อาหารต้องห้าม เมล็ดทานตะวัน โรคเก๊า ผักที่ต้องห้ามสำหรับคนเป็นโรคเก๊า อาหารต้านโรคเก๊าท์


124,062 ผู้ชม


อาหารต้องห้าม เมล็ดทานตะวัน โรคเก๊า ผักที่ต้องห้ามสำหรับคนเป็นโรคเก๊า อาหารต้านโรคเก๊าท์

           อาหารต้องห้าม เมล็ดทานตะวัน โรคเก๊า

อาหารต้องห้าม..ยามป่วย


         "เคย ได้ยินกันไหมเมื่อเวลาที่ป่วยมักจะมีคนบอกว่าห้ามทานโน่นนะ ห้ามทานนี่นะ แล้วที่ห้ามเนี่ยเป็นเพราะอะไรถึงห้าม และมีโทษอย่างไรเมื่อทานเข้าไป สารพัดอย่างที่อยากรู้ว่าถ้าจะทานเข้าไปจะเป็นอันตรายมากน้อยแค่ไหนกับร่าง กายของเรา หรือมีผลเสียอย่างไรกับระบบภายในจะอันตรายถึงภายนอกหรือเปล่า เราเหล่าคนรักสุขภาพต้องไปหาคำตอบกัน"
    โรคกระเพาะอาหาร  

          ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ชาแก่ ๆ กาแฟ ของเผ็ด ของทอด ของมัน เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดความร้อนสะสม ทำให้โรคหายยาก ทางที่ดีควรจะรับประทานอาหารปริมาณน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย และหลายสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารจนเป็นโรคกระเพาะได้ มีดังนี้ คือ
        การกระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียดวิตกกังวลและอารมณ์
        การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง
        การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามาก
        การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่าง ๆ โดยเฉพาะสารที่ระคายกระเพาะ
   โรคความดันโลหิตสูง  

         ควรหลีกเสี่ยงอาหารมัน อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น หมูสามชั้น ไขกระดูก ไข่ปลา โกโก้ รวมทั้งเหล้า เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดความร้อนชื้นสะสมในร่างกายและความชื้นก็มีผลทำ ให้เกิดความหนืดของการไหลเวียนทุกระบบในร่างกายและความร้อนก็จะไปกระตุ้นทำ ให้ความดันสูง นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด หรืออาหารหวานมาก รวมทั้งผลไม้อย่างลำไย ขนุน ทุเรียน
       ส่วนอาหารที่แนะนำให้ทานคือ

        ผักขึ้นฉ่าย มีสารลดความดันเลือด และลดปริมาณคอเลสเตอรอลด้วย ควรรับประทานขึ้นฉ่ายฝรั่งก้านโต 4 ก้านต่อวัน
        กระเทียมและหอมใหญ่ มีผลทั้งลดความดันและคอเลสเตอรอล ให้กินเพิ่มเติมในอาหาร ถ้ากินกระเทียมเม็ดหรือแคปซูลให้กิน 4,000 ไมโครกรัมต่อวัน
        แตงกวา มะเขือเทศ กะหล่ำปลี มะเขือยาว ขมิ้นชัน ผักโขม บร็อกโคลี มันฝรั่งทั้งเปลือก ปลาทูน่า เมล็ดฟักทอง และเมล็ดทานตะวัน บุคคลทั่วไปต้องการโพแทสเซียมวันละ 2,000 มิลลิกรัม แต่ผู้ที่มีความดันเลือดสูงต้องการถึง 3,500 มิลลิกรัมต่อวัน
   โรคตับและถุงน้ำดี  
         หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารมันเนื้อติดมัน เครื่องในสัตว์ อาหารทอด อาหารหวานจัด เพราะแพทย์จีนถือว่า ตับและถุงน้ำดีมีความสัมพันธ์กับระบบย่อยอาหาร การได้อาหารประเภทดังกล่าวมากเกินไปจะทำให้สมรรถภาพของการย่อยอาหารอ่อนแอลง และเกิดโทษต่อตับและถุงน้ำดีอีกต่อหนึ่ง
      อาหารที่แนะนำให้ทาน

        เห็ดสามอย่าง นำมาต้ม ทานได้ทั้งน้ำ และเนื้อ น้ำจะล้างสารพิษในตับ เนื้อให้โปรตีน
        เม็ดเก๋ากี้ ต้มในน้ำแกงชนิดใดก็ได้ เก๋ากี้มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ บำรุงตับ
        ขมิ้นชันแคปซูล กี่เม็ดก็ได้ ทานก่อนนอน
        ชาแคลลี่ สมุนไพรสกัดจากดอกคามิลเลียทานก่อนนอน
        ถั่วเขียว บำรุงตับ
   โรคหัวใจและโรคไต  
       ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัดเพราะจะทำให้มีการเก็บกักน้ำ การไหลเวียนเลือดจะช้า ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ไตต้องทำงานขับเกลือแร่มากขึ้น ส่วนอาหารรสเผ็ดก็ควรหลีกเลี่ยงเพราะทำให้กระตุ้นการไหลเวียนสูญเสียพลังงาน และหัวใจก็ทำงานหนักขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงอาหารที่มีฟอสเฟสมาก เพราะจะทำให้กระดูกบางผุและหักง่าย ต่อมไทรอยด์จะโต ส่วนอาหารที่มีโพแทสเซียมก็ต้องเลี่ยงเช่นกัน เนื่องจากทำให้หัวใจเต้นเร็ว และอาจเกิดภาวะหัวใจวายตามมา
      อาหารที่แนะนำให้ทาน

        อาหารจำพวกก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น เพราะนอกจากจะมีคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังมีโปรตีนที่เหมาะสมกับร่างกาย
        ผักที่มีสีเขียวเข้ม สีเหลืองเข้ม แตงกวา น้ำเต้า บวบ ฟักเขียว มะเขือยาว ถั่วฝักยาว ผักกาด
   โรคเบาหวาน  
        หลีกเลี่ยงน้ำตาลทุกชนิด รวมทั้งน้ำผึ้งด้วย ขนมหวาน และขนมเชื่อมต่าง ๆ ผลไม้กวน น้ำหวานต่าง ๆ นมรสหวาน รวมทั้งน้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ชา กาแฟ รวมทั้ง เหล้า เบียร์ด้วย ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน องุ่น ลำไย มะม่วงสุก ขนุน ละมุด น้อยหน่า ลิ้นจี่ อ้อย ผลไม้แช่อิ่ม หรือเชื่อมน้ำตาลทั้งหลาย ของขบเคี้ยวทอดกรอบ และอาหารชุบแป้งทอดต่าง ๆ เช่น ปาท่องโก๋ กล้วยแขกทอด ข้าวเม่าทอด
      อาหารที่แนะนำให้ทาน (แต่ต้องจำกัดปริมาณ)

        อาหารพวกแป้ง ข้าว เผือก มัน ถั่วเมล็ด แห้งต่าง ๆ ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน บะหมี่ ขนมปัง มะกะโรนี
        ควรใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดฝ้ายแทน
        อาหารสำเร็จรูป หรืออาหารพิเศษสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เช่น น้ำตาลจากผลไม้
        ผักประเภทหัวที่มีน้ำตาลหรือแป้งมาก เช่น หัวผักกาด ฟักทอง หัวหอม กระเจี๊ยบ ผักตระกูลถั่ว หัวปลี เป็นต้น
        ผลไม้บางอย่าง เช่น ส้ม เงาะ สับปะรด มะละกอ ฝรั่ง กล้วย เป็นต้น
   โรคไฮเปอร์ไทรอยด์  
        งดพวกอาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นสิ่งเร้าอย่างกาแฟ ชา โดยเฉพาะชาเขียว เครื่องดื่ม ชูกำลัง และแอลกอฮอล์ พริกชนิดเผ็ด เพราะพวกนี้ช่วยเพิ่มเมตาโบลิซึ่ม อาจทำให้มีอาการใจสั่นมากขึ้น หายใจติดขัด รู้สึกแน่นเหมือนมีอะไรติดคอ งดพวกหน่อไม้ฝรั่งและสาหร่าย เพราะจะมีสารขับน้ำและของเสียออกจากร่างกาย ทำให้เมตาโบลิซึ่มของร่างกายต้องเพิ่มการทำงาน
      อาหารที่แนะนำให้ทาน

        ควรทานอาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อย เพราะอาหารจากธรรมชาติจะยังคงคุณค่าสารอาหารไว้ได้มากที่สุด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ แป้งไม่ขัดขาว พืชผักผลไม้ในท้องถิ่นตามฤดูกาล (รสไม่หวาน) โดยเฉพาะกล้วยมีสารที่ช่วยลดแล็คติด เอชิด (Lactic Acid) ช่วยลดอาการเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคไทรอยด์ เนื้อปลา ตลอดจนธัญพืชนานาชนิด ทั้งนี้ เพื่อให้ร่างกายสามารถใช้อาหารเป็นยา และใช้ยาเป็นอาหาร อาหารที่มีโปรตีนสูง (โดยเฉพาะจากธัญพืช) วิตามินและเกลือแร่ จากธรรมชาติเพื่อสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
    โรคเกาต์  
        เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง เกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริคในข้อ กรดยูริคมาจากสารพิวรีนพบว่าเป็นในเพศชายมากกว่าในเพศหญิง ผู้ที่เป็นจะมีอาการปวดบวมแดง โดยเฉพาะบริเวณหัวแม่เท้า อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่ เนื้อสัตว์จำพวกเป็ด ไก่ เครื่องในสัตว์ต่าง ๆ เห็ด กระถิน ชะอม ขี้เหล็ก หน่อไม้ ควรจัดอาหารที่มีใยอาหารมากแก่ผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้น้ำหนักลดลง
      อาหารที่แนะนำให้ทาน

        เชอร์รี่สด ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียได้ทำการทดลองในผู้หญิงพบว่าระดับกรดยูริคในเลือดลดลง
        เต้าหู้ถั่วแระญี่ปุ่น น้ำเต้าหู้ และอาหารจาก ถั่วเหลือง คนที่มีอาการโรคเกาต์ควรต้องลดโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แต่ก็ไม่ควรให้ร่างกายขาดโปรตีน ดังนั้นโปรตีนจากถั่วเหลืองน่าจะเป็นทางออกที่ดี งานวิจัยหลายชิ้นพบว่าถั่วเหลืองช่วยลดกรดยูริคได้ ปริมาณที่แนะนำคือทานถั่วเหลืองสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์และสัตว์ปีก
        มะเขือเทศ พริกหวาน และอาหารที่อุดมด้วย วิตามินซี งานวิจัยของมหาวิทยาลัยทัฟต์สในอเมริกาพบว่าผู้ที่ทานอาหารที่ทำจากมะเขือ เทศพริกหวานสีเขียว และผักที่มีวิตามินซีสูงวันละ 2 ถ้วย ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ มีระดับกรดยูริคในเลือดลดลงหลังจากการทดสอบอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้พืชผักสีแดงที่มีสารต้านอนุมูลอิสระไลโคปีนอาจช่วยลดกรดยูริคได้
        น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา อะโวคาโด และอาหารที่อุดมด้วยไขมันไม่อิ่มตัว มีงานวิจัยจำนวนมากพบว่า ไขมันไม่อิ่มตัวที่พบในอาหารเหล่านี้อาจช่วยลดกรดยูริค รวมถึงงานวิจัยในแอฟริกาใต้ที่เปิดเผยว่า เมื่อให้ผู้ป่วยโรคเกาต์ทานไขมันไม่อิ่มตัวแทนไขมันอิ่มตัว พบว่าระดับกรดยูคิคในเลือดของพวกเขาลดลง 17.5 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 16 สัปดาห์ นอกจากนี้ การได้รับแคลอรีเพิ่มขึ้นจากไขมันไม่อิ่มตัว ยังอาจช่วยลดระดับอินซูลินซึ่งช่วยป้องกันโรคเกาต์กำเริบในทางอ้อม

         Link        https://women.thaiza.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 
                 ผักที่ต้องห้ามสำหรับคนเป็นโรคเก๊า

  อาหารที่ควร หรือไม่ควรทาน สำหรับคนเป็นโรคเก๊าต์

มีสาระมาฝากค่ะ สำหรับคนที่ปวดหัวกับโรคเก๊าต์
พบว่าอาหารเองมีส่วนเป็นอย่างมากเลย ที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดของข้อ กระดูก พอดีคนใกล้ชิดเป็นโรคนี้ด้วย ไปเจอในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับอาหารประเภทต่างๆ ที่ควรทานไม่ควรทาน หรือทานได้บ้าง ดังนี้ค่ะ
ทานไม่ได้เลย – มียูริคมาก (กรดยูริคสะสมทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่กระดูก และข้อ)
เป็ด ไก่ เครื่องในสัตว์ มันสมอง ปลาดุก ปลาอินทรีย์ ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีน ไข่ปลา กุ้ง หอย กะปิ เบียร์ ขนมปัง เห็ด กระถิน ชะอม ขี้เหล็ก ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแระ
ทานได้บ้าง- ห้ามเกินวันละ 1 ขีด
หมู วัว ปลากะพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง สะตอ ถั่วลันเตา ข้าวโอ๊ต หน่อไม้ กระหล่ำดอก ผักโขม
ทานได้ตามสบาย
ข้าวโพด ข้าว ผลไม้ ขนมหวาน น้ำตาล วุ้น นม โยเกิร์ต ไข่

     Link       https://www.cityvariety.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

               อาหารต้านโรคเก๊าท์

อาหารกับโรคเก๊าต์
อาหารกับโรคเก๊าต์,อาหารการกิน
คุณรู้ไหมว่า ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการกินของเรา
เพราะว่าถ้ากินไม่ดี ก็เกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น แต่ถ้ารู้จักเลือกกินให้เหมาะสม จะทำให้คุณสามารถห่างไกลโรคได้
ซึ่งโรคเกาต์ ก็เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่เกิดจากปัญหาในเรื่องอาหารการกิน
วิธีการป้องกันและบรรเทา อาการเจ็บป่วยจากโรคเกาต์ที่ดีที่สุด คือ
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีพิวรีนสูง เพราะว่าจะทำให้เกิดการอักเสบของข้อขึ้นอีก
โรคเกาต์ เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกัน ของกรดยูริกภายในข้อ
และประกอบกับการที่มีปริมาณกรดยูริกสูงด้วย คนแต่ละวัย ก็มีระดับกรดยูริกในเลือดที่แตกต่างกันได้
เช่น ผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน จะมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าคนในวัยอื่นๆ
และนอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคเกาต์ มากกว่าผู้หญิงอีกด้วย
โดยปกติแล้ว ร่างกายจะได้กรดยูริกมาจาก 2 แหล่ง คือ
1. ร่างกาย สังเคราะห์ขึ้นเอง
โดยการสลายตัวของเซลล์ตามอวัยวะต่างๆ แต่ในบางคนที่ป่วยเป็นโรค เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ธาลัสซีเมีย
จะทำให้มีการสลายตัวของเซลล์ ในร่างกายที่มาผิดปกติ
2. จากการกินอาหารบางชนิดที่สารพิวรีนสูง ซึ่งสารชนิดนี้เมื่อกินเข้าไปแล้ว จะย่อยสลายกลายเป็นกรดยูริก
ซึ่งสารพิวรีนนี้พบมากใน เนื้อสัตว์ปีก เช่น เนื้อไก่ เครื่องในสัตว์ ถั่วต่างๆ
คนที่เป็นโรคเกาต์ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการจะค่อยๆ กำเริบ โดยเจ็บปวดที่ข้อเดิมก่อน
แล้วจะเป็นที่ข้ออื่นๆ ตามมา จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อทั่วร่างกาย อาการปวดจะถี่ขึ้นและนานขึ้น
จนเกิดอาการปวดตลอดเวลา ถ้าควบคุมไม่ได้ จะพบว่า ข้อที่เคยอักเสบบ่อยๆ กลายเป็นปุ่มก้อนขึ้นมา
เนื่องจากการสะสมของ กรดยูริกภายในข้อจำนวนมาก จนบางครั้ง ข้อที่ปวดนั้น เกิดการแตกออก
และมีสารขาวๆ คล้ายชอล์ก หรือยาสีฟัน ไหลออกมากลายเป็นแผลเรื้อรัง และในที่สุดข้อต่างๆ จะค่อยๆ พิการ
และใช้งานไม่ได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดนิ่วในไตตามมาได้อีกด้วย
อาหารที่มีพิวรีนน้อย ได้แก่
ธัญพืชต่างๆ ไข่ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ผัก และผลไม้เกือบทุกชนิด (0-50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)
อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง ได้แก่
ข้าวโอ๊ต เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากะพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ถั่วลันเตา หน่อไม้
ใบขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม (50-100 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)
อาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่
เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลาดุก ปลาซาร์ดีน ปลาไส้ตัน กุ้ง ไข่ปลา น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ
ซุปก้อน กะปิ ชะอม กระถิน สะเดา เห็ด (150 มิลลิกรัมขึ้นไปต่ออาหาร 100 กรัม)
วิธี ป้องกันและบรรเทา อาการเจ็บป่วยจากโรคเกาต์ที่ดีที่สุด คือ
การระมัดระวัง ในการเลือกรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีพิวรีนสูง
เพราะว่าจะทำให้เกิดการอักเสบของข้อขึ้นอีก
อาหารที่ผู้เป็นโรคเกาต์ ควรรับประทานให้มาก คือ
1. อาหาร จำพวกข้าว แป้ง
เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานเพียงพอ ในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่ต้องเผาผลาญโปรตีนที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อ
เพื่อให้เป็นพลังงาน เพราะว่าการเผาผลาญโปรตีนในลักษณะนี้
จะทำให้มีการสลายกรดยูริกออกมา ในกระแสเลือดมากขึ้น
2.คนเป็นโรคเกาต์ ควรระวังไม่รับประทานอาหาร จำพวกเนื้อสัตว์มากเกินไป
เพราะว่าเนื้อสัตว์ เป็นแหล่งของโปรตีน ทำให้เกิดกรดยูริกได้มาก เช่นเดียวกันกับการทานอาหารไม่เพียงพอ
แล้วร่างกายใช้โปรตีน ที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อนั่นเอง จะทำให้เกิดอาการกำเริบได้
3. การ ดื่มน้ำมากๆ
จะช่วยป้องกันการสะสมของกรดยูริก และทำให้เกิดการขับกรดยูริกทางปัสสาวะมากขึ้น
และสามารถป้องกันโรคนิ่วในไตได้อีกด้วย
4. นอกจากนี้ การรับประทานผัก และผลไม้ชนิดต่างๆ ให้มากขึ้นก็เป็นสิ่งที่ดี
เพราะช่วยให้ปัสสาวะมีสภาวะเป็นด่าง ลดความเป็นกรด ส่งผลให้เกิดการขับปัสสาวะมากขึ้น
เมื่อรู้ว่าเป็นโรคเกาต์แล้ว ควรปฏิบัติตนอย่างไร กินอาหารอย่างไร อะไรที่กินได้ อะไรที่ควรหลีกเลี่ยง
ก็จะช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้ และช่วยป้องกัน ไม่ให้เกิดอาการเรื้อรังได้อีกเช่นกัน
ดังนั้น หันมาใส่ใจกับอาหาร ที่เรากินกันเสียตั้งแต่วันนี้จะดีกว่า
เพื่อจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง ปลอดภัยจากโรคร้ายต่างๆ
แหล่งข้อมูล : https://www.ku.ac.th/e-magazine - นิตยสารเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 74 สิงหาคม 2549
https://www.yourhealthyguide.com/article/aj-food-gout.html


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด