กระถิน ผักพื้นบ้านแคลเซียมสูง บำรุงกระดูก


2,271 ผู้ชม

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคหนึ่งที่อันตรายกับร่างกายมาก เพราะร่างกายใช้กระดูกเป็นโครงสร้าง ก็เปรียบเสมือนกับบ้านถ้าเสาบ้านพัง  บ้านก็พังลงได้ ร่างกายคนเราก็เช่นกันถ้ากระดูกไม่แข็งแรงร่างกายก็จะย่ำแย่ลงได้ 


โรคกระดูกพรุนเป็นโรคหนึ่งที่อันตรายกับร่างกายมาก เพราะร่างกายใช้กระดูกเป็นโครงสร้าง ก็เปรียบเสมือนกับบ้านถ้าเสาบ้านพัง  บ้านก็พังลงได้ ร่างกายคนเราก็เช่นกันถ้ากระดูกไม่แข็งแรงร่างกายก็จะย่ำแย่ลงได้ 

โรคกระดูกพรุน สามารถป้องกันได้ด้วยการกินแคลเซียม แต่การที่ร่างกายจะได้รับแคลเซียมดีๆ  ก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่แพง จะดีกว่าไหมถ้ามีพืชจากธรรมชาติ แคลเซียมสูง อย่าง ‘กระถิน’ ที่สามารถป้องกันโรคนี้ได้ 

กระถินมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อนและในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งมีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย และเนื่องจากกระถินเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายจึงพบได้ทั่วไปในปัจจุบันสามารถพบได้ตามข้างถนน ริมรั้วบ้าน กำแพงบ้าน ตามที่ๆ มีความสมบูรณ์ มีป่าไม้เยอะ บริเวณนั้นก็จะพบต้นกระถินขึ้นอยู่มากมาย กระถินนิยมนำมากินกับน้ำพริก ไม่ว่าจะเป็นยอด ฝัก ก็สามารถนำมาประกอบอาหาร หรือกินเป็นเครื่องเคียงได้ ซึ่งกระถินยังเป็นพืชที่อุดมไปด้วยแหล่งอาหารมากมาย อีกทั้งยังมีแคลเซียมสูงมากด้วย

มีงานวิจัยโดยนักวิจัยชาวอเมริกัน Dr. C Weaver พบว่าร่างกายนำแคลเซียม จากตระกูลผักคะน้าทั้งหลายไปใช้ได้เทียบเท่ากับนม ดังนั้นในประเทศไทยตระกูลคะน้าเป็นแหล่งแคลเซียมที่นิยมกันเป็นอย่างมาก และนอกจากจะมีการศึกษาเกี่ยวกับตระกูลผักคะน้าแล้วในประเทศไทยก็มีการศึกษาหาผักพื้นบ้านที่มีแคลเซียมสูงเช่นกันและพบว่ากระถินเป็นหนึ่งในผักที่มีแคลเซียมสูง และมีฟอสฟอรัสสูง ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกระดูกและช่วยบำรุงกระดูกเช่นกัน
อย่างที่กล่าวมานั้น กระถินเป็นผักพืชบ้านที่มีประโยชน์ต่อกระดูกอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกับก็มีโทษอีกด้วย เพราะเนื่องจากใบของกระถินมีสารที่เป็นพิษคือสารลิวซีนีน (Leucenine) หากสัตว์กระเพาะเดียวกินใบกระถินในปริมาณสูงอาจทำให้ขนร่วงและเป็นหมันได้ แต่ยังไม่มีรายงานความเป็นพิษของการกินกระถินในคน และยังมีรายงานว่ากระถินเป็นพืชที่มีคุณสมบัติช่วยดูดธาตุซีลีเนียมจากดินมาสะสมไว้ได้มาก จึงอาจทำให้เกิดพิษเนื่องจากธาตุนี้ได้ และนอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเรื่องนิ่ว โดยศาสตราจารย์นายแพทย์อารี วัลยะเสวี และ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงสาคร ธนมิตต์ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าออกซาเลตเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากผักพื้นบ้านหลายชนิดของไทยมีออกซาเลตสูง ประกอบกับการกินเนื้อสัตว์ต่างๆ น้อยมากและดื่มน้ำน้อย ซึ่งก็เป็นสาเหตุสำคัญของการพบการเกิดนิ่ว แม้ว่าในผักดังกล่าวจะมีแคลเซียมสูงด้วย นี่จึงเป็นจุดด้อยของผักชนิดนี้นั่นเอง

ดังนั้นทางที่ดีควรรับประทานแต่พอดี และเพื่อให้ได้แคลเซียมที่เพียงพอควรรับประทานอาหารที่หลากหลายให้ครบทั้ง 5 หมู่ ร่วมด้วยจะดีที่สุด

อัพเดทล่าสุด