เตือน! ปวดหัวบ่อยๆ อย่าไว้วางใจ ถ้าปล่อยนานไป อาจตายไม่รู้ตัว


เตือน! ปวดหัวบ่อยๆ อย่าไว้วางใจ ถ้าปล่อยนานไป อาจตายไม่รู้ตัว..

อาการปวดหัว สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และอาการปวดหัวมักสร้างความทรมาน หงุดหงิดใจให้แก่ผู้ที่มีอาการปวดหัวอยู่ไม่ใช่น้อย แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการปวดหัวบ่อยๆ คุณอย่าไว้วางใจ ปล่อยนานไป อาจตายไม่รู้ตัว

นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ ได้ให้ความรู้ไว้ว่า 

• โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยมาก และเป็นปัญหาสาธารณะสุขที่สำคัญ 

• องค์การอัมพาตโลก ได้ทำการเปิดเผยว่า ในแต่ละปีพบประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดในสมอง เฉลี่ยประมาณ 6 ล้านคน 

• สำหรับประเทศไทยตรวจพบว่า สถิติของโรคหลอดเลือดสมอง ที่เป็นสาเหตุของความพิการหรือเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ 

โรคดังกล่าวสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 

1.โรคหลอดเลือดสมองตีบ 

• เกิดจากความผิดปกติของเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมอง 

• เกิดอาการตีบหรืออุดตัน 

• ซึ่งมีสาเหตุมาจาก การที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงเช่น เป็นเบาหวาน มีความดันโลหิตสูง บริโภคอาหารที่มีไขมันสูง สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย มีภาวะเลือดข้น โดยสะสมมาเป็นเวลานาน

• การสะสมมาเป็นเวลานานทำให้ผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว เกิดการตีบและอุดตัน 

• ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สมองขาดเลือดและเป็นอัมพาตได้ 

[Ads]

2.โรคหลอดเลือดสมองแตก 

• เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบาง ร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง 

• ซึ่งมีส่วนทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพอง หรือที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง 

• ถือเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ 

• โดยส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุ มากกว่าในเด็ก อีกทั้งยังพบว่าผู้หญิงเป็นได้มากกว่าผู้ชาย 

• กลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงได้แก่ 

-ผู้สูงอายุ สูบบุหรี่ 

-ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 

-ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดแดงแข็ง 

-ผู้ที่ใช้สารเสพติด เช่น โคเคน 

-ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุบริเวณศีรษะอย่างรุนแรง 

-ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ 

• โรคดังกล่าวนสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

ลักษณะอาการของโรคคือ 

• ความผิดปกติทางระบบประสาท ที่พบบ่อยที่สุดคือ อาการปวดหัวขั้นรุนแรงที่สุด แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน 

• โดยให้การเน้นย้ำว่า หากเส้นเลือดยังไม่แตกก็จะยังไม่มีอาการ หรือถ้ามีเพียงเลือดไหลซึมออกมา เด่นชัดคือ จะมีอาการปวดศีรษะ จะค่อยๆ รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และเป็นแบบทันทีทันใด ร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง ตามัว ชัก หนังตาตก สับสน หมดสติ 

• ถ้าหากมีลักษณะอาการตามด้านบน ควรรีบนำผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที 

• ไม่เช่นนั้นผู้ป่วยอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

• โรคนี้ไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้ เช่น งดสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด หรือการอออกแรงหนักบ่อยๆ 

สัญญาณเตือนที่พบได้บ่อย และข้อควรระวัง มีดังต่อไปนี้ 

• แขนหรือขาอ่อนแรงครึ่งซีก 

• หน้าเบี้ยวครึ่งซีก 

• เหน็บชาตามร่างกายครึ่งซีก 

• พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด สำลัก 

• เห็นภาพซ้อน สับสน 

• ซึมลง เวียนศีรษะ 

• ปวดต้นคอ คลื่นไส้อาเจียน เดินเซ 

• อาการที่กล่าวมานี้ จะเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน 

• หากเจอผู้ป่วยในลักษณะเหล่านี้ พยายามให้นอนราบเพื่อให้เลือดไหลเวียน และไม่ควรป้อนน้ำ ยา หรืออาหาร

• ทางที่ดีที่สุดควรรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ให้เร็วที่สุดก็ได้ 

แนวทางในการลดความเสี่ยงของโรคนี้ มีดังต่อไปนี้

• รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และเหมาะสม 

• หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด ไขมันสูง 

• ควรทานผักและผลไม้ให้มากๆ 

• ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 

• ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 

• หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ 

• ควรตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อหาปัจจัยเสี่ยง 

• ในกรณีผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่แล้ว ต้องได้รับการรักษาและทานยา อีกทั้งต้องทำตามคำแนะนำที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก


กลุ่มไลน์

อัพเดทล่าสุด