ใครเคยผ่าตัดไซนัส ผ่าไซนัส ต้องทราบ ข้อปฏิบัติหลังผ่าตัดไซนัส !!


825 ผู้ชม


แพทย์ทั่ว ๆ ไป มักพบเสมอว่า ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศรีษะจะมาบอกแพทย์ว่า กลัวจะเป็นโรค "ไซนัส" ซึ่ง เขาหมายถึง "ไซนัสอักเสบ" ทั้ง ๆ ที่ยังไม่เคยทราบเลยว่า "ไซนัส" คืออะไร ในความเป็นจริงอาการปวดศรีษะเป็นแต่เพียงอาการอย่างหนึ่งที่อาจพบได้ในโรคไซนัสอักเสบ และพบในระยะเฉียบพลันมากกว่าระยะเรื้อรัง

ไซนัส หมายถึงโพรงหรือช่องอากาศที่อยู่ในกระดูกของหน้ามีทางติดต่อกับช่องจมูกเรียกว่ารูเปิดของไซนัส โดยทั่ว ๆ ไปในคนมีไซนัสอยู่ 4 คู่คือ

1. Maxillary sinus มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ที่แก้มทั้ง 2 ข้าง

2. Frontal sinus อยู่ที่หัวคิ้วทั้ง 2 ข้าง ในบางรายพบว่ามีเพียงช่องเดียวหรือไม่มีเลย บางรายก็มีถึง 3 ช่อง

3. Ethmoidal sinus อยู่ที่ซอกตาระหว่างกระบอกตา และจมูกเป็นช่องเล็ก ๆ ติดต่อกันอยู่มีข้างละประมาณ 2-10 ช่อง

4. Sphenoidal sinus อยู่ที่หลังจมูกด้านบนสุด ติดกับฐานของสมอง

ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) ชนิดเฉียบพลัน

สาเหตุ

1. สุขภาพทั่วไปของผู้ป่วยไม่ดี เช่น ภูมิต้านทานต่ำ โดยมีโรคอื่นเป็นพื้นฐานได้แก่ โรคเลือด, เบาหวาน, โรคภูมิแพ้, วัณโรค โรคขาดสารอาหาร, ภาวะที่ร่างกายตรากตรำมากเกินไป, ทำงานหนักเกินไป, นอนไม่หลับ, การกระทบกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศอย่างกะทันหัน โดยเฉพาะความเย็นจัด ถูกฝุ่นละออง และควันบุหรี่จำนวนมาก สูดดมสารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรง เป็นต้น

2. สภาพของจมูกที่ช่วยส่งเสริมให้เป็นโรคนี้ง่าย เช่น มีการอักเสบในจมูก หรือไซนัสอันใดอันหนึ่งมาก่อน มีเนื้องอกในจมูก แผ่นกั้นช่องจมูกคด ส่วนโครงสร้างภายในจมูกเบียดบังรูเปิดของไซนัสทำให้อากาศถ่ายเทไม่ดี มีการแตกหักของกระดูกไซนัส เป็นต้น

3. สาเหตุโดยตรง ได้แก่

3.1 โรคที่มีอาการนำทางจมูก เช่น ไข้หวัด, ไข้หวัดใหญ่, หัด, คางทูม ไอกรนและอื่น ๆ

3.2 ฟันผุและการถอนฟัน โดยเฉพาะฟันบน เชื้ออาจมาจากรากฟันซี่บน ซึ่งอยู่ติดกับโพรงไซนัสดูใหญ่สุด จะเป็นให้ไซนัสที่แก้มข้างนั้นอักเสบได้

3.3 การสั่งน้ำมูกแรง ๆ จามมาก ๆ อย่างรุนแรง การใส่ยาในจมูก และการดำน้ำ พาให้เชื้อโรคเข้าสู่ไซนัสได้ง่ายขึ้น อาการอาจมีประวัติเป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ มาก่อน หรือาจมีประวัติฟันผุ ถอนฟันนำมาก่อนก็ได้

1. ไข้ไม่สูงมาก ประมาณ 38 ํ - 39 ํซ. อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว และปวดศรีษะ บริเวณขมับ, ท้าทอย หรือปวดทั่วศรีษะ

2. ปวดบริเวณหน้า หรือกระบอกตาวันแรก ๆ มักปวดทั่ว ๆ ไป อาจปวดทั่วศรีษะจนบอกไม่ถูกว่าปวดบริเวณไหน หลังจากวันที่ 2 จะปวดเฉพาะบริเวณไซนัสที่เป็น เช่น ปวดที่แก้ม ที่ซอกตา ที่หัวคิ้ว และกลางศรีษะ เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจมีอาการปวดร้าวไปตามอวัยวะใกล้เคียง เช่น ฟันบน ขมับ หน้าผาก กระบอกตา ท้ายทอย หูและกลางกระหม่อม

3. อาการคัดจมูก, จาม, น้ำมูกไหล ส่วนมากมีมาก่อน เนื่องจากเป็นโรคระบบทางเดินหายใจนำมา แต่ในบางรายที่เป็นไซนัสอักเสบโดยตรง อาจมีอาการในวันที่ 2 - 3 ไปแล้วก็ได้ ถ้ามีโรคภูมิแพ้อยู่ด้วยจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น การอักเสบติดเชื้อหนอง จะทำให้มีน้ำมูกข้น สีเขียว หรือเหลือง ระยะนี้เสียงผู้ป่วยมักมีลักษณะตื้อ ๆ ไม่กังวาน

4. อาการในคอ เช่น เจ็บคอ มีเสมหะในคอ คอแห้ง ระคายคอ

5. อาการไอ เนื่องจากเสมหะที่ไหลลงคอไปรบกวน ทำให้ไอ หรือบางครั้งมีโรคหลอดลมอักเสบแทรกซ้อนขึ้น

6. อาการทางหู อาจมีอาการ หูอื้อ ปวดหู เนื่องจากท่อระบายอากาศของหูชั้นกลาง ถูกอุดตันโดยเสมหะ หรือการบวมหรือบางครั้งมีเนื้องอกอยู่ด้านหลังจมูกร่วมด้วย

นอกจากนี้อาจมีเชื้อโรคเข้าสู่หูชั้นกลาง ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น

การตรวจโดยแพทย์

1. การตรวจด้านหน้าของจมูก แพทย์ใช้ไฟส่องเข้าในจมูก ซึ่งถ่างด้วยเครื่องถ่างจมูกเพื่อดูว่ามีการบวม, หนอง, เนื้องอก, หรือการผิดปกติอื่น ๆ หรือไม่

2. การตรวจด้านหลังของจมูก ใช้ไม้กดลิ้น และกระจกเล็ก ๆ ลนไฟส่องในคอด้านหลัง ช่องปาก

3. ตรวจหาที่เจ็บบริเวณหน้า และไซนัส

4. ตรวจด้วย เอกซ์เรย์ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงภายในไซนัส

การรักษา

ส่วนมากเป็นการรักษาด้วยยารับประทาน ไม่นิยมให้ยาหยอดจมูก ผู้ป่วยที่ปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำและรับประทาน ยาสม่ำเสมอ มักหายได้ง่าย ในระยะนี้ ยาที่ใช้ส่วนใหญ่ คือยาปฏิชีวนะและยาที่รักษาตามอาการ

หลักที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติ

1. พักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะการนอน ควรนอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ ไม่ควรอดนอน

2. รับประทานอาหารที่มีคุณค่าและถูกสุขลักษณะ ไม่มากหรือน้อยเกินไป

3. ดื่มน้ำตามสมควรในผู้ใหญ่ประมาณวันละ 8-10 แก้ว ในฤดูหนาวในจังหวัดทางภาคเหนือ ควรดื่มน้ำอุ่นจัด ๆ

4. รักษาร่างกายให้อบอุ่นตามสมควร การใส่เสื้อกันความหนาวนั้น ควรใส่ให้หนาจนมือและเท้าของผู้ป่วยอุ่นขึ้น บางครั้งต้องใส่หมวก และถุงเท้าด้วย

5. การทำงานที่ไม่ได้ออกกำลังมากและไม่เครียดมาก พอทำได้ ไม่ถึงกับต้องหยุดทำงาน นอกจากในรายที่อาการ รุนแรงมาก

6. การใช้น้ำร้อนประคบบริเวณที่ปวดอาจช่วยลดอาการปวดลงได้บ้าง รับประทานยาตามแพทย์สั่ง

7. หลักเลี่ยงการกระทบอากาศเย็นจัดหรืออากาศที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ไซนัสอักเสบชนิดเรื้อรัง ประวัติการป่วย มักเป็นนาน หลายๆ เดือน หรือเป็นปี หรือหลายๆ ปี เนื่องจากโรคไซนัสอักเสบ มักไม่มีอันตรายที่รุนแรง นอกจากผู้ป่วยที่ร่างกายอ่อนแอมาก ๆ หรือมีโรคประจำตัวที่ร้ายแรงอยู่เท่านั้น บางรายอาจมี อาการเฉียบพลันเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ก็ได้

อาการของไซนัสอักเสบเรื้อรัง อาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง บางอย่าง หรือทุกอย่างดังต่อไปนี้

1. อาการทางจมูก ได้แก่ คัดจมูกน้ำมูกไหล, จาม, เวลาพูดมีเสียงตื้อ ๆ ไม่กังวาน น้ำมูก อาจมีทั้งใส หรือขุ่น สีขาว, เขียว, เหลืองก็ได้ บางรายมีกลิ่นเหม็น การได้กลิ่นอาจผิดปกติ เช่น ไม่ค่อยรู้สึกกลิ่น หรือ มีกลิ่นมากไป ในเด็กที่มีน้ำมูกข้นนานเป็นเดือน มักมีสาเหตุจากไซนัสอักเสบ

2. แน่นหรือไม่สบาย บริเวณหน้าหรือไซนัสที่เป็น

3. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย โดยเฉพาะในระยะที่ยังไม่เรื้อรังมาก ประมาณ 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน

4. ไอ อาจมีเสมหะหรือไม่มี แต่ส่วนมากจะมี

5. อาการทางหู แน่นหู หูอื้อ ปวดหู หรือมีเสียงรบกวนในหู

6. อาการปวดศรีษะอาจมีได้ในบางราย มักปวดในระยะหลังตื่นนอนเช้า หายไปตอนบ่าย ๆ

7. มีประวัติโรคภูมิแพ้ ฟันผุ หรือประวัติการเป้นอย่างเฉียบพลันมาก่อน หรือมีเนื้องอกในจมูก การตรวจ เช่นเดียวกับในรายที่เป็นเฉียบพลัน การรักษา แบ่งเป็น

1. การใช้ยา เช่นเดียวกับในรายที่เป็นชนิดเฉียบพลัน

2. การล้างไซนัส เมื่อมีประวัติเป็นนานเกิน 3 สัปดาห์ขึ้นไป และการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล มีวิธีล้าง 2 วิธีคือ

2.1 ใช้เครื่องดูดเสมหะ มักใช้ในเด็กโดยทำในท่านอนให้เด็กนอนแหงนหน้ามาก ๆ และหายใจทางปาก ใส่ น้ำยาที่ใช้ล้าง (น้ำเกลือผสมยาลดการบวมของเยื่อจมูกและไซนัส) บางครั้งผู้ป่วยจะถูกขอร้องให้พูดคำว่า " เค...เค" เพื่อให้การดูดได้ผลดีขึ้น

2.2 การล้างโดยตรง ในไซนัสอาจใช้การเจาะผนังไซนัสผ่านทางจมูก ผ่านรูเปิดธรรมชาติของไซนัสทำมาก และสะดวก สำหรับไซนัสบริเวณแก้ม ส่วนไซนัสที่หัวคิ้วและหลังจมูก ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญ สำหรับไซนัสที่ ซอกตาไม่อาจล้างวิธีนี้ได้

3. การผ่าตัด แพทย์เป็นผู้ตัดสินใจว่าเมื่อไหร่ควรจะรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งหมายความว่าได้ผ่านการรักษา ชั้นที่ 1 และ 2 มากแล้ว หรืออาจเป็นมานาน จนแพทย์ตรวจพบว่าไม่อาจรักษาให้หายได้ ด้วยวิธีข้างต้น การผ่าตัดนั้นเพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้

3.1 แก้ไขสิ่งกีดขวางในจมูกที่ทำให้อากาศถ่ายเทระหว่างจมูก, แผ่นกั้นช่องจมูกคดและอื่น ๆ

3.2 นำเนื้อเยื่อที่เป็นโรคยนไม่อาจหายเป็นปกติได้ออกจากไซนัสให้หมด

3.3 ทำการถ่ายเทอากาศและหนองในไซนัสให้ดีไม่มีการอุดตันของไซนัส ปัญหาของผู้ที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง หลังจากได้รับ การผ่าตัดแล้ว ส่วนมากก็จะหายจากโรคนี้ แต่บางครั้งก็พบว่าผู้ป่วยยังไม่หายจากอาการที่เคย เป็น เช่นอาจมีน้ำมูก หรือเสมหะ ลงคออยู่เรื่อย ๆ จามและคัดจมูก เป็นต้น ทั้งนี้อาจมีสาเหตุอีกหลายอย่าง เช่น

1. การผ่าตัดไม่ได้ทำหมดทุกไซนัส เราทราบแล้วว่ามีอยู่ทั้งหมด 4 คู่ แต่แทพย์มักทำผ่าตัดคู่ที่เป็นมากที่สุด ก่อนเสมอ ถ้ายังมีปัญหาอยู่ก็ต้องปรึกษาแพทย์ต่อไป อาจจะต้องทำผ่าตัด ไซนัสอื่นเพิ่มเติม

2. ผู้ป่วยมีโรคภูมิแพ้เป็นประจำอยู่ แม้ว่าจะรักษาโรคไซนัสอักเสบจากการติดเชื้อ หายไปแล้ว แต่โรคภูมิแพ้ ก็ยังคงทำให้มี อาการคล้าย ๆ กันได้ จำเป็นต้องรักษาโรคภูมิแพ้ต่อไป โรคภูมิแพ้นี้ไม่อาจรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่ทำให้ อาการเบาบางลง โดยหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้, รับประทานยาแก้แพ้, ฉีดวัคซีนเพื่อลดความไวของโรคภูมิแพ้ เป็นต้น

3. อาจมีการเกิดซ้ำของโรคหลังจากผ่าตัด เพราะเนื้อเยื่อภายในจมูก และไซนัสระยะหลังผ่าตัดใหม่ ๆ ยัง มีความอ่อนแออยู่

4. มีโรคประจำตัวอย่างอื่น เช่น เบาหวาน, วัณโรค, โรคของต่อมไธรอยด์ เป็นต้น การป้องกันโรคไซนัสอักเสบ หรือ ป้องกันการเกิดซ้ำของโรค ควรปฏิบัติให้ถูกต้องคือ

1. หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำลายสุขภาพตามสาเหตุข้อ 1 หรือแก้ไขโรคประจำตัวที่มีอยู่ เมื่อมีความผิดปกติในจมูกควรปรึกษาแพทย์ เพื่อแก้ไข ควรงดการว่ายน้ำดำน้ำ เมื่อเป็นหวัด หรือโรคภูมิแพ้ของจมูก

2. รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ โดยเฉพาะในฤดูหนาว

3. ดื่มน้ำสะอาดให้พอเพียงทุกวัน

4. หลีกเลี่ยงจากสิ่งมีพิษในอากาศ เช่น ฝุ่นละออง, สารเคมีต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง, ควันบุหรี่, ทินเนอร์ผสมสี เป็นต้น

5. เมื่อเป็นหวัดอย่าปล่อยไว้นานเกิน 1 สัปดาห์ ควรรีบปรึกษาแพทย์

6. ในกรณีที่มีฟันผุ โดยเฉพาะฟันบนพึงระวังว่าจะมีโอกาสติดเชื้อเข้าสู่ไซนัสได้

7. รักษาสุขภาพช่องปากและฟันให้ดีอยู่เสมอ

8. ออกกำลังกายพอสมควรโดยสม่ำเสมอ

9. รับประทานอาหารที่มีคุณประโยชน์ครบถ้วน และไม่มาก หรือน้อยเกินไป

10. ถ้ามีโรคประจำตัวอยู่ ควรได้รับการรักษาแพทย์โดยสม่ำเสมอ

ที่มา  bird.i8.com

อัพเดทล่าสุด