โรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ โรคเกี่ยวกับระบบขับถ่ายปัสสาวะ โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ


18,073 ผู้ชม


โรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ โรคเกี่ยวกับระบบขับถ่ายปัสสาวะ โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ

โรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

หมายถึงเกิดการอักเสบของระบขับปัสสาวะซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ท่อปัสสาวะจนถึงไต สาเหตุส่วใหญ่เกิดจากเชื้อโรคแถวบริเวณท่อปัสสาวะ

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ Urinary tract infection [UTI]

ระบบทางเดินปัสสาวะของคนเราประกอบด้วย ไต(kidney) ท่อไต (ureter) 2 ข้าง กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ (urethra)

ไตทำหน้าที่กรองของเสียออกในรูปปัสสาวะ นำออกท่อไต ไป กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ

ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นปัญหาที่พบบ่อย ทั้งในผู้ใหญ่ และเด็ก ผู้หญิงจะพบบ่อยกว่าผู้ชาย 8-10 เท่าประมาณว่าคุณผู้หญิง1ใน 5 คนเป็นคนที่เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

สาเหตุของทางเดินปัสสาวะอักเสบ

ปัสสาวะปกติจะประกอบด้วยน้ำ และเกลือ ไม่มีเชื้อโรค การติดเชื้อเกิดเมื่อมีเชื้อโรคมาจากทางเดินอาหาร หรือจากอุจาระ มาทางท่อปัสสาวะ ทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบ เรียก Urethritis หากเชื้อลามเข้ากระเพาะปัสสาวะเรียกกระเพาะปัสสาวะอักเสบ Cystittis หากเชื้อลามเข้าท่อไต และกรวยไตทำให้เกิดกรวยไตอักเสบ Pyelonephritis

เชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญคือ E coli เป็นเชื้อที่มาจากอุจาระ นอกจากนั้นยังพบเชื้อ Clamydia และ Mycoplasma ก็สามารถทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เชื้อดังกล่าวเกิดจากเพศสัมพันธ์จะต้องรักษาทั้งคู่

ใครมีโอกาสเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

  • ผู้ที่มีนิ่วทางเดินปัสสาวะ
  • ผู้ที่มีต่อมลูกหมากโต
  • ผู้ที่คาสายปัสสาวะ
  • ผู้ป่วยที่ระบบประสาทควบคุมการปัสสาวะเสียเช่นโรคเบาหวานประสาทไขสันหลังอักเสบ
  • ผู้หญิงมีโอกาสเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ง่ายกว่าผู้ชายเนื่องจากท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชายและตำแหน่งที่เปิดอยู่ใกล้กับทวารหนัก และช่องคลอดทำให้เชื้อลุกลามมาที่ท่อปัสสาวะได้ง่าย

ผู้ป่วยที่มีทางเดินปัสสาวะอักเสบจะมีอาการอะไรบ้าง

  • ผู้ป่วยที่มีท่อปัสสาวะอักเสบ Urethritis จะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะจะสุดแล้วจะปวด บางรายมีคราบหนองติดกางเกง
  • ผู้ป่วยที่มีกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะมีอาการ ปวดหน่วงๆท้องน้อย ปัสสาวะออกครั้งละน้อยๆ ปวดมากเมื่อปัสสาวะจะสุด บางรายมีเลือดออก
  • ผู้ป่วยที่มีกรวยไตอักเสบ pyelonephritis  จะมีอาการเหมือนกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่จะมีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะขุ่น

 

การวินิจฉัย

หากท่านอาการเหมือนทางเดินปัสสาวะอักเสบ แพทย์จะสั่งให้เก็บปัสสาวะไปตรวจโดยก่อนการเก็บปัสสาวะต้องทำความสะอาดบริเวณนั้น แล้วจึงเก็บปัสสาวะช่วงกลางๆของปัสสาวะ บางรายอาจจะต้องเก็บปัสสาวะโดยการสวนสาย เพื่อให้ได้ปัสสาวะที่สะอาด และนำไปเพาะเชื้อเพื่อหาสาเหตุ

แพทย์จะนำปัสสาวะไปตรวจหาเม็ดเลือด ขาว และเม็ดเลือดแดง และเพาะเชื้อ

ถ้าท่านติดเชื้อทางเดินปั สสาวะบ่อยหรือหลังการรักษาแล้วไม่หาย แพทย์จะตรวจไตโดย การฉีดสีเข้าเส้นเลือดและให้สีขับออกทางไต [intravenous pyelography IVP] หรือนัดตรวจ ultrasound ที่ไตซึ่งจะได้ภาพของไต บางรายแพทย์จะส่งตรวจ cystoscope คือการใช้กล้องส่องเข้าในกระเพาะปัสสาวะ

การรักษา

  1. ผู้ป่วยที่เป็นมาไม่นาน ไม่มีไข้ ไม่ปวดเอว ไม่มีโรคประจำตัว อาจเลือกใช้ยาดังต่อไปนี้ trimethoprim/ sulfamethoxazole,amoxicillin,ampicillin,ofloxacin,norfloxacin,ciprofloxacin โดยทั่วไปอาจจะรักษา 1-2 วันก็ทำให้หายได้ แต่แพทย์มักจะแนะนำให้รับประทานยา 7 วันเพื่อให้แน่นใจว่าหายขาด การรักษาด้วยยาโดยให้ยา 1-2 วันไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ต่อมลูกหมากโต
  2. ผู้ป่วยที่เป็นมาก มีไข้สูง ปวดเอวควรรับไว้ในโรงพยาบาล และให้ยาเข้าทางเส้น
  3. ผู้ป่วยผู้หญิงที่เป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำ Recurrent Infections in Women หมายถึงเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบมากกว่า 3 ครั้งใน 1 ปี ประมาณว่า 4 ใน 5 คนจะเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบอีกใน 18 เดือนดังนั้นจึงต้องป้องกันโดย
  • รับประทานยา trimethoprim/sulfamethoxazole เป็นเวลา 6 เดือน
  • รับประทานยาปฏิชีวนะหลังมีเพศสัมพันธ์
  • ให้ยาปฏิชีวนะ 1-2 วันเมื่อเกิดอาการ

วิธีป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำ

  • ดื่มน้ำให้มากเข้าไว้
  • ห้ามอั้นปัสสาวะ
  • ให้เช็ดก้นจากหน้าไปหลัง
  • ให้ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศก่อนที่จะมีกิจกรรมทางเพศ
  • งดใช้ spray และการสวนล้างช่องคลอด
  • ควรอาบน้ำจากฝากบัว
  • การคลิบอวัยวะเพศจะช่วยลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะไม่สามารถติดต่อจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่ง

     4.     การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชาย มักจะพบร่วมกับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมากโต หรือจากคาสายสวนปัสสาวะ 

               Link   https://www.siamhealth.net

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โรคเกี่ยวกับระบบขับถ่ายปัสสาวะ

สุขภาพผู้หญิง ปัสสาวะขัด แสบ

         ปัญหาเรื่องสุขภาพของผู้หญิงเวลาปัสสาวะบ่อย จะมีอาการฉี่ขัด แสบ อย่าได้ปล่อยเฉยเพราะเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ใช่เรื่องเล็ก มีโอกาศเสี่ยง
คุณผู้หญิงที่มีอาการฉี่แสบ ขัด อย่านิ่งนอนใจไปนะคะ เพราะเป็นเรื่องไม่เล็กของผู้หญิง อาการเจ็บปวดทรมานที่มาพร้อมกับเวลาปัสสาวะก็แสนที่จะเจ็บ นอกจากนั้นยังเป็นภาวะของโรคร้ายแรงต่างๆมากมาย เราควรมาทำความรู้จักกับ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เพื่อหาวิธีการดูแลรักษาให้ถูกวิธี กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบบ่อยในสตรี โดยเฉพาะในช่วงอายุ 20-50 ปี ทั้งนี้เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชายและอยู่ใกล้กับทวารหนัก เชื้อแบคทีเรียบริเวณทวารหนัก (ซึ่งปกติมีอยู่จำนวนมาก)จึงมีโอกาสสูงที่เคลื่อนเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการฟักตัวและอักเสบได้ในสตรีเจริญพันธุ์ การมีเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะในระยะแต่งงานกันใหม่ๆ ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียหลุดเข้าไปใน
กระเพาะปัสสาวะ ได้ง่าย ทำให้เกิดอาการอักเสบที่เรียกว่า Honey Moon Cystitis กระเพาะปัสสาวะอักเสบมีผลร้ายแรงหรือไม่? การ รักษาให้หายขาดจะไม่มีผลร้ายแรง ส่วยรายที่ไม่หายขาดนั้น เชื้อแบคทีเรียบางชนิดอาจมีผลทำให้การอักเสบลุกลามไปถึงส่วนใดก็จะทำให้เกิด การอักเสบได้ ดังนั้นหลังรับประทานยาครบแล้ว จึงควรตรวจปัสสาวะซ้ำสักครั้ง
อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
การอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการดังนี้
1.ปัสสาวะบ่อย แต่ละครั้งจำนวนน้อย และกลั้นไม่ได้ ต้องรีบเข้าห้องน้ำ
2.แสบในท่อปัสสาวะ ปวดเสียดตอยถ่ายสุด
3.ตึง ปวดถ่วง บริเวณท้องน้อย
4.ปัสสาวะมีกลิ่นผิดปกติ
5.ปัสสาวะมีเลือดปน
การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
วินิจฉัยได้ง่ายๆ โดยมีอาการดังกล่าวข้างต้นร่วมกับการตรวจปัสสาวะ โดยให้ถ่ายปัสสาวะในช่วงแรกทิ้งไปก่อนแล้วจึงเก็บปัสสาวะช่วงถัดมาเพื่อ ทำการตรวจจะพบว่ามีจำนวนเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ในบางรายที่เป็นเรื้อรังอาจจำเป็นต้องเก็บปัสสาวะไปเพาะเชื้อเพื่อให้ทราบ ถึงแบคทีเรียนั้นด้วย
การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
1.รับประทานยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่งประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการมาก ต้องรับประทานยาในระยะเวลาที่นานขึ้น คือประมาณ 7-10 วัน
2.ผู้ที่มีอาการอักเสบได้ง่าย เช่น หลังมีเพศสัมพันธ์ อาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการอักเสบ
การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
1.หมั่นรักษาความสะอาดบริเวณช่องคลอด ท่อปัสสาวะและทวารหนัก
2.บางครั้งแบคทีเรียเมื่อหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะแล้ว ต้องใช้เวลาในการฟักตัวของเชื้อ ซึ่งการดื่มน้ำมากขึ้นจะสามารถขับแบคทีเรียออกมาได้
3.ไม่ควรกลั้นปัสสาวะไว้เป็ยระยะเวลานานๆ เพราะการกลั้นปัสสาวะนานเป็นปัจจัยในการส่งเสริมให้เชื้อแบคทีเรียมีระยะฟัก ตัวในกระเพาะปัสสาวะนานขึ้นยิ่งทำให้เกิดการอักเสบได้ง่าย
4.ผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบบ่อยๆ เรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุแอบแฝงอื่นๆ เช่น นิ่ว กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติจากระบบประสาทควบคุม หรือมีอาการอุดตันในกระเพาะปัสสาวะ
ปัสสาวะเล็ดราด

         ปกติร่างกายเราควบคุมให้เรากลั้นปัสสาวะไว้ได้ จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม โดยส่วนของบริเวณกระเพาะปัสสาวะที่ต่อกับท่อปัสสาวะจะมีหูรูดบีบไว้ไม่ให้ ปัสสาวะเล็ดออกมา เมื่อปริมาณของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะเต็ม กระเพาะปัสสาวะก็จะเริ่มบีบตัว เราจะรู้สึกปวดปัสสาวะ...

ภพร้อมกันนั้นหูรูดจะขยายตัวออกให้ปัสสาวะขับออกมา หากมีความผิดปกติของหูรูด เช่นภหูรูดไม่ทำงาน ก็ไม่สามารถจะเก็บปัสสาวะไว้ในกระเพาะปัสสาวะได้ จะทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดราด ซึ่งพบได้บ่อยในสุภาพสตรีภโดยเฉพาะสตรีที่คลอดบุตรหลายคน ทำให้เกิดการหย่อนยานของมดลูกที่เรียกว่ากระบังลมหย่อน หรือมดลูกหย่อนภนอกจากนั้นเกิดจากการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ หรือมีเนื้องอกของอวัยวะที่อยู่ใกล้กับหูรูดกระเพาะปัสสาวะ

ปัญหา ปัสสาวะเล็ดราด กลั้นไม่อยู่ หรือควบคุมไม่ได้ เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในกลุ่มโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ในต่างประเทศพบได้ประมาณร้อยละ 6 ของประชากร อาการดังกล่าวพบได้ในทุกกลุ่มอายุ ในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ปัสสาวะเล็ดราดอาจจะเป็นแค่เพียงหยดซึมเป็นช่วงๆ หรือตลอดเวลา หรือราดจนเปื้อนเสื้อผ้าภายใน โดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถจะควบคุม หรือกลั้นเอาไว้ได้ บางท่านต้องใช้แผ่นรองซับปัสสาวะ หรือสวมใส่ถุงเก็บปัสสาวะ สภาพดังกล่าวยังผลทำให้เสียสุขภาพพลานามัยต้องเฝ้าระวังดูแลรักษาตนเอง รวมทั้งเสียสุขภาพจิตที่ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ตามความต้องการ

กลไกการกลั้นปัสสาวะในสตรี

เกิด จากผลรวมของความตึงตัวของเนื้อเยื่อบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะส่วนต้นและส่วนกลาง เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และกล้ามเนื้อหูรูดท่อปัสสาวะ ทำให้ท่อปัสสาวะหดรัดตัว และปิดตลอดเวลา ทำให้น้ำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะไม่สามารถเล็ดออกมาได้ถ้าตัวเรายังไม่ต้อง การให้ปัสสาวะไหลออกมา แต่ถ้าต้องการขับปัสสาวะจะเกิดสัญญาณประสาทไปยังกระเพาะปัสสาวะให้มีการหด ตัวและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้หย่อนตัวทำให้แรงดันในท่อปัสสาวะลดลง น้ำปัสสาวะจึงไหลออกมาได้

สาเหตุ

  1. ปัสสาวะเล็ดราดในสตรีวัยเจริญพันธุ์ภอาจจะมีปัญหาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อย ปวดแสบ เล็ดราด หรือขัดกระปริบกระปรอยภเนื่อง มาจากการอักเสบติดเชื้อซึ่งอาจจะเกิดขึ้นหลังมีเพศสัมพันธ์ ประจำเดือนหรืออั้นปัสสาวะไว้มากจนเกินไป เช่น เมื่อต้องเดินทางไกล การอักเสบนี้รักษา และป้องกันได้โดยพยายามถ่ายปัสสาวะทิ้งทันที่ เมื่อมีโอกาสเสี่ยงต่อการอักเสบดังที่กล่าวข้างต้นภควรจะดื่มน้ำ 1-2 แก้ว เพื่อให้ปัสสาวะมากขึ้นแต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์
  2. สำหรับสตรี 30-40 ปีขึ้นไป หลังคลอดบุตรแล้ว 2-3 คนภพ บว่าประมาณ 4-6% มีอาการปัสสาวะบ่อย และเล็ดราดขณะที่ไอ จาม ยกของ หรือเดินขึ้นบันได อาการปัสสาวะเล็ดแบบนี้ สาเหตุเนื่องมาจากกล้ามเนื้อหูรูดท่อปัสสาวะเสื่อมสมรรถภาพในการปิดกั้น ส่วนใหญ่สืบเนื่องมาจากกล้ามเนื้อกระบังลมช่องเชิงกรานหย่อนตัวลง แพทย์จะสามารถตรวจภายในกระเพาะปัสสาวะ เพื่อพิจารณาความรุนแรงของอาการ และให้การรักษาด้วยยา หรือการผ่าตัดเพื่อให้หายเป็นปกติได้ภการรักษาด้วยวิธีการฝึกหัดกล้ามเนื้อหูรูดช่องเชิงกรานภซึ่ง เรียกว่าการฝึกหัด พี.ซี. หรือกล้ามเนื้อช่องเชิงกราน ด้วยวิธีที่ถูกต้องอย่างเคร่งครัด เป็นเวลาประมาณ 3 เดือน จะช่วยรักษาอาการที่ไม่รุนแรงมากนักให้หายขาดได้ การฝึกหัดดังกล่าวมีประโยชน์ในการป้องกันเหมาะสมที่จะใช้กับสตรีหลังคลอด บุตร เพื่อลดปัญหาดังกล่าวตั้งแต่แรก
  3. ปัสสาวะเล็ดราดในกลุ่มผู้สูงอายุภส่วนใหญ่สืบเนื่องมาจากภาวะความเคยชินที่ผิดปกติภความเสื่อมสมรรถภาพของกระเพาะปัสสาวะรวมทั้งระบบประสาทในสมองภจึงทำให้อาการปัสสาวะผิดปกติพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน

ภาวะ กระเพาะปัสสาวะไวเกิน เป็นกลุ่มอาการของความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ที่แม้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตมากนัก แต่ก็ทำให้คุณภาพชีวิตลดลงอย่างมาก จึงจำเป็นที่แพทย์ในสาขาต่างๆ ที่อาจมีส่วนดูแลผู้ป่วย เช่น สูตินรีแพทย์ ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ อายุรแพทย์ และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ให้ความสำคัญ และให้การรักษาอย่างจริงจัง เพื่อให้หายหรือบรรเทาจากภาวะดังกล่าว และให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การรักษา

  1. เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ดังนั้น การรักษาจึงใช้แนวทางรักษาหลายชนิดมาผสมผสานกัน
  2. รักษาภาวะที่ก่อให้เกิดปัญหากระเพาะปัสสาวะไวเกิน ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
  3. การใช้ยาที่มีฤทธิ์คลายการหดตัวของกระเพาะปัสสาวะ
  4. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การงดดื่มน้ำก่อนนอน
  5. หลีกเลี่ยงยา หรืออาหารที่มีฤทธิ์กระตุนการขับปัสสาวะ เช่น ยาขับปัสสาวะ น้ำชา กาแฟ
  6. การจัดที่นอนใหม่ให้เข้าห้องน้ำได้สะดวกขึ้น
  7. การฝึกกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นหนึ่งในพฤติกรรมบำบัด โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้สมองส่วนกลางส่งสัญญาณมายับยั้งวงจรการปัสสาวะ โดยการฝึกปัสสาวะให้เป็นเวลา และเพิ่มช่วงเวลาการถ่ายปัสสาวะให้มากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งหลักการเบี่ยงเบนความสนใจ

การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

การ ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพื่อทำให้กล้ามเนื้อที่รองรับอวัยวะในอุ้งเชิงกราน และกล้ามเนื้อหูรูดส่วนนอกของท่อปัสสาวะหนาตัว และแข็งแรงขึ้น โดยปกติการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน จะใช้ในการรักษาภาวะไอ-จามจนปัสสาวะเล็ด แต่พบว่าสามารถนำมาใช้รักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินได้ด้วย

การออกกำลังกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานภโดย วิธีการออกกำลังแบบคีเกล (Kegel exercise) ซึ่งทำได้โดยการ เกร็งขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานค้างไว้ ประมาณ 2-3 วินาที แล้วผ่อนคลายสลับกันไปเมื่อทำได้ดี ขึ้นให้เกร็งค้างไว้ นานประมาณ 10 วินาที โดยทำบ่อยที่สุดเท่าที่จะ ทำได้ตลอดทั้งวัน เพื่อให้ได้ ประมาณ 100 ครั้งต่อวันภการออกกำลังกายแบบคีเกลนี้สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ

โรคนิ่ว
         โรคนิ่ว โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะเป็นชื่อรวมของนิ่วที่เกิดในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งจะแบ่งตามตำแหน่งที่อยู่ของนิ่ว ได้แก่ นิ่วในไต นิ่วในท่อไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และนิ่วในท่อปัสสาวะ

โรค นิ่วนั้นมักเริ่มต้นเกิดในไต และต่อมาเลื่อนตำแหน่งไปยังกรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ซึ่งถ้านิ่วมีขนาดเล็กก็จะหลุดออกมาเองได้ตอนผู้ป่วยปัสสาวะ แต่ถ้านิ่วมีขนาดใหญ่ก็จะไปอุดตันตามตำแหน่งต่างๆ โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะพบได้บ่อยประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ของประชากรเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โรคนิ่วไตในคนไทยพบว่ามีอุบัติการณ์การเป็นนิ่วซ้ำสูงมาก ทำให้ทั้งผู้ป่วย และภาครัฐต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา และป้องกันการเกิดนิ่วซ้ำสูงมาก ดังนั้นโรคนิ่วไตจึงจัดเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของ ประชากรไทยเป็นอย่างยิ่ง

โรคนิ่วมีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือนิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะภซึ่ง นิ่วทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันทั้งในส่วนประกอบ สาเหตุ รวมทั้งการดูแลรักษา แต่ที่เรียกว่านิ่วเหมือนกัน อันนี้คงเป็นเพราะว่า ลักษณะที่เห็นนั้น เป็นก้อนคล้ายหินเหมือนกัน เวลาพูดถึงโรคนิ่ว จึงต้องรู้ว่าเป็นนิ่วที่ไหน โรคนิ่วเป็นโรคที่มีบันทึกมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ได้มีรายงานพบนิ่วในกระเพาะปัสสาวะในโครงกระดูกศพมัมมี่ของประเทศอียิปต์ ปัจจุบันโรคนิ่วเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากทั่วโลก และอุบัติการณ์โรคนิ่วไตมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยมีอุบัติการณ์โรคนิ่วไตสูงมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การมีนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การทำงานของไตเสื่อมลง และอาจร้ายแรงจนถึงเกิดภาวะไตวายเรื้อรังและโรคไตระยะสุดท้าย ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุ

  1. เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งปัจจัยเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม เมตาบอลิซึมของร่างกายแต่ละคน ปัจจัยทางพันธุกรรม วิถีการดำเนินชีวิต และอุปนิสัยการบริโภคอาหาร
  2. สารก่อนิ่วที่มีอยู่ในปัสสาวะ ตามปกติ ได้แก่ แคลเซียม ฟอสเฟต ออกซาเลต ยูเรต ในภาวะที่มีปริมาณผิดปกติ และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยสารเหล่านี้สามารถรวมตัวกัน จนกลายเป็นก้อนผลึกแข็ง และมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นนิ่วอุดตันที่บริเวณต่างๆของทางเดินปัสสาวะ
  3. องค์ประกอบส่วนใหญ่ในก้อนนิ่วเป็นผลึกแร่ธาตุ เช่น แคลเซียมออกซาเลต แคลเซียมฟอสเฟต ยูเรต แมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟต เป็นต้น
  4. นิ่วที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ นิ่วแคลเซียมฟอสเฟตประมาณร้อยละ 80 รองลงมาคือ นิ่วกรดยูริกพบประมาณร้อยละ 10-20
  5. สารที่ป้องกันการก่อผลึกใน ปัสสาวะ เรียกว่า สารยับยั้งนิ่ว ที่สำคัญได้แก่ ซิเทรต โพแทสเซียม และแมกนีเซียม ปัจจัยเสี่ยงที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคนิ่วไตไทย คือ การมีสารยับยั้งนิ่วในปัสสาวะต่ำ ได้แก่ ภาวะซิเทรตในปัสสาวะต่ำ พบประมาณร้อยละ 70-90 และภาวะโพแทสเซียมในปัสสาวะต่ำพบประมาณร้อยละ 40-60
  6. ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนิ่วอาจแบ่ง ได้เป็นปัจจัยภายใน เช่น กายวิภาคของไต พันธุกรรม เชื้อชาติ และปัจจัยภายนอก เช่น ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ อากาศ และฤดูกาล ปริมาณน้ำที่ดื่ม พฤติกรรมการกิน อาชีพ ยาบางชนิด

กลไกการเกิดโรค

  1. สาเหตุของการเกิดนิ่วไต คือ การมีสารก่อนิ่วในปัสสาวะสูงกว่าระดับสารยับยั้งนิ่ว ร่วมกับปัจจัยเสริมคือ ปริมาตรของปัสสาวะน้อย ส่งผลให้เกิดภาวะอิ่มตัวยวดยิ่งของสารก่อนิ่วในปัสสาวะ จึงเกิดผลึกที่ไม่ละลายน้ำขึ้น เช่น แคลเซียมออกซาเลต แคลเซียมฟอสเฟต และยูเรต
  2. ผลึกนิ่วที่เกิดขึ้นจะกระตุ้น ให้เกิดการอักเสบ ส่งผลให้เซลล์บุภายในไตถูกทำลาย ตำแหน่งถูกทำลายนี้จะเป็นพื้นที่ให้ผลึกนิ่วเกาะยึด และรวมกลุ่มกัน เกิดการทับถมของผลึกนิ่วเป็นเวลานานจนกลายเป็นก้อนนิ่วได้ในที่สุด
  3. ในคนปกติที่มีสารยับยั้งนิ่วใน ปัสสาวะสูงเพียงพอจะสามารถยับยั้งการก่อตัวของผลึกนิ่วได้ โดยสารเหล่านี้จะไปแย่งจับกับสารก่อนิ่ว เช่น ซิเทรตจับกับแคลเซียม หรือแมกนีเซียมจับกับออกซาเลต ทำให้เกิดเป็นสารที่ละลายน้ำได้ดี และขับออกไปพร้อมกับน้ำปัสสาวะ ทำให้ปริมาณสารก่อนิ่วในปัสสาวะลดลง และไม่สามารถรวมตัวกันเป็นผลึกนิ่วได้
  4. โปรตีนในปัสสาวะหลายชนิดยังทำ หน้าที่ป้องกันการก่อผลึกในปัสสาวะ และเมื่อเคลือบที่ผิวผลึก จะช่วยขับผลึกออกไปพร้อมกับปัสสาวะได้ง่ายขึ้น
  5. ความผิดปกติของการสังเคราะห์ และการทำงานของโปรตีนยับยั้งนิ่วหลายชนิด เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคนิ่วไต

นิ่วที่พบได้บ่อยในประเทศไทย

ก้อน นิ่วสามารถจำแนกชนิดคร่าวๆ ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ นิ่วชนิดเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเพียงอย่างเดียว และนิ่วชนิดเนื้อผสมที่มีหลากหลายองค์ประกอบรวมกัน นิ่วส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทยเป็นนิ่วเนื้อผสม นอกจากนั้นเราสามารถแบ่งชนิดนิ่วได้จากองค์ประกอบหลักที่สำคัญในก้อนนิ่ว ได้แก่ นิ่วแคลเซียมออกซาเลต นิ่วแคลเซียมฟอสเฟต นิ่วยูเรตหรือนิ่วกรดยูริก นิ่วสตูไวท์หรือนิ่วติดเชื้อ นิ่วซีสทีน นิ่วชนิดอื่นๆ

อาการ

  1. ปวดท้อง ปวดหลัง ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด บางครั้งอาจจะมีลักษณะของปัสสาวะที่มีก้อนนิ่วหลุดออกมาด้วยเหมือนเศษทราย เล็ก ๆ แต่บางคนอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากนิ่วได้ เช่น กรวยไตอักเสบจากการติดเชื้อ ท่อไต หรือท่อปัสสาวะอุดตันจากนิ่ว อุดตันนาน ๆ เข้าจะทำให้เกิดไตวายได้
  2. อาการจะเป็นมาก หรือเป็นน้อยขึ้นกับระยะเวลา และขนาดของนิ่วที่เป็น
  3. นิ่วในไต มีอาการปวดบริเวณเอวด้านหลังที่เป็นตำแหน่งของไต เวลาที่ก้อนนิ่วมันหลุดมาอยู่ในท่อไต จะปวดชนิดที่รุนแรงเหลือเกิน เหงื่อตก เกิดเป็นพักๆ ปัสสาวะอาจมีเลือด หรือเป็นสีน้ำล้างเนื้อร่วมด้วยได้
  4. อาการของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ปัสสาวะจะขัด ถ่ายเจ็บ ไม่สะดวก บางทีออกกะปริดกะปรอย หรือออกเป็นหยดขุ่นหรือขาวเหมือนมีผงแป้งอยู่ บางครั้งมีเลือด หรือเป็นสีน้ำล้างเนื้อ อาจมีสิ่งที่คล้ายกรวดทรายปนออกมากับปัสสาวะ ถ้านิ่วไปอุดท่อทางเดินปัสสาวะก็จะทำให้เกิดการอยากถ่ายปัสสาวะอยู่เสมอ แต่ก็ถ่ายไม่ออก
  5. นิ่วเป็นก้อนแข็ง ซึ่งเหมือนหิน มีทั้งเล็ก และใหญ่ หากเกิดไปสีหรือรบกวนผนังของไตหรือกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ จนเป็นแผลขึ้นมาก็ได้ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน
  6. อาการปัสสาวะไม่ออกไม่ได้เกิด จากโรคนิ่วเสมอไป อาจเป็นโรคที่ไตไม่ทำงานหรือทำไม่ปกติ ผลิตน้ำปัสสาวะน้อย หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นอีก เช่น บางครั้งบางคราวเกิดจากการตีบของท่อปัสสาวะก็ได้

นิ่วไต

  1. นิ่วในไต เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และพบมากในช่วงอายุ 30-40 ปี ในบ้านเราพบมากทางภาคเหนือ และภาคอีสาน นิ่วอาจมีขนาดต่างๆ กัน อาจมีเพียงก้อนเดียว หรือหลายก้อนก็ได้ ส่วนมากมักเป็นที่ไตเพียงข้างเดียว ที่เป็นทั้งสองข้างอาจพบได้บ้างบางรายอาจเป็นซ้ำๆ หลายครั้งก็ได้
  2. ก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นในไตประกอบ ด้วยหินปูนแคลเซียม กับสารเคมีอื่นๆ เช่น ออกซาเลต, กรดยูริก เป็นต้น การเกิดนิ่วจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะที่มีแคลเซียมในปัสสาวะมากผิดปกติ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการกินอาหารที่แคลเซียมสูง การดื่มนมมากๆ หรือมีภาวะผิดปกติอื่นๆ เช่น ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไปซึ่งทำให้แคลเซียมในเลือดสูง นอกจากนี้ ยังพบเป็นโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งมีการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ
  3. กลไกของการเกิดนิ่วนั้น ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าคงมีปัจจัยร่วมกันหลายอย่างด้วยกัน เช่น การอยู่ในเขตร้อนที่ร่างกายสูญเสียเหงื่อง่าย แล้วดื่มน้ำน้อย ทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นของแคลเซียม, การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ, ความผิดปกติทางโครงสร้างของไต เป็นต้น คนที่ชอบกินอาหารที่มีสารซาเลตสูง หรือกินวิตามินซีขนาดสูงๆ ซึ่งจะกลายเป็นสารออกซาเลตสูง ก็มีโอกาสเป็นนิ่วมากกว่าคนปกติ
  4. ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเอวปวด หลังข้างใดข้างหนึ่ง ลักษณะปวดแบบเสียดๆ หรือปวดบิดเป็นพักๆ อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะอาจมีลักษณะขุ่นแดง หรือมีเม็ดทราย ถ้าก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก อาจตกลงมาที่ท่อไต ทำให้เกิดอาการปวดบิดในท้องรุนแรง บางรายอาจไม่มีอาการแสดงเลยก็ได้ ในขณะที่บางรายพบอาการแทรกซ้อน อาจทำให้เกิดการติดเชื้อกลายเป็นกรวยไตอักเสบ และถ้าปล่อยไว้นานๆ มีการติดเชื้อบ่อยๆ ก็ทำให้เนื้อไตเสีย กลายเป็นไตวายเรื้อรังได้
  5. หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาล มักจะวินิจฉัยโดยการตรวจปัสสาวะ จะพบมีเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก ตรวจเลือด เอกซเรย์ อัลตราซาวด์ เอกซเรย์ไตด้วยการฉีดสี และอาจตรวจพิเศษอื่นๆ ถ้าจำเป็น
  6. ถ้านิ่วก้อนเล็กอาจหลุดออกมา ได้เอง แต้ถ้าก้อนใหญ่อาจต้องผ่าตัดเอาออก หรือใช้เครื่องสลายนิ่ว หรือสลายนิ่วโดยการใช้เสียงความถี่สูงทำให้นิ่วระเบิดเป็นผงโดยไม่ต้องผ่า ตัด

โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

  1. โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ พบมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่แล้วเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี
  2. ผู้ป่วยที่มีนิ่วในกระเพาะ ปัสสาวะอาจมีอาการปัสสาวะขัด เจ็บเวลาถ่ายปัสสาวะ น้ำปัสสาวะอาจมีลักษณะขุ่น บางรายมีลักษณะเป็นสีน้ำล้างเนื้อหรือเป็นเลือด บางรายถ่ายออกมามีก้อนนิ่วเล็กๆ หรือกรวดทรายปนกับน้ำปัสสาวะ ผู้ป่วยที่เป็นอยู่นานจนก้อนนิ่วโตแล้ว ก็จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนนิ่วออก
  3. โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะเกิด จากการได้อาหารที่ขาดฟอสฟอรัส และขาดโปรตีน โดยเด็กที่เกิดมาในชนบทของภาคอีสานมักได้ข้าวย้ำภายในอายุ 4 สัปดาห์แรกหลังคลอด ทำให้เด็กได้น้ำนมแม่ซึ่งเป็นแหล่งให้ฟอสฟอรัส และโปรตีนน้อยลงการกินอาหารซึ่งให้ผลึกออกซาเลตมาก เช่น ผักโขม ผักแพว ผักกระโดน ร่วมกับการขาดฟอสฟอรัส และโปรตีนที่กล่าวแล้ว ยิ่งทำให้ผลึกอ
    Link    https://www.108health.com
    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

อัพเดทล่าสุด