในการทำให้เลือดไหลเวียนอยู่นี้จะมีผลต่อผนังหลอดเลือดแดง ด้วย แรงมากระทำมากผนังหลอดเลือดแดงก็ต้องยืดขยายมากไปด้วย หาก หัวใจสูบฉีดโลหิตด้วยความแรงที่สูงกว่าปกติตลอดเวลา ระบบการไหลเวียนของโลหิตจะตกอยู่ในสภาพที่หลอดเลือดแดงรับบทหนักตลอดเวลา หากไม่ได้รับการรักษาให้ความดันโลหิตที่สูงกลับไปสู่ปกติ

  2. imageโรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ส่วน ใหญ่มักจะเกิดในสภาพสังคมที่ค่อนข้างจะยากจน สาเหตุการเกิดเนื่องจากมีการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินหายใจ หลังจากนั้นเชื้อหรือปฏิกิริยาจากการติดเชื้อก็ลงไปจู่โจมที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ เกิดการทำลายเกิดขึ้นแล้วเกิดลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่วตามมา

  3. โรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ใน ประเทศไทย พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกาย บางครั้งเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุเกิดจากการตีบแคบ หรืออุดตันในหลอดเลือดโคโรนารี่ที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด จึงเกิดอาการต่างๆ เช่น จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแผ่กระจายไปที่แขน ลำคอ ขากรรไกร กราม หากเป็นมากจะอ่อนเพลีย เหงื่อออก เป็นลม จนถึงเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน

  4. โรคเบาหวาน โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยโรคเบาหวานพบความผิดปกติของหลอดเลือดทั่วร่างกาย มาก บ้างน้อยบ้างแล้วแต่ความรุนแรง และความเรื้อรังของโรค นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังมีความผิดปกติของไขมันในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำงานของหัวใจบกพร่องไปเรื่อยๆ

  5. imageโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติชนิดไม่ทราบสาเหตุ เชื่อว่าการเกิดโรคนี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม ลักษณะ สำคัญของโรค พบการหนาตัวผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่เป็นการหนาตัวที่เกิดขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละบริเวณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายและบริเวณผนังกั้นกลาง ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและขวา ทำให้เกิดการอุดกั้นเลือดที่ไหลออกจากหัวใจขณะที่บีบตัว

  6. โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงจะส่งผลโดยตรงต่อความดันโลหิต ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น พบว่าการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจบกพร่องและเป็นไปในลักษณะเรื้อรัง นอก จากนี้สารอะเซตัลดีไฮด์ที่เกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์ ยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระจำนวนมาก สารเหล่านี้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและ เซลล์เนื้อเยื่อปลายทาง ผลที่สำคัญประการหนึ่งเป็นความผิดปกติของไมโตคอนเดรียที่อยู่ในเซลล์กล้าม เนื้อหัวใจ

อาการ

ผู้ป่วยที่ตรวจพบว่าหัวใจโตอาจ ไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด หากจะมีอาการ ก็มักจะเป็นอาการอันเนื่องจากโรคที่เป็นต้นเหตุ และอาการจากภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อยง่าย หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น

ภาวะหัวใจโตไม่ถือเป็นโรค แต่ เป็นภาวะหนึ่งของโรคหัวใจ หมายความว่าโรคหัวใจชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ เมื่อปล่อยให้โรคดำเนินไปมากขึ้นแล้ว จะเกิดภาวะหัวใจโตขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าปล่อยให้หัวใจโตแล้ว จะเป็นสัญญาณเตือนว่าวันข้างหน้าโรคหัวใจเหล่านี้จะทำให้การทำงานของหัวใจ ล้มเหลว เข้าสู่โรคหัวใจระยะสุดท้ายและมีโอกาสเสียชีวิตได้

การวินิจฉัย

imageสามารถให้การวินิจฉัยได้จาก การซักถามประวัติอาการ และการตรวจร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือดโดยละเอียด ซึ่งจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก นอกจากนี้การตรวจร่างกายอาจจะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของหัวใจโตได้เช่นกัน

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและ การถ่ายภาพรังสีทรวงอกช่วยในการวินิจฉัยได้มาก ในกรณีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือผู้ป่วยที่เคยมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะตรวจพบได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ข้อควรระวังคือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ การที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติมิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต ในทางตรงข้ามแม้คลื่นไฟฟ้าหัวใจบอกว่าหัวใจโต แต่จริงๆ แล้วอาจจะไม่โตก็ได้

ภาพรังสีทรวงอกบอก ขนาดของหัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง บ่อยครั้งที่แพทย์อาจพิจารณาสั่งการตรวจพิเศษหลายอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจในการให้ความเห็นและรักษา

imageการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือคลื่นอัลตราซาวน์ บางครั้งเรียกว่าการตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ (echocardiography) ซึ่ง ช่วยให้เห็นห้องหัวใจและสามารถวัดขนาดได้ว่าโตหรือไม่ การตรวจชนิดนี้นังช่วยให้เห็นการทำงานของลิ้นหัวใจ เห็นลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจ และความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ

การรักษา

หลักการรักษาภาวะหัวใจโต เป็น การให้การรักษาตามสาเหตุ เช่น รักษาความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ บางรายอาจได้รับการผ่าตัดลิ้นหัวใจ สำหรับผู้ที่หัวใจวายต้องได้รับการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวให้ดีขึ้น

นอกจากนั้นยังควรให้ความสำคัญกับเรื่องโภชนาการที่ถูกต้องเหมาะสม การออกกำลังกายที่เพียงพอ ควบคุมระดับไขมันในเลือดไม่ให้สูงผิดปกติ อย่าง ไรก็ตาม แม้ว่าการรักษาอย่างเต็มที่แล้ว อาจจะไม่ได้ลดขนาดหัวใจลงให้เห็นได้ชัดเจน แต่การรักษาจะช่วยป้องกันไม่ให้หัวใจโตขึ้นเรื่อยๆ ได้

             Link     https://www.dae.mi.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด