สุดยอดผักพื้นบ้านใกล้ตัว หมั่นเก็บมากินป้องกันไว้ เพราะมะเร็งมันกลัว


บ้านใครปลูกผักพิ้นบ้าน 5 ชนิดนี้ไว้จงอุ่นใจได้เลยว่าคุณมียาต้านมะเร็งอยู่ในมือแล้ว หมั่นเก็บมากินป้องกันไว้เพราะมะเร็งมันน่ากลัว


1. ผักบุ้ง


ผักบุ้งเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่มีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา และยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำคัญ ในประเทศไทยผักบุ้งแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลักๆ ได้แก่ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน ผักบุ้งจีนมียางน้อยกว่าผักบุ้งไทย จึงนิยมรับประทานกันมากกว่าผักบุ้งไทย
ในผักบุ้ง 100 กรัมจะให้พลังงาน 22 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยเส้นใย วิตามิน และแร่ธาตุอื่นๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เป็นต้น
ประโยชน์ของผักบุ้ง
1. ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส มีน้ำมีนวล
2. ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย
3. บำรุงสายตา รักษาอาการตาต้อ ตาฝ้าฟาง
4. ช่วยบำรุงโลหิต
5. ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
สรรพคุณต้านมะเร็งและโรคร้าย
1. ช่วยป้องกันการเกิดหรือลดอัตราการเกิดของโรคมะเร็ง
2. ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหาร
3. ใช้แก้อาการไอเรื้อรัง
ข้อควรระวัง
ผู้เป็นโรคความดันโลหิตต่ำควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักบุ้ง เพราะผักบุ้งมีคุณสมบัติช่วยลดความดันโลหิต ทำให้ความดันยิ่งต่ำลงไปใหญ่ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ อาจทำให้เป็นตะคริวได้ง่ายและบ่อยขึ้น
2.. ฟักทอง

 
ฟักทองแบ่งออกเป็น 2 ตระกูล ตระกูลแรกก็คือ ตระกูลฟักทองอเมริกัน (pumpkin) ผลใหญ่ เนื้อยุ่ย และตระกูลสควอช (squash) ซึ่งได้แก่ฟักทองไทยและฟักทองญี่ปุ่น
ฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี ฟอสฟอรัส แคลเซียม โพแทสเซียม โซเดียม แมงกานีส เหล็ก สังกะสี เป็นต้น
ประโยชน์ของฟักทอง
1. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
2. น้ำมันจากเมล็ดฟักทองมีส่วนช่วยบำรุงประสาท
3. ช่วยฟื้นบำรุงสุขภาพผิวให้เปล่งปลั่งสดใส
4. ช่วยชะลอวัยและความแก่ชรา
5. ช่วยบำรุงตับและไตให้แข็งแรง
สรรพคุณต้านมะเร็งและโรคร้าย
1. ฟักทองมีกรดโปรไบโอนิค ซึ่งมีส่วนทำให้เซลล์มะเร็งอ่อนแอลง
2. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหัวใจ
3. กระตุ้นการหลั่งอินซูลินในร่างกาย ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
4. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ
5. ช่วยป้องกันการเกิดโรคนิ่ว
ข้อควรระวัง
เนื่องจากฟักทองมีฤทธิ์อุ่น ไม่เหมาะกับผู้ที่กระเพาะร้อน เช่น ผู้ที่มักมีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะเหลือง ท้องผูก มีแผลในช่องปาก เหงือกบวมเป็นประจำ เป็นต้น


3. ขี้เหล็ก


ขี้เหล็กเป็นพืชผักสมุนไพร นอกจากนิยมนำมาใช้ทำเป็นอาหารไว้รับประทานแล้ว แพทย์แผนไทยยังใช้รักษาโรคได้ด้วย เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก บำรุงโลหิต บำรุงน้ำดี โดยส่วนที่นำมาใช้และมีสรรพคุณทางยา ได้แก่ ดอก ใบ ใบแก่ ฝัก เปลือกฝัก เปลือกต้น ลำต้น กิ่ง แก่น และราก ใบขี้เหล็ก 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีน 1.4 มิลลิกรัม แคลเซียม 156 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 190 มิลลิกรัม เหล็ก 5.8 มิลลิกรัม เส้นใยอาหาร 5.6 กรัม โปรตีน 7.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 10.9 กรัม พลังงาน 87 กิโลแคลอรี
ประโยชน์ของขี้เหล็ก
1. ใบขี้เหล็กมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
2. ช่วยบำรุงสมอง บำรุงประสาท
3. ดอกขี้เหล็กมีวิตามินที่ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
4. ช่วยคลายความเครียด บรรเทาอาการจิตฟุ้งซ่าน
5. ช่วยบำรุงโลหิต
สรรพคุณต้านมะเร็งและโรคร้าย
1. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปอด ปอดอักเสบ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร
2. ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
3. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน
4. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
5. ช่วยรักษาอาการเหน็บชา
ข้อควรระวัง
การรับประทานขี้เหล็กโดยนำใบขี้เหล็กไปตากแห้งแล้วบรรจุเป็นเม็ด อาจทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ นำไปสู่การเกิดโรคตับได้ การรับประทานขี้เหล็กอย่างปลอดภัย ต้องเลือกใบตั้งแต่ยอดอ่อนถึงใบขนาดกลาง และนำไปต้มให้เดือด เทน้ำทิ้งสัก 2-3 น้ำ แล้วค่อยนำมาปรุงอาหารหรือนำไปทำเป็นยา ซึ่งวิธีการแบบพื้นบ้านนี้จะช่วยฆ่าฤทธิ์และทำลายสารที่เป็นอันตรายต่อตับ ทั้งยังช่วยลดความขมของขี้เหล็กลงอีกด้วย
4. ดอกแค


แค เป็นต้นไม้ขนาดเล็กในสกุลโสน ส่วนที่นิยมนำมารับประทานคือ ดอกแค ซึ่งมีเส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง และวิตามินซี เป็นต้น เมนูที่นิยมนำแคไปปรุงอาหาร เช่น แกงส้มดอกแค แกงเหลืองปลากระพงดอกแค ซึ่งล้วนแต่เป็นเมนูอาหารที่ให้ประโยชน์ทั้งสิ้น ดอกแค 100 กรัม ให้พลังงาน 33 กิโลแคลอรี เบตาแคโรทีน 0.51 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.19 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 35 มิลลิกรัม แคลเซียม 2 มิลลิกรัม เหล็ก 1.2 มิลลิกรัม และฟอสฟอรัส 57 มิลลิกรัม
ประโยชน์ของดอกแค
1. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยป้องกันและรักษาอาการหวัด
2. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา เนื่องจากมีเบตาแคโรทีนสูง
3. ช่วยบำรุงและเสริมสร้างกระดูกและฟัน เนื่องจากอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส
4. ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก
5. ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
สรรพคุณต้านมะเร็งและโรคร้าย
1. ช่วยต่อต้านและยับยั้งมะเร็ง
2. ช่วยบรรเทาอาการของโรคเกาต์
3. ป้องกันโรคเบาหวาน
4. ช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ
5. ช่วยแก้โรคตาบอดตอนกลางคืน
ข้อควรระวัง
การนำดอกแคมาใช้ทำอาหาร ต้องเด็ดเอาเกสรสีเหลืองออกก่อน จะช่วยลดความขมได้ และการรับประทานดอกแคในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้อาเจียนได้


5.สะเดา

 
สะเดา แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ สะเดาไทย (สะเดาบ้าน) สะเดาอินเดีย และสะเดาช้าง (สะเดาเทียม) พบขึ้นได้ทั่วไปตามป่าแล้งในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ปากีสถาน ศรีลังกา และประเทศไทย สำหรับในประเทศไทยจะมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ตามธรรมชาติ คุณค่าทางโภชนาการของยอดสะเดา ต่อ 100 กรัม
– พลังงาน 76 กิโลแคลอรี
– คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม
– โปรตีน 5.4 กรัม
– ไขมัน 0.5 กรัม
– เส้นใยอาหาร 2.2 กรัม
– น้ำ 77.9 กรัม
– เบตาแคโรทีน 3,611 ไมโครกรัม
– วิตามินบี 1 0.06 มิลลิกรัม
– วิตามินบี 2 0.07 มิลลิกรัม
– วิตามินซี 194 มิลลิกรัม
-แคลเซียม 354 มิลลิกรัม
– เหล็ก 4.6 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม
ประโยชน์ของสะเดา
1. ช่วยบำรุงโลหิต
2. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
3. เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
4. ช่วยบำรุงน้ำดี ขับน้ำดีให้ตกสู่ลำไส้มากขึ้น
5. ช่วยลดความเครียด ทำให้นอนหลับสบาย
สรรพคุณต้านมะเร็งและโรคร้าย
1. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง
2. ช่วยแก้โรคหัวใจ หัวใจเดินผิดปกติ หรือหัวใจเต้นผิดปกติ
3. ช่วยรักษาเบาหวาน
4. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
5. ช่วยรักษาริดสีดวงในลำไส้

อัพเดทล่าสุด