วัยชรา วัยชรา ความหมาย มือใหม่วัยชรา 10 ข้อเท็จจริงว่าด้วยเรื่องวัยชรา


865 ผู้ชม


วัยชรา วัยชรา ความหมาย มือใหม่วัยชรา 10 ข้อเท็จจริงว่าด้วยเรื่องวัยชรา

การเข้าสู่วัยชราของประชากรโลกใน ประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว เป็นดั่งตัวชี้วัดของการปรับปรุงสุขภาพในระดับโลก ประชากรผู้สูงวัยคือบุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนกว่า 650 ล้านคน ภายในปี ค.ศ. 2050 ประชากรสูงวัยถูกคาดการณ์ไว้ว่าจะมีจำนวนพุ่งสูงถึง 2 พันล้านคน 

ผู้สูงอายุ

แนวโน้มนี้มาพร้อมกับความท้าทายทางสุขภาพที่พิเศษยิ่งสำหรับศตวรรษที่ 21 การเตรียมตัวของผู้ให้บริการทางสุขภาพและสังคมเพื่อให้ตอบรับกับความต้องการ ของประชากรวัยชราเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง การฝึกอบรมนักวิชาชีพด้านสุขภาพในเรื่องการดูแลผู้สูงวัย การป้องกันและการจัดการโรคเรื้อรังที่เกี่ยวกับวัยชรา การออกแบบนโยบายที่ยั่งยืนในเรื่องการดูแลในระยะยาวและการบรรเทาความเจ็บปวด รวมไปถึงการพัฒนาการสถานที่และการให้บริการที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ต่างๆ เหล่านี้มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งทั้งสิ้น 

1.ประชากรผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีการเติบโตด้านจำนวนประชากรที่เร็วที่สุด การเข้าสู่วัยชราของประชากรเป็นปรากฏการณ์ในระดับโลก ภายในปีค.ศ. 2050 เกือบร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุจะอาศัยอยู่ในประเทศที่ยังไม่ถึงระดับพัฒนาแล้ว การเข้าสู่วัยชราของประชากรกำลังเกิดขึ้นคู่ขนานไปกับกระบวนการสร้างความ เป็นเมืองอย่างรวดเร็ว ในปี 2007 ประชากรโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในเมือง ภายในปี 2030 จำนวนตัวเลขได้รับการคาดการณ์ไว้ว่าจะสูงถึงมากกว่าร้อยละ 60 

2.การเข้าสู่วัยชราของประชากรโลกคือชัยชนะของสังคมสมัยใหม่ มันสะท้อนภาพของสุขภาพในระดับโลกที่ดีขึ้น แต่มันก็ยกระดับความท้าทายที่พิเศษสำหรับศตวรรษที่ 21 ด้วย ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ในปี 2005 อายุคาดเฉลี่ยในประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส คือ 80 ปี ส่วน ของประเทศกำลังพัฒนาก็สูงขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น เด็กแรกเกิดที่เกิดวันนี้ในชิลี คอสตาริก้า จาไมก้า เลบานอน ศรีลังกา หรือประเทศไทย  เราสามารถคาดหวังได้ว่าจะมีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 70 ปีขึ้นไป 

3.แต่ยังมีความแตกต่างที่ใหญ่โตในเรื่องอายุคาดเฉลี่ยตอนแรกเกิดระหว่าง ประเทศต่างๆ ช่องว่างความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมกันด้านสุขภาพก็ยังคงมีอยู่ นับว่าเป็นสิ่งที่ชัดเจนมาก ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่ญี่ปุ่นมีอายุคาดเฉลี่ยที่สูงที่สุดในโลก นั่นคือ 82.2 ปี ส่วนในหลาย ๆ ประเทศในแอฟริกากลับมีตัวเลขเพียงแค่ที่อายุ 40 ปี 

4.ภายในประเทศต่างๆ ความไม่เท่าเทียมกันด้านสุขภาพยังคงมีนัยสำคัญ ยกตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา กลุ่มที่มีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจที่สูงกว่าสามารถคาดหวังที่จะมีอายุยืน ยาวกว่ากลุ่มคนที่มีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจต่ำกว่ามากถึง 20 ปี

5.ภายในปี ค.ศ. 2050 ตัวเลขใกล้เคียงที่ร้อยละ 80 ของการเสียชีวิตถูกคาดการณ์ไว้ว่าจะเกิดกับผู้คนที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยทั่วไปการใช้จ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นตามอายุและจะมากองรวมศูนย์สารพัดราย จ่ายเอาที่ช่วงขวบปีสุดท้ายของชีวิต แต่ถ้าผู้คนยิ่งมีอายุมากขึ้นก่อนที่จะเสียชีวิต ต้นทุนของการใช้จ่ายด้านสุขภาพกลับน้อยลงในช่วงดังกล่าว ดังนั้นการเลื่อนเวลาการเสียชีวิตออกไปผ่านการเข้าสู่วัยชราที่มีสุขภาพดี ผนวกกับนโยบายการเข้าสู่ไม้ใกล้ฝั่งที่ถูกต้องเหมาะสมช่วยนำไปสู่การออมใน เรื่องการดูแลรักษาสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ 

6.การลงทุนในเรื่องสุขภาพตลอดทั้งชีวิตช่วยผลิตผลกำไรสู่สังคม คนชราที่มีสุขภาพดี เป็นตัวแทนของทรัพยากรสำหรับครอบครัว ชุมชน และเศรษฐกิจของพวกเขา มันไม่สายเกินไปที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงในการที่จะโปรโมตสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น ความเสี่ยงของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรลดลงได้ถึงร้อยละ 50 หากบุคคลใดก็ตามที่มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 60-75 ปีสามารถเลิกสูบบุหรี่

7.การดูแลรักษาสุขภาพระดับปฐมภูมิในชุมชนเพื่อคนชรา เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวดเพื่อโปรโมตสุขภาพ ป้องกันโรค และจัดการความเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆ โดยทั่วไป การฝึกอบรมนักวิชาชีพสุขภาพรวมเอาคำสั่งขั้นตอนต่างๆ ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับคนชราไว้เพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ดีองค์การอนามัยโลกยังคงย้ำให้ผู้ให้บริการทางสุขภาพควรจะได้รับ การฝึกอบรมในประเด็นที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ไม่จำกัดว่าจะมาจากสาขาอาชีพใด 

8.หายนะและภาวะฉุกเฉินส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุอย่างร้ายแรง ยกตัวอย่างเช่น อัตราร้อยละที่สูงสุดของการเสียชีวิตที่มีสามเหตุมาจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อ ปี ค.ศ. 2004 ในประทศอินโดนีเซีย คือผู้สูงอายุวัย 60 ปี และผู้มีอายุมากกว่านั้น  และส่วนใหญ่ของเหยื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์คลื่นความร้อนในยุโรปคือผู้ สูงอายุ 70 ปีและแก่กว่า นโยบายที่ช่วยปกป้องผู้สูงวัยในช่วงภาวะฉุกเฉิน จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน

9.ในวัยชรา ความเสี่ยงที่จะหกล้มมีเพิ่มขึ้นและการบาดเจ็บก็รุนแรงมากกว่าวัยอื่น สิ่งนี้นำไปสู่ต้นทุนทางเศรษฐกิจ มนุษย์ และสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ ในออสเตรเลีย ต้นทุนระบบสุขภาพโดยเฉลี่ยของการบาดเจ็บที่เกี่ยวพันกับการหกล้มของคนชราวัย 65 ปีขึ้นไปอยู่ที่ 3,611 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2001-2002

10.การกระทำทารุณกรรมต่อผู้สูงวัยมีเพิ่มขึ้น แม้ว่าประชากรจะเข้าสู่วัยชราและมีการเปลี่ยนแปลงทางพลวัตของสังคม องค์การอนามัยโลกประมาณว่า มีคนชราระหว่างร้อยละ 4-6 ทั่วโลก ต้องทนทุกข์จากการถูกกระทำทารุณกรรมต่อผู้สูงอายุในรูปแบบในรูปแบบหนึ่งไม่ ว่าจะเป็นทางกาย ทางจิตใจ ทางอารมณ์ ทางการเงิน หรือ อันเนื่องมาจากการถูกทอดทิ้ง  การกระทำทารุณกรรมต่อผู้สูงอายุถือว่าเป็นการฝ่าฝืนละเมิดสิทธิมนุษยชน
ที่มา: เว็บไซต์ who.int

อัพเดทล่าสุด