สุดยอด วิธีดูแลผิวลูกเบบี๋ ลดปัญหาผื่นผ้าอ้อมกวนใจ


ดูแลผิวลูกเบบี๋  ลดปัญหาผื่นผ้าอ้อมกวนใจ
สุดยอด วิธีดูแลผิวลูกเบบี๋ ลดปัญหาผื่นผ้าอ้อมกวนใจ
ผิวหนัง ของลูกน้อยเป็นอีกส่วนสำคัญที่บรรดาคุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากผิวหนังของเด็กเล็กนั้นมีความบอบบางมาก หากสัมผัสกับสิ่งสกปรก 

หรือสารระคายเคืองต่างๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ เป็นผื่นแดงคันหรือผดได้ หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ผิวลูกน้อยระคายเคือง เกิดจากโรคผื่นผ้าอ้อมซึ่งพบเห็นบ่อยครั้ง เรามาทำความเข้าใจ ดูแลผิวบอบบางของลูกอย่างถูกวิธีกันดีกว่า

ผื่นผ้าอ้อม เป็นอย่างไร
 
มักพบในเด็กแรกเกิดระหว่าง 3-24 เดือน เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่มีปัสสาวะและอุจจาระบ่อยเป็นพิเศษ จึงต้องสวมใส่ผ้าอ้อมตลอดเวลา นอกจากนี้เด็กทารกอายุระหว่าง 9-12 เดือน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นผื่นผ้าอ้อมมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่เริ่มหัดนั่ง จึงทำให้ลูกน้อยนั่งทับผ้าอ้อมเปียกชื้นบ่อยครั้ง และผิวหนังมีโอกาสเสียดสีกับพื้นผิวสัมผัสที่อาจมีเชื้อโรคปะปนมา

shutterstock_258508493

อาการ 

รุนแรงไม่มาก

คันและอาจเกาจนผิวหนังอักเสบ ซึ่งส่งผลให้เกิดรอยผื่นแดงและผด

รุนแรงปานกลาง

ผื่นจะแดงมากขึ้น โดยจะมีขนาดและรอยถลอกกว้างขึ้น

รุนแรงมาก

อาจมีผื่นแดงจัด เป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง รอยถลอกอาจขยายเป็นบริเวณกว้างไปที่ลำตัวหรือต้นขาด้านใน จนกลายเป็นแผลลึกได้

ส่วนใหญ่แล้วผื่นผ้าอ้อมจะหายเองหลังจากมีการดูแลรักษาบริเวณผิวเป็นเวลาประมาณ 3-4 วัน แต่ถ้าหากอาการไม่บรรเทาลงภายในหนึ่งสัปดาห์ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบคุณหมอ

mc100159

สาเหตุ

สาเหตุหลักเรื่องผื่นผ้าอ้อม คือเชื้อราในบริเวณผิวหนังที่สวมใส่ผ้าอ้อม ความอับชื้นหรือการหมักหมมของอุจจาระหรือปัสสาวะในบริเวณนั้นอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อรา ส่วนสาเหตุอื่นๆ เช่น

  • อาการแพ้อาหาร โรคเลือดบางประเภท
  • แพ้น้ำยาหรือสารเคมี เช่น น้ำยาปรับผ้านุ่ม 
  • แพ้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวบางชนิด เช่น แป้ง โลชั่น 

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวังอาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ลูกน้อยใช้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผื่นผ้าอ้อมหรือโรคผิวหนังอื่นๆ ได้

การดูแลผิวลูกน้อย

วิธีง่ายๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลและปกป้องผิวของลูกน้อยให้ห่างไกลจากผื่นผ้าอ้อม คือการเปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างสม่ำเสมอตลอดวัน เพื่อป้องกันการอับชื้นและหมักหมมของเชื้อโรค เช่น แบคทีเรียในอุจจาระ และเพิ่มความสบายตัวให้แก่ลูกน้อย ไม่ให้เกิดอาการระคายเคืองตามตัว อีกหนึ่งวิธีคือ การดูแลทำความสะอาดผิวของลูกน้อยหลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อม โดยเฉพาะการใช้สำลีชุบน้ำหมาดๆ ทำความสะอาดทุกซอกมุมเพื่อป้องกันเชื้อโรคจากปัสสาวะหรืออุจจาระที่ตกค้าง และซับบริเวณพื้นผิวในร่มผ้าให้แห้ง เพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้นหลังใส่ผ้าอ้อมใหม่

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกเสื้อผ้าที่ไม่แน่นคับจนเกินไป ให้ลูกน้อยสวมใส่อย่างคล่องตัวและมีอากาศระบายถ่ายเท ทำให้ไม่อับชื้นและเสี่ยงต่อการติดเชื้อรา กรณีที่ลูกน้อยเป็นผื่นผ้าอ้อมติดต่อกันหลายครั้ง คุณพ่อคุณแม่อาจเปลี่ยนยี่ห้อผ้าอ้อมสำเร็จรูป

พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

https://www.motherandcare.in.th

อัพเดทล่าสุด