โรคเกี่ยวกับกระดูก โรคเกี่ยวกับระบบกระดูก โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก


28,154 ผู้ชม


โรคเกี่ยวกับกระดูก โรคเกี่ยวกับระบบกระดูก โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก

โรคเกี่ยวกับกระดูก

เก๊าท์
ลักษณะอาการ เก๊าท์เกิดจากกรดยูริคและหินปูนเกาะตามข้อต่างๆ เมื่อรับประทานของแสลงที่มีโปรตีนมากๆ จะไปกระตุ้นกรดยูริคและหินปูน ทำให้ไปปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดจึงเกิดการปวดบวม อาการเหล่านี้ปกติถ้ารับประทานยาแผนปัจจุบันก็เป็นเพียงการบรรเทาไประยะหนึ่งเท่านั้น บางรายที่มีอาการมากๆ ปวดบวมแล้วไม่ลดลงจะทำให้เลือดขาดการไหลเวียน เลือดขาดออกซิเจนจนแปรสภาพเป็นเลือดเสียถึงขั้นต้องตัดนิ้วทิ้งก็มี
ดื่มยาน้ำสมุนไพรจีน ฮั้วลักเซียม มีผู้ป่วยด้วยโรคนี้จำนวนมากสนใจดื่มสมุนไพร เพราะได้ผลดี หายขาดทุกราย แต่ถ้าจะให้ดีควรดื่มต่อสักระยะ ถ้าดื่มจนครบ สี่ ห้า หก ขวด จะหายเป็นปกติทุกราย

ปวดข้อและปวดเข่า
ลักษณะอาการ เป็นอาการของไขข้อเสื่อมหรือไขข้อแห้ง สาเหตุเพราะไตทำงานไม่สมบูรณ์ ต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนน้อย เนื่องจากฮอร์โมนที่ผลิตออกมาจะต้องไปหล่อเลี้ยงเซลล์ของร่างกายและผิวพรรณแล้ว อีกส่วนหนึ่งยังไปเสริมสร้างพลังทางเพศอีกด้วย และส่วนที่เหลือจะแปรสภาพเป็นไขข้อไปหล่อเลี้ยงตามข้อและกระดูกทุกส่วนของร่างกาย การรักษาปัจจุบันใช้วิธีผ่าตัดเส้น ทำให้มีผลข้างเคียงหรือเกิดอาการชาครึ่งหนึ่ง
ดื่มยาน้ำสมุนไพรจีน ฮั้วลักเซียม การดื่มสมุนไพรไปนั้นจะช่วยให้กระตุ้นในส่วนของการผลิตฮอร์โมนและยังช่วยในการคลายเนื้อเยื่อและเส้นต่างๆให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

กระดูกทับเส้น - เส้นทับกระดูก
ลักษณะอาการ เนื่องจากการผลิตฮอร์โมนของต่อมหมวกไตไม่เพียงพอ ทำให้เยื่อบุกล้ามเนื้อเกิดการหย่อนยานเป็นพังผืด พอนานวันก็ไปหุ้มเส้นและกระดูก ทำให้กระดูกและเส้นเสียสมดุล ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก จึงเกิดอาการปวด แรกๆก็ปวดไม่มาก นานๆวันก็ปวดมากขึ้น บวกกับหินปูนไปเกาะเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งทำให้ปวดมากขึ้น
ดื่มยาน้ำสมุนไพรจีน ฮั้กลักเซียม ช่วยในการคลายเนื้อเยื่อและเส้นต่างๆ ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

กระดูกเคลื่อนหรือหลุดออกจากข้อ
ลักษณะอาการ เกิดจากเส้นเอ็นหย่อนยานหรือบิดตัวทำให้กระดูกเคลื่อนจากข้อต่อ หรือหลุดออกจากข้อหรือเบ้า ทำให้เจ็บปวดมาก ปกติจะใช้การผ่าตัดแต่ไม่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์
ดื่มยาน้ำสมุนไพรจีน ฮั้วลักเซียม ช่วยให้เส้นเอ็นกระชับตัว ดึงกระดูกให้เข้าที่

กระดูกโก่งงอ
ลักษณะอาการ อาการนี้มักจะเกิดขึ้นต่อเนื่องมาจากระบบฮอร์โมนและการทำงานหนัก หรือการยืนนานๆเป็นประจำ เท่าที่พบมักจะเกิดกับกระดูกขาและกระดูกหลัง มีการโก่งตัวไปข้างหน้าหรือด้านหลังจนเสียการทรงตัว ทั้งนี้ต้นเหตุเกิดจากการเสื่อมของเส้นเอ็นที่ยึดกระดูกไม่สมดุล ต้นเหตุมาจากการเสื่อมของฮอร์โมนไขข้อไม่เพียงพอนั่นเอง
ดื่มยาน้ำสมุนไพรจีน ฮั้วลักเซียม ก็จะช่วยพัฒนาและเสริมสร้างการทำงานของไตและหมวกไตให้ผลิตฮอร์โมนออกมามากขึ้น ไขข้อก็จะมีมากขึ้นรวมทั้งยังไปช่วยรักษาความสมดุลของเส้นเอ็นให้กลับคืนสู่สภาพปกติ อาการต่างๆก็จะหายไปเอง
     Link  https://haklaksiam.igetweb.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โรคเกี่ยวกับระบบกระดูก

กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน กระดูกอ่อน
ถ้า จะกล่าวถึงโรคที่เกี่ยวกับกระดูกแล้ว สิ่งที่พูดถึงกันมากคือ กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน และกระดูกอ่อน ซึ่งอย่าเหมารวมว่าเป็นโรคเดียวกันหรือมีการรักษาแบบเดียวกัน แต่ละอย่างก็มีลักษณะและการรักษาที่แตกต่างกันไป แต่กลับถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ประเภทเสริมกระดูกกันอย่าง แพร่หลาย
     ปัจจุบันพบว่ามีการให้ข้อมูลและแนะนำให้กินแคลเซียม วิตามินดี น้ำมันตับปลา ตลอดจนวิตามินและเกลือแร่อื่นๆ ทั้งในรูปของยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและสตรีวัยหมดประจำเดือนว่าจะช่วยเสริมกระดูก ซึ่งเป็นการแนะนำโดยไม่ได้แยกแยะว่าการกินสารอาหารเหล่านี้มีความเหมาะสมแค่ ไหนกับโรคกระดูกชนิดใด
     ที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่านั้นคือ แพทย์หลายท่านยังนิยมให้ผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อกินแคลเซียมทั้งชนิดเม็ดและ ชนิดละลายน้ำก่อนดื่ม โดยอาจไม่ได้พิจารณาให้รอบคอบตามโรคที่เป็นจริงๆ ซึ่งไม่เพียงแต่จะไม่ได้ประโยชน์ แต่อาจทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เกิดอาการข้างเคียง และเกิดฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ของแคลเซียมได้
     ผู้เขียนไม่ได้ต่อต้านการใช้แคลเซียมหรืออาหารเสริมกระดูก แต่อยากนำเสนอในมุมมองที่แตกต่างออกไปเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เพราะอยากให้พิจารณาใช้กันอย่างรอบคอบและให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงและตรง จุดตรงโรคมากกว่า
     ดังนั้น จึงขออธิบายลักษณะของโรคกระดูกทั้ง ๓ แบบ คือ กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน และกระดูกอ่อน เพื่อให้เห็นความแตกต่างกัน ดังนี้
กระดูกเสื่อม
     โรคกระดูกเสื่อม คือโรคที่มีการเสื่อมของกระดูกอ่อนของข้อที่มีการเคลื่อนไหวมาก เช่น ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อมือ ข้อศอก ข้อไหล่ และข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ซึ่งส่วนประกอบหลักของกระดูกอ่อนเหล่านี้คือน้ำและโปรตีน ที่จะทำให้กระดูกอ่อนมีความยืดหยุ่น ทนต่อแรงกระแทกและเสียดสี แต่เมื่อใช้ไปนานๆ ก็จะเกิดการเสื่อมและสึกหรอ
     เมื่อเสื่อมแล้วก็จะเกิดอาการปวดขัดตามข้อ ข้อโปนและผิดรูป มักพบในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานหนัก อย่างชาวไร่ชาวนา พ่อค้า แม่ค้า และกรรมกร คนเหล่านี้เมื่อไปโรงพยาบาล (ส่วนใหญ่ไปเป็นประจำ เพราะโรคไม่หาย) ก็จะได้ยาแก้อักเสบ บรรเทาปวด ยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะ แคลเซียม รวมถึงกลูโคซามีน เป็นหลัก
     เรียกว่าถ้าใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า เบิกราชการ หรือบริษัทได้ (ฟรี) ก็จะได้ยากลุ่มนี้กันทุกคน แล้วทราบกันหรือไม่ว่าห้ามกินยาลดกรดกับแคลเซียม เพราะจะไม่ดูดซึม อาจทำให้ท้องผูก และไม่เกิดประโยชน์อะไร กระดูกอ่อนเสื่อมนั้นไม่ได้เกี่ยวอะไรกับแคลเซียม
     การรักษาคือ ถ้าปวดมากก็ใช้ยาบรรเทาปวดหรือลดการอักเสบเป็นครั้งคราว ลดการใช้งานของข้อนั้นๆ บริหารข้อเพื่อสร้างความแข็งแรง รวมถึงอาจใช้ยาเสริมกระดูกพวกกลูโคซามีนช่วยได้บ้าง
กระดูกพรุน
     โรคกระดูกพรุน หรือกระดูกโปร่งบาง บางครั้งเรียกว่ากระดูกผุ เป็นการเสื่อมของกระดูกแข็งที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย โดยมีเนื้อเยื่อกระดูกและแคลเซียมลดลง ทำให้กระดูกทรุดลงและแตกหักง่าย มักพบในผู้สูงอายุและสตรีหลังหมดประจำเดือน
     โรคนี้แหละที่เป็นจุดขายของแคลเซียมและอาหารเสริมต่างๆ ในทางการตลาดจะส่งเสริมการขายโดยการวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้สูงอายุและสตรีสูงอายุเกือบทุกรายถ้าได้ตรวจก็จะพบว่า กระดูกบางกว่าปกติ แล้วก็จะได้แคลเซียมมา ซึ่งมักกำหนดให้กินในขนาดสูงๆ (ไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน) โดยลืมพิจารณาว่าผู้ป่วยนั้นได้แคลเซียมจากอาหารการกินมากน้อยเพียงใด แล้วแคลเซียมที่ให้มานั้นเป็นเกลือแคลเซียมชนิดใด เวลาแตกตัวแล้วจะให้แคลเซียมอิสระปริมาณเท่าใด และที่สำคัญคือถ้าได้มากไปจะเกิดผลเสียอย่างไร
     แคลเซียมมีในอาหารหลายๆ ประเภท เช่น ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง นม หรือแม้กระทั่งผักใบเขียว ถ้าเทียบตามน้ำหนักพบว่า นมวัวมีแคลเซียมน้อยกว่ากุ้งแห้งเกือบ ๒๐ เท่า และน้อยกว่าผักคะน้า ๒ เท่า ดังนั้น ถ้ากินอาหารได้ตามปกติครบ ๕ หมู่ในปริมาณที่เพียงพอก็จะไม่ขาดสารอาหารใดๆ รวมถึงแคลเซียม
กระดูกอ่อน
โรค กระดูกประเภทสุดท้ายที่จะกล่าวถึงคือโรคกระดูกอ่อน เป็นลักษณะที่กระดูกขาดแคลเซียมโดยที่เนื้อเยื่อกระดูกปกติ ความแข็งแรงจึงลดลงแต่ยืดหยุ่นมากขึ้น มักพบในคนที่ขาดวิตามินดี เด็กช่วงอายุ ๖ เดือนถึง ๓ ขวบ
คนที่ขาดสารอาหารรุนแรง ผู้สูงอายุที่ขาดการเคลื่อนไหวและไม่ได้สัมผัสแสงแดด ผู้ป่วยโรคไตพิการ หรือผู้ที่มีต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ
โรคนี้แหละที่ถือว่าร่างกาย ขาดแคลเซียมอย่างแท้จริง และจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมด้วย การให้ทั้งแคลเซียมและวิตามินดี ร่วมกับการแก้ไขที่ต้นเหตุ
เรื่องของโรค กระดูกประเภทต่างๆ ที่กล่าวมา คงพอจะแยกแยะได้บ้างว่า การใช้แคลเซียมหรือผลิตภัณฑ์เสริมกระดูกต่างๆ นั้นจำเป็นมากน้อยแค่ไหน และใช้อย่างไรเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

โรครูมาตอยด์

โรครูมาตอยด์คืออะไร?
โรครูมาตอยด์เป็นโรคข้อ อักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ลักษณะเด่นคือ มีการเจริญของเยื่อบุข้ออย่างมาก เกิดการลุกลามและทำลายกระดูกและข้อได้ในที่สุด  ระยะแรกผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพลีย ปวดตามข้อ มีอาการฝืดขัดข้อเป็นเวลานาน (ตอนเช้า) เมื่อมีอาการชัดเจนข้อจะมีการบวม ร้อน และปวด ส่วนที่พบบ่อยคือข้อของนิ้วมือ ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้า และข้อนิ้วเท้า
อาการ ของข้ออักเสบจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป บางรายอาจมีอาการรุนแรงแบบเฉียบพลันได้ โรครูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุด แต่จะมีกลุ่มโรคข้ออักเสบเรื้อรังอื่นๆ อีกมากที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรครูมาตอยด์ ผู้ป่วยจึงควรได้รับการตรวจจากแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาที่ถูกต้องต่อไป
พบว่าโรคนี้เกี่ยวข้อง กับการติดเชื้อบางชนิด และมีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมได้  โรครูมาตอยด์เกิดได้กับประชากรทุกกลุ่มอายุ แต่ส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยวัยกลางคน และเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 
 
 การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรครูมาตอยด์
อาการ ของโรคต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์  ผู้ป่วยจึงต้องไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและรับยาอย่างสม่ำเสมอ  ปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ใช้ในการควบคุมและรักษาโรครูมาตอยด์ให้ได้ผลดี ยาเหล่านี้ได้แก่ยาแอสไพรินและยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ผู้ป่วยแต่ละรายจะตอบสนองต่อยาเหล่านี้แตกต่างกันออกไป
ยาเหล่านี้อาจมี ผลข้างเคียงทางด้านระบบทางเดินอาหารและระบบไตได้ ในรายที่เป็นรุนแรง มีอาการมากและข้อถูกทำลายมาก แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่ายาระดับที่ ๒ ซึ่งได้แก่ ยาต้านมาลาเรีย ยาทองคำ ยาเมโทเทรกเซต ยาซัลฟาซาลาซีน เป็นต้น ยาเหล่านี้ไม่มีฤทธิ์ในการระงับการเจ็บปวด แต่จะช่วยระงับการลุกลามของโรคได้
การพักผ่อนและการบริหารร่างกาย มีส่วนสำคัญมากในการรักษาผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ การพักผ่อนจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น ไม่มีอาการอ่อนเพลีย แต่การพักจะต้องสมดุลกับการบริหารร่างกายเพื่อไม่ให้ข้อติดขัด  การป้องกันไม่ให้ข้อถูกทำลายมากขึ้น ผู้ป่วยควรเรียนรู้ และหลีกเลี่ยงอิริยาบถที่อาจส่งเสริมให้ข้อถูกทำลายเร็วขึ้น เช่น การนั่งขัดสมาธิในกรณีที่ข้อเข่าอักเสบ         

กินอยู่อย่างไรเมื่อมีโรครูมาตอยด์ (เสริมจากการกินยาที่ได้รับจากแพทย์)
เลือก กินอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วน บทความจากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกิ้น ประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวว่า ผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์บางคนเป็นโรคขาดอาหาร  เนื่องจากไซโตไคน์บางตัวที่ร่างกายผลิตเมื่อมีการอักเสบเรื้อรังก่อให้เกิด อัตราเผาผลาญที่สูงขึ้น เกิดอาการน้ำหนักลดในผู้ป่วย
นอกจากนี้ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะขาดกรดโฟลิก วิตามินซี ดี บี๖ บี๑๒ วิตามินอี แคลเซียม แมกนีเซียม สังกะสี และเซลีเนียม ผู้ป่วยที่อยู่บ้านคนเดียวอาจไม่ไปตลาดบ่อยๆ ประกอบอาหารน้อยลงเนื่องจากข้อติดขัด  จึงอาจจะกินอาหารน้อยลงและขาดธาตุอาหารได้ ดังนั้นจะต้องดูแลผู้ป่วยกรณีนี้เป็นประการแรก กินแคลเซียมและวิตามินดีเพิ่มเติม รับแดดอ่อน ยามเช้าสัปดาห์ละ ๓ วัน เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนในวันหน้า  เลิกกินอาหารที่ก่อให้เกิดอาการ ผู้ป่วยบางคนการกินอาหารบางชนิด เช่น นม ผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลี เนื้อสัตว์ หรือเนื้อสัตว์ปรุงสำเร็จเช่นไส้กรอก พืชตระกูลมะเขือ (มะเขือเทศ มันฝรั่ง และมะเขือทุกชนิด) ทำให้อาการของโรคกำเริบ ให้ลองหยุดอาหารแต่ละชนิดดังกล่าว ๒ สัปดาห์ สังเกตอาการ และกลับมากินอาหารต้องสงสัยนั้นใหม่ ถ้าอาการโรคข้อรูมาตอยด์กำเริบก็ให้หยุดอาหารนั้นๆ ไปเลย
กินเนื้อปลาที่ มีกรดไขมันโอเมก้า-๓ นักวิจัยมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกิ้นแนะนำอาหารดังกล่าวต่อ  ผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์ แต่ไม่แนะนำการกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีน้ำมันโอเมก้า-3 ดังกล่าว เพราะปริมาณกรดไขมันที่มากเกินจะมีผลต่อการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วยได้
ดื่ม น้ำต้มกระชายหรือกระชายดิบ รากกระชาย ๕ แง่ง (มีเหง้าด้วยก็ได้) ทุบพอแตกใส่ในกาน้ำ เติมน้ำครึ่ง ลิตร ตั้งไฟจนน้ำเดือดยกลง ดื่มน้ำต้มกระชายแทนน้ำดื่ม จนหมดกา เติมน้ำใส่กาอีกครึ่งลิตรต้มจนเดือดเช่นเดิม เมื่อน้ำต้มจืดไม่มีรสให้เปลี่ยนรากกระชาย ใช้วันละ ๒ ชุดก็พอ แต่งรสได้ด้วยหญ้าหวานหรือน้ำผึ้งเล็กน้อย หรือกินกระชายดิบขนาดเท่า ๒ ข้อนิ้วก้อย วันละ ๓ เวลาก่อนอาหารโดยการเคี้ยวกลืน จะไม่เห็นผลในวันแรกอย่าเพิ่งหยุดกินเสีย
กระชายมีสารต้านอักเสบ มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราหลายชนิด มีสารต้านอนุมูลอิสระมาก ช่วยการไหลเวียนเลือดที่ดี เป็นยาอายุวัฒนะในตำรายาไทย หลายขนานอีกด้วย
กิน ขมิ้นชัน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำกินสารเคอร์คูมิน ๔๐๐ มก. วันละ ๓ ครั้ง แต่ผลิตภัณฑ์ขมิ้นชันที่ผลิตในประเทศไทยไม่ระบุปริมารสารออกฤทธิ์ จึงไม่ทราบปริมาณการกิน หรือกินขิงสดวันละ ๑๐ กรัมทุกวันแทนได้
รับการนวดแผนไทย สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง
ออกกำลังกายด้วยไทเก้กหรือโยคะ สัปดาห์ละ ๓-๔ ครั้ง
รายงาน จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐ-อเมริกาพบว่า การรำไทเก้กเป็นวิธีออกกำลังกายแบบยืดหยุ่นและเพิ่มสมรรถภาพการเคลื่อนไหว ที่ดีมาก ได้ประโยชน์ด้านการผ่อนคลายอารมณ์ด้วย 
ผู้ป่วยโรคข้อรูมา ตอยด์สูงอายุรายงานว่าอาการปวดข้อลดลงหลังการออกกำลังกายด้วยการรำไทเก้ก ทั้งนี้สารเอนดอร์ฟินที่หลั่งหลังการออกกำลังกายก็ช่วยลดอาการปวดได้เช่นกัน

โยคะ เป็นการออกกำลังกายที่เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และไขข้อ ท่าโยคะต่างๆ ทำให้ข้อต่อแข็งแรงขึ้นและสามารถถูกใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ลดอาการข้อติด ช่วยควบคุมระดับกรดยูริกในร่างกาย  ถ้าฝึกโยคะเป็นประจำจะทำให้ควบคุมน้ำหนักได้ดี ซึ่งจะช่วยลดภาระของข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์ด้วย
รายงานทางการ แพทย์จากประเทศสหราชอาณาจักรกล่าวว่า ผู้ป่วยที่ฝึกโยคะเป็นประจำมีการเคลื่อนไหว ดีขึ้น กำมือได้แน่นขึ้นและมีกำลังการกำมากขึ้น อาการปวดข้อน้อยลง ผลทางห้องปฏิบัติการดีขึ้นด้วย เห็นผลได้ภายใน ๓ เดือน
 แนะนำโยคะ อาสนะเบื้องต้น ค่อยๆ หัดไปวันละท่า นั่งดูโทรทัศน์ก็ฝึกสุขอาสนะ ยืนส่องกระจกก็ฝึกท่าภูเขา ท่าของคุณจะไม่สวยเหมือนนางแบบในโทรทัศน์ ทำเท่าที่ได้และไม่เจ็บ ถ้าเจ็บให้หยุด วันหน้าทำใหม่    ผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์ไม่เอาท่าสวยเอาความคล่องตัวของข้อดีขึ้น พอรู้สึกว่าร่างกายดีขึ้นก็ฝึกท่าจำนวนมากขึ้นในครั้งเดียวกัน เมื่อทำมากกว่า ๕ ท่าในครั้งเดียวให้จบด้วยชวาสนะทุกครั้ง ผู้สูงอายุจะฝึกให้มีลูกหลานคอยดูอยู่ด้วย
นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ ๓ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทำการศึกษาและเสนอวิธีการการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ชุมชนตามความต้องการของประชากรในพื้นที่ จากการออกเรียนรู้ชุมชน ณ บ้านห้วยโรง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๐ อาการปวด เมื่อยเป็น ๑ ใน ๔ ปัญหาสุขภาพหลักของประชากรที่มีอาชีพทำนาทำสวน และผู้สูงอายุในหมู่บ้านดังกล่าว 

ชาวบ้าน ๔๐ คนขอเลือกการฝึกโยคะเป็นการออกกำลังกายเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพ ชาวบ้านเชื่อว่าสามารถฝึกโยคะได้ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ ภิกษุและคนชรา   ไม่ว่าจะมีสมรรถนะร่างกายอย่างไร และเชื่อว่าการฝึกโยคะดีกว่าการไม่ทำอะไรให้ตัวเองเลย สามารถฝึกได้เองที่บ้าน ตามเวลาที่ตนเองจัดสรรได้ และไม่ต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพง คณะนักศึกษาจึงใช้ความรู้ที่เรียนมาเลือกกล้ามเนื้อสำคัญเพื่อการออกกำลัง กายเบื้องต้น และใช้กล้ามเนื้อสำคัญเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้เลือกท่าโยคะเรียบง่ายคล้ายที่ นำเสนอข้างต้น สร้างโปรแกรมฝึกโยคะยาว  ๑๕ นาทีให้กับชาวบ้าน จัดการสาธิต อบรมหมู่ แจก

 แผ่น พับแสดงท่าให้ไปฝึกเองที่บ้าน เยี่ยมบ้านเพื่อให้กำลังใจ และนัดประชุมชาวบ้านอีกครั้งเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของท่าโยคะและติดตามผล ในเวลา ๔ วันต่อมาก่อนเดินทางกลับมหาวิทยาลัย ชาวบ้านที่มารับการอบรมมีอายุตั้งแต่ ๙- ๗๒ ปี ผู้สูงอายุตั้งใจฝึกมากกว่าเด็กที่อยู่ไม่นิ่งตลอดเวลา
วันติดตามผล มีคนเข้าประชุมมากกว่าวันแรก เพราะชาวบ้านไปฝึกโยคะเองที่บ้านและพบความแตก-ต่างด้านคุณภาพชีวิตซึ่งเห็น ได้ในการฝึก ๑๕ นาทีเพียง ๔ วัน จึงอุ้มลูกจูงหลานมารับการฝึกเพิ่มเติม  ผู้สูงอายุและกลุ่มทำนารายงานว่า หลังฝึกโยคะเพียงวันละ ๑๕ นาทีพบว่าอาการปวดเมื่อยและข้อเข่าขัดลดน้อยลง นอนหลับได้สนิท และผู้สูงอายุกินอาหารได้มากขึ้น จึงมาอบรมซ้ำเพื่อได้ประโยชน์สูงสุด
ท่านเจ้าอาวาสวัดห้วยโรงก็สามารถฝึกท่าได้ในกุฏิ ส่วนตัวเช่นกัน เห็นว่าเป็นสิ่งดีมีประโยชน์สมควรฝึก    ต่อเนื่องในกลุ่มชาวบ้าน
ฝึกโยคะดูนะคะ ชวนลูกหลานฝึกไปพร้อมกัน  ผู้ป่วยอาจพบว่าตนยืดหยุ่นมากกว่าเด็กติดเกมที่ไม่เคยนั่งพับเพียบก็ได้ 

ทำอย่างไรเมื่อต้องขับรถนานๆ

ฉบับนี้ ผู้เขียนเองได้รับคำบอกเล่าจากน้องสาวของผู้เขียนหลังจากที่เธอได้ขับรถ ติดต่อกัน 5 ชั่วโมง ว่าน่าจะแนะนำการลดอาการปวดที่เกิดขึ้น เพราะแม้ว่าจะปรับเบาะและทุกสิ่งดีแล้ว แต่ถ้ายังต้องขับรถนานๆ ก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยอย่างแน่นอน
อาการปวดเมื่อยและวิธีการบรรเทาอาการเบื้องต้น
ทั่วๆ ไปแล้ว อาการปวดบ่า กระบอกตา คอ หลัง หน้าขา (สะโพก) และน่อง เป็นอาการที่พบได้บ่อย เรามาลองดูสาเหตุและการบรรเทาอาการเหล่านี้กัน
เมื่อ ขับรถต้องใช้สายตามาก ไม่สามารถพักสายตาได้ ต้องเพ่งและมองไปข้างหน้าตลอด ถ้าหากแสงแดดจ้าก็จะทำให้ตาต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันการเพ่งสายตามีผลต่อท่าทางของคอ คือคอต้องตั้งตรงนานๆ ย่อมมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อคอ ทำให้กล้ามเนื้อคอทำงานหนักและเกิดอาการล้าได้
การเมื่อยล้าของคอส่งผลต่อการบีบรัดเส้นประสาทโดยเฉพาะที่ฐานกะโหลกด้านหลังทำให้ปวดศีรษะและกระบอกตาได้
วิธี การแก้ไขปัญหาปวดกระบอกตาและล้าของตาคือ ต้องใส่แว่นปรับสายตาหากมีปัญหาเรื่องสายตาสั้นหรือยาว จะทำให้ลดการเพ่งในขณะขับรถ และหากขับรถในเวลาที่แดดจัดควรใช้แว่นกันแดด เพื่อลดปริมาณแสงที่อาจทำให้ม่านตาทำงานหนักได้
ขณะที่พักรถ หรือช่วงติดไฟแดงอาจใช้เวลาเล็กน้อยที่จะมองไปยังต้นไม้ที่มีสีเขียว หรือหลับตาพักสายตาสักครู่ และหากเป็นไปได้การนวดบริเวณต้นคอและบ่า 2 ข้าง จะสามารถลดความตึงเครียด ของกล้ามเนื้อบริเวณนั้นส่งผลให้ความรู้สึกล้าลดลงได้
ในขณะขับรถ กล้ามเนื้อบ่าจะทำงานเพื่อยกบ่าและแขนในการควบคุมพวงมาลัย หากการจับพวงมาลัยห่างจากตัวมากจะมีผลทำให้ต้องเอื้อมมือ ยืดแขนไปข้างหน้า กล้ามเนื้อบ่าและไหล่จึงทำงานมากขึ้นอีก และทำให้เกิดอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อบ่า และเกิดกล้ามเนื้ออักเสบได้ในที่สุด ซึ่งสามารถตรวจได้โดยการคลำกล้ามเนื้อนั้นๆ จะพบลำหรือปมแข็งในกล้ามเนื้อ เมื่อกดก็จะมีอาการเจ็บและร้าวได้
ดังนั้นการปรับระยะและความสูงของ พวงมาลัยเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ต้องเข้าใจว่าในขณะขับต้องทิ้งน้ำหนักแขนส่วนหนึ่งไว้ที่พวงมาลัย ไม่เกร็งแขนและไหล่ตลอด การเกร็งและยกแขนนี้อาจทำให้การควบคุมพวงมาลัยทำได้ยากกว่าที่ควรจะเป็น
อย่าง ไรก็ตาม คุณสามารถลดอาการตึงและปวดเมื่อยบ่านี้ได้โดยการหมุนไหล่แบบกายบริหารของ เด็กๆ ที่หมุนไหล่มาข้างหน้าและย้อนกลับหลัง โดยทำเมื่อหยุดพัก หรือหากเมื่อยในขณะขับรถท่านสามารถทำการแบะไหล่ไปด้านหลัง และแอ่นตัวมาข้างหน้า หรือทำการหมุนไหล่ข้างเดียวได้ โดยพิจารณาถึงความปลอดภัยในขณะขับขี่เป็นหลัก
สำหรับอาการปวดเมื่อย หลังเกิดขึ้นได้เนื่องจากท่านั่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกสันหลังมีแรงกด มากกว่าท่าอื่นๆ แม้ว่าจะมีเบาะพนักพิงก็ตาม แต่หลังที่อยู่ในลักษณะโค้งงอ ย่อมส่งผลต่อแรงดันในหมอนรองกระดูกสันหลัง โดยมีแรงกดด้านหน้าหมอนรองกระดูกมากกว่าด้านหลัง หมอนรองกระดูกจึงมีแนวโน้มที่จะปลิ้นไปทางด้านหลัง และอาจเกิดปัญหาของหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทได้ เอ็นและกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหลังจะถูกยืดมากกว่าเมื่อหลังอยู่ในท่าตรง
ดัง นั้น สิ่งที่ควรทำเมื่อพักรถคือ ค่อยๆ ลงจากรถ ไม่ลุกแบบพรวดพราด และก่อนจะลุกขึ้นควรทำการยืดตัวและแอ่นหลังประมาณ 3-4 ครั้งก่อน แล้วค่อยลุกขึ้น และเมื่อลุกขึ้นแล้วควรทำการยืดหลังและแอ่นหลังในขณะท่ายืนอีก 10 ครั้ง แล้วถึงจะทำการก้มหลังหรือใช้งานหลังได้ตามปกติ เหตุที่ให้ทำเช่นนี้เพราะว่าเอ็นที่อยู่ด้านหลังเมื่อนั่งนานๆ จะล้า ขาดความยืดหยุ่นตัว และถ้าก้มบิดตัว หรือใช้งานหลังหนักๆ (เช่น การยกของหนัก) การก้มขณะที่จะลุกจากรถ อาจมีผลต่อการเคลื่อนหรือปลิ้นตัวของหมอนรองกระดูกสันหลังได้
 
หาก เกิดอาการปวดเมื่อยล้าหลังขณะขับรถ คุณสามารถนำหมอนเล็กๆ สอดไว้ที่หลังส่วนล่างระหว่างเบาะกับหลังของคุณ เพื่อให้หมอนเป็นตัวดันให้หลังแอ่นตัวเล็กน้อย แต่ไม่ควรนั่งพิงหมอนนั้นตลอด เพราะจะเกิดความล้าต่อหลังได้เช่นกัน
การขับรถเกียร์อัตโนมัติ ความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อหน้าขาและน่องเกิดได้จากการที่ต้องขยับขาเพื่อการเหยียบเบรกและคันเร่ง
ขณะที่ถ้าขับรถเกียร์ธรรมดา จะมีอาการเมื่อยล้าขาซ้ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเหยียบคลัตช์
การ แก้ไขหรือลดอาการปวดขณะขับรถสามารถทำได้โดยการหมุนข้อเท้าจิกปลายเท้า กระดกปลายเท้าขึ้น เหยียดปลายเท้าลงให้สุด โดยสามารถทำกับเท้าข้างซ้ายข้างเดียวในขณะขับรถ และหากเมื่อหยุดพักแล้วคุณสามารถทำการหมุนหรือดัดต่อเท้าข้างขวา รวมทั้งทำการยืดกล้ามเนื้อหน้าขาได้ การยืดกล้ามเนื้อหน้าขาทำได้โดยยืนแล้วพับเข่าไปด้านหลังโดยเอามือช่วยจับเข่างอเข้ามายังก้น
อย่าง ไรก็ตาม การขยับเขยื้อน ออกกำลังกายแบบนี้เป็นการบรรเทาอาการเท่านั้น และหากทำขณะขับรถให้คำนึงถึงความปลอดภัยในการขับขี่เป็นหลักด้วย
สิ่ง ที่จะต้องทำที่สุดคือ การหยุดพักบ่อยๆ เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ ล้างหน้าล้างตา และทำการออกกำลังกายตามที่ได้กล่าวมา หรือทำการบิดขี้เกียจก็ได้ในลักษณะเหมือนการ บิดขี้เกียจตอนเช้าก่อนลุกขึ้นมาอาบน้ำ และเมื่อถึงที่หมายแล้ว ควรทำการนอนยกขาสูง โดยการนอนราบกับพื้นแล้วทำการยกขาแบบงอเข่าเล็กน้อยพาดกับเก้าอี้หรือโซฟา เพื่อให้เลือดไหลและน้ำเหลืองไหลกลับได้ง่ายขึ้น และทำให้หลังได้พักตัวลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อหลังได้ 

               
ขณะที่นอนนั้น คุณอาจใช้ผ้าเย็นประคบที่บ่าหรือคอเพื่อช่วยลดอาการตึงบริเวณฐานคอได้อีกด้วย
 

         Link  https://www.doctor.or.th

อัพเดทล่าสุด