เบาหวาน อาการเบาหวาน สมุนไพร 9 ชนิดพิชิตเบาหวาน


10,608 ผู้ชม

สมุนไพรทั้ง 9 ชนิดนี้ เรารู้จักกันดีและมีการใช้ในการช่วยลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานมายาวนาน...


เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้



มาดู สมุนไพร 9 ชนิดนี้ สามารถพิชิตเบาหวานได้

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทำการรวบรวมงานศึกษาวิจัยขากแหล่งข้อมูลต่างๆ  พบรายงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศรวม ๘๑ เรื่อง  มีพืชสมุนไพร  ๕๔  ชนิด  ที่สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้  โดยสมุนไพรที่มีการทดลองนั้นมาจากประสบการณ์การใช้จริงของชาวบ้าน  อย่างเช่น ช้าพลู  มะระขี้นก  เตยหอม  กะเพรา  ตำลึง  ว่านหางจระเข้  อบเชยจีน  อินทนิลน้ำ  และลูกหว้า  ซึ่งตัวอย่างสมุนไพรทั้ง ๙  ชนิดนี้  เรารู้จักกันดี และมีการใช้ในการช่วยลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานมายาวนาน

๑. ช้าพลู

ช้าพลู (Wild Pepper) ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper  sarmentosum Roxb. Hunter ชื่อวงศ์ Piperaceae จัดเป็นสมุนไพรที่เหมาะสำหรับการแนะนำผู้ป่วยเบาหวาน  เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก  ทั้งยังมีปริมาณแคลเซียม  วิตามินเอ  วิตามินซีในปริมาณที่สูงมาก  และยังไม่มีผลในการลดน้ำตาลในคนปกติอีกด้วย

ประเทศไทยมีตำรับยาพื้นบ้านที่ใช้ช้าพลูทั้งห้ามต้ม (ทั้งต้นจนถึงราก)  แก้เบาหวาน  ซึ่งมีการศึกษาโดยต้มช้าพลูทั้งห้าแล้วทดสอบในกระต่ายพบว่า  ช้าพลูต้มสามารถช่วยลดน้ำตาลได้ดีในกระต่ายที่เป็นเบาหวาน  แต่ไม่ลดในกระต่ายปกติ
 

วิธีใช้ นำช้าพลูทั้งห้า ๑ กำมือ ต้มกับน้ำ ๓ ขัน  เคี่ยวให้เหลือ ๑ ขัน  กินครั้งละครึ่งแก้วกาแฟ ก่อนอาหาร ๑ มื้อ มีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด

๒. มะระขี้นก

มะระขี้นก (Bitter Cucumber)  ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia Linn.  ชื่อวงศ์ Cucurbitaceae เป็นสมุนไพรที่ปลูกง่าย ยอดอ่อน  ผลอ่อนสามารถนำมาปรุงอาหารได้ มีวิตามินเอและซีสูง รวมทั้งมีรายงานการศึกษาวิจัยสรรพคุณการลดน้ำตาลในเลือดพบว่า  สามารถใช้ได้ทั้งในรูปแบบของน้ำคั้น  ชาชง  กระตุ้นการหลั่งอินซูลินยับยั้งการสังเคราะห์กลูโคส  และเพิ่มการใช้กลูโคสของตับ โดยองค์ประกอบทางเคมีของมะระขี้นกที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด  คือ p-lnsulin , Charantin และ Visine

 ตำรับยา  น้ำคั้นสดมะระขี้นก  ให้นำผลมะระขี้นกสด ๘-๑๐ ผล เอาเมล็ดในออก  ใส่น้ำเล็กน้อย ปั่นคั้นเอาแต่น้ำดื่ม (ประมาณ ๑๐๐ มล.)  หรือกินทั้งกาก  แบ่งกินวันละ  ๓ เวลาต่อเนื่อง

ตำรับยา ชามะระขี้นก ให้นำเนื้อมะระขี้นกผลเล็กซึ่งมีตัวยามากมาผ่าเอาแต่เนื้อ  หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ  ตากแดดให้แห้ง แล้วชงกับน้ำเดือดโดยใช้มะระขี้นก ๑-๒ ชิ้น  ต่อน้ำ ๑ ถ้วย  ดื่มแบบชาครั้งละ ๒ ถ้วย วันละ ๓ เวลา  หรือต้มเอาน้ำมาดื่มหรือใส่กระติกน้ำร้อนดื่มแทนน้ำไม่เกิน ๑ เดือน เห็นผล
 

ตำรับยา  แคปซูลหรือลูกกลอนมะระขี้นก  ให้กินแคปซูลหรือลูกกลอนมะนะขี้นก  ๕๐๐-๑,๐๐๐  มก.  วันละ ๑-๒  ครั้ง
 

ข้อควรระวัง  คนท้อง เด็ก  และคนที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำไม่ควรกิน

๓. เตยหอม

เตยหอม (Pandan) ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus amaryllifolius Roxb.  ชื่อวงศ์ Pandanaceae  ปัจจุบันมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า  เตยหอมมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือก  ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของหัวใจ  ขับปัสสาวะ  แต่ทั้งนี้ยังไม่มีการทดลองทางคลินิกในเมืองไทยเรามีการใช้รากเตยหอมในการรักษาเบาหวานมานาน  และคนที่ไม่เป็นเบาหวานก็กินได้เช่นกัน
 

วิธีใช้ นำรากเตยหอมประมาณ ๑ ขีด สับเป็นท่อนเล็ก ๆ ต้มกับน้ำ ๑ ลิตร จนเดือด  จากนั้นเคี่ยวต่อประมาณ ๑๕-๒๐ นาที นำยาที่ได้ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว  วันละ ๓  ครั้ง  หรือใช้ใบเตยร่วมกับสมุนไพรตัวอื่นโดยนำใบเตยหอม  ๓๒  ใบ ใบสัก ๙ ใบ  นำมาหั่นตากแดด  แล้วชงดื่มแบบชา  หรือใส่หม้อดินต้ม  กินเป็นยาต่างน้ำทุกวัน
 

ข้อแนะนำ  ควรกินต่อเนื่องอย่างน้อย ๑ เดือน

๔. กะเพรา

กะเพรา (Holy Basil)  ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum L. ชื่อวงศ์ Labiatae  ปัจจุบันมีการศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่า กะเพรามีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน  รักษาหืด  ต้านความเครียด  ยับยั้งการเกิดมะเร็ง  ต้านฮิสทามีน  ต้านอนุมูลอิสระ  ต้านการอักเสบ แก้ไข้  แก้ปวด  ลดคอเลสเตอรอล  และที่สำคัญ  คือ ลดน้ำตาลในเลือด  โดยพบว่า  ใบกะเพราทำให้เซลล์ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ดีขึ้น  และจากการวิจัยในผู้ป่วยเบาหวาน  โดยให้ผงใบกะเพราวันละ ๒.๕ กรัม ๔  สัปดาห์  สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ (เหมาะกับผู้ที่เป็นเบาหวานเล็กน้อยถึงปานกลาง)
 

วิธีใช้  นำผงใบกะเพรามาทำเป็นชา  โดยใช้ประมาณ ๑  ช้อนชา  กับน้ำร้อน ๑  ถ้วย  ดื่มวันละ ๓  ครั้ง แคปซูลกะเพรา ให้กินวันละ  ๒.๕  กรัมต่อวัน  หรือน้ำมันกะเพรา  ๒-๕  หยด ต่อวัน  

ข้อควรระวัง  ไม่ควรใช้กะเพราในคนท้องและหญิงให้นมบุตร

๕. ตำลึง

ตำลึง (lvy gourd) ชื่อวิทยาศาสตร์  Coccinia grandis (L.) Voigt ชื่อวงศ์ CuCurbitaceae ตำลึงแสดงผลการลดน้ำตาลทั้งในสัตว์ทดลองและในคน  สามารถใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็น ใบ ราก  ผล เป็นผักที่มีวิตามินเอสูงมาก  รองมาจากใบยอ  แมงลัก  โหระพา  มีวิตามินซีสูงกว่ามะนาว (วิตามินซี ๓๐  มก. ต่อ ๑๐๐ ก. มะนาวมี ๒๐ มก.) มีวิตามินบี ๓ ช่วยบำรุงผิวหนัง  มีธาตุเหล็ก  ช่วยบำรุงเลือดนอกจากนี้  ยังช่วยระบายเพราะมีกากใยสูงอีกด้วย

วิธีใช้ นำยอดตำลึง ๑ กำมือ  หรือขนาดที่กินพออิ่ม โรยเกลือ  หรือ เหยาะน้ำปลา (เพื่อความอร่อย)  ห่อด้วยใบตองเผาไฟจนสุก  แล้วกินให้หมดหรือกินจนอิ่ม  กินก่อนนอนติดต่อกัน 3 เดือน

๖. ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ (Aloe)  ชื่อวิทยาศาสตร์  Aloe vera Linn.  ชื่อวงศ์ Aloaceae  ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยประโยชน์ว่านหางจระเข้ทั้งทางยาและเครื่องสำอาง  ในส่วนที่เป็นยานั้นพบว่า  ช่วยลดน้ำตาลในเลือดทั้งในคนและสัตว์ทดลอง  กระตุ้นการเผาผลาญของร่างกาย  ดังนั้นจึงเหมาะในผู้ป่วยเบาหวาน
 

วิธีใช้ กินเนื้อว่านหางจระเข้สดวันละ ๑๕ กรัม  ติดต่อกันอย่างน้อย  ๔ สัปดาห์

๗. อบเชยจีน

อบเชยจีน (Chainese Chinnamon) ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum camphora (L.) J.S. Presl /Chinnamonmum aromaticum nees  ชื่อวงศ์ Lauraceae ล่าสุดได้มีการค้นพบสรรพคุณของอบเชยในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด  โดยพบว่าในอบเชยมีวาร Methylhydroxy  Chalone Polymer (MHCP) ที่ทำให้เซลล์ไขมันตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินได้มากขึ้น  คือ  ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด  นอกจากนี้อบเชยจีนยังช่วยลดไตรกลีเซอไรด์  ลดไขมันตัวร้าย (แอลดีแอล)  และลดคอเลสเตอรอลได้ด้วย

วิธีใช้  กินผงอบเชยจีนประมาณ ๑ ช้อนชาต่อวัน  แบ่งเป็นเช้าครึ่งช้อนชา  เย็นครึ่งช้อนชา กินกับเครื่องดื่ม เช่น นม  โอวัลติน  ชา  กาแฟ  โยเกิร์ต  หรือบรรจุแคปซูลกิน ควรกินติดต่อกันอย่างน้อย ๒๐ วัน นอกจากนี้  เพียงเอาชิ้นอบเชยแช่ในถ้วยชาก็สามารถใช้ลดน้ำตาลได้  และการกินในปริมาณที่สูงหรือต่ำ ความสามารถในการลดน้ำตาลก็ไม่ต่างกัน (ถ้าไม่มีอบเชยจีน  สามารถใช้อบเชยอื่นๆ ได้เช่นกัน)

๘. อินทนิลน้ำ

อินทนิลน้ำ (Queen’s Flower)  ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia  speciosa (L.) Pers.  ชื่อวงศ์ Lythraceaeปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าอินทนิลน้ำมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยมีสาระสำคัญชื่อ Corosolic acid  ออกฤทธิ์เหมือนอินซูลิน  จัดเป็นอินซูลินจากธรรมชาติ  ไม่พบผลข้างเคียง  ทั้งยังช่วยชะลอการย่อยแป้งในระบบทางเดินอาหารและทำให้การลำเลียงน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ดีขึ้น  ใบอินทนิลน้ำที่ดีเหมาะกับการนำมาทำยา  คือ ใบแก่ใกล้ผลัดใบ  นอกจากนี้  เมล็ดแห้งของอินทนิลน้ำก็สามารถช่วยลดน้ำตาลได้เช่นกัน

“เด็ก  คนท้อง  และมารดาระหว่างให้นมบุตร  คนที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ  ห้ามใช้อินทนิลน้ำ”
 ตำรับยา

-ใช้ใบอินทนิลน้ำแก่ ๑๐๐  กรัม  น้ำสะอาด ๑ ลิตร  ต้มให้เดือด  จากนั้นเคี่ยวไฟอ่อนอีก ๑๕  นาที  ดื่มเป็นยาครั้งละ  ๑  ถ้วย  เช้า  กลางวัน  เย็น  ดื่มต่อเนื่องประมาณ  ๓  สัปดาห์  จึงสังเกตผลได้-ใช้ใบอินทนิลน้ำแห้ง  ๘-๙ ใบ คั่วให้กรอบ  นำมาต้มน้ำ  ดื่มต่างน้ำชา  สามารถต้มแช่ตู้เย็นเก็บไว้ได้  ดื่มได้เรื่อยๆ ติดต่อกันอย่างน้อย ๑๒  หม้อ

ข้อควรระวัง  เด็ก  คนท้อง  และมารดาระหว่างให้นมบุตร คนที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ห้ามใช้อินทนิลน้ำ  ในคนที่เป็นเบาหวานควรมีการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดประจำเพื่อปรับขนาดยา

๙. หว้า

หว้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium cumini (L.) Skeels  ชื่อวงศ์ Myrtaceae มีการศึกษาประโยชน์ของหว้าทั้งในสัตว์ทดลองและคน ถึงฤทธิ์ของการลดน้ำตาลในเลือดพบว่า  มีฤทธิ์ยับยั้งการทำลายอินซูลิน  ช่วยเพิ่มปริมาณอินซูลิน   กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน  ลดระดับน้ำตาลในเลือก  ยับยั้งเบาหวาน  เพิ่มปริมาณไกลโคเจนในตับ  และแม้แต่ในอเมริกาก็มีการยืนยันว่าสารสกัดด้วยน้ำของเมล็ดหว้ามีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน “ใช้ผลสดหรือผลแห้งของลูกหว้ามาต้มเป็นน้ำสมุนไพรลูกหว้า  หรับผู้ป่วยเบาหวานได้เช่นกัน”

ตำรับยาต้มเมล็ดลูกหว้า ใช้เมล็ดสดของลูกว้า ๑๐๐  กรัม (๑ขีด) น้ำสะอาด ๑ ลิตร นำเมล็ดลูกหว้ามาโขลกใส่หม้อต้มให้เดือด  เคี่ยวไฟอ่อนๆ ๑๕  นาที  ให้ตัวยาออกมา  กินครั้งละ  ๑  ถ้วยชา  วันละ ๓  มื้อ  เป็นเวลา ๑ เดือน  อาการเบาหวานจะทุเลาลง  สามารถลดยาหรือใช้สมุนไพรในการดูแลอย่างเดียวได้  แต่ควรวัดระดับน้ำตาลในเลือดเสมอ (สามารถใช้เมล็ดแห้งแทนได้  ในกรณีไม่มีเมล็ดสด)

ตำรับยาผงหรือแคปซูลหว้า  ใช้ผงลูกหว้าแห้ง  ๒๕๐  มิลลิลิตร  บรรจุแคปซูล  หรือใช้ละลายน้ำ  กินวันละ  ๓ เวลา  อาจเพิ่มขนาดได้ถึง ๔  กรัมต่อวัน  ควรกินติดต่อกัน  ๑ เดือน  และสังเกตผลระดับน้ำตาลในเลือด

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ผลสดหรือผลแห้งของลูกหว้า มาต้มเป็นน้ำสมุนไพรลูกหว้า  สำหรับผู้ป่วยเบาหวานได้เช่นกัน

ข้อมูลจาก thaijobsgov

อัพเดทล่าสุด