อย่าเพิกเฉย! 5 อาการ ที่บอกว่าคุณเสี่ยงป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต


5,918 ผู้ชม

สมอง เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด เนื่องจากทำหน้าที่ควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งเป็นอวัยวะที่ใช้ในการคิดวางแผน จดจำสิ่งต่างๆ


อย่าเพิกเฉย! 5 อาการ ที่บอกว่าคุณเสี่ยงป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต


สมอง เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด เนื่องจากทำหน้าที่ควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งเป็นอวัยวะที่ใช้ในการคิดวางแผน จดจำสิ่งต่างๆ 
สมองได้รับเลือดจากหลอดเลือดใหญ่และหลอดเลือดฝอย หากหลอดเลือดเหล่านั้นตีบ ตัน หรือแตก ก็จะส่งผลให้ร่างกายเกิดความพิการทันทีหากมาพบแพทย์ไม่ทันอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เสียชีวิตหรือพิการ คือการเพิกเฉยต่ออาการหรือสัญญาณเตือนของร่างกาย เช่น ตาพร่ามัว ชาครึ่งซีก ปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง พูดลำบาก ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ ทำให้คนส่วนมากมองข้ามไป 

อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมอง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน พบประมาณร้อยละ > 80 ของผู้ป่วย เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองเกิดการตีบหรืออุดตัน ซึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่ ภาวะหัวใจวายหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด การขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โรคเลือดบางอย่าง เช่น ภาวะเลือดข้นผิดปกติ เกร็ดเลือดสูง เม็ดเลือดขาวสูงผิดปกติ ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวอยู่เป็นเวลานานจะเป็นผลให้ผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว เกิดการตีบหรืออุดตัน ทำให้สมองขาดเลือดเกิดอัมพาตตามมาในที่สุด 
2. หลอดเลือดสมองแตก เมื่อเกิดการแตกของหลอดเลือดสมอง ก้อนเลือดจะเบียดดันเนื้อสมองส่วนที่ดี ทำให้เสียหน้าที่เซลล์สมองทำงานผิดปกติ เกิดอัมพฤกษ์อัมพาตตามมา ภาวะนี้มักสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาอยู่เป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังเกิดจากความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งยาบางชนิด 
อาการของอัมพฤกษ์อัมพาต 
หากมีอาการในข้อหนึ่งข้อใดดังต่อไปนี้ ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองทั้งสิ้น 
1. มีอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนขา หรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง 
2. ตาข้างใดข้างหนึ่งมัวหรือมองไม่เห็น 
3. พูดลำบาก พูดไม่ได้ หรือไม่เข้าใจคำพูด 
4. มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน 
5. มีอาการมึนงง หรือเดินไม่มั่นคง เสียศูนย์ 
เครดิต: thaihealth.or.th

อัพเดทล่าสุด