ห้ามพลาด! 6 อย่าง กินแล้วช่วยแก้โรคกรดไหลย้อน อย่างได้ผลเหลือเชื่อ


โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease (GERD) ) หมาย ถึงภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก สำหรับคนที่กำลังมองหาการรักษากรดไหลย้อน หรือวิธีบรรเทาอาการกรดไหลย้อน เราขอแนะนำวิธีดังต่อไปนี้

1. ผักที่มีฤทธิ์เย็น
เช่น บวม หอมต้ม แนะนำให้ทุกคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนทาน โดยเฉพาะผู้ที่มีสาเหตุจากกรดเกินในกระเพาะอาหารทาน และควรทานให้มากในมื้อเย็น จะช่วยลดอาการแสบท้อง ร้อนท้อง แสบหน้าอก ปวดท้องเหมือนลำไส้ถูกบิดได้
2. ผักสีเขียวที่มีกากใยสูง
เช่น ผักหวานบ้าน, คะน้า, ผักกวางตุ้ง, ผักกาดแก้ว, ตำลึง, ผักบุ้ง, บล็อคโครี่ ฯลฯ ผักเหล่านี้ควรทานให้มากในมื้อเช้าและมื้อกลางวัน โดยขณะรับประทาน เน้นบริโภคคำเล็กๆ และเคี้ยวผักเหล่านี้ให้ละเอียดมาก 2 – 3 นาทีต่อ 1 คำ ก่อนกลืนผักให้ใช้ลิ้นช่วยจัดผักให้เป็นชิ้นเล็กๆ แผ่นแบนๆ (ไม่ไห้เป็นก้อน) เพื่อเป็นการกระจายกากใย เพราะกากใยในผัก ช่วยซับกรด ดูดซับน้ำตาลส่วนเกิน ทำความสะอาดลำไส้ ช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว เปรียบเหมือนเรามีหมอนวด นวดอาหารให้เคลื่อนไหวในลำไส้ บรรเทาอาการท้องผูก ให้มีการขับถ่าย และไล่ลมออกทางทวารหนัก บ่อยครั้งที่ ทานผักพวกนี้ลงไปแล้วจะเรอไล่ลมขึ้นมาทันทีเลย
3. ผักสีขาวที่ย่อยง่าย
เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ดอกกะหล่ำปลี โตวเหมี่ยว ควรทานให้มากในมื้อเย็น ประโยชน์พิเศษของกะหล่ำปลี นักวิจัยหลายท่านเห็นด้วยกับการใช้กะหล่ำปลี ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร เพราะกะหล่ำปลีประกอบด้วยซัลเฟอร์ ซึ่งช่วยในขบวนการหายของแผล สมานแผล รักษาการอักเสบ ช่วยซ่อมแซมผิวหนังและช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย (ที่มา : คัดลอกจากหนังสือ “น้ำทิพย์จากธรรมชาติ ทางลัดเพื่อสุขภาพจากผักและผลไม้” โดยทันตแพทย์จักรชัย และทันตแพทย์หญิงภัทรา หน้า 43 พิมพ์ครั้งที่ 4)
4. ผักที่เคี้ยวแล้วเป็นเมือก
เช่น ผักปลัง กระเจี๊ยบ ผักเหล่านี้เหมาะสำหรับคนที่มีสาเหตุจากความเครียด มีกรดเกินในกระเพาะอาหารนั้นเอง โดยรับประทานผักเหล่านี้เป็นคำสุดท้ายของมื้ออาหาร เพื่อให้เมือกเหล่านี้ ไปเคลือบกระเพาะและลำไส้ ป้องกันอาการแสบท้อง ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
5. เม็ดแมงลัก
มีกากใยสูง เหมาะสำหรับดูดซับน้ำตาลส่วนเกิน คำแนะนำจากประสบการณ์ส่วนตัว ทานเม็ดแมงลักตอนที่หิวข้าว เริ่มแสบท้องในมื้อเช้า บางครั้งรถติดแต่ถึงเวลาที่ต้องทานอาหารมื้อเช้าแล้ว ก็จะทานเม็ดแมงลัก บรรเทาไปก่อน และหากในช่วงดึกมีอาการหิวและแสบท้องขึ้นมา ก็จะทานเม็ดแมงลัก เป็นการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
6. กล้วยน้ำว้า (ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรรับประทาน)
มีฤทธิ์เย็นในกระเพาะอาหาร แต่จะมีฤทธิ์ร้อนที่ลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร ใช้เคลือบลำไส้ได้ดี เพราะจะเป็นเมือกเมื่ออยู่ในลำไส้ คำแนะนำเพิ่มเติม หากโรคกรดไหลย้อนของท่านมีสาเหตุเกิดจากความเครียด มีกรดเกินในกระเพาะอาหารโดยมีอาการแสบท้อง ร้อนท้องร่วมด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก
รู้ไว้มีสุข / นานาสารเพื่อสุขภาพที่ดี และ https://www.deedaily.com/beauty-fashion/1742

อัพเดทล่าสุด