การบำบัดโรคโดย ตีลัญจกร เพียงทำแบบนี้ทุกวัน ปอดคุณจะแข็งแรง แถมช่วยแก้หืดหอบเป็นหวัดง่ายอีกด้วย


3,258 ผู้ชม

ตีลัญจกร คือ การบำบัดและป้องกันโรค โดยใช้การ กด รัด พับ เชื่อมจุดต่างๆ บนฝ่ามือ ดังนั้นเราจึงสามารถใช้ ตีลัญจกร ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นตอนเช้า ช่วงเวลาระหว่างรถติด ...


การบำบัดโรคโดย “ตีลัญจกร” เพียงทำแบบนี้ทุกวัน ปอดคุณจะแข็งแรง แถมช่วยแก้หืดหอบเป็นหวัดง่ายอีกด้วย

การบำบัดโรคโดย “ตีลัญจกร”

ตีลัญจกร” คือ การบำบัดและป้องกันโรค โดยใช้การ กด รัด พับ เชื่อมจุดต่างๆ บนฝ่ามือ ดังนั้นเราจึงสามารถใช้ “ตีลัญจกร” ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นตอนเช้า ช่วงเวลาระหว่างรถติด ระหว่างการประชุม แม้กระทั่งก่อนนอน ซึ่งถ้าเราทำต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอติดต่อกัน เป็นประจำประมาณ 2 สัปดาห์ก็เริ่มเห็นผล

ข้อควรระวังในการฝึก “ตีลัญจกร”
1. ไม่ควรฝึกในขณะที่อิ่ม หรือหิวจัด เมาค้าง หรืออดนอน

2. ควรใส่เสื้อผ้าที่สบาย ไม่รัด

3. ควรฝึกแต่ละครั้งอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 15 นาที แต่ไม่เกิน 30 นาที

4. เพื่อให้เกิดผลควรฝึกอย่างต่อเนื่องประมาณ 2 สัปดาห์
ตีลัญจกร : ท่าบำรุงอวัยวะภายใน
ท่าที่ 1 บริหารลำไส้ใหญ่ (แก้ท้องผูก)

คว่ำมือใช้แนวนิ้วชี้ถึงนิ้วโป้ง โค้งเป็นรูปตัว C ทั้งสองข้าง กระทบกันเบาๆ 36 ครั้ง


ท่าที่ 2 บริหารลำไส้เล็ก (แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ)

หงายมือให้แนวนิ้วก้อยถึงสันมือกระทบกันเบา ๆ 36 ครั้ง

ท่าที่ 3 บริหารเยื่อหุ้มหัวใจ (ขี้หนาว)

ตั้งมือทั้งสองข้างขึ้น หงายมืออกเป็นรูปดอกบัวแล้วใช้ข้อมือกระทบกันเบาๆ 36 ครั้ง

ท่าที่ 4 สร้างภูมิต้านทานโรค (แก้ภูมิแพ้)

กางนิ้วมือทั้งสองข้างออกแล้วสอดเข้าให้มีเสียดังฉึบ บีบนิ้วมือทั้งสองข้างเล็กน้อยแล้วดึงออก ทำ 36 ครั้ง


ท่าที่ 5 บริหารปอดซ้ายขวา (แก้หืดหอบ เป็นหวัดง่าย)

กางมือซ้ายออกไม่ต้องเกร็ง แล้วใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือขวาหนีบแล้ว กดเบาๆ ตรงกลางระหว่างนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือของมือซ้าย นับ36 ครั้ง และสลับข้างทำอีก 36 ครั้ง

ท่าที่ 6 บริหารกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง (แก้เหนื่อยง่าย)

กำมือขวาและกางมือซ้ายออก จากนั้นให้เอาสันหมัดต่อยเบาๆ กลางอุ้งมือซ้าย ไม่ให้มีเสียง นับ 36 ครั้ง และ สลับข้าง นับอีก 36 ครั้งเช่นเดียวกัน


ท่าที่ 7 บริหารไตขวาและไตซ้าย (ปวดเอว ปวดหัวเข่า ปัสสาวะบ่อย ไตทำงานผิดปกติ)

หงายมือขวาขึ้น มือซ้ายคว่ำลง ใช้หลังมือขวาตีบนหลังมือซ้ายเบาๆ ทำ 36 ครั้ง และสลับข้างทำนับ 36 ครั้งเช่นเดียวกัน

ท่าที่ 8 กระตุ้นเส้นลมปราณ (เปิดจุดรับพลังซ้าย-ขวา)

กางมือซ้ายออก จากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือขวาหมุนตามเข็มนาฬิกา รอบจุดเล่ากง (กำมือแล้วสังเกตจุดตรงบริเวณปลายนิ้วกลาง) คลึงเบาๆ 36 รอบ และสลับข้างนับอีก 36 รอบเช่นเดียวกัน

ชมคลิปตัวอย่างท่าต่างๆ

อัพเดทล่าสุด