การนอนหลับในรถที่สตาร์ทเครื่องยนต์ อันตรายถึงชีวิต!


875 ผู้ชม

การสตาร์ทเครื่องยนต์ ทิ้งไว้แล้วเปิดแอร์นอนเป็นภัยใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม และด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ...


การนอนหลับในรถที่สตาร์ทเครื่องยนต์ อันตรายถึงชีวิต!

การสตาร์ทเครื่องยนต์ ทิ้งไว้แล้วเปิดแอร์นอนเป็นภัยใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม และด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันการเสียชีวิตจากการนอนหลับในรถที่สตาร์ทเครื่องยนต์ ดังนี้ อันตรายจากการนอนหลับโดยสตาร์ทเครื่องยนต์ระบบเครื่องปรับอากาศในรถยนต์จะดูดควันจากท่อไอเสียรถยนต์ที่เป็นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้ามาหมุนเวียน เมื่อสูดดมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ เซื่องซึม และมึนงง หายใจติดขัด หมดสติ และไม่รู้สึกตัว หัวใจเต้นผิดปกติ เพราะฮีโมโกลบินในเลือดลดลง ระบบประสาทส่วนกลางได้รับผลกระทบ หมดสติและอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

ข้อควรปฏิบัติเมื่อจำเป็นต้องนอนในรถ หาที่จอดรถพักในบริเวณที่ปลอดภัย อาทิ สถานีบริการน้ำมัน จุดพักรถริมทาง ป้อมตำรวจทางหลวง หรือบริเวณที่มีแสงไฟส่องสว่าง ไม่จอดรถในบริเวณที่ไม่มีอากาศถ่ายเท อาทิ ลานจอดรถชั้นใต้ดิน เพราะอากาศไม่ไหลเวียน ทำให้สูดดมควันจากท่อไอเสียเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก ดับเครื่องยนต์และปิดเครื่องปรับอากาศ เพื่อป้องกันเครื่องปรับอากาศดูดควันจากท่อไอเสียเข้ามาหมุนเวียนในห้องโดยสารทางช่องแอร์ หรือขอบยางรอยต่อกระจก เปิดพัดลมแอร์แทนเครื่องปรับอากาศ จะช่วยดูดอากาศจากภายนอก ให้เข้ามาหมุนเวียนในห้องโดยสาร ลดกระจกลงทั้ง 4 ด้าน หรือด้านใดด้านหนึ่งเล็กน้อย เพื่อระบายอากาศ และให้อากาศ   ในรถหมุนเวียนได้สะดวกขึ้น ไม่นอนหลับในรถเป็นระยะเวลานานเกินไป ควรพักหลับประมาณ 30 – 40 นาที จะช่วยคลายความอ่อนล้า 

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เบากว่าอากาศ เมื่อเข้าไปสะสมในร่างกาย ทำให้ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงลำเลียงออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ได้น้อยลง ส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายทำงานผิดปกติ หากได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในปริมาณมาก จะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนอย่างฉับพลันจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

ขอบคุณที่มา: ฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

อัพเดทล่าสุด