โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร โรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร


5,757 ผู้ชม


โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร โรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

 
โรคกรดไหลย้อน
    โรคกรดไหลย้อน เป็นโรคใหม่สำหรับคนเมืองจริงค่ะ ไม่ใช่แค่ทำลายสุขภาพ แต่มันอาจถึงชีวิตได้ วันนี้เราลองมาศึกษาโรคกรดไหลย้อน ทั้งสาเหตุและวิธีการรักษาจากคุณหมอโรงพยาบาลธนบุรี
 โรคกรดไหลย้อน
Gastroesophageal Reflux Disease: GERD

 เป็น ภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร โดยของที่ไหลย้อนส่วนใหญ่จะเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ส่วนน้อยอาจเป็นด่างจากลำไส้เล็ก โดยอาจมีหรือไม่มีหลอดอาหารอักเสบก็ได้ โรคนี้มีความสำคัญคือ ผู้ป่วยจะมีอาการแสบยอดอกและ/หรือร่วมกับมีภาวะเรอเปรี้ยว(รู้สึกเหมือนมี กรดซึ่งมีความรู้สึกเหมือนมีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมไหลย้อนขึ้นมาที่คอหรือปาก) ภาวะนี้อาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบหรือเป็นมากจนเกิดแผลที่รุนแรง จนทำให้ปลายหลอดอาหารตียหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงเซลล์ของเยื่อบุหลอดอาหารได้ บางรายอาจรุนแรงจนถึงขั้นเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ ในบางรายผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการทางด้านของ โรคหู คอ จมูก อาทิ ไอเรื้อรัง เสียงแหบเรื้อรัง หรืออาจมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ หรือมีกลิ่นปาก เป็นต้น

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
โรคนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ

  • การคลายตัวของหลอดอาหารส่วนปลายโดยที่ไม่มีการกลืน พบว่าคนไข้โรคนี้จะมีจำนวนครั้งของภาวะนี้ เกิดขึ้นบ่อยกว่าในคนปกติ ซึ่งสาเหตุนี้ถือเป็นภาวะสำคัญของโลกนี้ 

  • ความ ดันของหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าในคนปกติหรือเกิดมีการเลื่อน ของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารมากขึ้น
  • เกิดจากความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร
  • อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียบางชนิดหรือเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน

 อาการ สำคัญ คือ อาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่แล้วลามขึ้นมาที่หน้าอกหรือคอ อาการนี้จะเป็นมากขึ้นหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก การโน้มตตัวไปข้างหน้า การยกของหนัก หรือการนอนหงาย อาการสำคัญอีกประการก็คือ อาการเรอเปรี้ยวคือ มีกรดซึ่งเป็นน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก โดยคนไข้อาจมีทั้ง 2 อาการ หรืออาการใดอาการหนึ่งก็ได้ ในคนไทยที่เป็นโรคนี้บางครั้งอาจพบอาการนี้ไม่ชัดเจน อย่างคนไข้ในแถบตะวันตกหรือในอเมริกา อาการอื่นๆที่อาจพบได้ อาทิ ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียนหรือกลืนลำบาก ในรายที่เป็นมากบางรายอาจมาด้วยอาการที่ไม่ใช่อาการของหลอดอาหาร อาทิ เจ็บหน้าอก จุดที่คอเรื้อรัง หอบหืด หรือมีกลิ่นปากโดยหาสาเหตุไม่ได้

จะวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างไร 

 โดย ปกติแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้จากอาการดังที่กล่าวมา โดยผู้ป่วยที่มีอาการทั้งแสบยอดอกและ/หรือ เรอเปรี้ยว (ทั้งนี้ไม่ควรมีอาการที่บ่งบอกว่าน่าจะเป็นโรคอื่น อาทิ น้ำหนักลด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำหรือถ่ายเป็นเลือด หรือมีไข้) แพทย์สามารถวินิจฉัยได้เลยว่าผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อนและให้การรักษาเบื้อง ต้นได้เลย โดยจะติดตามดูอาการของผู้ป่วย ในบางรายอาจมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจค้นพิเศษเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การกลืนแป้ง การตรวจวัดการบีบตัวของหลอดอาหาร และการตรวจวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร ซึ่งพบว่าได้ผลแม่นยำและดีที่สุดในปัจจุบัน เป็นต้น

จะปฏิบัติตัวอย่างไรถ้าเป็นโรคนี้

 โดย ทั่วไปเป้าหมายของการรักษา แพทย์จะมุ่งเน้นให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น รักษาอาการอักเสบของแผลในหลอดอาหารและป้องกันผลแทรกซ้อน การรักษาประกอบไปด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม การดำเนินชีวิต การให้ยา การส่งกล้องรักษาและการผ่าตัด โดยวิธีที่ง่ายที่สุด คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
  •  หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชา น้ำอัดลม น้ำผลไม้ หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง ช็อคโกแลต
  •  ระวังไม่ให้น้ำหนักตัวมากหรืออ้วนเกินไป
  •  ระวังอาหารมื้อเย็น ไม่กินในปริมาณมากและไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
  •  ควรรับประทานอาหารปริมาณน้อยๆแต่บ่อยครั้ง
  • ไม่ใส่เสื้อรัดรูปเกินไป
  •  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  •  นอนตะแคงซ้ายและนอนหนุนหัวเตียงให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้ว

เมื่อปฏิบัติตัวเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรทำอย่างไร

 ถ้า การปฏิบัติเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องรับประทานยาร่วมด้วย โดย ยาที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบันคือยาลดกรดในกลุ่ม Proton Pump Inhibitors (PPI) ซึ่งได้ผลดีกว่า ยาในกลุ่ม H2 blocker receptor antagonist และดีกว่ากลุ่มยาที่กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร โดยที่แพทย์จะให้รับประทานยาในกลุ่มนี้เป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ ในบางรายที่เป็นมาก อาจมีความจำเป็นต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานานหลายเดือนหรือเป็นปี ซึ่งอาจจะมีการปรับการรับประทานยาเป็นแบบช่วงระยะเวลาสั้นๆหรือไม่กี่วันตาม อาการที่มี หรือกินติดต่อกันตลอดเป็นเวลานาน
 อย่างไรก็ดีการใช้ยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ในรายที่รับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นอาจพิจารณา
 สำหรับ ยาในกลุ่มที่มีผลต่อการคลายตัวของหูรูดนั้นยังมีอยู่จำนวนไม่มากและยังมีผล ข้างเคียงอยู่พอสมควรการรักษาด้วยการส่องกล้องหรือการผ่าตัด

ขอขอบคุณ

รศ.นพ. สมชาย ลีลากุศลวงศ์
อายุรแพทย์ด้านระบบทางเดินอาหารและตับ
โรงพยาบาลธนบุรี
 
 
ปวดท้องที่ไม่ธรรมดา
 
         ปวดท้องที่ไม่ธรรมดา เรื่องสำคัญเกี่ยวกับอาการปวดท้องที่คนทั่วไปควรสนใจได้แก่ การแยกให้ได้ว่ากรณีใดควรรักษาตนเอง และกรณีใดควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที อาการปวดท้องที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยๆ และสามารถรักษาด้วยตนเองได้

 เช่น ปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร และปวดท้องจากโรคอาหารเป็นพิษ ส่วนอาการปวดท้องบางกรณีจะยากในการวินิจฉัยเบื้องต้น หากไม่แน่ใจ ควรปรึกษาแพทย์เช่นกัน ได้แก่ อาการปวดท้องที่เกิดขึ้นกระทันหัน และรุนแรง อาการปวดท้องที่คงอยู่นานกว่า 4 ชั่วโมง โดยไม่ทุเลาเลย อาการปวดท้องที่มีอาการอาเจียนหลายครั้ง และอาการปวดท้องที่รักษาด้วยตนเองแล้วไม่ทุเลา

รายละเอียดอาการปวดท้องที่ช่วยในการวินิจฉัยโรค

  1. ตำแหน่ง หรือบริเวณที่เริ่มปวด เช่น บริเวณลิ้นปี่ รอบๆ สะดือ หน้าท้องส่วนบน ใต้ชายโครงขวา หรือซ้าย ท้องน้อยตรงกลาง เหนือหัวเหน่า หรือท้องน้อยขวา หรือซ้าย และเมื่อเวลาผ่านไปอาการปวดเปลี่ยนหรือ ย้ายที่หรือไม่
  2. ปวดท้องมานานเท่าไร ภายในไม่กี่ชั่วโมง 2-3 วัน หรือเป็นเรื้อรังมานาน
  3. ลักษณะของอาการปวดเป็นแบบใด ปวดเป็นพักๆ เดี๋ยวปวดมากเดี๋ยวเบาลง หรือปวดตลอดเวลา ไม่มีหยุดพักเลย และปวดแบบแสบร้อน ปวดเหมือนถูกแทง ปวดตื้อๆ หรือปวดถ่วงๆ เป็นต้น
  4. อาการปวดเกิดขึ้นอย่างรุนแรงทันทีทันใด หรือค่อยๆ ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ จนทนไม่ได้จึงมาพบแพทย์
  5. มีอาการปวดร้าวไปที่อื่นหรือไม่ เช่น ปวดร้าวไปที่หัวไหล่ขวาหรือซ้าย ร้าวไปหลัง ไปเอว ไปขาหนีบ หรือร้าวไปที่ลูกอัณฑะ
  6. มีอาการอื่นที่เกิดร่วมด้วยหรือไม่ เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนท้องผูก ท้องเสีย เป็นไข้ เหงื่อแตก หน้ามืดเป็นลม
  7. สาเหตุที่ทำให้ปวดมากขึ้น เช่น อาหาร การถ่ายปัสสาวะ หรืออุจจาระ การหายใจแรงๆ ไอหรือจาม การเคลื่อนไหว ท่านั่งหรือท่านอน
  8. สาเหตุที่ทำให้ปวดน้อยลง เช่น อาเจียนแล้วดีขึ้น การอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหวท่านั่งหรือท่านอน การงอตัว อาหาร หรือยาบางชนิดเช่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
  9. ประวัติการเจ็บป่วย และโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ภูมิแพ้ โรคแผล ในกระเพาะอาหาร นิ่วในถุงน้ำดี เคยได้รับการผ่าตัดในช่องท้อง หรือได้รับอุบัติเหตุที่ท้อง
  10. ประวัติส่วนตัว ประวัติประจำเดือน การมีเพศสัมพันธ์ การดื่มสุรา สูบบุหรี่ การออกกำลังกาย งานประจำ และงานอดิเรกที่อาจเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วย

อาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร

  1. มักเกิดขึ้นขณะที่กำลังรับ ประทานอาหาร หรือรับประทานอาหารอิ่มแล้วไม่นานนัก โดยทั่วไปมักเกิดเมื่อรับประทานอาหารมากกว่าปกติ หรือรับประทานอาหารห่างจากมื้อก่อนนานกว่าปกติ เรียกว่าหิวอยู่นาน
  2. ตำแหน่งที่ปวดอยู่บริเวณสูงกว่าสะดือ
  3. บางคนจำได้ว่า เคยมีอาการเช่นเดียวกันนี้เป็นครั้งคราว ภายใต้สภานการณ์เดียวกัน และหายได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง วันต่อมาก็สบายดี รับประทานอาหารได้ตามปกติ
  4. บางคนอาการไม่รุนแรงพอที่จะเรียกว่าปวดท้อง ก็เรียกว่า ท้องอืด หรือท้องเฟ้อ อาการ เหล่านี้หากเกิดเป็นครั้งคราว ถือว่าเป็นความผิดปกติชั่วคราว เกิดจากกระเพาะอาหารบีบตัวรุนแรงกว่าธรรมดา ต่างจากโรคกระเพาะอาหารจริงๆ ซึ่งคนไข้จะปวดติดต่อกันทุกวันเป็นเวลานานหลายวัน เป็นสัปดาห์ หรือนานกว่านั้นหากไม่ได้รับการรักษา
  5. กรณีหลังนี้น่าจะสงสัยในเบื้อง ต้นว่าเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป เช่น พิจารณาส่องกล้องตรวจเยื่อบุกระเพาะ และทางเดินอาหารส่วนต้น หรือพิจารณาส่งตรวจด้วยการกลืนแป้งแล้วฉายภาพรังสีเพื่อดูว่ามีความผิดปกติ อย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่
  6. การรักษาเบื้องต้นในกรณีปวด ท้องจากโรคกระเพาะอาหาร หากเป็นขณะกำลังรับประทานอาหาร ต้องหยุดรับประทานอาหาร ไม่ดื่มน้ำ ให้ลุกจากโต๊ะอาหารไปเดินเล่น อาการจะค่อยๆ หายไป หากเกิดภายหลังอิ่มอาหาร และดื่มน้ำแล้ว การลุกไปเดินก็จะทำให้ทุเลาลงได้เช่นกัน ยาที่จะช่วยให้อาการทุเลาเร็วขึ้น ได้แก่ยาลดกรดที่ออกฤทธิ์เร็วเช่น โซดามินต์ เพื่อให้หายเร็วควรรับประทานครั้งแรก 4 เม็ด หากไม่หายภายใน 5 นาทีให้รับประทานอีก 2 เม็ด ถ้าหาย ต่อไปอาจป้องกันการเกิดอาการนี้ได้ ด้วยการหลีกเลี่ยงสาเหตุ ถ้าทำไม่ได้ ขณะหิวมากก่อนรับประทานอาหาร ควรรับประทานยาลดกรด เช่น โซดามินต์ 2 เม็ดเสียก่อนที่จะเกิดอาการ หรือถ้าต้องการใช้ยาที่ออกฤทธิ์นานอาจใช้รานิติดีน ranitidine ในกรณีที่อาการไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยต่อไปเพราะสาเหตุอาจจะเป็นจากโรคแผล ในกระเพาะอาหารชนิดรุนแรง หรืออาจเป็นโรคนิ่วถุงน้ำดีหรือโรคหัวใจก็ได้
  7. เชื้อแบคทีเรีย "เฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอไร" (Helicobacter pyroli) เข้า สู่กระเพาะได้โดยการกลืนเข้าไป หรือขย้อนเชื้อจากลำไส้มาอยู่ในกระเพาะอาหาร โดยปกติในกระเพาะอาหาร จะไม่มีเชื้อแบคทีเรีย หลังจากเชื้อเข้าสู่กระเพาะอาหาร จะใช้หนวดของมันว่ายเข้าไปฝังตัวในเยื่อเมือกบุผนังกระเพาะ และปล่อยน้ำย่อย เอ็นซัยม์ และสารพิษมาทำลาย และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร ด้วยกลไกนี้ร่วมกับกรดที่หลั่งออกมาจากเซลล์เยื่อบุกระเพาะ จะช่วยกันทำลายผนังกระเพาะให้มีการอักเสบ และเกิดเป็นแผลได้ในที่สุด

โรคอาหารเป็นพิษ

  1. โรคอาหารเป็นพิษ (food poisoning) ทำให้มีอาการปวดท้องร่วมกับอาการอาเจียน และอาการท้องเดิน สาเหตุ เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด มีการปนเปื้อนแบคทีเรีย หรือสารพิษจากแบคทีเรีย อาการปวดท้องมักจะอยู่บริเวณกลางท้องรอบๆ สะดือ หรือสูงกว่าเล็กน้อย ถ้าอาการปวดท้องเกิดขึ้นร่วมกับอาการอาเจียน การอาเจียนจะมีผลทำให้อาการปวดท้องทุเลาอย่างชัดเจน ถ้าอาการปวดท้องเกิดร่วมกับอาการท้องเดิน การถ่ายอุจจาระจะทำให้อาการปวดท้องทุเลาเช่นกัน
  2. การรักษา อาการ ปวดท้องในกรณีนี้ ถ้ายังมีอาการอาเจียนอยู่ อาจใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางที่ท้อง ถ้าไม่อาเจียน หรือหายอาเจียนแล้ว ให้รับประทานยาบุสโคพาน buscopan ร่วมกับพอนสแตน ponstan แม้ว่าอาการปวดท้องจะทุเลาแล้ว ควรป้องกัน การเกิดอาการปวดท้อง โดยรับประทานเฉพาะบุสโคพานทุก 4 ชั่วโมง ประมาณ 3 ครั้ง ถ้ารับประทานอาหารได้ ควรรับประทานยาประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนอาหาร ปวดท้องจากโรคอาหารเป็นพิษต้องหายภายในเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง
  3. ฤดูร้อนเป็น ฤดูที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด ในบางพื้นที่ของประเทศที่ประสบกับภาวะภัยแล้ง ในช่วงฤดูร้อนนี้อาจจะเกิดการระบาดของโรคติดต่อบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ บิด อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย หรือไข้ไทฟอยด์ เป็น ต้น จึงควรระมัดระวังในเรื่องความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม และภาชนะในการใส่อาหาร ตลอดจนให้มีการใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และควรทราบในเบื้องต้นถึงอาการสำคัญและวิธีการป้องกันโรคติดต่อที่มักจะเกิด ในฤดูร้อนที่สำคัญ และพบได้บ่อย
  4. โรคอาหารเป็นพิษเกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อซัลโมเนลล่า แคมไพโรแบคเตอร์ เชื้อรา เห็ดบางชนิด หรือสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร สามารถติดต่อได้โดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป ซึ่งมักพบในอาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ จากเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว และไข่เป็ด ไข่ไก่ รวม ทั้งอาหารกระป๋อง อาหารทะเล และน้ำนมที่ยังไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ นอกจากนี้อาจพบในอาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านานๆ แล้วไม่ได้แช่เย็นไว้ ถ้าไม่ได้อุ่นให้ร้อนพอ ก่อนรับประทานก็จะทำให้เป็นโรคนี้ได้

ปวดท้องจากไส้ติ่งอักเสบ

  1. ไส้ติ่งอยู่บริเวณท้องด้านขวา ล่าง เมื่อเกิดการอักเสบ มีอาการปวดท้องเป็นสำคัญ ในระยะเริ่มแรกอาการปวดไม่รุนแรงนัก และรู้สึกปวดที่บริเวณกลางท้อง เมื่อการอักเสบรุนแรงขึ้น อาการปวดจะชัดเจนมากขึ้น และย้ายมาปวดที่บริเวณท้องด้านขวาล่าง การไอ จาม ขยับตัว หรือการกดบริเวณที่ปวดจะรู้สึกเจ็บ หลังจากนั้นจะรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน และมีไข้
  2. อาการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายในวันเดียว ควรจะไปตรวจที่โรงพยาบาล เพราะหากใช่ไส้ติ่งอักเสบจะต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด
  3. ไส้ติ่งมีส่วนช่วยดักจับเชื้อ โรคที่ผ่านเข้ามาในบริเวณลำไส้ ทำหน้าที่คล้ายกับต่อมทอนซิล และต่อมอะดีนอยด์ ที่มีต่อมน้ำเหลืองไว้คอยดักจับเชื้อโรค
    ขนาดของ ไส้ติ่งยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กว้าง 1.5 เซนติเมตร ตำแหน่งไส้ติ่งอยู่ตรงลำไส้ใหญ่ส่วนต้นบริเวณท้องน้อยข้างขวา มีลักษณะคล้ายหาง ปลายปิด ส่วนอีกด้านหนึ่งต่อกับปลายลำไส้ใหญ่
  4. ไส้ติ่งอยู่บริเวณท้องน้อยข้าง ขวา หากมีอาการปวดหรือกดเจ็บบริเวณท้องน้อยข้างขวา จึงควรนึกถึงไส้ติ่งอักเสบไว้ก่อน แล้วรีบไปปรึกษาแพทย์

ปวดท้องจากนิ่วถุงน้ำดี และถุงน้ำดีอักเสบ

  1. คนจำนวนไม่น้อยมีนิ่วในถุงน้ำดี (gall stone) โดย ไม่เกิดอาการใดๆ ส่วนมากประมาณร้อยละ 85 จะไม่มีอาการใดๆเลยจากนิ่วเหล่านี้ ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อนิ่วเคลื่อนตัวไปอุดท่อน้ำดี ทำให้เกิดอาการปวดท้องหรือแน่นท้องอย่างรุนแรง บริเวณใต้ลิ้นปี่ อาการปวดเพิ่มความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และคงอยู่นานไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง จนถึง 2-3 ชั่วโมง แล้วค่อยๆ ทุเลาเมื่อนิ่วที่อุดอยู่หลุดไป ในที่สุดก็หายเป็นปกติ แต่ก็จะเกิดอาการทำนองเดียวกันอีกภายหลังอีกหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือหลายเดือนต่อมา ไม่มีการปวดแบบเป็นๆ หายๆ ติดต่อกันหลายวัน
  2. ในกรณีที่นิ่วที่อุดอยู่ไม่หลุดไป ถุง น้ำดีจะเกิดการอักเสบ อาการปวดท้องไม่หายไป และจะย้ายตำแหน่งไปปวดที่บริเวณท้องด้านขวาบน กดเจ็บในบริเวณนั้น และมีไข้ รวมทั้งมีอาการคลื่นไส้อาเจียน บางกรณีมีดีซ่านด้วย
  3. นิ่วในถุงน้ำดี (gallstone) พบในเพศ

                                 Link    https://www.108health.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

โรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร

-โรคกระเพาะ
-โรคมะเร็งทางเดินอาหาร
-ความผิดปกติของถุงน้ำดี
-ตับอ่อนอักเสบ
-กรดไหลย้อน
 

โรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหารหมายถึงภาวะที่มีแผลเยื่อบุกระเพาะ และลำไส้ถูกทำลายถึงแม้ว่าจะเรียกว่าโรคกระเพาะ แต่สามารถเป็นได้ทั้งที่กระเพาะ และลำไส้ ว่า ถ้าเป็นเฉพาะเยื่อบุกระเพาะเรียก gastritis แต่ถ้าเป็นแผลถึงชั้นลึกmuscularis mucosa เรียก ulcerถ้าแผลอยู่ที่กระเพาะเรียก gastric ulcerถ้าแผลอยู่ที่ลำไส้เล็กเรียกduodenal ulcer โรคกระเพาะพบได้ทุกวัย 

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะมีมากมาย แต่เชื่อกันว่า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีกรดในกระเพาะอาหารมาก และเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง

  1. เชื่อโรค Helicobacter pylori
  2. เป็นเชื้อรูปแท่งติดสีน้ำเงิน มีความสามรถอยู่ในสภาวะกรดได้ดี

  3.  สาเหตุที่กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งต่อไปนี้กระตุ้นให้กรดหลั่งมาก
  • กระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียด วิตกกังวลและอารมณ์
  • การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง
  • ชา กาแฟ และน้ำดื่มที่มี Caffeine จะทำให้กรดหลั่งออกมามาก
  • การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามาก
  •  การกินอาหารไม่เป็นเวลา
  • ภาวะที่มีกรดหลั่งออกมามาก เช่นโรค Zollinger-Ellisson syndrome กรดที่หลั่งออกมามาก จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
  1.   มีการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจาก
  •  การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่างๆโดยเฉพาะสารที่ระคายกระเพาะ เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID แม้วว่าจะให้ยาโดยการฉีดหรืออมใต้ลิ้นก็มีโอกาสเกิดแผลที่กระเพาะ เนื่องจากนี้จะไปกระตุ้นให้เกิด cyclooxigenase II (Cox II) ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะ
  • การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัดจากน้ำสมสายชู
  • การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบี้ย ยาดอง
  1.  ประวัติเป็นโรคกระเพาะในครอบครัวหากครอบครัวไหนมีโรคกระเพาะ คนในครอบครัวนั้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระสูง
 

เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่สำคัญของผู้ป่วยโรคกระเพาะ เชื่อว่าติดต่อโดยการรับประทานอาหาร และน้ำ เชื้อจะทำลายเยื่อบุ และฝังตัวที่กระเพาะอาหาร กรดจากกระเพาะอาหารจะช่วยทำลายเยื่อบุทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร



อาการของโรคกระเพาะ วิธีการรักษา อาหารสำหรับโรคกระเพาะ โรคกระเพาะอาหาร

            Link   https://www.siamhealth.net

 

โรคมะเร็งทางเดินอาหาร

โรคมะเร็งทางเดินอาหาร

Gastrointestinal Stromal Tumors (GIST)

โรคมะเร็งทางเดินอาหาร เกิดจากมีเชื้อมะเร็งเจริญเติบโตขึ้นที่บริเวณทางเดินอาหาร ใกล้ๆ กับช่องท้อง เหตุปัจจัยที่ส่งเสริมคือ การบริโภคอาหาร เครื่องดื่มที่มากเกินควร และมีรูปร่างอ้วนเกินไป

คน ที่รับประทานอาหารที่มาก และเร็วจะมีอาการเรอ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อโรคได้ง่าย เมื่อรับประทานอาหารเร็วก็จะมีอากาศเข้าไปพร้อมๆ กับอาหารที่มากเกินควร ก็ทำให้น้ำย่อยต้องหลั่งออกมาในปริมาณที่มากขึ้นด้วย ในขณะที่เรอ น้ำย่อยก็จะไหลย้อนกลับมาทางเดินอาหาร

อีก ประการที่สำคัญ คือรูปร่างที่อ้วนไขมันที่สะสมอยู่บริเวณรอบๆ ช่องท้อง เป้นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยดันน้ำย่อยจากช่องท้องไหลย้อนกลับขึ้นไปทางเดิน อาหาร โดยเฉพาะการที่ต้องนั่งยองๆ หรือเวลาที่ต้องรัดเข็มขัดแน่นๆ ก็ล้วนเป็นตัวช่วยผลักเอาไขมัน และน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปทางเดินอาหาร และการที่เผลอหลับไปทันทีหลังจากบริโภคอาหาร และเครื่องดื่ม ซึ่งจะทำให้น้ำย่อยหลั่งย้อนกลับขึ้นมาที่ทางเดินอาหาร และในขณะที่นอนอยู่ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ประสบกับโรคร้ายที่น่ากลัว Backward flowed Gullet Flame เนื่องจากการที่มีน้ำย่อยไหลย้อนกลับไปที่ทางเดินอาหาร ทำให้ทางเดินอาหารเกิดการอักเสบ เป็นเหตุให้รู้สึกว่าหน้าอกร้อนผ่าว

  • คุณเคยเรอ หลังจากรับประทานอาหารเสร็จหรือไม่ ?
  • คุณเคยรู้สึกหน้าอกร้อนผ่าว บ้างหรือไม่ ?
  • คุณเอนตัวนอนทันที หลังจากรับประทานอาหารเสร็จหรือไม่ ?

    Link   https://www.thaitravelhealth.com

ความผิดปกติของถุงน้ำดี

          ความผิดปกติของถุงน้ำดี ถุง น้ำดี (gall bladder) ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย โดยอยู่ใต้ตับบริเวณชายโครงด้านขวา ถุงน้ำดีมีรูปร่างคล้ายลูกแพร ยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ถุงน้ำดีจะเป็นที่เก็บน้ำดีซึ่งสร้างจากตับ และจะมีท่อน้ำดีไปเปิดสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น โดยน้ำดีมีหน้าที่ย่อยอาหารประเภทไขมัน

 

          ความผิดปกติของถุงน้ำดีที่พบบ่อย คือ นิ่วในถุงน้ำดี และถุงน้ำดีอักเสบ

 

         นิ่วในถุงน้ำดี

  1. มักพบผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่มีรูปร่างค่อนข้างอ้วน และอยู่ในวัยกลางคนอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่มีนิ่วในถุงน้ำดีอาจไม่มีอาการใดๆ เลย หรือบางรายอาจมีอาการแน่นอึดอัด เหมือนอาหารไม่ย่อยภายหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะถ้าเป็นอาหารที่มีไขมันสูง จะยิ่งมีอาการมากขึ้น

  2. นิ่วในถุงน้ำดี เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย มักจะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปวดท้องอย่างรุนแรง อาหารไม่ย่อย แน่น อึดอัด จุก เสียด อาจ มีอาการอักเสบของถุงน้ำดีอย่างเฉียบพลัน หรือเป็นสาเหตุในตับอ่อนอักเสบ ซึ่งถ้ามีอาการต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว พบว่าการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกจะได้ผลดีที่สุด และผู้ป่วยมักจะหายขาดจากอาการดังกล่าว

  3. ตั้งแต่ พ.ศ. 2532 ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการผ่าตัดถุงน้ำดี จากการผ่าตัดทางหน้าท้องทั่วๆ ไปมาเป็นการเจาะผนังหน้าท้อง โดยใช้กล้องวิดิทัศน์ และเครื่องมือสอดผ่านเข้าไปตัดเอาถุงน้ำดีออก ผลดีจากการใช้เทคนิคใหม่นี้คือ สามารถลดความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดหน้าท้องทั่วไป ได้อย่างมาก ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหว และรับประทานอาหารได้ในวันแรกหลังผ่าตัด ลดเวลาที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาล หลังผ่าตัดเหลือเพียงประมาณ 2 - 3 วัน เทียบกับ 6 - 7 วัน จากการผ่าตัดหน้าท้อง สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ประมาณร้อยละ 30 ผู้ป่วยสามารถกลับไปประกอบอาชีพได้เร็วกว่ามาก

  4. ข้อจำกัดในการใช้เทคนิคใหม่ พบว่ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนมาผ่าตัดทางหน้าท้องแทน หลังจากได้พยายามทำโดยการเจาะแล้วประมาณร้อยละ 3-5 ซึ่งมักจะเป็นเหตุผลทางด้านเทคนิคต่าง ๆ ความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์ผู้ให้การรักษา เป็นข้อสำคัญที่สุดในการที่จะบอกได้ว่าผลทางการรักษาจะดีหรือไม่ เป็นที่ยอมรับกันว่า ศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญในการทำน้อยกว่า 25 ราย อาจจะเกิดปัญหาแทรกซ้อนได้ถึงร้อยละ 67 เทียบกับผู้ที่ทำ 50 รายขึ้นไป จะเกิดปัญหาแทรกซ้อนได้เพียงร้อยละ 14-19 ปัจจุบันการรักษานิ่วในถุงน้ำดีโดยใช้กล้องวิดิทัศน์ นับเป็นการรักษาแบบมาตรฐาน ซึ่งผู้ป่วยไม่ต้องกังวลกับผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากแผลผ่าตัดใหญ่ ๆ อีกต่อไป

                    Link   https://www.yaandyou.net
 
ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ตับอ่อนอักเสบ (Pancreaitis) เกิดจาดตับอ่อนถูกทำลายด้วยน้ำย่อยของตับอ่อนเอง โดยที่ยังไม่ทราบกลไกลการเกิดที่แน่ชัด ซึ่งความรุนแรงของโรคอาจแตกต่างกันไป ตั้งแต่ไม่มีความรุนแรงเท่าใดจนถึงขั้นรุนแรงมาก ช็อคและอาจเสียชีวิตได้

ชนิดของตับอ่อนอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

 
1.
ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute pancreatitis)
 
2.
ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง (Chronic pancreatitis )

ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ( Acute pancreatitis)

เกิดจากตับอ่อนถูกทำลายด้วยน้ำย่อยของตับอ่อนเอง

สาเหตุการเกิดตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

สาเหตุที่พบบ่อย

 
1.
นิ่วในถุงน้ำดีและท่อ น้ำดี คือ ก้อนนิ่วอาจจะหลุดไปอุดตันที่ทางออกปากทางของท่อน้ำด ีที่จะลงไปในลำไส้ทำให้ท่อน้ำย่อยตับอ่อนอุดตัน และล้นกลับมาที่ตับอ่อน ทำให้น้ำย่อยของตับอ่อนทำลายเนื้อเยื่อของตับอ่อนเอง แต่อาการเหล่านี้มักพบชั่วคราว หากแก้ปัญหาเรื่องนิ่วได้ อาการตับอ่อนอักเสบก็จะหายไปในที่สุด
 
2.
เครื่องดื่มที่ผสม แอลกอฮอล์ จำพวก เหล้า เบียร์ ไวน์ อาจทำลายเนื้อตับอ่อนโดยตรง หรือไปกระตุ้นฮอนโมนบางตัวในร่างกาย ทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดเพิ่มขึ้น และตับอ่อนขับน้ำย่อยมากขึ้น จนทำให้น้ำย่อยทำลายตับอ่อนเอง

สาเหตุที่พบน้อยและสาเหตุอื่นๆ

 
1.
เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น mumps
 
2.
ความผิกปกติของ metabolic เช่น การมีแคลเซียมสูง (Hyperkalemia) การมีไข้สูง (Hyperlipidemis)
 
3.
เกิดจากการใช้ยาบางชนิด เช่น Thizide Tetracycline Sulphonamid Croticosteroide และ Methydpa เป็นต้น
 
4.
เกิดการ Trauma (ได้รับการบาดเจ็บ) เช่น ถูกกระแทกรุนแรงที่หน้าท้องด้านบน
 
5.
หลังผ่าตัดบริเวณใกล้เคียงตับอ่อน ทำให้ตับ ถูกกระทบกระเทือน หรือจากการส่องกล้อง ทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP)

อาการ

 
1.
ปวดท้องรุนแรงที่ลิ้นปี่และชายโครง ปวดร้าวทะลุไปกลางหลังและปวดตลอดเวลา
 
2.
คลื่นไส้อาเจียนแต่ไม่ค่อยมีน้ำย่อยออก
 
3.
ท้องอืดแน่นท้องและกดเจ็บที่หน้าท้องด้านบนท้องหน้าจะเกร็ง
 
4.
บางรายปวดรุนแรงจนถึงขั้นช็อคหมดสติได้

การรักษาพยาบาล
มีจุดมุงหมายเพื่อลดการอักเสบ โดยลดการกระตุ้นตับอ่อนในการผลิตน้ำย่อยและรักษาโรคที่เกิดแทรก

 
1.
งดน้ำและอาหาร และใส่สายยางไปในกระเพาะอาหาร เพื่อดูดเอาลม และน้ำย่อยในกระเพาะออกทางเครื่องดูดสุญญากาศ เพื่อลดอาการท้องอืดแน่น และอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งจะทำให้ตับอ่อนลดการสร้างน้ำย่อยที่ผลิตที่ตับอ่อน
 
2.
ให้น้ำเกลือ หรือน้ำเกลือแร่ทดแทน
 
3.
ให้ยาแก้ปวด ตามแผนการรักษาของแพทย์
 
4.
ให้ยาปฎิชีวนะ ในรายที่มีการติดเชื้อร่วมด้วย
 
5.
ให้ยาที่ออกฤทธ์ต้านการหลั่งกรดของกระเพาะ และต่อต้านการขับน้ำย่อยของตับอ่อนในผู้ป่วยบางราย
 
6.
ให้ออกซิเจนหรือเครื่องช่วยหายใจในรายที่มีอาการรุนแรงเสื่องต่อการช็อค
 
7.
การผ่าตัดจะทำในกรณที่เนื้อตับอ่อนถูกทำลายมาก และไม่อาจรักษาได้
 
8.
การส่องกล้อง ERCP เพื่อขจัดนิ่วในท่อน้ำดี ในรายที่เกิดจากนิ่วในท่อน้ำดีและอาการรุนแรง
 
9.
ให้คำแนะนำเรื่องการปฎิบัติตัว เมื่อเป็นตับอ่อนอักเสบ เพื่อให้ดูแลตัวเองอย่างถูกต้องและป้องกัน

ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง (Chronic pancreatitis)
ส่วนมากทีผลมาจากความผิดปกติของตับอ่อน หรือระบบทางเดินอาหารเอง ทำให้ตับอ่อนแข็งขรุขระมีหินปูนจับในเนื้อตับ ท่อน้ำย่อยของตับอ่อนตีบตัน หรือพองออกเป็นช่องๆ เป็นสาเหตุให้มีนิ่วอยู่ภายใน ทำให้การทำงานของตับอ่อนเสียไป

สาเหตุ

Link  https://www.yourhealthyguide.com

 
เกือบทั้งหมดเกิดจากการดื่มเหล้าจัด ทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบซ้าแล้วซ้ำอีก จนเนื้อตับอ่อนถูกทำลายไปมาก ทำให้เกิดเป็นการอักเสบเรื้อรังขึ้น อาจไม่มีอาการของตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันนำมาก่อนก็ได้สาเหตุอื่นๆ ที่พบได้ เช่น ตับอ่อนเรื้อรังที่ไม่พบสาเหตุอื่น ( ldopathic choronic pancreatitis) นิ่วในระบบทางเดินน้ำดี , ลักษณะผิดปกติของท่อน้ำดีและตับอ่อนแต่กำเนิด ( Pancreas divisum) โรคขาดอาหาร

อาการ

 
1.
ปวดท้อง จุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ทะลุไปหลังในระยะแรกอาจปวดๆ หายๆ ต่อมาความรุนแรงจะเิพิ่มขึ้น อาจต้องใช้ยาระงับปวดเป็นประจำ และอาจเกิดตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันแทรกซ้อนได้เป็นระยะๆ มักเป็นหลังอาหารหรือดื่มสุรา
 
2.
ท้องเสียเรื้อรัง เนื่องจากตับอ่อนถูกทำลายอย่างมาก ทำให้ย่อยและดูดซึมไขมันไม่ได้
 
3.
เกิดอาการของโรคเบาหวาน ร่วมด้วยเพราะตับอ่อนถูกทำลายทำให้สร้างสารที่ชื่อ อินซูลิน (ซึ่งใช้ในการนำน้ำตาลในร่างกายไปใช้นั้นไม่ได้) เมื่อไม่มีอินซูลินระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูง ทำให้มักเกิดโรคเบาหวานขึ้น
 
4.
โรคทรกซ้อนของตับอ่อน เรื้อรังเกิดการอุดตันในทางน้ำดี เป็นสาเหตุให้เกิดตัวตาเหลือง การอุดตันของลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัม, การเกิดถุงน้จากการอักเสบรอบตับอ่อน (Pseudocyst)

การรักษาพยาบาล

 
1.
แนะนำให้งดดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด
 
2.
รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย และลดอาหารจำพวกไขมัน
 
3.
ให้เอ็มซัยม์ตับอ่อนทดแทนช่วยในการย่อยเช่น Lipase (ไลเปส)
 
4.
ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาของแพทย์
 
5.
ใช้การผ่าตัดเมื่อมีข้อบ่งชี้
 
       
    แหล่งข้อมูล : www.ramaclinic.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคตับอักเสบ จาก ไวรัสเอ
 
เป็นโรคตับจะปฏิบัติตัวอย่างไรดี
 
ไซนัสอักเสบ
 
โรคกระเพาะอาหาร

อัพเดทล่าสุด