กลิ่นปาก ( Bad mouth )


846 ผู้ชม


  • การมีกลิ่นปาก เป็นภาวะกระอักกระอ่วนใจ และสร้างคนไม่มั่นใจ ของทั้งเจ้าของกลิ่นเอง และคนรอบข้าง ดังนั้นการเกิดปัญ��
�าดังกล่าว จึงควรหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไข เพื่อตนเอง และคนรอบข้าง นอกจากนี้การแก้ไขที่ถูกต้อง ตรงกับสาเหตุที่เกิด จะทำให้เรา ไม่ตกเป็นเหยื่อของสินค้าประเภทนี้ อาทิ ยาสีฟัน ยาอมบ้วนปาก ยาฉีดสเปรย์ หรือยาอมดับกลิ่น ที่มีการโฆษณากันเป็นจำนวนมาก และยังเสริมบุคลิกภาพที่มั่นใจ หอมสดชื่นทั้งภายนอกและภายใน
  • สาเหตุของกลิ่นปาก 
        1. พบว่า 85% ของคนไข้ที่มีกลิ่นปาก มาจากช่องปาก (โดยพิสูจน์ง่ายๆ ด้วยการบ้วนปากบ่อยๆ) แล้วทำให้กลิ่นปากลดลงได้ การเกิดการอักเสบ ของช่องปาก ฟันและเหงือก โดยมักมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย 
        2. ทอนซิล หรือระบบทางเดินหายใจ พบได้ ประมาณ 12 % 
        3. ระบบทางเดินอาหาร พบได้น้อย นอกจากจะมีการเรอ หรือ อาเจียน 
        4. โรคระบบภายในอื่นๆ พบได้น้อย อาทิ การอักเสบของระบบหายใจ ไต ตับ มะเร็งในช่องปาก หรือเหงือก
  • คนที่มีกลิ่นปาก บางคนไม่ทราบว่าตนเองมีกลิ่นปาก( อาจเกิดจากความเคยชินอยู่กับกลิ่น) เช่นเดียวกับคนที่ใช้น้ำหอม ใช้ใหม่ๆ จะมีความรู้สึกดีมาก แต่พอชินแล้วก็จะรู้สึกลดลง การพิสูจน์ว่ามีกลิ่นปากรุนแรงหรือไม่ ทำได้โดยการเลียที่ต้นแขน แล้วดมดู หลังจากแห้งแล้ว ถ้ามีกลิ่นแรง ถือว่ามีกลิ่นปากจริง! หรือ การใช้กระดาษลิตมัสที่ทดสอบความเป็นกรดด่าง หากกระดาษเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำเงิน แสดงว่าลมปากสะอาดดี แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นสีแดงบ่งบอกว่าปากมีสภาพเป็นกรดมากเกินไป ซึ่งเป็นต้นเหตุจาก แบดทีเรีย
  • สารที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก เกิดจากสารระเหยที่มีส่วนประกอบของกำมะถัน(Velatile sulfur components) เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟล์ เมตทิลเมอร์แคบแทน เป็นสารหลักที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก ซึ่งสร้างขึ้นจากแบคทีเรีย กลุ่ม Fusobacterium,Treponema,Pophyromonas species ซึ่งสามารถเพาะเชื้อในช่องปากได้
  • แนวทางการรักษา 
        1. แปรงฟันทุกครั้งที่มีโอกาส เพื่อลดแบคทีเรียในช่องปาก เหงือก ฟันและลิ้น 
        2. ทำความสะอาดซอกฟันด้วย ด้ายขัดฟัน อาทิ Dental floss 
        3. หมั่นพบทันตแพทย์ ทุก 3-6 เดือน เพื่อขูดหินปูน เช็คสุขภาพฟัน 
        4. ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เมื่อสงสัยว่ามีกลิ่นปากที่ไม่ได้เกิดจากภายในช่องปาก 
        5. บ้วนปากบ่อยๆ และดื่มน้ำมากๆ 
        6. เคี้ยวหมากฝรั่งปลอดน้ำตาล เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของน้ำลาย ลดการสะสมของแบคทีเรีย 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ .......................26 July,2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&sdata=&col_id=135