เหลือเชื่อ! หญ้าใต้ใบ สรรพคุณและประโยชน์ของหญ้าใต้ใบกว่า 40 ข้อ


34,214 ผู้ชม



เหลือเชื่อ! หญ้าใต้ใบ สรรพคุณและประโยชน์ของหญ้าใต้ใบกว่า 40 ข้อ

หญ้าใต้ใบ มีชื่ออื่นๆ : มะขามป้อมดิน ไฟเดือนห้า หมากไข่หลัง หมากใต้ใบ ลูกใต้ใบ ฯลฯ

หญ้าใต้ใบ มีสรรพคุณทั้งต้น แก้ไข้ทุกชนิด ขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร กามโรค ปวดท้องดีซ่าน ท้องเสีย และบิด ลดความดันโลหิต
โดยนำต้นสดๆ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยครึ่ง ดื่มครั้งละครึ่งถ้วย ใบอ่อน แก้ไอสำหรับเด็ก ปรุงเป็นยาแก้อักเสบ แก้โรคตับ ตัวเหลือง ตาเหลือง คุมเบาหวานได้ดี ตำพอกรักษาแผลอักเสบให้แห้งเร็ว
หมอยาจีนเชื่อว่า หญ้าใต้ใบ ช่วยกำจัดพิษออกจากตับ มีผลทำให้สายตาดี บำรุงตับ รักษาอาการดีซ่าน หมอพื้นบ้านไทยและหมออายุรเวทอินเดียมีความเชื่อว่า หญ้าใต้ใบเกิดมาเพื่อตับ ใช้ต้มกินเป็นยาแก้ดีซ่าน แก้ตับอักเสบตัวเหลือง ตาเหลือง

 สมุนไพรไทยของลูกใต้ใบ ประกอบด้วยแร่ธาตุที่สำคัญ ดังนี้ ธาตุโซเดียม 0.86 %, ธาตุโพแทสเซียม 12.84 %, ธาตุเหล็ก 10.68 %, ธาตุแคลเซียม 6.57 %, ธาตุแมกนีเซียม 0.34 %, ธาตุอะลูมิเนียม 3.92 %, ธาตุฟอสฟอรัส 0.34 %, ธาตุแคดเมียม 8 ppm, และสารหนู 12 pmm ส่วนองค์ประกอบของสารเคมี จะประกอบไปด้วยสารแทนนิน (Tannins), ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids), ลิกแนนส์ (Lignans), ไกลโคไซด์ (Glycosides), ซาโปนิน (Saponin) ฯลฯ

สรรพคุณของลูกใต้ใบ

  1. รากและใบของลูกใต้ใบ ใช้ยาชงกินกับน้ำเป็นยาบำรุงร่างกาย (รากและใบของลูกใต้ใบชนิด P. urinaria)
  2. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ราก,น้ำต้มใบ)
  3. ในเขมรใช้ลูกใต้ใบชนิด P. urinaria เป็นยาเจริญอาหาร (ไม่ระบุส่วนที่ใช้
  4. ผลใช้ต้มดื่มช่วยบำรุงสายตา ทำให้สายตาดี (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ช่วยรักษาโรคตา (ใบ)
  5. ลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงมีประโยชน์ต่อผู้เป็นโรคเบาหวาน แต่มีข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยเบาหวานว่า ต้องรับประทานยาแผนปัจจุบันตามที่แพทย์สั่ง และควรหมั่นตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ (ต้น)  โดยให้ใช้ทั้งต้นของลูกใต้ใบชนิด P. urinaria จำนวน 1 กำมือ นำมาต้มดื่ม (ทั้งต้น)
  6. ช่วยลดความดันโลหิต (ไม่ระบุส่วนที่ใช้, ทั้งต้น (เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria)
  7. ลูกใต้ใบ สรรพคุณใช้เป็นยาแก้ไข้ ลดความร้อน ช่วยลดไข้ทุกชนิด (ไข้หวัด ไข้จับสั่น ไข้ทับระดู ไข้หวัดใหญ่ ไข้จากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ไข้จากการอ่อนเพลีย) ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 1 ½ ถ้วยแก้ว ใช้ดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว หรือใช้ลูกใต้ใบตากแห้งเก็บใส่โหลไว้ชงเป็นชาดื่มก็ได้เช่นกัน (ต้น,ทั้งต้น,ผล,ราก,น้ำต้มใบ)
  8. ช่วยรักษามาลาเรีย (น้ำต้มใบ)
  9. ช่วยแก้อาการไอ (ทั้งต้น)[3] ใบอ่อนใช้เป็นยาแก้ไอสำหรับเด็ก (ใบอ่อนของลูกใต้ใบชนิด P. urinaria)
  10. ช่วยแก้หืด ด้วยการใช้ทั้งต้นของลูกใต้ใบ (เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria) นำมาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำอุ่น แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มก่อนอาหารครั้งละ 2-3 อึก วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน (ทั้งต้น)
  11. ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกิน (ทั้งต้น,ผล)
  12. ช่วยขับเหงื่อ โดยใช้หญ้าใต้ใบ (เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria) นำต้มกิน และยังช่วยลดไข้ได้ด้วย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  13. ช่วยขับเสมหะ (ทั้งต้น)
  14. ช่วยแก้พิษตานซาง (ผล)
  15. สรรพคุณต้นลูกใต้ใบ ช่วยแก้โรคดีซ่าน (ต้น,ทั้งต้น,ใบ) ให้ใช้ทั้งต้นของลูกใต้ใบ (เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria) นำมาต้ม 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน แล้วเอามากินครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง กินติดต่อกันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ อีกทั้งยังช่วยกำจัดสารพิษออกจากตับ และช่วยทำให้สายตาดีได้อีกด้วย (ทั้งต้น)
  16. ใช้รากของลูกใต้ใบ (เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria) นำมาต้มหรือชงกับน้ำกิน มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการกระเพาะอาหารพิการ และช่วยรักษาลำไส้อักเสบ (ราก)[11]
  17. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ต้น,ทั้งต้น,ราก)
  18. น้ำต้มใบใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องมาน แก้บิด ท้องร่วง (ใบ) ทั้งต้นของลูกใต้ใบมีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย และแก้บิด (ทั้งต้นของลูกใต้ใบชนิด P. urinaria) สำหรับวิธีการใช้เป็นยาแก้บิด ให้ใช้ทั้งต้นของลูกใต้ใบ (เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria) นำมาต้มกินหรือแทรกปูนแดงขนาดเท่าเม็ดถั่วดำ นำมาต้มรวมกันใช้กินแก้บิด (ทั้งต้น))
  19. ต้นใช้ต้มเป็นยาระบาย (ต้น)
  20. ช่วยแก้เถาดานในท้อง (ลักษณะเป็นก้อนแข็งในท้อง บางครั้งมีลักษณะเป็นแผ่นแข็ง ซึ่งอาจส่งผลทำให้มีอาการปวดหลังตามมาได้) ด้วยการใช้ทั้งต้นของลูกใต้ใบ (เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria) มาตากให้แห้งประมาณ 1 ลิตร แช่ในเหล้า 1 ลิตร แล้วหมกข้าวเปลือกไว้ 7 วัน แล้วเอามานึ่ง ให้คาดคะเนว่าธูปหมด 1 ดอก ให้กินเช้าและเย็น (ทั้งต้น)
  21. ต้นใช้ต้มร่วมกับสมุนไพรอื่น (พันงูเขียว) ใช้เป็นยาป้องกันพยาธิลำไส้ในเด็ก (ต้น)
  22. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด แก้ขัดเบา ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 1 ½ ถ้วยแก้ว ใช้ดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว (ต้น,ทั้งต้น,ราก,ใบ)
  23. ใช้รักษาอาการมีไข่ขาวในปัสสาวะ อาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่วยลดอาการบวม จึงช่วยผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ในการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  24. ช่วยแก้นิ่ว (ต้น,ราก) ขับนิ่วในไต (น้ำต้มใบ) รักษานิ่วในถุงน้ำดีและนิ่วในไต (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)  หรือใช้ทั้งต้นของต้นลูกใต้ใบ (เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria) จำนวน 1 กำมือ ตำให้แหลกคั้นเอาแต่น้ำ และให้เอาสารส้มขนาดปลายนิ้วก้อยละลายลงไป แล้วดื่มก่อนอาหารให้หมดครั้งละครึ่งถ้วยชา วันละ 3 เวลา โดยให้ดื่มติดต่อกัน 3 วัน จากนั้นให้ใช้ทั้งต้นจำนวน 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำตาลทรายแดงให้พอหวาน ใช้ดื่มต่างน้ำติดต่อกันอีก 3 วัน เมื่อขึ้นวันที่ 7 ก็ให้ดื่มน้ำอ้อยสด วันละ 1 ขวดต่อไปอีก 3 วัน เพื่อช่วยล้างนิ่วเป็นขั้นตอนสุดท้าย (ทั้งต้น)
  25. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ทั้งต้นของลูกใต้ใบชนิด P. urinaria)
  26. ช่วยขับระดูขาวของสตรี (ต้น,ทั้งต้น)
  27. ช่วยขับประจำเดือนของสตรี แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ด้วยการใช้ต้นนำมาต้มกิน (ต้น)
  28. ช่วยแก้ระดูไหลไม่หยุดหรือมามากกว่าปกติของสตรี ด้วยการใช้รากสดนำมาตำผสมกับน้ำซาวข้าวกินจะช่วยทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ (ราก)
  29. ช่วยรักษาไข้ทับระดู ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาล้างน้ำให้สะอาด ใช้ตำผสมกับเหล้าขาว คั้นเอาแต่น้ำยามาดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (ทั้งต้น)
  30. ช่วยรักษากามโรค (ทั้งต้น) ช่วยแก้เริม ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาตำผสมกับเหล้าคั้นเอาแต่น้ำยา แล้วใช้สำลีชุบน้ำยามาแปะตรงที่เป็นเริม เพื่อทำให้รู้สึกเย็น และอาการปวดจะหายไป (ทั้งต้น)
  31. ช่วยแก้น้ำดีพิการ (ทั้งต้น)
  32. ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (น้ำต้มใบ)
  33. สรรพคุณของลูกใต้ใบ ใช้ต้มดื่มติดต่อกันประมาณ 1 สัปดาห์จะช่วยกำจัดพิษออกจากตับ ป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษต่าง ๆ และช่วยบำรุงตับ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีได้เป็นอย่างดี รักษาอาการอักเสบของตับทั้งประเภทเฉียบพลันและเรื้อรัง และยังช่วยปรับไขมันในตับให้เป็นปกติ จึงช่วยในการทำงานไต (ผล)
  34. นอกจากจะใช้เป็นยารักษาดีซ่านแล้ว ยังช่วยแก้ตับอักเสบ ตัวเหลือง ตาเหลืองได้ด้วย (ต้น)
  35. ช่วยแก้อาการคัน ด้วยการใช้ใบนำมาตำผสมกับเกลือ แล้วนำมาทาจะช่วยแก้อาการคันได้ (ใบ)
  36. ใช้เป็นยาฝาดสมาน (ต้น) ช่วยรักษาบาดแผล (ใบ)
  37. หากเป็นแผลสด แผลฟกช้ำ ให้ใช้ลูกใต้ใบนำมาตำแล้วพอก แต่ถ้าเป็นแผลเรื้อรังให้ใช้ใบนำมาต้มผสมกับซาวข้าวแล้วนำมาพอก (ผล,ใบ)
  38. ช่วยแก้อาการฟกช้ำบวม ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำผสมกับเหล้า แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น ในบางตำราระบุว่าให้ใช้คลุกกับข้าวสุกเสียก่อน แล้วค่อยพอก (ต้น,ทั้งต้น) ส่วนในอินเดียจะใช้ใบและรากแห้งนำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำซาวข้าวแล้วนำมาพอก (ใบ,ราก เข้าใจว่าเป็นชนิด P. urinaria)
  39. ช่วยแก้บวม (ต้น,ทั้งต้น,ราก)
  40. ช่วยแก้หิด (ใบ)
  41. ช่วยแก้ฝี แก้อาการปวดฝี ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำผสมกับเหล้า แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (ต้น,ทั้งต้น)
  42. ช่วยแก้อาการปวด ปวดบวมตามร่างกาย (ต้น)
  43. ช่วยแก้อาการปวดหลัง ปวดเอว อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ด้วยการใช้ลูกใต้ใบที่ล้างสะอาดแล้ว นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปต้มในหม้อดิน และนำมาใช้ดื่มแทนน้ำชา (ผล)
  44. ใช้รักษาอาการปวดกระดูกและปวดข้อ (ยอดอ่อน, ต้น)
  45. มีรายงานวิจัยระบุว่านอกจากสมุนไพรลูกใต้ใบจะมีฤทธิ์ในการแก้ไข้แล้ว ยังมีฤทธิ์แก้อาการอักเสบได้อีกด้วย (ต้น)
  46. ช่วยแก้อาการนมหลง สำหรับหญิงคลอดบุตรแล้วน้ำนมเกิดหยุดไหล หลังจากเคยไหลมาแล้ว และมีอาการปวดเต้า ถ้าหากปล่อยไว้อาจจะกลายเป็นฝีที่นมได้ ให้ใช้ทั้งต้นประมาณ 1 กำมือนำมาตำผสมกับเหล้าขาว แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม 1 ถ้วยชา และใช้กากที่เหลือนำมาพอก ก็จะช่วยทำให้น้ำนมไหลออกมาได้ (ทั้งต้น)[


ข้อควรระวัง : ห้ามใช้ในคนท้อง เพราะเป็นยาขับประจำเดือน

 ** สมุนไพรใกล้ตัว มุ่งเสนอสรรพคุณทางยา การนำไปใช้ควรพิจารณาอย่างรอบด้าน **


อ้างอิง...มูลนิธิหมอชาวบ้าน 

อัพเดทล่าสุด